Coggle requires JavaScript to display documents.
เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด
เพื่อทำความสะอาดก่อนผ่าตัดตา
เพื่อขจัดฝุ่นละออง สารเคมี ล้างพิษหรือสิ่งแปลกปลอมออกจากตา
ถ้วยเล็ก 1 ใบ
สำลีไร้เชื้อ (sterile)
ชามรูปไต
สารละลายน้ำเกลือ (NSS)
ชุดล้างตาไร้เชื้อ Syring ขนาด 10-20 cc
ผ้ายางไว้สำหรับรองใต้ศีรษะผู้ป่วย
Set IV และเสา IV กรณีประเมินและผู้ป่วยต้องการล้างตาในปริมาณมาก
แนะนำตัว อธิบายวัตถุประสงค์ และบอกขั้นตอนการล้างตาให้ผู้ป่วยทราบ
ล้างมือ เตรียมอุปกรณ์
จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงายไม่หนุนหมอน ใช้ผ้ายางรองใต้ศีรษะผู้ป่วย นำชามรูปไตรองใต้หางตาผู้ป่วยข้างที่ต้องการจะล้าง จัดให้ส่วนเว้าของชามรูปไตกระชับกับส่วนโค้งของใบหน้า บอกให้ผู้ป่วยเอียงใบหน้ามาข้างที่จะล้าง
ล้างมือ เปิดชุดล้างตาไร้เชื้อ (sterile) เทน้ำยาล้างตาลงในถ้วยใบเล็กใช้ syringe ดูดน้ำยาจากถ้วยใบเล็ก หรือใช้ Set IV ต่อกับ NSS ล้างตาให้ผู้ป่วย
ใช้หัวแม่มือและนิ้วชี้ข้างที่ไม่ถนัดค่อยๆเปิดหนังตาบนและล่างของผู้ป่วย
ใช้มือข้างที่ถนัดจับ syringe แล้วค่อยๆดันน้ำยาให้ไหลจากหัวตาเป็นสายตลอดเวลา พร้อมทั้งให้ผู้ป่วยกลอกตาขณะทำการล้างตาจนสะอาด
นำอุปกรณ์ไปทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ และล้างมือ
บอกให้ผู้ป่วยหลับตา ใช้สำลีซับเบาๆจากหัวตามาหางตา
เขียนบันทึกทางการพยาบาล
ข้อห้ามเด็ดขาดและพลาดไม่ได้
จุดควรระวังและมีการพลาดบ่อย
เทคนิคและจุดสร้างคุณภาพ
แนะนำตัว อธิบายวัตถุประสงค์ และบอกขั้นตอนการล้างหูให้ผู้ป่วยทราบ
จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งเอียงศีรษะไปด้านตรงกันข้ามกับข้างที่จะล้างเล็กน้อย ใช้ผ้ายางหรือผ้ารองกันเปื้อนวางบริเวณคอและไหล่ของผู้ป่วย
ใช้เครื่องตรวจหูที่ใส่อุปกรณ์ถ่างรูหู ส่องดูในรูหูผู้ป่วย เพื่อดูขนาดและลักษณะของขี้หู หรือสิ่งแปลกปลอม
นำ syringe ต่อกับเข็มฉีดยาพลาสติก ดูดน้ำอุ่นจนเต็มกระบอกสูบ
ใช้มือข้างหนึ่งดึงใบหูผู้ป่วยไปข้างหลังและขึ้นข้างบน สอดปลายเข็มเข้าไปในรูหูประมาณครึ่งนิ้ว แล้วฉีดน้ำอุ่นเข้าไปในรูหู โดยฉีดไปทางด้านหลังของรูหูและค่อนไปทางข้างบน เอียงศีรษะให้น้ำไหลออก และคอยสังเกตสิ่งแปลกปลอมที่หลุดออกมา ล้างต่อไปจนสะอาด
เมื่อเสร็จแล้วใช้สำลีเช็ดบริเวณหู และซับน้ำที่เหลือค้างอยู่บริเวณหูให้แห้ง
เพื่อล้างสิ่งที่ไม่ต้องการ
เอาสิ่งแปลกปลอมออกจากหู
ชามรูปไต 1 ใบ
ผ้ายางหรือผ้ารองกันเปื้อน
syringe 10-20 cc 1 อัน และเข็มพลาสติก (medicut หรือ iv catheter) เบอร์ 18
สำลี 2 ก้อน
น้ำต้มสุกสะอาด หรือ น้ำสะอาด
เครื่องตรวจหู (otoscope)
อุปกรณ์ถ่างรูหู (ear speculum)
Jejunum เป็นลำไส้เล็กส่วนกลางยาวประมาณ 8 ฟุต ภายในมีรอยจีบตามขวาง (Plica circulares) ชัดเจนและมีจำนวนมาก
