Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบเลือด - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบเลือด
เกล็ดเลือด (Thrombocyte , platelet)
เป็นองค์ประกอบของเลือดที่มีขนาดเล็กที่สุด ประมาณ 2-4 ไมครอน ไม่มีนิวเคลียส ส่วนใหญ่รูปร่างกลม แบน หรือ รูปไข่ ติดสีฟ้าอ่อน มีพบอะซูโรฟิลิกแกรนูลติดสีม่วงหรือม่วงแดงกระจายอยู่ทั่วไปกลางเซลล์
กําเนิดมาจากเซลล์เมกะคาริโอไซต์ (megakaryocyte) ในไขกระดูก มีเซลล์ที่เรียกว่า ทรอมโบไซต์ (thrombocyte) ทําหน้าที่สําคัญเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด ช่วยทําให้เลือดหยุดไหลหรือห้ามเลือดเมื่อเกิดบาดแผล
กลไกห้ามเลือด (Homeostasis)
Vasoconstriction เมื่อเกิดบาดแผล สารซีโรโทนิน(serotonin) จากเกล็ดเลือดจะกระตุ้นให้หลอดเลือดหดตัว
Platelet aggregation คือเซลล์ที่ได้รับความเสียหาย และเกล็ดเลือด จะปล่อยสาร ADP (adenosine diphosphate) ออกมาทําให้เกล็ดเลือดเกิดการเปลี่ยนรูปร่าง และรวมกัน (aggregate) อุดหลอดเลือดที่เกิดบาดแผล
Coagulation, clot
การซักประวัติและการตรวจร่างกาย
Abdominal discomfort ,fullness
Abdominal pain
Anemia
Angina pectoris
Anorexia
Arthritis
Back pain
Hematoma
Purpura
Bleeding per gum
Bruising
การซักประวัติ
Blindness
Bone pain
Brittle nail
Dryness of mouth
Echymosis
Edema
Epistasis
Erythroderma
Fever
Fracture
Gastrointestinal Bleeding
Gum hypertrophy
Hemarthrosis
numbness
Pollor
Petechiae
Sore tongue
Weight loss
Coagulation, clot
การเปลี่ยนโปรทรอมบิน (prothrombin) เป็นทรอมบิน (thrombin)ทรอมโบพลาสติน (thromboplastin) ที่เกิดขึ้นจะกระตุ้นการเปลี่ยนโปรทรอมบิน เป็นทรอมบิน
การเปลี่ยนไฟบริโนเจน (fibrinogen) เป็นไฟบริน (fibrin)ทรอมบินที่เกิดขึ้นจะเปลี่ยนไฟบริโนเจน เป็นไฟบริน โดยใช้แคลเซียมอิออน
(Ca 2+) และปัจจัยการแข็งตัวของเลือดชนิดต่างๆ ไฟบรินเป็นเส้นใยโปรตีนที่ไม่ละลายนํ้ามีการรวมตัวกันแน่นประสานเป็นร่างแห และยึดจับกับเม็ดเลือดแดงกลายเป็นก้อนเลือด (clot)
การเกิดการหดตัวของก้อนเลือด (clot retraction)
ลักษณะอาการเลือดออกที่ผิดปกติ
purpura เป็นภาวะที่มีเลือดออกใต้ผิวหนังหรือออกที่เยื่อเมือก (mucous membrane)ทำให้มีรอยเขียวตามผิวหนัง กดแล้วไม่จางหายไป
ออกเป็นจุดเล็กๆ เรียกว่า petechiae ถ้าออกเป็นจุดปานกลาง เรียกว่า purpuric spot
ออกเป็นจ้ำใหญ่ๆเรียกว่า echymosisหรือที่เรียกกันว่าพรายย้ำ
hematoma ภาวะที่มีเลือดคั่งเป็นก้อน
hemarthrosis ภาวะที่มีเลือดออกในข้อ
epistaxis ภาวะเลือดออกจากจมูก ( เลือดกำเดา )
