Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วัฒนธรรมองค์กรที่คำนึงถึงความเสี่ยง (Risk Culture) - Coggle Diagram
วัฒนธรรมองค์กรที่คำนึงถึงความเสี่ยง (Risk Culture)
หมายถึง
คุณค่า ทัศนคติ ความเชื่อ ความรู้ ความเข้าใจ และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยงของพนักงาน ทีมงาน หรือกลุ่มงานในองค์กร โดยมีจุดประสงค์ร่วมกัน
หลักการพื้นฐานของวัฒนธรรมองค์กร เริ่มต้นจากแบบจำลอง ABC Model
A = Attitude
ทัศนคติของบุคลากร
B = Behaviour
พฤติกรรมองค์กร
C = Culture
วัฒนธรรมองค์กร
ความสำคัญ
จากเหตุการณ์ล่มสลายขององค์กรชั้นนำระดับโลก
ธนาคารเลห์แมน บราเธอร์ส
บ.เอนรอน
บ.เวิร์ลคอม
บ.ตรวจสอบบัญชี อาร์เธอร์ แอนเดอร์สัน
เกิดจาก
Risk Culture อ่อนแอ
ทำให้เกิดการปฏิบัติงานที่ผิดพลาด/ทุจริต
Risk Culture เปรียบเหมือนภูมิคุ้มกันแก่องค์กร ส่งเสริมให้องค์กรมีธรรมาภิบาล มีการกำกับดูแลที่ดี และสนับสนุนให้การดำเนินงานขององค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
Risk Culture เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการบริหารจัดการองค์กร
จะส่งผลกระทบต่อ
การกำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยง
การประเมินความเสี่ยง
ผลการดำเนินงาน
การตัดสินใจ
พฤติกรรมขององค์กรและบุคลากรเป็นสิ่งที่สะท้อนถึง Risk Culture โดยตรง
ตัวชี้ัดที่สะท้อน Risk Culture ุ 5 ข้อ
โครงสร้างองค์กรและการกำกับดูแล (Organization Structure and Governance)
จริยธรรมทางธุรกิจ (Code of Conduct)
โครงสร้างองค์กร (Three Line of Defense)
คัดเลือกคณะกรรรมการชุดต่างๆ
กำหนดหน้าที่ของหัวหน้าหน่วยงานบริหารความเสี่ยง (Chief Risk Officer : CRO)
การให้ความสำคัญโดยผู้บริหารระดับสูง (Tone from the Top)
การสื่อสารวิสัยทัศน์ พันธิจ ค่านิยมองค์กร เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ได้รับการยอมรับและเข้าใจทั้งองค์กร
คกก.กำหนดหรืออนุมัติกรอบการกำกับดูแลความเสี่ยงที่ดี (Risk Governance Framework)
กำหนด risk Appetite สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และเป้าหมายองค์กร
คกก. ผู้บริหารระดับสูง กำหนดทิศทาง เป้าหมายของการบริหารความเสี่ยง และการสร้าง Risk Culture
ความรับผิดชอบ (Accountability)
กำหนดบทบาทความรับผิดชอบด้านการบริหารความเสี่ยงอย่างชัดเจน ทั่วทั้งองค์กร
ผู้บริหารและพนักงานมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย และเข้าใจผลกระทบหาไม่ปฏิบัติตามค่านิยมองค์กร Risk Appetite และ Risk Culture
กำหนดบทลงโทษหรือผลกระทบที่ชัดเจน
การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ (Effective Communication)
สื่อสารเรื่องความเสี่ยง
สนับสนุน เปิดโอกาสให้เกิดการแสดงความเห็นที่หลากหลาย
สื่อสารเรื่องความเสี่ยงอย่างโปร่งใส ซื่อตรง และทันเวลา
มีกระบวนการแจ้งข้อมูลหรือเบาะแสเกี่ยวกับการฉ้อฉล (Whistle Blowing) รวมทั้งกำหนดกระบวนการคุ้มครองดูแล ผู้แจ้งเบาะแส (Whistle Blower)
แรงจูงใจ (Incentive)
กระบวนการพัฒนาบุคลากรถูกกำหนดไว้สำหรับพนักงานทุกคน เพื่อพัฒนาขีดความสามารถด้านการบริหารความเสี่ยง
ความรู้ความเข้าใจเรื่องการบริหารความเสี่ยง เป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับพนักงานระดับอาวุโส
มีกระบวนการสับเปลี่ยนหมุนเวียนงาน ระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้านการควบคุม (Control Functions)
การเสริมสร้าง Risk Culture ของ ธ.ก.ส.
1 กำหนดโครงสร้างองค์กรและจำแนกส่วนงานตามอำนาจหน้าที่ Three Lines of Defense
2 กำหนดให้ผู้บริหารระดับสูงสื่อสารทิศทาง เป้าหมาย และความสำคัญของการบริหารความเสี่ยง ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง
3 กำหนดและสื่อสารนโยบายบริหารความเสี่ยง เพดานความเสี่ยง ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ปัจจัยเสี่ยง กระบวนการบริหารความเสี่ยง
4 ติดตามฐานะความเสี่ยงโดยรวมและความเสี่ยงประเภทต่างๆ
5 ปลูกฝังให้พนักงานทุกระดับตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบในการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการปฏิบัติงานของตนเอง (Ownership of Risk)
ุ6 กำหนดให้การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในเป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการฝึกอบรมผู้บริหารและพนักงาน เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลผู้บริหาร
7 สื่อสารให้ความรู้เรื่องการบริหารความเสี่ยงไปยังพนักงานทั่วทั้งองค์กรผ่านช่องทางต่างๆ