Ileum เป็นลำไส้เล็กส่วนปลาย ยาวที่สุด ยาวประมาณ 12 ฟุต ติดต่อกับลำไส้ใหญ่บริเวณ Iliocecal valve
Duodenum เป็นลำไส้เล็กส่วนต้นที่สั้นที่สุด ยาวประมาณ 10-12 นิ้ว เริ่มต้นที่ pyloric sphincter ไปสิ้นสุดที่ duodenojejunal flexure เป็น retroperitoneal structure
Colon เป็นส่วนที่ต่อจาก caecum
Rectum ต่อจาก Sigmoid colon เริ่มต้นจาก S3 ยาวประมาณ 12 cm รูปร่างโค้งตามความโค้งของ sacrum และ coccyx ไป ประมาณ 3 cm ส่วนปลายสุดจะหักขึ้นไปด้านหลังและลงข้างล่างแคบเป็น anal canal ทางด้านล่างของ rectum ในผู้ชายอยู่หลังต่อมลูกหมาก ในผู้หญิงอยู่หลัง Vagina
Caecum มีลักษณะเป็นถุงปลายตัน เป็นส่วนต้นของลำไส้ใหญ่ที่ลำไส้เล็กมาเปิดเข้า ช่องเปิดเรียกว่า iliocecal valve อยู่ทางด้านขวาของร่างกาย บริเวณ Right iliac fossa ยาวประมาณ 5-7 cm ตรงปลายของ caecum จะมี Vemiform appendix หรือไส้ติ่ง ซึ่งเป็นหลอดเล็กปลายตันห้อยอยู่
ส่วนบน กระพุ้งกระเพาะอาหาร หรือส่วนฟันดัส (fundus)
ส่วนกลาง (body)
ส่วนบนสุด ปากกระเพาะ หรือส่วนคาดิแอค (cardiac) เป็นส่วนที่ติดต่อกับหลอดอาหาร
ส่วนท้าย หรือส่วนไพลอรัส (pylorus) มี กระเพาะส่วนปลาย (antrum, pylorus) และ หูรูดกระเพาะส่วนปลาย (pyloric sphincter) จะติดต่อกับลำไส้เล็กตอนต้น
ล้างมือ สวมถุงมือ
คลุมผ้าให้ผู้ป่วยบริเวณใต้คางถึงหน้าอก
ถ้าผู้ป่วยยังไม่มีสายคาอยู่ต้องใส่สายให้ก่อน คือ
เปิดชุดสวนล้างกระเพาะอาหาร เท Solution ใส่ภาชนะที่ใช้ล้างกระเพาะอาหาร
วัดสายยางเตรียมใส่กระเพาะอาหาร เริ่มจากติ่งหูถึงปลายจมูกแล้วต่อไปถึงส่วนปลายของปุ่มกระดูกกลางหน้าอก Xyphoid Process
หล่อลื่นสายยางแล้วขมวดสายไว้ด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด
ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดใส่สายยางเข้าไปในจมูกหรือปากอย่างนิ่มนวล ระวังอย่าให้ผู้ป่วยกัดสาย
ทดสอบสายยางว่าอยู่ในกระเพาะอาหาร
แนะนำตัว อธิบายวัตถุประสงค์ และบอกขั้นตอนการล้างกระเพาะอาหาร ให้ผู้ป่วยทราบ พร้อมจัดท่านอนราบตะแคงศีรษะไปด้านซ้าย
เทสารละลายใส่ภาชนะรองรับ ใช้กระบอกฉีดยาดูดสารละลาย 50 cc
หักพับสายแล้วต่อกระบอกฉีดยาเข้ากับสาย แล้วปล่อยสายที่หักพับ ค่อยๆดันสารละลายเข้าไปและดูดออก ทำซ้ำไปเรื่อยๆจนกว่าจะพบว่าสารละลายที่ไหลออกเจือจางลง ใสใกล้เคียงกับสีปกติ จึงหยุด
จัดให้ผู้ป่วยนอนตะแคงซ้ายหรือขวาศีรษะต่ำ 15 องศา หากไม่มีข้อห้ามอื่น
ขจัดสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ที่เข้าไปในกระเพาะอาหารเช่น สารพิษ สารเคมี
เช่นเดียวกับการใส่สายทางจมูกถึงกระเพาะอาหาร ยกเว้นขนาดของสาย เลือกใช้สายที่มีขนาดใหญ่ หรือสายที่มี 2 หาง เช่น sump tube
สารละลาย ส่วนใหญ่ใช้น้ำเกลือ 0.9% NSS
กระบอกฉีดยาหัวต่อใหญ่ (Irriigating syringe หรือ Asepto syringe) ขนาด 50 cc.
