Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การปฐมพยาบาลทางจิตใจ (Psychological first Aid: PFA) - Coggle Diagram
การปฐมพยาบาลทางจิตใจ
(Psychological first Aid: PFA)
วิธีการสร้างสัมพันธภาพและการเข้าถึงจิตใจ
ของผู้ได้รับผลกระทบ (
Engagement:E
)
การสังเกตภาษาท่าทางและพฤติกรรม
Nonverbal
ได้แก่ สีหน้า แววตา ท่าทาง การเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น กํามือ มือไขว่คว้า ผุดลุกผุดนั่ง ลุกลี้ลุกลน น้ําเสียงกรีดร้อง ตะโกน แผ่วเบา ละล่ำละลัก จับใจความไม่ได้ ลั่นสะอื้น ก้มหน้า เอามือกุมศีรษะหรือปิดหน้า นอนหรือนั่งแบบหมดอาลัยตายอยาก นั่งนิ่งไม่ขยับเขยื้อน เดินไปเดินมา
Verbal
ได้แก่ พูดสับสน ฟังไม่รู้เรื่อง ด่าทอ ร้องขอความช่วยเหลือ พูดซ้ำไปซ้ำมา พูดวกวน
การสร้างสัมพันธภาพ
วิธีการเริ่มจากการที่ผู้ให้การช่วยเหลือควรมีท่าทีสงบนิ่งมีการแนะนํา ตัวเอง มีการมองหน้าสบตา รับฟังด้วยท่าทีที่สงบให้กําลังใจ ด้วยการพยักหน้า การสัมผัส
การแสดงออกของผู้ให้การช่วยเหลือควรเหมาะสมกับเหตุการณ์อารมณ์ ความรู้สึกและสภาพสังคม วัฒนธรรม ศาสนาของผู้ประสบเหตุการณ์วิกฤต
การสื่อสาร
ควรเริ่มพูดคุยเบื้องต้นเมื่อผู้ประสบเหตุการณ์วิกฤตมีความพร้อม
เน้นถึงความรู้สึกขณะนั้น เช่น ถามว่า “ตอนนี้รู้สึกเป็นอย่างไรบ้าง” เพื่อให้พูดระบายความรู้สึก แต่ไม่ควรซักถามถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นอกจากผู้ประสบเหตุการณ์วิกฤตอยากเล่า
วิธีการประเมินผู้ได้รับผลกระทบ
(
Assessment:A
)
ประเมินและตอบสนอง
ความต้องการทางด้านร่างกาย
รับบาดเจ็บทางด้านร่างกายก็ต้องบรรเทาความเจ็บปวดด้วยการให้ยา
มีอาการอ่อนเพลีย ควรจัดหานํ้าให้ดื่ม หาอาหารให้รับประทาน
เป็นลม ควรจัดหายาดมแอมโมเนีย ผ้าเย็นเช็ดหน้าและแขน
กําลังอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไมปลอดภัย เช่น มีเศษแก้วตกอยู่
ให้เคลื่อนย้าย ผู้ประสบภาวะวิกฤตไปอยู่ในที่ปลอดภัย
การประเมินสภาพจิตใจ
ผู้ประสบภาวะวิกฤต
อยู่ในภาวะช็อกและปฏิเสธ
การดูแลทางกาย โดยให้อยู่ในสถานที่ที่สงบ รู้สึกปลอดภัย เตรียมนํ้า ยาดม ให้นั่งหรือ นอนราบ คลายเสื้อผ้ากรณีเป็นลมหรือหายใจไม่ออก
การดูแลทางจิตใจ ให้ผู้ประสบภาวะวิกฤตได้ระบายความรู้สึก และใช้เทคนิคการสัมผัสตาม ความเหมาะสม ฝึกกําหนดลมหายใจเพื่อลดความเครียด
การช่วยเหลือทางสังคมสอบถามความต้องการเร่งด่วนของผู้ประสบภาวะวิกฤตให้ความ ช่วยเหลือตามความต้องการอย่างรีบเร่ง
ผู้ประสบภาวะวิกฤต
อยู่ในภาวะโกรธ
การดูแลทางกายโดยให้อยู่ในสถานที่ปลอดภัย ให้มีการดูแลอย่างใกล้ชิด จัดระยะห่างที่เหมาะสมระหว่างผู้ประสบภาวะวิกฤต และผู้ให้การช่วยเหลือ
การดูแลทางใจโดยให้ระบายความรู้สึกโดยใช้ทักษะการฟังอย่างตั้งใจ (ActiveListening Skill) และพูดสะท้อนอารมณ์
ผู้ประสบภาวะวิกฤต
อยู่ในภาวะต่อรอง
อดทน รับฟัง ไม่แสดงอาการท่าทางเบื่อหน่าย
สนองความต้องการในสิ่งที่สามารถให้ได้