bleeding per gum ภาวะเลือดออกจากบริเวณเหงือกและไรฟัน
สาเหตุของเลือดออกผิดปกติ
ความผิดปกติของหลอดเลือด ลักษณะเลือดออกจะเป็น petchiae หรือ ecchymosis ตื้นๆ กดดูไม่เป็นไตแข็งอยู่ข้างล่าง อาจมีสาเหตุมาจาก หลอดเลือดเปราะ ในผู้ป่วยที่มีปัญหา ติดเชื้อ ขาดอาหาร ขาดวิตามินซี รับประทานยา steroid นานๆ
ความผิดปกติของเกล็ดเลือด ลักษณะเลือดออกมักจะเป็น petchiae ecchymosis และ mucosal bleeding เช่น เลือดกำเดา ปัสสาวะเป็นเลือด เลือดออกในทางเดินอาหาร ประจำเดือนออกมากและนานกว่าปกติ ความผิดปกติของเกล็ดเลือด อาจเกิดจาก ปริมาณเกล็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenia) หรือ เกล็ดเลือดทำหน้าที่ผิดปกติ)
ความพร่องในปัจจัยการแข็งตัวของเลือด ลักษณะเลือดออกมักจะมี ecchymosis ขนาดใหญ่ เลือดออกในข้อ (hemarthrosis) เลือดออกในกล้ามเนื้อ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
platelet count คือการตรวจนับจำนวนเกล็ดเลือด และดูลักษณะของเกล็ดเลือด
Bleeding time ค่าปกติ 2 – 7 นาที
Touniquet test ค่าปกติ 0-10 จุด ในพื้นที่วงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว ที่บริเวณหน้าแขน
Clot retraction ปกติเกิดขึ้นภายใน 1 – 2 ชั่วโมง
Venous clotting time (VCT) ปกติเลือดจะแข็งตัวภายใน 5 – 15 นาที.
Prothrombin time (PT)ใช้ตรวจการขาดของ factor I II V VII และ X ค่าปกติ 12 – 15 วินาที
Partial thromboplastin time (PTT) ใช้ตรวจการขาดปัจจัยการแข็งตัวของเลือดทุก factor ยกเว้น factor VII
Thrombin time (TT) ใช้ตรวจการพร่องหรือการทำหน้าที่ผิดปกติของ fibrinogen ค่าปกติประมาณ 1-2 วินาที
สาเหตุของภาวะเกล็ดเลือดต่ำ
สร้างจากไขกระดูกได้น้อย เช่น ภาวะที่ไขกระดูกฝ่อ (Aplastic anemia) หรือภาวะที่ไขกระดูกถูกกดเบียดจากการมีโรคมะเร็งกระจายเข้าในไขกระดูก เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือเกล็ดเลือดต่ำจากยาบางชนิดที่ไปกดการสร้างเม็ดเลือดที่ไขกระดูก เช่น ยาในกลุ่มยาเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง
เกล็ดเลือดถูกทำลายมาก เช่น ในโรคที่เรียกว่า SLE
เกล็ดเลือดถูกบีบ (Squeeze) ไปอยู่ในที่หนึ่งที่ใดมากเกินไป เช่นไปอยู่ในหลอดเลือดที่ม้าม หรืออยู่ในก้อนที่มีหลอดเลือด
การใช้เกล็ดเลือดมากเกินไป เช่น ในภาวะที่มีเลือดออกร่างกายต้องนำเกล็ดเลือดไปใช้ในการห้ามเลือด
เกล็ดเลือดต่ำเพราะมีปริมาณน้ำในร่างกายมาก (Dilutional thrombocy topenia) พบในผู้ที่ได้รับน้ำเกลือ หรือสารน้ำคอลลอยด์
Idiopathic thrombocytopenic purpura ( ITP )