ถุงมือสะอาด
ภาชนะใส่สารละลาย และรองรับสารละลายจากตัวผู้ป่วย
ผ้ารองกันเปื้อน
K-Y jelly หรือ Xylocain
Stethoscope
พลาสเตอร์
Clamp
น้ำยาหล่อลื่น
สายยางที่ต่อปลายหม้อสวนใช้สายยางเบอร์ 22 หรือ 24
หรือปัจจุบันนิยมใช้น้ำยาสำเร็จรูป และถุงมือสะอาด ในเอกสารฉบับนี้ผู้เขียนขอกล่าวถึงวิธีที่นิยมในปัจจุบัน
หม้อหรือถุงพลาสติก ที่ใส่น้ำยาสำหรับล้างน้ำยาที่ใช้อาจใช้น้ำอุ่น น้ำเกลือหรือน้ำกลั่น ให้อุ่นประมาณ 103-105 องศาฟาเรนไฮต์ จำนวนที่ใช้ประมาณ 1,000 – 2,000 cc
จัดท่าสุขสบายให้ผู้ป่วย เก็บอุปกรณ์ ล้างมือ
เขียนรายงานลงในรายงานให้การพยาบาล (nurse's notes) เกี่ยวกับผลของการพยาบาล
นำน้ำยาสำเร็จรูปค่อยๆ สอดเข้าไปในรูทวารหนัก บีบน้ำยา จนหมดขวด
ล้างมือ สวมถุงมือสะอาด หล่อลื่นทวารด้วยน้ำยาหล่อลื่น
แจ้งวัตถุประสงค์ อธิบายขั้นตอน จัดท่าท่าที่เหมาะสมโดยนอนตะแคงซ้าย ใช้ผ้ายางรองบริเวณก้น
เพื่อช่วยขับถ่ายสิ่งที่อยู่ในลำไส้ใหญ่คือของเหลวอุจจาระแก๊ส
เพื่อล้างส่วนล่างของทางเดินอาหาร
เตรียมผ่าตัด
มีภาวะน้ำเกินที่ไม่สามารถรักษาด้วยการจำกัดน้ำและเกลือ หรือยาขับปัสสาวะ
ภาวะทุพโภชนาการ serum albumin ต่ำกว่า 3.5 กรัม/ดล.
