Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย, ชื่อ-สกุล นักศึกษา นางสาวเกวลิน…
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
ความหมาย
ระเบียบ กฎเกณฑ์ข้อบังคับที่รัฐ / ผู้มีอำนาจกำหนดขึ้น
กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น / ที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ
ลักษณะและประเภท
ลักษณะ
กำหนดขึ้น โดยรัฐ / ผู้มีอำนาจ
เป็นคำสั่ง / ข้อบังคับของผู้มีอำนาจในรัฐ (รัฏฐาธิปัตย์)
บังคับใช้โดยทั่วไป
ทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายโดยเสมอภาค แต่อาจมีข้อยกเว้นในบางกรณี
เป็นกฎเกณฑ์
ใช้วัด / กำหนดความประพฤติของคนในสังคมว่าถูก / ผิด ทำได้ / ไม่ได้
มีสภาพบังคับ
ผลร้าย
โทษทางอาญา
ประหารชีวิต
ฉีดยาพิษให้ตาย
จำคุก
คุมขังไว้ในเรือนจำตามกำหนดเวลาที่ศาลพิพากษา
กักขัง
กักขังไว้ที่สถานีตำรวจ
ปรับ
ชำระเงินตามจำนวนที่กำหนดไว้
กรณีเด็กหรือเยาวชนไม่ชำระค่าปรับ
ส่งตัวไปเพื่อควบคุมและอบรม (ไม่เกิน 1 ปี)
ริบทรัพย์สิน
ที่ใช้ในการกระทำผิด / ได้มาจากการกระทำความผิด
ผลดี
จดทะเบียนสมรส
บุตรเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
ระบบ
ระบบกฎหมายจารีตประเพณี / ระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Common Law System)
หนังสือรวบรวมคำพิพากษา
ปัจจุบัน เรียกว่า Law Reports
อดีต เรียกว่า Yearbooks
ประเทศที่ใช้
ประเทศอังกฤษ
ประเทศที่มีชาวอังกฤษอพยพไปตั้งถิ่นฐาน
ประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษ
ต้นกำเนิดในชนเผ่าพื้นเมืองของประเทศอังกฤษ
คำพิพากษาของศาลถือเป็นกฎหมาย
การพิพากษาคดียึดตามคำพิพากษาเดิม
เป็นการพิจารณาคดีเฉพาะเรื่องไปสู่เรื่องทั่วไป (Induction)
ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร / ระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law System)
มีแหล่งกำเนิดจากชาวโรมัน
ประเทศต่าง ๆ ในภาคพื้นยุโรป นำหลักเกณฑ์ของระบบมาร่างเป็นประมวลกฎหมาย
รัฐสภาเป็นผู้ออกกฎหมาย
พิพากษาตามตัวบทกฎหมาย
เป็นการพิจารณาคดีจากหลักเกณฑ์ทั่วไปสู่เฉพาะเรื่อง (Deduction)
ประเภท
เจตนารมณ์และเนื้อหาของกฎหมาย
ตัวอย่าง
กฎหมายการเงินการคลัง
กฎหมายธุรกิจ
กฎหมายระเบียบราชการ
กฎหมายสาธารณะสุข
กฎหมายอุตสาหกรรม
ลักษณะการใช้กฎหมาย
กฎหมายสารบัญญัติ
กำหนดสิทธิหรือหน้าที่ที่ให้บุคคลปฏิบัติ
กฎหมายวิธีสบัญญัติ
วิธีการพิจารณาคดีของศาล
สิทธิประโยชน์และความสัมพันธ์ของบุคคล
กฎหมายเอกชน (Private Law)
เอกชนกับเอกชน รวมถึงหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินธุรกิจแบบเอกชน
ตัวอย่าง
กฎหมายแพ่ง
กฎหมายพาณิชย์
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
อื่น ๆ เช่น พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
กฎหมายมหาชน (Public Law)
บัญญัติความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน (รัฐเป็นฝ่ายปกครองที่มีอำนาจเหนือ)
ตัวอย่าง
กฎหมายอาญา
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ธรรมนูญศาลยุติธรรม
กฎหมายปกครอง
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law)
ระหว่างประเทศต่อประเทศ / รัฐต่อรัฐ (จากขนบธรรมเนียมประเพณี ข้อตกลง / สนธิสัญญาระหว่างประเทศ)
สาขา
แผนกคดีเมือง
สิทธิและหน้าที่มหาชน (Public Rights And Duties)
ตัวอย่าง
สนธิสัญญาสงบศึก
กฎบัตรสหประชาชาต
สนธิสัญญาเกี่ยวกับเขตแดน
แผนกคดีบุคคล
บุคคลต่างรัฐในทางแพ่งเกี่ยวกับความประพฤติ สิทธิและหน้าที่
ตัวอย่าง
พระราชบัญญัติสัญชาติ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันของกฎหมาย
แผนกคดีอาญา
กำหนดความสัมพันธ์ในคดีอาญาของบุคคล โดยประชาชนของประเทศหนึ่ง / การกระทำผิดที่ต่อเนื่องในหลายประเทศ
ตัวอย่าง
กฎหมายว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน
กฎหมายความร่วมมือระหว่างประเทศในทางอาญา
สภาพบังคับทางกฎหมาย
ตัวอย่าง
กฎหมายแพ่ง
กฎหมายอาญา
กฎหมายปกครอง
แหล่งกำเนิดของกฎหมาย
ภายนอก
โดยองค์การระหว่างประเทศ
ภายใน
องค์กรของรัฐที่มีอำนาจในการบัญญัติกฎหมาย
ลำดับชั้น / ศักดิ์ของกฎหมาย
กฎกระทรวง (Ministerial Regulation)
ออกโดยฝ่ายบริหาร (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ๆ)
เพื่อออกกฎหมายเกี่ยวกับรายละเอียดต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติ
ระเบียบและข้อบังคับ (Rule / Regulation / Discipline)
ออกโดยหัวหน้าหน่วยงานองค์กร
เพื่อกำหนดรายละเอียดวิธีปฏิบัติงาน
พระราชกฤษฎีกา (Royal Decree)
ออกโดยฝ่ายบริหาร
ไม่สามารถมีบทกำหนดโทษ
กำหนดรายละเอียดที่เป็นหลักย่อยของพระราชบัญญัติ / พระราชกำหนด
ประกาศและคำสั่ง (Announcement / Command)
เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในหน่วยงาน
ออกโดยหัวหน้าหน่วยงาน
พระราชบัญญัติ พระราชกำหนดและประมวลกฎหมาย
ประมวลกฎหมาย (Code of Law)
การรวบรวมบทบัญญัติของกฎหมายลายลักษณ์อักษรในเรื่องเดียวกัน / ใกล้เคียงกัน ให้อยู่ในหมวดเดียวกันอย่างเป็นระบบ
เพื่อง่ายต่อการศึกษา ค้นคว้า นำไปประยุกต์ ปรับปรุง / แก้ไข
พระราชกำหนด (Royal Enactment)
รัฐธรรมนูญมอบอำนาจให้แก่ฝ่ายบริหาร
เพื่อออกข้อบังคับในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วน
พระราชบัญญัติ (พรบ.) (Act)
ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ / รัฐสภา
ผู้เสนอร่างกฎหมาย
คณะรัฐมนตรี
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
อื่น ๆ
ข้อบังคับท้องถิ่น
ออกโดยองค์กรปกครองตนเอง
มีผลบังคับใช้เฉพาะพื้นที่เท่านั้น
รัฐธรรมนูญ (Constitutional Law)
ศักดิ์สูงสุด
กำหนดรูปแบบการ
ปกครองประเทศ
วางระเบียบอำนาจสูงสุดของรัฐ / อำนาจอธิปไตย
อำนาจบริหาร
อำนาจนิติบัญญัต
อำนาจตุลาการ
การรับรองและการส่งเสริมสิทธิหน้าที่ของประชาชนชาวไทย
เป็นกฎหมายแม่บท
ลักษณะของระบบศาลไทย
ศาลของประเทศไทย
ศาลยุติธรรม
มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง
มีรูปแบบการพิจารณาคดีด้วย “ระบบกล่าวหา”
ชั้นของศาลยุติธรรม
ศาลชั้นต้น (Civil court / Court in the First instance)
ศาลแพ่ง
ศาลอาญา
ศาลอุทธรณ์ (Appeal Court)
สูงกว่าศาลชั้นต้น
มีองค์คณะผู้พิพากษาอย่างน้อย 3 คน
เพื่อพิจารณาตัดสินคดีที่ศาลชั้นต้นได้ตัดสินแล้ว แต่คู่ความยังต้องการความเป็นธรรม
ศาลฎีกา (Supreme Court)
เป็นศาลยุติธรรมสูงสุด
ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
มีองค์คณะผู้พิพากษาอย่างน้อย 3 คน
มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษา / คำสั่งของศาลชั้นต้น / ศาลอุทธรณ
การวินิจฉัยถือเป็นที่สุด / เป็นคดีแดง
ศาลปกครอง (Administrative Court)
เป็นศาลที่ใช้ระบบไต่สวน
ชั้นของศาลปกครอง
ศาลปกครองชั้นต้น
ศาลปกครองสูงสุด
ศาลรัฐธรรมนูญ
มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
กับรัฐธรรมนูญ
ศาลทหาร
พิจารณาพิพากษาคดีที่ทหารกองประจำการกระทำผิด
ระบบ
ศาลคู่
ศาลยุติธรรมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทเฉพาะคดีแพ่งและคดีอาญา
ประเทศที่ใช้
กลุ่มประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law)
ศาลเดี่ยว
ประเทศที่ใช้
กลุ่มประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common Law)
เป็นระบบที่ใช้กันมากที่สุด
ศาลยุติธรรมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททุกประเภท (คดี
แพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง / คดีประเภทอื่น ๆ)
ระบบศาลของประเทศไทย
เป็นระบบศาลคู่
แยกเป็นอิสระจากกัน
มีผู้พิพากษา / ตุลาการของแต่ละศาลโดยเฉพาะ
ย้ายจากศาลหนึ่งไปดำรงตำแหน่งในอีกศาลหนึ่งไม่ได้
ชื่อ-สกุล นักศึกษา นางสาวเกวลิน กลิ่นชู รหัสนักศึกษา 6001210712 Section A เลขที่ 33