เป็นโรคที่มีอาการเลือดออกจากการมีจำนวนเกล็ดเลือดต่ำ โดยร่างกายสร้าง platelet antiboby ขึ้นมาทำลายเกล็ดเลือดของตัวเองและของผู้อื่น ทำให้มีเลือดออกใต้ผิวหนัง ( purpura ) ไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน เชื่อว่าเกิดจากปฏิกริยาอิมมูน จึงมีชื่อเรียกอื่นๆว่าImmunologic idiopathic purpura หรือ Autoimmune thrombocytopenic purpuraโรค ITP แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ แบบเฉียบพลัน ( acute ) และแบบเรื้อรัง ( chronic )
ในเด็ก มักจะเป็นแบบเฉียบพลัน และหายภายใน 6 - 12 เดือน ส่วนใหญ่จะหายในระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 1 - 2 เดือน และไม่กลับเป็นซ้ำ
ลักษณะอาการ
ส่วนใหญ่มีอาการเลือดออกตามผิวหนังและอวัยวะต่างๆ โดยไม่มีสาเหตุใดๆนำมาก่อนเช่น petechiae, purpuric spot, echymosis, epistaxis, abnormal menstrual bleeding หรือ เสียเลือดอย่างรวดเร็วและรุนแรงจาก GI bleeding, ตับม้ามและต่อมน้ำเหลืองไม่โต บางรายมีการติดเชื้อ URI นำมาก่อน ภาวะแทรกซ้อนที่น่ากลัวที่สุดคือ intracranial hemorrhage
ผลการตรวจทางห้องทดลอง
1.เกล็ดเลือดต่ำกว่า hemostatic level คือ 60,000 เซลล์/ลบ.มม. รายที่มีอาการรุนแรงมักจะต่ำกว่า 20,000 เซลล์/ลบ.มม.
2.hematrocrit อยู่ในเกณฑ์ปกติ ยกเว้นในรายที่มีเลือดออกรุนแรง หรือเลือดเรื้อรังอาจมีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กร่วมด้วย
3.WBC ปกติ บางรายพบ lymphocyte สูง
4.bone marrow พบตัวอ่อนของเกล็ดเลือดเพิ่มขึ้น
5.platelet antibody ได้ผลบวกร้อยละ 38 - 76 % 6. platelet อายุสั้นไม่เกิน 1 วัน ( ปกติ 9 - 11 วัน )
การรักษา
การรักษาตามอาการ
หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เลือดออก
เช่นเดียวกับผู้ป่วยเลือดออกง่ายทั่วไป
การห้ามเลือดที่ออกในจมูกด้วยการทำ
anterior nasal packing ถ้ายังออกไม่หยุด
ทำ posterior nasal packing
แนะนำให้มารดาและผู้ป่วยเข้าใจเกี่ยวกับ
โรคที่เป็นอยู่เป็นสิ่งสำคัญ
ให้เกล็ดเลือดเฉพาะในรายที่มีเลือดออกรุนแรง
หรือออกในอวัยวะที่สำคัญๆ เช่นสมอง หรือในการผ่าตัด
การรักษาจำเพาะ
2.1 ให้ยา Pednisolone 1 - 2 มก./กก./วัน ยาจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของหลอดเลือด สกัดไม่ให้ ระบบ reticuloendotherium ทำลายเกล็ดเลือด และออกฤทธิ์ลดการสร้าง antibody ต่อเกล็ดเลือด
2.2 ทำผ่าตัดเอาม้ามออก ( splenectomy ) ในรายที่รักษาด้วย Pednisolone ไม่ได้ผล เนื่องจากม้ามเป็นแหล่งที่สำคัญในการทำลายเกล็ดเลือด ดังนั้นการตัดม้ามออกจึงเป็นการแก้ปัญหาเกล็ดเลือดต่ำได้ การตัดม้ามจะทำในเด็กที่อายุเกิน 4 ปี เพราะในช่วง4 ปี แรก ม้ามจะมีหน้าที่สร้างภูมคุ้มกันต่อเชื้อโรคต่างๆ