มีอาการของเสียคั่ง
น้ำยาล้างไตตามแผนการรักษา
Mask
เสาแขวนน้ำยา
อุปกรณ์ในการล้างมือ ได้แก่ สบู่เหลวหรือแอลกฮอล์เจล ผ้าเช็ดมือ
โต๊ะวางอุปกรณ์
70% แอลอฮอล์ ก๊อซ สำลี
ตัวหนีบสีน้ำเงิน (Out port clamp) 2 อัน จุกปิดสีขาว (minicap) แบบ Twin bag
เครื่องชั่งน้ำหนักขนาด 3-5 กิโลกรัม
ใช้ผ้าก๊อซ สำลี เช็ดโต๊ะไปในทางเดียวกัน และขอบโต๊ะทุกครั้งที่ต้องเปลี่ยนน้ำยา
เตรียมโต๊ะที่เปลี่ยนน้ำยาให้สะอาด โดยใช้ 70% แอลกอฮอลฉีดพ่นทำความสะอาด
ตรวจสอบถุงน้ำยา โดยวางบนโต๊ะ ดูวันหมดอายุ เปอร์เซ็นต์ ปริมาตร สภาพของสายน้ำยา ทดสอบการรั่วของถุงน้ำยา
ล้างมือ
ฉีกถุงหุ้มน้ำยาภายนอกออก ยกถุงส่องดูว่าน้ำยามีสิ่งแขวนลอยหรือสิ่งผิดปกติ นำน้ำยามาชั่งที่ตาชั่ง
เตรียมอุปกรณ์ จัดสิ่งแวดล้อม สวม Mask
ทำความสะอาดแท่นยึด (organizer) ด้วยสำลีชุบ 70% แอลกอฮอล์ แล้ววางที่โต๊ะที่ทำความสะอาดแล้ว
วางจานหมุนลงในแท่นยึดแยกสายของถุงน้ำยาใหม่ออก วางถุงน้ำยาเปล่าลงในภาชนะรองรับโดยให้ระดับต่ำกว่าช่องท้อง
หมุนข้อต่อออกจากฝาเปิดอันเก่าจากนั้นหมุนข้อต่อเข้ากับปลายท่อจานหมุนแทนสำรวจเข็มชี้จานหมุนอยู่ตำแหน่ง 1 จุดพร้อมกับเปิดตัวหนับสายส่งน้ำยาจากช่องท้องสู่น้ำเปล่าจนหมด ใช้เวลา 10-15 นาที
หมุนจานตามเข็มนาฬิกาให้อยู่ตำแหน่ง 2 จุด เพื่อให้น้ำยาถุงใหม่ล้างข้อต่อสาน 5 วินาทีและหมุนตามเข็มนาฬิกาไปถึง 3 จุดเพื่อปล่อยน้ำยาเข้าช่องท้องจนหมด หมุนเข็มไปที่จุด 4 เพื่อปิดระบบ (บันทึกเวลาน้ำยาเข้า)
เปิดซองบรรจุฝาปิดหยิบออกจากซอง สอดเข้าไปในช่องที่อยู่ด้านซ้ายของแท่นยึดให้ลึกที่สุด
หมุนฝาครอบฝาปิดอันใหม่ออก หมุนข้อต่อออกจากจานหมุนและต่อกับฝาปิดอันใหม่พร้อมชั่งน้ำหนักน้ำยาถุงที่ปล่อยออก ตรวจดูลักษณะของน้ำยา
ลงบันทึกพร้อมเทน้ำยาที่ใช้แล้วใส่ชักโครก ถุงพลาสติกและขยะแยกทิ้งในถัง
วางซอง minicap ใหม่บนโต๊ะที่ทำความสะอาดแล้ว
หากปลายสาย mini transfer มีผ้าก๊อซหุ้มอยู่ให้แกะออก แล้วปูผ้าสะอาดรองสาย
ล้างมือ ต่อสายเข้ากับผู้ป่วย และมืออีกข้างแยกสายและถุงน้ำยาเปล่าออกจากถุงน้ำยา ตรวจสอบความสมบูรณ์และวางถุงเปล่าลงในภาชนะ โดยให้อยู่ระดับต่ำกว่าท้อง
นำตัวหนีบ หนีบสายน้ำเข้า
ใช้มือข้างถนัดจับสาย mini transfer มืออีกข้างจับถุงน้ำยาและดึงจุกยางเปลี่ยนสายถุงน้ำยาออก
ปลด out port clam จากถุงน้ำยาใหม่เพื่อให้น้ำยาไหลลงถุงน้ำยาที่ปล่อยออก 5 วินาที เรียก Flush before fill และหนีบสายน้ำยาออกไว้
คลายเกลียว mini transfer ให้น้ำยาไหลเข้าท้องจนหมด ปิดเกลียวและนำ out port clamp หนีบสายน้ำยาปล่อยเข้า (บันทึกเวลาน้ำยาเข้า)
ปล่อยน้ำยาออก โดยปลดสายของถุงน้ำยาออกระวังไม่ให้ mini transfer สัมผัสสิ่งปนเปื้อน หมุดปิดด้วย minicap อันใหม่หุ้มด้วยก๊อซ ติดพลาสเตอร์ mini transfer ไว้กับหน้าท้องผู้ป่วย
