Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
3.8 การพยาบาลด้านจิตสังคม สําหรับผู้ประสบสาธารณภัย - Coggle Diagram
3.8 การพยาบาลด้านจิตสังคม
สําหรับผู้ประสบสาธารณภัย
ระดับทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต (MCATT)
ทีมระดับตําบลหมายถึงทีมMCATTประจำพื้นที่ในระดับตาบลประกอบด้วยผอ.รพ.สต.และ ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิต รพ.สต. อสม. เจ้าหน้าที่มูลนิธิ ตัวแทนจาก อปท. แกนนาชุมชน เช่น กานัน/ผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
ทีมระดับอาเภอหมายถึงทีมMCATTประจำพื้นที่ในระดับอาเภอประกอบด้วยจิตแพทย์/แพทย์ พยาบาลที่รับผิดชอบงานสุขภาพจิตและจิตเวช นักจิตวิทยาคลินิก/นักจิตวิทยา/นักสังคมสงเคราะห์ เภสัชกร นักวิชาการสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง (เช่น ตารวจ ทหาร เจ้าหน้าที่เวชกิจฉุกเฉิน ฯลฯ
ทีมระดับจังหวัดหมายถึงทีมMCATTประจาพื้นที่ระดับจังหวัดประกอบด้วยจิตแพทย์พยาบาล จิตเวช นักจิตวิทยาคลินิก/นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักวิชาการสาธารณสุข เภสัชกร และเจ้าหน้าที่ที่ เกี่ยวข้อง
ทีมระดับกรมสุขภาพจิตหมายถึงทีมMCATTประกอบด้วยจิตแพทย์พยาบาลจิตเวชนักจิตวิทยา คลินิก/นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์นักวิชาการสาธารณสุข เภสัชกร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง มีหน้าที่เป็นที่ ปรึกษาด้านสุขภาพจิตแก่ทีม MCATT ในพื้นที่ ให้การสนับสนุนทีม MCATT แก่เครือข่าย ดูแลผู้ประสบภาวะ วิกฤต/ภัยพิบัติกลุ่มเสี่ยงยุ่งยาก ซับซ้อนที่ส่งต่อมาจากทีม MCATT ในพื้นที่ ให้การช่วยเหลือเยียวยาจิตใจ ครอบครัวผู้เสียชีวิต ถ่ายทอดความรู้ในเรื่องการช่วยเหลือเยียวยาจิตใจ ผู้ประสบภาวะวิกฤตให้แก่บุคลากรใน เครือข่าย จัดบริการด้านสุขภาพจิต และกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชน (Empowerment) ในศูนย์พักพิงขนาด กลางและใหญ่ ในพื้นที่ประสบภัยที่หน่วยงานรับผิดชอบ รายงานผลการปฏิบัติงาน เพื่อนน เสนอ War room
กระทรวงสาธารณสุข และติดตามการดาเนินงานวิกฤตสุขภาพจิตในพื้นที่
ปฏิกิริยาของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์รุนแรง
ด้านร่างกาย ได้แก่ อาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ รู้สึกร้อนหรือหนาว รู้สึกตีบแน่นในลําคอ ปวดศีรษะ
อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ปวดท้องและคลื่นไส้อาเจียน ความอยากอาหารลดลงหรือเพิ่มขึ้น อาการกําเริบ หนักขึ้น
ทําให้สุขภาพทรุดโทรมหนัก
ด้านปฏิกิริยา/การแสดงออก ได้แก่ นอนไม่หลับหลับๆตื่นๆฝันร้ายตกใจง่าย ร้องไห้ไม่มีสาเหตุ เฉยเมย แยกตัวออกจากสังคม หวาดระแวง กวาดตามองไปมาบ่อยๆ หันเข้าหาสรุาของมึนเมาและยาเสพติดมากขึ้น