Thrombocytopenia
อาการ
Ecchymosis
Purpura
Nosebleeds
Mennorrhagia
Hematuria
Blood in stool
Petechiae
การพยาบาลเมื่อมีเลือดออก
เพื่อช่วยให้เลือดหยุดและป้องกันไม่ให้เลือดออกโดยการ Stop bleeding
บาดแผล ทำ pressure dressing นานประมาณ 10 - 15 นาที หรือจนเลือดหยุด งดการเคลื่อนไหวบริเวณนั้นและยกบริเวณที่มีเลือดออกให้สูงเหนือกว่าระดับหัวใจ
Purpura ให้ผู้ป่วยนอนพักบนเตียง
Epistaxis ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้บีบปีกจมูกทั้งสองข้าง และวางกระเป๋าน้ำแข็งหรือ cold pack ที่บริเวณหน้าผาก จัดให้นั่งอยู่ในท่าโยกตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย หรือนอนศีรษะสูงตะแคงหน้าไปด้านที่มีเลือดออก เพื่อให้ผู้ป่วยคายเลือดที่ไหลลงคอได้สะดวก ถ้าเลือดออกมากและไม่หยุดไหล แพทย์จะทำ anterior nasal packing ด้วย gel foam หรือ gauze drain ชุบ Adrenalin 1 : 1000
Bleeding per gum & teeth ถ้ามองเห็นจุดที่เลือดออก ให้ผู้ป่วยกัด gauze ที่บริเวณนั้นไว้ ถ้าออกทั่วๆไป ไม่มาก ให้บ้วนปากเบาๆ ด้วยน้ำเย็นห้ามดึงลิ่มเลือดออก ภายหลังจากให้ platelets หรือ clotting factor ที่ขาดแล้วเลือดจะหยุดได้เอง งดการแปรงฟัน ถ้าเลือดออกมากต้องส่งปรึกษาแผนกทันตกรรมเพื่อพิจารณาใส่ dental splint
Hemarthrosis พันข้อด้วย elastic bandage งดการเคลื่อนไหวข้อนั้นละยกข้อให้สูงเหนือระดับหัวใจ ประคบด้วยความเย็นใน 24 ชั่วโมงแรก
ป้องกัน bleeding โดยไม่ให้เกิด trauma
ให้การพยาบาลอย่างนุ่มนวล การอาบน้ำผู้ป่วยต้องทำอย่างเบามือ ใช้แปรงสีฟันชนิดขนอ่อน ขณะที่มีเลือดออกต้องงดแปรงฟันทำความสะอาดปากฟันโดยการ บ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปาก เช็ดเบาๆด้วยไม้พันสำลี ห้ามดึงลิ่มเลือดออก
ขณะที่ผู้ป่วยหลับหรือสลึมสลือ ให้ยกไม้กั้นเตียงขึ้นทุกครั้งป้องกันเด็กตกเตียง
ห้ามฉีดยาทางกล้ามเนื้อ ถ้า platelets น้อยกว่า 60,000 เซลล์/ลบ.มม.
การเจาะเลือด การแทงเข็มให้สารน้ำควรให้ผู้ที่มีความชำนาญเป็นผู้ทำ ภายหลังเอาเข็มออกจากตัวผู้ป่วยต้องกดรอยเข็มไว้นานๆประมาณ 5 - 10 นาทีและต้องแน่ใจว่าเลือดหยุดจริง
ถ้า IV leakaged ต้องหยุดการให้ทันที เพราะอาจทำให้เลือดออกมาใต้ชั้นผิวหนังนอกเส้นเลือด ทำให้เกิด tissue necrosis ได้
Snake bite
พิษต่อระบบเลือด (hematotoxin)
Viper ได้แก่ งูแมวเซา (Russell’s viper; Daboia russelli)
Pit-viper ได้แก่ งูกะปะ (Malayan pit viper; Calloselasma rhodostoma) และงูเขียวหางไหม้ (green pit viper; Trimerusurus spp.)