การให้ข้อมูลที่ถูกต้องที่เป็นจริงตามความเหมาะสม
ทักษะการประเมินอารมณ์ความรู้สึกผู้ประสบภาวะวิกฤตและทักษะการบอกข่าวร้าย
ผู้ประสบภาวะวิกฤต
อยู่ในภาวะเสียใจ
การช่วยเหลือทางกายทําได้โดยหาผ้าเช็ดหน้า นํ้าเย็น ผ้าเย็น
ในรายที่มีอาการหายใจไม่ออก อาจใช้การฝึกหายใจแบบ Breathing Exercise หรือใช้การสัมผัส (Touching)
ช่วยให้ผู้ประสบภาวะวิกฤตหาสิ่งยึดเหนี่ยวในชีวิต เช่น ญาติ ลูก พระเจ้า ศาสนา
การประเมินภาวะฆ่าตัวตาย
ผู้ประสบภาวะวิกฤตรับฟังมากขึ้นยอมรับข้อมูล
อารมณ์สงบ
ลดเงื่อนไขในการต่อรองลง อาจต่อรองในสิ่งที่มีความเป็นไปได้มากขึ้นยอมรับความจริงมากขึ้น
หลังจากผู้ประสบภาวะวิกฤตยอมรับความจริงมีอารมณ์สงบลง อาจมีการหดหู่ ท้อแท้ไม่มีกําลังใจ อาจเข้าสู่อาการภาวะซึมเศร้าได้ ผู้ให้การช่วยเหลือต้องประเมินสภาพการณ์เฉพาะหน้า และอารมณ์ที่แปรเปลี่ยนไปของผู้ประสบภาวะวิกฤต
วิธีการเรียกขวัญคืนสติลดความเจ็บปวดทางใจ
เสริมสร้างทักษะ (
Skills:S
)
การฝึกกําหนดลมหายใจ (Breathing exercise) เพื่อให้เกิดความผ่อนคลายทางอารมณ์ ลดอาการใจสั่น หายใจถี่แรง
Touching skill การสัมผัสทางกาย เช่น แตะบ่าแตะมือบีบนวดเบาๆโดยคํานึงถึงความเหมาะสม
ทักษะการ Grounding คือการช่วยให้ผู้ประสบเหตุการณ์วิกฤตที่มีอารมณ์ท่วมท้น (overwhelmed feeling) กลับมาอยู่กับความเป็นจริงโดยเพิ่มปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม รอบตัว เป็นเทคนิคที่ง่ายและรวดเร็ว
การนวดสัมผัส และ การนวดกดจุดคลายเครียด เป็นการลด
ความเครียด ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ยังเสริมสร้างความรู้สึกอบอุ่นใจ มั่นคงปลอดภัย
การลดความเจ็บปวดทางใจ
ทักษะการลดความเจ็บปวดทางใจ ได้แก่ การฟังอย่างใส่ใจ (ActiveListening) การสะท้อนความรู้สึก การเงียบ และการทวนซ้ำ
การเสริมสร้างทักษะ การเรียนรู้การเสริมสร้าง Coping skills สามารถช่วยลดความกังวลปฏิกิริยาที่เป็นทุกข์อื่นๆ ช่วยแก้ไขสถานการณ์และช่วยผู้ประสบเหตุการณ์วิกฤตให้ผ่านพ้นช่วงเวลาอันเลวร้าย
วิธีการให้สุขภาพจิตศึกษา
และข้อมูลที่จําเป็น(
Education: E
)
ตรวจสอบความต้องการ
โดยไต่ถามถึงข้อมูลและตรวจสอบความต้องการช่วยเหลือ
ที่จําเป็นและเร่งด่วน
การตรวจสอบความต้องการของผู้ประสบภาวะวิกฤตจะใช้วิธีสอบถามเพื่อสํารวจในเรื่อง ความต้องการ การสนับสนุนในด้านเศรษฐกิจ การเงิน อาชีพ ปัญหาภายในครอบครัวที่ต้องการการช่วยเหลือ
เติมเต็มความรู้
ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้นจากความเครียด
และผลกระทบทางจิตใจที่อาจเกิดขึ้น
บอกวิธีการปฏิบัติตัวเพื่อลดความเครียด แหล่งช่วยเหลือต่างๆ ทั้งของภาครัฐและ เอกชน เช่น เงินทุน สิทธิประโยชน์ที่ควรได้
ติดตามต่อเนื่อง
วางแผนและหาแนวทางในการรับการช่วยเหลือต่างๆ เพิ่มเติม
ควรมีการ พูดคุยวางแผนร่วมกันระหว่างผู้ให้การช่วยเหลือกับผู้ประสบภาวะวิกฤต
ใช้วิธีการติดตามโดยการนัดหมายมาพบที่สถานบริการสาธารณสุข การโทรศัพท์ติดตามผล และการเยี่ยมบ้าน