Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย - Coggle Diagram
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
ความหมายของกฎหมาย
กฎหมาย ตามบทนิยามของพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 คือ ใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกาหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ
กฎหมาย คือ ระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ ที่รัฐหรือผู้มีอานาจกาหนดขึ้น เพื่อควบคุมความประพฤติ/พฤติกรรมของมนุษย์ ที่อาจก่อให้เกิดความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย เกิดความไม่สงบขึ้นในสังคม หากผู้ใดฝ่าฝืนย่อมต้องได้รับโทษตามที่กฎหมายกาหนด
ลักษณะและประเภทของกฎหมาย
ลักษณะของกฎหมาย
1. กฎหมายต้องมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์
คือเป็นข้อบังคับที่เป็นมาตรฐานที่ใช้วัดหรือกาหนดความประพฤติของคนในสังคมว่าถูกหรือผิด ทำได้หรือไม่ได้ เช่น มาตรา ๑๕๖๔ บัญญัติว่า “บิดามารดาจาต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์
2. กฎหมายต้องกาหนดขึ้นโดยรัฐหรือผู้มีอานาจ
คือ ต้องเป็นคาสั่งหรือข้อบังคับของผู้มีอานาจในรัฐ (รัฏฐาธิปัตย์) เช่น รัฐสภา รัฐบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น
3. กฎหมายต้องบังคับใช้โดยทั่วไป
คือ เมื่อมีการประกาศใช้แล้ว บุคคลทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายโดยเสมอภาค จะมีใครอยู่เหนือกฎหมายไม่ได้ ยกเว้นในบางกรณี เช่น กรณีของฑูตต่างประเทศซึ่งเข้ามาประจาในประเทศไทยอาจได้รับการยกเว้นไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายภาษีอากร
4. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ
คือ กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่กาหนดความประพฤติของบุคคล ดังนั้นเพื่อให้บุคคลนั้นปฏิบัติตาม
ประเภทของกฎหมาย
แบ่งตามสิทธิประโยชน์ และความสัมพันธ์ของบุคคล
1.กฎหมายมหาชน (Public Law)
เป็นกฎหมายที่บัญญัติความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน โดยรัฐเป็นฝ่ายปกครองที่มีอำนาจเหนือกว่าประชาชน เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ธรรมนูญศาลยุติธรรม เป็นต้น
2.กฎหมายเอกชน (Private Law)
เป็นกฎหมายที่บัญญัติความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน รวมทั้งหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินธุรกิจแบบเอกชน เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์ กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เป็นต้น
3.กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law)
เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่อประเทศ หรือรัฐต่อรัฐ เช่น แผนกคดีเมือง แผนกคดีอาญา เป็นต้น
แบ่งโดยแหล่งกำเนิดของกฎหมาย
1.กฎหมายภายใน
เป็นกฎหมายที่องค์กรของรัฐที่มีอำนาจในการบัญญัติกฎหมาย บัญญัติขึ้นใช้ภายในประเทศ
2. กฎหมายภายนอก
เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ หรือ เกิดจากความตกลงระหว่างประเทศ เช่น สนธิสัญญา อนุสัญญา เป็นต้น
แบ่งโดยเจตนารมณ์และเนื้อหาของกฎหมาย
กฎหมายระเบียบราชการ กฎหมายการเงินการคลัง กฎหมายธุรกิจ กฎหมายสาธารณะสุข กฎหมายอุตสาหกรรม
แบ่งโดยลักษณะการใช้กฎหมาย
1.กฎหมายสารบัญญัติ
กฎหมายที่กำหนดสิทธิหรือหน้าที่ที่ให้บุคคลปฏิบัติ เช่น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายคุ้มครองแรงงาน เป็นต้น
2. กฎหมายวิธีสบัญญัติ
กฎหมายที่เกี่ยวกับวิธีการพิจารณาคดีของศาล เช่น วิธีพิจารณาความแพ่ง วิธีพิจารณาความอาญา เป็นต้น
แบ่งโดยสภาพบังคับทางกฎหมาย
กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา กฎหมายปกครอง
ระบบของกฎหมาย
1. ระบบกฎหมายจารีตประเพณี
หรือระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Common law system)มีระบบการพิจารณาพิพากษาคดีที่อาศัยบรรทัดฐานจากคดีที่คล้ายคลึงกัน และผู้พิพากษาคนก่อนๆ ตัดสินคดีเดิมไว้ ประเทศที่ใช้ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย เป็นต้น
2. ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร
หรือระบบประมวลกฎหมาย (Civil law system)รัฐสภาเป็น ผู้ออกกฎหมาย ศาลต้องพิพากษาตามตัวบทกฎหมาย จึงเป็นการพิจารณาคดีจากหลักเกณฑ์ทั่วไปสู่เฉพาะเรื่อง (Deduction) และคาพิพากษาของศาลเป็นเพียงตัวอย่างของการใช้กฎหมาย