การเป็นพิษต่อระบบเลือด คือการทำให้เกิดภาวะเลือดออกง่าย (bleeding tendency) งูในกลุ่มนี้ ได้แก่
viper พิษของงูชนิดนี้มีลักษณะเป็น thromboplastin-like กล่าวคือ จะกระตุ้น factor X และเปลี่ยน โปรธร็อมบิน ให้กลายเป็น ธร็อมบิน ใน common pathway ของกระบวนการแข็งตัวของเลือด (coagulation cascade) ธร็อมบินที่เกิดขึ้นจะไปกระตุ้น ไฟบริโนเจน ให้เป็น ไฟบริน และไปกระตุ้น แฟดเตอร์ XIII ซึ่งจะทำให้ เกิดเป็นลิ่มเลือดทั่วทั้งร่างกายที่เรียกว่าภาวะเลือดจับลิ่มในหลอดเลือดแพร่กระจาย (disseminated intravascular coagulation, DIC) จึงเกิดภาวะเลือดออกผิดปรกติ และยังมีการลดลงของเกล็ดเลือดจากภาวะ DIC อีกด้วย
pit-viper พิษของงูชนิดนี้มีลักษณะเป็น thrombin-like กล่าวคือจะกระตุ้น ไฟบริโนเจน ให้เป็นไฟบรินแต่เป็นเพียง fibrin monomer ไม่เกิด cross-linked fibrin จึงไม่มีภาวะ DIC ภาวะเลือดออกผิดปรกติเกิดจากการที่ ไฟบริโนเจน ถูกใช้ไปหมด นอกจากนี้พิษงูยังมีผลทำลายเกล็ดเลือด ให้มีการลดลงของเกล็ดเลือดด้วย
อาการ
ปวด บวม แดง ร้อน แต่ไม่มาก ได้แก่ งูแมวเซา หรืออาการระยะแรกของงูเห่าและงูจงอาง ในกรณีที่พบมีเลือดออกจากรอยเขี้ยวให้คิดถึงงูแมวเซา
มีอาการเลือดออกผิดปรกติ ได้แก่ เลือดออกจากแผลรอยกัดมาก, มีจ้ำเลือดบริเวณแผล, เลือดออกตามไรฟัน, จุดเลือดตามตัว, ปัสสาวะเป็นเลือด, อาเจียนเป็นเลือด
ในกรณีงูแมวเซาซึ่งเป็น viper จะมีอาการปวดกล้ามเนื้อตามตัวได้มาก มีอาการและอาการแสดงของภาวะ DIC และมีอาการของภาวะไตล้มเหลวเฉียบพลัน
ในกรณีของงูกะปะและงูเขียวหางไหม้ อาการเลือดออกผิดปรกติมักไม่รุนแรง แต่อาการที่บริเวณแผลงูกัดจะรุนแรง
การให้เซรุ่ม
งูแมวเซา VCT>20 นาที ให้เซรุ่ม 60 มล. ให้ซ้ำทุก 6 ชั่วโมง จนกว่า VCT ลดลงต่ำกว่า 30 นาที
งูกะปะ VCT>20 นาที ให้เซรุ่ม 50 มล. ให้ซ้ำทุก 6 ชั่วโมง จนกว่า VCT ลดลงต่ำกว่า 30 นาที
งูเขียวหางไหม้ ให้เซรุ่ม 50 มล. ให้ซ้ำทุก 6 ชั่วโมง จนกว่า VCT ลดลงต่ำกว่า 30 นาที
การป้องกันปฏิกิริยาของเซรุ่ม
ต้องเตรียมยาแก้แพ้เซรุ่มแก้พิษงูไว้ก่อนเสมอ โดยใช้ adrenalin 1:1,000 ขนาด 0.5 มล.สำหรับผู้ใหญ่ หรือ 0.01 มล.ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. สำหรับเด็ก ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง หรือเข้ากล้ามเนื้อ
การดูแลผู้ป่วย
ข้อบ่งชี้ในการให้เซรุ่มแก้พิษงู
ขนาดของเซรุ่มแก้พิษงูที่ใช้ คือ 30 มล. สำหรับความรุนแรงปานกลาง (moderate) และ 50 มล.สำหรับความรุนแรงมาก (severe)
การติดตามผู้ป่วย ติดตามภาวะเลือดออก และ VCT ทุก 6 ชั่วโมง หากยังมีภาวะเลือดออก หรือVCT ยังผิดปกติ สามารถให้เซรุ่มแก้พิษงูซ้ำได้อีก จน VCT ปกติ หลังจากนั้นควรทำ VCT ซ้ำอีกประมาณ 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก เนื่องจากบางรายอาจพบว่าVCT กลับมาผิดปกติได้อีก เกิดจากพิษงูยังคงถูกดูดซึมจากตำแหน่งที่งูกัดเข้าสู่กระแสเลือดอีก จำเป็นต้องให้เซรุ่มแก้พิษงูซ้ำ