ด้านอารมณ์ ได้แก่ ช็อค ไม่ยอมรับในสิ่งที่เห็น วิตกกังวล กลัว เศร้า โกรธ ต้องการแก้แค้น
ฉุนเฉียวง่าย โทษตัวเองและผู้อื่น อารมณ์แกว่งไปแกว่งมา คาดเดาไม่ได้
ด้านการรับรู้ ได้แก่ สับสนมึนงงไม่มีสมาธิมีปัญหาด้านความจํามีปัญหาในการตัดสินใจ
ภาพทรงจําผ่านเข้ามาแบบวูบวาบ อาการเหล่านี้เป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นหลังเผชิญเหตุการณ์ สะเทือนขวัญ โดยจะเกิดขึ้นและลดลงจนหายไปภายใน 1 เดือน ถ้าหากอาการเหล่านี้ยังคงอยู่ จําเป็นต้องพบเชี่ยวชาญ ทางด้านจิตใจ เช่น จิตแพทย์ นักจิตวิทยา พยาบาลจิตเวช เพื่อให้การช่วยเหลือต่อไป
ปฏิกิริยาทางจิตใจที่เกิดขึ้นหลังเกิดเหตุการณวN ิกฤต
1.ปฏิกิริยาทางจิตใจแบบช็อคและปฏิเสธ(Shock&Denial)
ลักษณะอาการมึนงงสับสนหลงลืม จําอะไรไม่ได้ ความคิดแตกกระจาย ไม่สามารถเชื่อมโยงความคิดการรับรู้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยน ปฏิเสธ ไม่ยอมรับ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง มีอารมณ์เศร้า โกรธรุนแรง ควบคุมตนเองไม่ได้
มีอาการทางกาย ใจสั่น มือสั่น ตัวสั่น หายใจถี่แรง
ปฏิกิริยาทางจิตใจแบบโกรธ(Anger)ลักษณะอาการตะโกนดNากระวนกระวายเดินไปมาทําร้ายตนเองหรือขว้างของรอบตัว กล่าวโทษแก่บุคคลอื่น พูดขู่อาฆาต ไม่ร่วมมือ แยกตัว ในบางครั้งผู1ประสบเหตุการณ] วิกฤตอาจมีอารมณ์โกรธ แต่ไม่แสดงออกอย่างเปิดเผย อาจสังเกตโดยน้ําเสียง และการกระทํา เช่น กํามือ ขบกราม เกร็ง ตาขวาง มือปากสั่น
ปฏิกิริยาทางจิตใจแบบต่อรอง(Bargaining)
ลักษณะอาการพูดซ้ำๆหรือพูดคาดคั้นในเรื่องใด
เรื่องหนึ่ง เช่น พูดรุกเร้าขอให้ช่วย ขอเข้าไปดู/เยี่ยมญาติ
เรียกร้องหรือต่อรอง เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการซึ่งเป็นสิ่ง
ที่ไม่สามารถตอบสนองให้ได้จริงในเวลานั้น ไม่สามารถยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นได้ อาจคาดหวังปาฏิหาริย์บนบาน ศาลกล่าว โดยแสดงออกในคําพูดทํานองเป็นลักษณะหนึ่งของการหลอกตัวเอง
ปฏิกิริยาทางจิตใจแสดงอารมณ3เศร้า(Depression)
ลักษณะอาการอารมณ์เศร้าเป็นอารมณ์ที่พบ เห็นได้ง่าย และพบบ่อย อาการเช่น การร้องไห้ เสียใจ ปากสั่น ไม่พูดจา หมดเรี่ยวแรง อาจมีอาการเป็นลม หรือ ยืนไม่ไหว อาการเศร้ามักปรากฏรวมกับการรู้สึกผิด และโทษตัวเอง
ปัญหาที่เกิดขึ้นในผู้ประสบภาวะวิกฤต
ด้านจิตใจเกิดอาการหวาดกลัว/หวาดผวาสถานที่เกิดเหตุการณ์หรือสิ่งเร้าที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์
ส่งผลให้ไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตและทํางานเหมือนอย่างเดิมได้ เกิดปัญหาความเจ็บป่วยทางจิตเวช ได้แก่โรค เครียดแบบเฉียบพลัน (Acute traumatic Stress Disorder) และโรคเครียดหลังเกิดเหตุการณ] (Posttraumatic StressDisorder)