ชั่งน้ำหนักน้ำยา ลงบันทึก เก็บอุปกรณ์
ปัญหาทางเพศ ผู้ป่วยมีความรู้สึกทางเพศและความต้องการทางเพศลดลง เนื่องจากภาวะจิตใจและสรีระ
ความสับสนในชีวิตที่ต้องพึ่งพา หรือพึ่งบุคคลอื่น
ผู้ป่วยต้องเผชิญกับความสูญเสียต่างๆ
ภาวะคุกคามด้วยกลัวอันตรายและกลัวความตาย
ปัญหาด้านอาหารและน้ำ การจำกัดน้ำและอาหาร ความต้องการในรสชาติอาหาร
ในการวางแผนการฝึกอบรมและเตรียมตัวเพื่อให้ผู้ป่วยที่รักษา คือ พยาบาลควรวางแผนการฝึกอบรมให้ผู้ป่วยเพื่อที่จะเข้าใจถึงหลักการรักษาด้วนวิธีนี้ ภาวะไตล้มเหลวเรื้อรัง เทคนิคปลอดเชื้อ ตลอดจนขั้นตอนและวิธีการของการรักษาพร้อมทั้งสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง
บทบาทในการฝึกปฏิบัติจริงให้กับผู้ป่วยในการปล่อยน้ำยาเข้าและออก โดยฝึกการผสมยาลงในน้ำยา พร้อมทั้งฝึกหัดการสังเกตและบันทึกน้ำเข้าออก และสังเกตอาการและอาการแสดงที่เปลี่ยนแปลงขณะและหลังทำแต่ละครั้ง
บทบาทในการประเมินและการคัดกรองผู้ป่วยให้เหมาะสมกับการรักษา เนื่องจากวิธีการรักษานี้ต้องให้ผู้ป่วยดูแลตัวเองหรือมีผู้ดูแลหลัก ฉะนั้นการเลือกผู้ป่วยเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะปัจจัยทางด้านจิตใจ พยาบาลต้องคำนึงถึงความพร้อมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยและผู้ป่วยต้องยินยอมให้ความร่วมมือในการช่วยเหลือและการดูแลตนเองเป็นอย่างดีและสม่ำเสมอ เพื่อที่จะให้การรักษาด้วยวิธีนี้ให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมาย
บทบาทในการติดตามผลหรือการเยี่ยมบ้าน โดยมีการกำหนดระยะเวลาติดตามผู้ป่วย คือ 1 เดือน 6 เดือน หรือแล้วแต่จะเหมาะสม สิ่งที่ควรติดตาม คือ ดูระดับ Hb, BUN, Cr อาการบวม ภาวะโภชนาการ ปัญหาทางด้านจิตใจ ครอบครัว ตลอดจนการเข้าไปสังเกตภายในบ้าน พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการปฏิบัติงาน เพื่อให้ผู้ป่วยปรับตัวได้ถูกต้องเหมาะสม และพยาบาลควรสอนให้ผู้ป่วยสังเกตและการแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นและทำที่บ้าน เช่น การติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้องและผิวหนังรอบๆท่อ การอุดตันของท่อ การเกิดไส้เลื่อน ริดสีดวงทวารหนัก ปวดหลัง มีอาการทางสมอง คือ ความเสื่อม ซึม
แม้ว่าการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องชนิดต่อเนื่อง (CAPD) จะสามารถทำให้ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังดีขึ้น แต่ก็ไม่ได้ดีขึ้นทั้งหมด ผู้ป่วยยังคงต้องเผชิญกับภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง และความเหนื่อยล้ายุ่งยากในการปฏิบัติตนเพื่อการรักษา ซึ่งเน้นการควบคุมดูแลตนเอง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ความสำเร็จในการรักษาจึงขึ้นอยู่กับความรู้และความเข้าใจ ความร่วมมือในการรักษาและทักษะในการดูแลตนเองเป็นสำคัญ พยาบาลจึงมีบทบาท/ภารกิจ/ความรับผิดชอบ ที่สำคัญในการให้ข้อมูลและคำแนะนำ และให้การปรึกษาในด้านเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย ตั้งแต่ก่อนการใส่สายล้างไตทางหน้าท้อง การดูแลผู้ป่วยหลังใส่สายยางทางหน้าท้อง การส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ป่วยดูแลตนเองเพื่อให้ได้ผลดีในการรักษา สอนผู้ป่วยในเรื่องการทำความสะอาดบาดแผล การเปลี่ยนถ่ายน้ำยา และการดูแลตนเองทั่วๆไป การสังเกตสิ่งผิดปกติและการแก้ไขเบื้องต้น การดูแลเมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อน รวมทั้งการติดตามผลการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง
แนะนำตัว อธิบายจุดประสงค์และวิธีการสวนปัสสาวะให้ผู้ป่วยและญาติทราบ
ล้างมือและเตรียมจัดอุปกรณ์
จัดสิ่งแวดล้อมและจัดท่านอนผู้ป่วย
ใช้ Forceps คีบสำลีทำความสะอาดดังนี้
ซับให้แห้ง (ถ้าใช้น้ำสบู่ต้องราดตามด้วยน้ำสะอาด) และเลื่อนหม้อนอนออก
ล้างมือเปิดชุดสวนปัสสาวะ ฉีกอุปกรณ์ลงในชุดสวนปัสสาวะ ได้แก่ Foley’s Catheter, Urine bag บีบ K-Y jelly ไว้ในก็อสที่อยู่ในชุดสวนปัสสาวะ เทน้ำยา 0.9%NSS
ล้างมือ เปิดชุดการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ สอดหม้อนอน (กรณีผู้ป่วยมีผ้าอ้อมสำเร็จรูปสามารถใช้รองรับได้)
สวมถุงมือสะอาดปราศจากเชื้อ หล่อลื่นปลายสายสวน หญิง 1-3 นิ้ว ชาย 5-8 นิ้ว หรือสาย Foley’s catheter
ปูผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลาง ใช้ชายผ้าต่อกับน้ำห่อชุดสวนปัสสาวะ (กรณีเป็นการสวนค้างและไม่มีการเก็บปัสสาวะส่งตรวจให้ต่อสาย Foley’s Catheter กับ Urine bag)
ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก สอดปลายสายสวนปัสสาวะ หรือสาย Foley’s catheter เข้าในท่อปัสสาวะ
Inflate balloon catheter 10 cc ด้วย STW พร้อมทดสอบไม่ให้สายเลื่อนหลุด ติดปลาสเตอร์เพื่อตรึงสาย Foley’s catheter ให้อยู่กับที่ (เพศหญิงติดขาด้านใน เพศชายติดบริเวณเหนือหัวเหน่า)
แขวน Urine bag ต่ำกว่าระดับเอว ประเมินปริมาณปัสสาวะและสังเกตลักษณะของน้ำปัสสาวะ
นำอุปกรณ์ใช้แล้วไปทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ถอดถุงมือและล้างมือ
ถุงมือปราศจากเชื้อ
ชุดการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์พร้อมน้ำสบู่/น้ำสะอาด/ น้ำยาชำระอวัยวะสืบพันธุ์
น้ำยาหล่อลื่น/ KY-jelly
ชุดสวนปัสสาวะพร้อมน้ำยาชำระอวัยวะสืบพันธุ์ 0.9 %NSS
ภาชนะหรือถุงสำหรับใส่สำลีที่ใช้แล้ว
ผ้าปิดตา
หม้อนอน
สายสวนปัสสาวะ (Foley’s Catheter)
กระบอกฉีดยาดูดน้ำกลั่นจำนวนตามชนิดของสายสวนนั้นๆ พร้อมถาดรอง
พลาสเตอร์/อุปกรณ์สำหรับตรึงยึดสายสวนปัสสาวะ