ในผู้ป่วยที่ถูกงูแมวเซากัด ติดตามการตรวจวัดปริมาณปัสสาวะทุก 6 ชั่วโมง และอาจพิจารณาทำ hemodialysis เมื่อมีข้อบ่งชี้ ได้แก่
มีลักษณะทางคลินิกของภาวะยูรีเมีย (uremia)
ภาวะสารน้ำเกิน (fluid overload)
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Plt ต่ำ
PT,PTT,TT prolong
Fibrinogen ต่ำ
Fibrin degradation products(FDP) สูง
Euglobulin clot lysis น้อยว่า/เท่ากับ 1 hr
การพยาบาลผู้ป่วย DIC
หลีกเลี่ยงกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำให้เกิด Increase intracranial pressure
หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลต่อหน้าที่ของเกร็ดเลือด
ASA, NSAID, Beta-lactam antibiotic
Response to heparin therapy
Monitor
V/S, N/S
Hemodynamics
Abdominal girth
Urine output
External bleeding
Fibrinogen level
หลีกเลี่ยงการใช้ยาเข้ากล้ามเนื้อและ rectral
Suction โดยใช้ Low pressure
สังเกต Clot รอบ IV site และ Injections sites
Patient and family support
ความหมายของภาวะซีดภาวะซีด
เป็นภาวะที่มีจำนวนเม็ดเลือดแดงในร่างกายน้อยลงหรือน้อยกว่าปกติ โดยระดับของ Hemoglobin ลดลงต่ำกว่าค่าปกติ ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุและเพศ
สาเหตุของภาวะซีด
จำแนกตามพยาธิสภาพแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
ภาวะซีดจากการสร้างเม็ดเลือดแดงลดลง
ภาวะซีดจากเม็ดเลือดแดงถูกทำลายเพิ่มขึ้นหรือมากผิดปกติ
ภาวะซีดจากการเสียเลือดจากร่างกาย
การตรวจร่างกาย
การตรวจผิวหนัง ดูจุดจ้ำเลือดตามตัว (Ecchymosis) จุดเลือดออกใต้ผิวหนัง (Petechiae) หรือภาวะที่เลือดออกและสะสมภายในเนื้อเยื่อจนเกิดเป็นก้อนขึ้น (Hematoma) เยื่อบุต่าง ๆ เปลือกตา ความดันโลหิตและชีพจร
การรักษาภาวะซีด
การรักษาทั่วไป เป็นการบำบัดอาการของภาวะซีด ระหว่างที่ทำการรักษาที่เป็นสาเหตุของภาวะซีด เช่น รักษาภาวะหัวใจวาย ลดการออกแรง ให้ออกซิเจน ให้เลือดทดแทนซึ่งมักให้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือด ผู้ป่วยอายุมากหรือเสียเลือดมากเฉียบพลัน ผู้ป่วยซีดเรื้อรัง มักไม่จำเป็นต้องให้เลือด แม้ว่าความเข้มข้นของเลือดจะต่ำมาก ๆ ก็ตาม
การรักษาเฉพาะ เป็นการรักษาที่สาเหตุ เช่น หากพบว่ามีภาวะซีดจากพยาธิปากขอจะให้ยากำจัดพยาธิและให้ยาที่มีธาตุเหล็กควบคู่กันไป เมื่อระดับความเข้มข้นของเลือดกลับสู่ปกติแล้วควรให้ยาเสริมธาตุเหล็กต่อไปอีก 3 เดือน จึงจะเพียงพอ
ระยะของภาวะซีด
ภาวะซีดแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
1.ภาวะซีดชนิดเฉียบพลัน หมายถึง มีอาการของภาวะซีดที่เกิดขึ้นใน 7-10 วัน ซึ่งเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ จากโรคหรืออวัยวะต่าง ๆ ส่งผลให้เลือดออกมาผิดปกติ อาจจะจากภายในร่างกายหรือภายนอกร่างกาย ดังนี้
1.1เสียเลือดอย่างเฉียบพลัน เช่น จากเลือดกำเดา (Epistaxis) ไอเป็นเลือด (Hemoptysis) การได้รับอุบัติเหตุ เลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหาร เลือดออกจากมีประจำเดือนจำนวนมาก เป็นต้น