โดยเฉพาะอาการกลัวสาเหตุการณ์รุนแรงนั้นจะย้อนกลับมาอีก(Flashbacks)นอกจากนี้ยังอาจ มีภาวะสับสน ว้าวุ่น ความคิดแปรปรวน เครียด มีความคิดอยากตาย สิ้นหวัง ท้อแท้ รู้สึกผิด มองตัวเองไร้ค่าที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองหรือญาติที่อยู่ในเหตุการณ์ได้
และอาจมีปัญหาโรคซึมเศร้า
ด้านปฏิกิริยา/การแสดงออก
ได้แก่ นอนไม่หลับหลับๆตื่นๆฝันร้ายตกใจง่ายร้องไห้ไม่มีสาเหตุ เฉยเมย แยกตัวออกจากสังคม หวาดระแวง กวาดตามองไปมาบ่อยๆ หันเข้าหาสุราของมึนเมาและยาเสพติดมากขึ้น
ด้านอารมณ์ ได้แก่ ช็อค ไม่ยอมรับในสิ่งที่เห็น วิตกกังวล กลัว เศร้า โกรธ ต้องการแก้แค้น
ฉุนเฉียวง่าย โทษตัวเองและผู้อื่น อารมณ์แกว่งไปแกว่งมาคาดเดาไม่ได้
ด้านการรับรู้ ได้แก่ สับสนมึนงงไม่มีสมาธิมีปัญหาด้านความจํามีปัญหาในการตัดสินใจ
ภาพทรงจําผ่านเข้ามาแบบวูบวาบ อาการเหล่านี้เป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ โดยจะเกิดขึ้นและลดลงจนหายไปภายใน 1 เดือน ถ้าหากอาการเหล่านี้ยังคงอยู่จําเป็นต้องพบเชี่ยวชาญ ทางด้านจิตใจ เช่น จิตแพทย์ นักจิตวิทยา พยาบาลจิตเวช เพื่อให้การช่วยเหลือต่อไป
การช่วยเหลือเยียวยาจิตใจ
ผู้ประสบภาวะวิกฤตของทีม MCATT
ระยะเตรียมการ
จะครอบคลุมตั้งแต่การรับ นโยบายจากผู้ว่าราชการจังหวัดนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ในการจัดเตรียมโครงสร้างการดําเนินงานช่วยเหลือ
ด้านสุขภาพจิตผู้ประสบภาวะวิกฤต/ศูนย์วิกฤตสุขภาพจิต (MCC)/ทีม MCATT(ระดับ จังหวัดและระดับอําเภอ)
จัดเตรียมทีมเพื่อปฏิบัติงานให้การช่วยเหลือเยียวยาจิต
ด้านสุขภาพจิตผู้ประสบภาวะวิกฤต และแผนการดําเนินงานเพื่อรองรับสถานการณ์วิกฤต รวมถึงการจัดต้ังศูนย์อํานวยการช่วยเหลือ
ระยะวิกฤตและฉุกเฉิน
ภายใน72ชั่วโมงแรกหลังเกิดเหตุ-2สัปดาห์
a.ระยะวิกฤต(ภายใน72ชั่วโมงแรกหลังเกิดเหตุ)
ระยะนี้ผู้ประสบภาวะวิกฤตจะมีการตื่นตัวทาง สรีระและพฤติกรรม
มีพลังอย่างมากเพื่อให้รอดชีวิต เกิดความเครียด หวาดผวา หวาดกลัว ช็อก วิตกกังวล สับสน ผู้ประสบภาวะวิกฤตจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีผู้คนจํานวนมากเข้ามาให้การช่วยเหลืออย่างไม่มีระบบ/ระเบียบ การช่วยเหลือจะมุ่งให้ความช่วยเหลือเฉพาะหน้าเน้นการช่วยเหลือตามสภาพความเป็นจริงทั้งด้านร่างกาย
ความ ต้องการพื้นฐาน เช่น ที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งหุ่มของใช้ที่จําเป็น
b. ระยะฉุกเฉิน(72ชั่วโมง-2สัปดาห์)
ระยะนี้ผู้ประสบภาวะวิกฤตทั้งผู้สูญเสียหรือผู้รอดชีวิตจะ มองโลกในแง่ดี การช่วยเหลือหลั่งไหลเข้ามา ผู้ประสบภาวะวิกฤตเกิดกําลังใจว่า ครอบครัวและชุมชนจะสามารถปรับตัวได้ ระยะนี้สามารถสํารวจหาข้อมูลของสถานการณ์ และความต้องการของ ผู้ประสบภาวะวิกฤตได้ชัดเจน มากขึ้น เพื่อวางแผนในการให้ความช่วยเหลือได้ตรงกับความต้องการของผู้ประสบ ภาวะวิกฤต ประเมินคัดกรอง ภาวะสุขภาพจิตเพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงในแต่ละวัย และนํามาวางแผนในการช่วยเหลือ ที่ถูกต้องเหมาะสม รวมถึงมี การจัดลําดับความต้องการของกลุทมเสี่ยงที่ต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนและ ต่อเนื่อง