ถุงรองรับปัสสาวะพร้อมที่แขวน
การสวนล้างกระเพาะปัสสาวะด้วยระบบเปิด (Irrigation the catheter using the open system)
ถุงมือปราศจากเชื้อ 1 คู่
สำลี และน้ำยาฆ่าเชื้อ
กระบอกสวนล้างขนาด 50 cc
น้ำยาที่ใช้ได้แก่ 0.9% NSS
ชุดสวนล้างกระเพาะปัสสาวะที่ปลอดเชื้อ 1 ชุด
แนะนำตัว อธิบายวัตถุประสงค์ และบอกขั้นตอนการล้างกระเพาะปัสสาวะ ให้ผู้ป่วยทราบ
ล้างมือ เตรียมอุปกรณ์ไปที่เตียงผู้ป่วย กั้นม่าน
จัดท่านอนหงาย และเลื่อนตัวผู้ป่วยมาใกล้ขอบเตียงด้านที่พยาบาลยืนอยู่
ล้างมือ เปิดชุดสวนล้างด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ เทน้ำยาใส่ลงในถ้วย ปลดสายสวนที่ต่อกับถุงรองรับปัสสาวะออก หุ้มห่อปลายข้อต่อของถุงด้วยก๊อส
สวมถุงมือ หยิบกระบอกสวนล้างดูดน้ำยาแล้วนำมาต่อกับปลายสายสวน ค่อยๆ ปล่อยให้น้ำยาไหลเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะอย่างช้าๆ ครั้งละประมาณ 50 cc แล้วค่อยๆดูดน้ำยาที่ใส่เข้าไปออกมา ซึ่งต้องมีจำนวนเท่ากับที่ใส่เข้าไปล้าง และทำต่อเช่นนี้อีกจนน้ำยาที่เข้าไปไหลออกมาใสสะอาดถ้าผู้ป่วยปวดมากหรือน้ำยาที่ใส่เข้าไปไม่ไหลออกมาต้องหยุดทำทันทีและรายงานแพทย์
ภายหลังสวนล้างเสร็จแล้ว ใช้สำลีชุบน้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดบริเวณข้อต่อสายสวน และถุงรองรับปัสสาวะแล้วนำมาต่อเข้าด้วยกัน
จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สุขสบาย และนำอุปกรณ์ไปล้างทำความสะอาด
บันทึกการสวนล้างกระเพาะปัสสาวะในบันทึกทางการพยาบาล โดยระบุวัน เวลา ชนิดและจำนวนสารน้ำที่สวนล้าง จำนวนและลักษณะสารน้ำที่ไหลออกมา
การสวนล้างกระเพาะปัสสาวะต่อเนื่องตลอดเวลา (Continuous bladder irrigation : CBI)
สารน้ำสวนล้างปราศจากเชื้อที่ใช้สวนล้างกระเพาะปัสสาวะตามแผนการรักษา เช่น น้ำเกลือ 0.9% จำนวน 1,000 cc
ชุดให้สารน้ำ
ถุงมือสะอาด 1 คู่
สายสวนปัสสาวะโฟเล่ย์ (Foley catheter ) ชนิด 3 หาง
จัดผู้ป่วยให้อยู่ในท่าที่สุขสบาย และพยาบาลอยู่ในท่าที่สามารถหยิบจับสายสวนปัสสาวะได้สะดวด
ล้างมือ และสวมถุงมือสะอาด
ต่อชุดให้สารน้ำกับขวดน้ำยาสวนล้าง ไล่อากาศที่อยู่ในสายชุดให้สารน้ำออกจนหมด แล้วต่อเข้ากับปลายสายสวนปัสสาวะชนิด 3 หาง ดูแลให้น้ำยา สวนล้างหยดเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะด้วยอัตราการไหลตามแผนการรักษาโดยทั่วไปประมาณ 60-80 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง
เทน้ำที่สวนล้างที่อยู่ในถุงรองรับปัสสาวะทุก 4 ชั่วโมง หรือเมื่อจำนวนน้ำประมาณ 3 ใน 4 ส่วนของถุงปัสสาวะ
บันทึกการสวนล้างกระเพาะปัสสาวะในบันทึกทางการพยาบาล โดยระบุวัน เวลา ชนิดและจำนวนสารน้ำที่สวนล้าง จำนวนและลักษณะสารน้ำที่ไหลออกมา อาการและอาการแสดงและความสุขสบายของผู้ป่วย