1.2เม็ดเลือดแดงถูกทำลายอย่างเฉียบพลันจะมีอาการร่วม คือ ดีซ่าน ปัสสาวะสีเข้ม อาจมีไข้ ม้ามอาจโต หากมีประวัติเข้าป่าอาจเป็นมาลาเรีย
1.3อาจเกิดจากมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน ซึ่งจะมีไข้ เกล็ดเลือดต่ำ ตับม้ามโต
ภาวะซีดชนิดเรื้อรัง หมายถึง มีอาการของภาวะซีดที่เกิดขึ้นมากกว่า 10 วัน อาจเป็นเดือน ๆ ก็ได้ ซึ่งเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ โดยตรวจสอบลักษณะทางคลินิก จากประวัติ อาการและอาการแสดง เพื่อช่วยบ่งชี้ถึงสาเหตุของภาวะซีดได้ ดังนี้
2.1 ประวัติการเสียเลือดชนิดเรื้อรัง ทำให้เกิดภาวะขาดธาตุเหล็ก ที่พบบ่อย ได้แก่ โรคกระเพาะอาหาร โรคริดสีดวงทวารหนัก และมีพยาธิปากขอที่ดูดเลือดจากลำไส้
2.2 ลักษณะของธาลัสซีเมียจากหน้าตาและผิวพรรณ
2.3 ลักษณะทางคลินิกของโรคตับ โรคไต โรคเอสแอลอี
2.4 ลักษณะทางคลินิกของการขาดสารอาหาร เช่น เลือกรับประทานเฉพาะอาหารบางอย่าง ชนิดอาหารรับประทานน้อย ติดสุรา เป็นต้น
ภาวะซีดจากการสร้างเม็ดเลือดแดงลดลง
1.สาเหตุภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก (Iron-deficiency anemia; IDA)
การเสียเลือดชนิดเฉียบพลันหรือเรื้อรัง ได้แก่ เสียเลือดจากอุบัติเหตุ มีประจำเดือนที่มากและนานกว่าปกติ มีเลือดออกกะปริดกะปรอยทางช่องคลอด สตรีที่คุมกำเนิดโดยการใช้ห่วงอนามัย การเสียเลือดในทางเดินอาหาร (เนื่องจากยา เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด แอสไพริน สเตียรอยด์ ยาต้านอักเสบที่ไม่มีสเตียรอยด์ เป็นต้น แผลในกระเพาะอาหาร เนื้องอกในลำไส้ตรง มะเร็งในช่องท้องหรือลำไส้ใหญ่ เส้นเลือดขอดแตก พยาธิปากขอ ริดสีดวงทวาร) ข้ออักเสบรูมาตอยด์ การเสียเลือดเพียง 2-4 มิลลิลิตร/วัน ทำให้เกิดภาวะซีดชนิดนี้ได้
การได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย ดังนี้
2.1 กลุ่มที่มีความต้องการธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น ได้แก่ ทารกคลอดก่อนกำหนด วัยรุ่นหญิงเมื่อเริ่มมีประจำเดือน หญิงตั้งครรภ์เนื่องจากธาตุเหล็กในแม่จะต้องส่งไปให้ทารกในครรภ์เพื่อสร้างเม็ดเลือดแดงและหญิงให้นมบุตร
2.2 กลุ่มที่ได้รับธาตุเหล็กจากสารอาหารไม่เพียงพอ จากสาเหตุ 3 ประการ
1) รับประทานอาหารที่มีธาตุเหลกไม่เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย พบในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยที่รับประทานอาหารมังสวิรัติ
2) ได้รับสารที่มีคุณสมบัติต่อต้านการดูดซึมธาตุเหล็ก เช่น Carbonate, Phytate Tannte เป็นต้น
3) มีพยาธิสภาพของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ทำให้มีการดูดซึมธาตุเหล็กลดลง ได้แก่ โรคอุจจาระร่วงเรื้อรัง โรคแผลในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารอักเสบ ลำไส้ส่วนต้นอักเสบ และหลังการผ่าตัดกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น
ภาวะซีดจากการขาดวิตามินบี12