การดูแลช่วยเหลือ กลุ่มเป้าหมายจะพิจารณาตาม
ความรุนแรง 6 กลุ่ม
กลุ่มผู้สูญเสียบุคคลในครอบครัว/ทรัพย์สิน กลุ่มผู้ป่วยที่มี
กลุ่มผู้สูงอายุและเด็ก
กลุ่มผู้ที่ต้องการบริการด้านสุขภาพจิต
ประวัติการรักษาทางจิตเวชหรือใช้สารเสพติด
กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบหลังประสบภาวะวิกฤต
กลุ่มผู้พิการและเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง
การปฐมพยาบาลทางจิตใจ
(Psychological first Aid: PFA) ด้วยหลักการ EASE
วิธีการสร้างสัมพันธภาพและการเข้าถึงจิตใจของผู้ได้รับผลกระทบ(Engagement:E)
ได้แก่การสังเกตภาษาท่าทางและพฤติกรรม การสร้างสัมพันธภาพ และ การสื่อสาร
Nonverbal ได้แก่ สีหน้า แววตา ท่าทาง การเคลื่อนไหวของร่างกาย
erbal ได้แก่ พูดสับสน ฟัง ไม่รู้เรื่อง ด่าทอ ร้องขอความช่วยเหลือ พูดซ้ำไปซ้ำมา พูดวกวน
วิธีการประเมินผู้ได้รับผลกระทบ(Assessment:A)
3 ป.
ประเมินและตอบสนองความตJองการทางด้านร่างกาย
การประเมินสภาพจิตใจ
ประเมินความต้องการทางสังคม
วิธีการเรียกขวัญคืนสติลดความเจ็บปวดทางใจเสริมสร้างทักษะ(Skills:S)
ทักษะการเรียกขวัญ คืนสติ
วิธีการให้สุขภาพจิตศึกษาและข้อมูลที่จําเป็น(Education)
การให้สุขภาพจิตศึกษาและข้อมูลที่ จําเป็น
เพื่อช่วยให้ผู้ประสบภาวะวิกฤตสามารถดํารงชีวิตอย่าง ปกติโดยเร็ว
ต.1 ตรวจสอบความต้องการ
โดยไต่ถามถึงข้อมูลและตรวจสอบความต้องการช่วยเหลือ ที่จําเป็นและ เร่งด่วน การตรวจสอบความต้องการของผู้ประสบภาวะวิกฤตจะใช้วิธีสอบถามเพื่อสํารวจในเรื่อง ความต้องการ การสนับสนุนในด้านเศรษฐกิจ การเงิน อาชีพ ปัญหาภายในครอบครัวที่ต้องการการช่วยเหลือ เช่น สัมพันธภาพ กับลูกวัยรุ่น ปัญหาพฤติกรรม ของเด็ก ปัญหาความเจ็บปวดทางกาย ปัญหาสัมพันธภาพกับเพื่อนบ้าน เพื่อวางแผนสนับสนุนแหล่งข้อมูลการช่วยเหลือด้านสังคม ด้านจิตใจ หรือด้านการแพทย์ต่อไป
ต.2 เติมเต็มความรู้
ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้นจากความเครียด
และผลกระทบทาง จิตใจ ที่อาจเกิดขึ้น พร้อมทั้งบอกวิธีการปฏิบัติตัวเพื่อลดความเครียด แหล่งช่วยเหลือต่างๆ ทั้งของภาครัฐและ เอกชน เช่น เงินทุน สิทธิประโยชน์ที่ควรได้ เป็นต้น
ต.3 ติดตามต่อเนื่อง
ร่วมกันวางแผนและหาแนวทางในการรับการช่วยเหลือ ต่างๆ
เพิ่มเติม ควรมีการ พูดคุยวางแผนร่วมกันระหว่างผู้ให้การช่วยเหลือกับผู้ประสบภาวะวิกฤต ในด้านการดูแลติดตามอย่างต่อเนื่องโดย อาจใช้วิธีการติดตามโดยการนัดหมายมาพบที่สถานบริการสาธารณสุข การโทรศัพท์ติดตามผล และการเยี่ยมบ้าน