ลำดับชั้นหรือศักดิ์ของกฎหมาย
รัฐธรรมนูญ (Constitutional Law)
กฎหมายที่มีศักดิ์สูงสุด กำหนดรูปแบบการปกครองประเทศ
วางระเบียบอำนาจสูงสุดของรัฐหรืออำนาจอธิปไตย ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ
กฎหมายแม่บทของกฎหมายปกครองประเทศ ซึ่งกฎหมายอื่นจะขัดแย้งไม่ได้
พระราชบัญญัติ พระราชกาหนด และประมวลกฎหมาย
2.1 พระราชบัญญัติ (พรบ.) (Act)
คือ ผู้ที่สามารถเสนอร่างกฎหมายนี้ คือ คณะรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เสนอผ่านพรรคการเมืองที่ตนสังกัด เมื่อกฎหมายผ่านขั้นตอนการออกกฎหมายจากรัฐสภา นายกรัฐมนตรีจะนาทูลเกล้าฯ เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา จึงถือว่ากฎหมายมีผลบังคับใช้
2.2 ประมวลกฎหมาย (Code of Law)
เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประมวลรัษฎากร ประมวลกฎหมายยาเสพติด เป็นต้น
2.3 พระราชกำหนด (Royal Enactment)
เช่น พระราชกำหนดอัตราราคาน้ำมัน พระราชกำหนดอัตราภาษีอากร พระราชกำหนดฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
พระราชกฤษฎีกา (Royal Decree)
กำหนดรายละเอียดที่เป็นหลักย่อยของพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด
เช่น พระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
กฎกระทรวง (Ministerial Regulation)
ออกโดยฝ่ายบริหาร คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ
กฎกระทรวงกำหนดลักษณะของสถานพยาบาลและลักษณะการให้บริการของสถานพยาบาล พ.ศ. 2558
กฎกระทรวง กำหนดชื่อสถานพยาบาล
การแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อสถานพยาบาล ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล อัตราค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการ และสิทธิของผู้ป่วย พ.ศ. 2558
ระเบียบ และข้อบังคับ (Rule/Regulation/Discipline)
ออกโดยหัวหน้าหน่วยงานองค์กร
ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2550
ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยวิทยาลัยพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้นสูงแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2553
ประกาศและคาสั่ง (Announcement/Command)
ออกโดยหัวหน้าหน่วยงาน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในหน่วยงาน
ประกาศสภาการพยาบาลเรื่องห้ามมิให้ยาหรือสารละลายทางหลอดเลือดดำ
ประกาศสภาการพยาบาลเรื่องมาตรฐานการบริการพยาบาลและการผดุงครรภ์ระดับทุติยภูมิและตติยภูมิ
ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องยาสามัญประจาบ้าน
อื่นๆ
ข้อบังคับท้องถิ่น เป็นกฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองตนเอง ีผลบังคับใช้เฉพาะพื้นที่เท่านั้น
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
ข้อบัญญัติเมืองพัทยา
ข้อบัญญัติจังหวัด และเทศบัญญัติ
ลักษณะของระบบศาลไทย
ศาลรัฐธรรมนูญ
จัดตั้งขึ้นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
มีอานาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ
ศาลยุติธรรม
2.1 ศาลชั้นต้น
ศาลแพ่ง เป็นศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอานาจของศาลยุติธรรมอื่น
ศาลอาญา เป็นศาลชั้นต้นซึ่งมีอานาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร นอกจากท้องที่ที่อยู่ในเขตของศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี และศาลจังหวัดมีนบุรี
2.2 ศาลอุทธรณ์
ลำดับที่สูงกว่าศาลชั้นต้น
มีองค์คณะ ผู้พิพากษาอย่างน้อย 3 คน เพื่อพิจารณาตัดสินคดี
คำสั่งการขอประกันตัวในคดีอาญา การขอทุเลาการบังคับในคดีแพ่ง
2.3 ศาลฎีกา
เป็นศาลยุติธรรมสูงสุด
การวินิจฉัยชี้ขาดของศาลฎีกาถือเป็นที่สุดหรือเป็นคดีแดง ซึ่งคู่กรณีไม่สามารถนากลับมาฟ้องร้องได้
ศาลปกครอง (Administrative Court)
เป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 276
จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
รูปแบบการพิจารณาคดีใช้ “ระบบไต่สวน” ที่ศาลเป็นผู้ค้นหาความจริงด้วยตนเอง
ศาลปกครองมี 2 ชั้น คือ ศาลปกครองชั้นต้น และศาลปกครองสูงสุด
4.ศาลทหาร
มีการทหารไว้ป้องกันประเทศ
มีหน้าที่จัดการปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้
มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีที่ทหารกองประจาการกระทำผิด ตามกฎหมายพระธรรมนูญศาลทหาร