ภาวะซีดจากการขาดวิตามินบี12 หรือ Pernicious anemia วิตามินบี12 มีความสำคัญในกระบวนการเจริญเติบโตของเซลล์เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยที่ขาด วิตามินบี12 จะมีผนังเซลล์เปราะและแตกง่าย วิตามินบี12 มีความจำเป็นต่อการเผาผลาญเซลล์ประสาทและสร้างไมอีลีน (Myelin) วิตามินบี12 พบมากในเนื้อไก่ ไข นม กะปิ และน้ำปลา
ภาวะซีดอะพลาสติก
หมายถึง ภาวะซีดจากไขกระดูกฝ่อ เป็นโรคที่มีการขาดเม็ดเลือดทุกชนิด (Pancytopenia) เนื่องจากไขกระดูกที่อยู่ในโพรงกระดูกทั่วร่างกายมีหน้าที่สร้างเม็ดเลือด หากมีความผิดปกติของไขกระดูกทำให้สร้างเม็ดเลือดได้น้อยลงจะทำให้เกิดภาวะซีดขึ้น
โดยสาเหตุที่แน่ชัดยังไม่ทราบ อาจเกิดจากพิษของยาหรือสารเคมีไปทำลายไขกระดูก เช่น ยาเฟนิลบิวทาโซน คลอแรมเฟนิคอล ซัลฟา หรือสารเคมีจำพวกน้ำมันก๊าด น้ำมันเบนซิน สีทาบ้าน รังสีชนิดต่าง ๆ เป็นต้น
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
ชนิดของมะเร็งเม็ดเลือด
มะเร็งสามารถเกิดจากเม็ดเลือดขาวได้ 2 ชนิด คือ lymphocyte และ myeloid และแบ่งการดำเนินของโรคเป็น acute คือเกิดเร็ว โรคดำเนินเร็ว blast cell มาก chronic โรคดำเนินช้า blast cell
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน (Acute leukemia) เกิดจากการเพิ่มจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดตัวอ่อนอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้ไขกระดูกไม่สามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดที่ปกติได้ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันมักเกิดกับเด็ก
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง (Chronic leukemia) เกิดจากการที่ร่างกายสร้างเซลล์เม็ดเลือดที่ผิดปกติออกมาเป็นจำนวนมากกว่าเซลล์เม็ดเลือดที่ปกติ
สาเหตุ
สารก่อมะเร็ง
รังสี (Ionizing radiation)
ความผิดปกติของ
โครโมโซม (Chromosomal aberration)
ไวรัสบางชนิดเช่น ไวรัสเฮชทีแอลวี (Human T-lymphotropic virus Type I หรือเรียกย่อว่า HTLV-1)
อาการ
ติดเชื้อเมื่อมีเม็ดเลือดขาวปกติลดลง
ภาวะซีด จากเม็ดเลือดแดงลดลง
เลือดออกง่ายจากเกล็ดเลือดลดลง
การรักษา
วิธีการรักษา
เคมีบำบัด Chemotherapy
การปลูกถ่ายไขกระดูก Bone marrow transplantation
การสร้างภูมิคุ้มกัน Biological therapy โดยการใช้ interferon กับเซลล์มะเร็งได้บางชนิด
ผลข้างเคียงของการรักษา
เคมีบำบัด Chemotherapy หลักการให้เคมีบำบัดคือทำลายเซลล์ที่แบ่งตัวเร็วซึ่งเซลล์มะเร็งแบ่งตัวเร็วดังนั้นจึงถูกทำลายมากแต่ขณะเดียวกันการให้เคมีบำบัดก็ทำลายเซลล์ปกติดังนั้นอาการข้างเคียงจึงเกิดจากการที่เซลล์ปกติถูกทำลาย ผู้ป่วยจะคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ผมร่วง เป็นหมัน
รังสีรักษา Radiotherapy บริเวณที่ฉายแสงขนหรือผมจะร่วง ผิวบริเวณดังกล่าวจะแห้ง คัน ห้ามใช้ lotion ก่อนปรึกษาแพทย์
การปลูกถ่ายไขกระดูก Bone marrow transplantation ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เลือดออกผิดปกติ