Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Idiopathic thrombocytopenic purpura ( ITP ) - Coggle Diagram
Idiopathic thrombocytopenic purpura ( ITP )
เป็นโรคที่มีอาการเลือดออกจากการมีจำนวนเกล็ดเลือดต่ำ โดยร่างกายสร้าง platelet antiboby ขึ้นมาทำลายเกล็ดเลือดของตัวเองและของผู้อื่น ทำให้มีเลือดออกใต้ผิวหนัง
โรค ITP แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
แบบเฉียบพลัน (acute)
แบบเรื้อรัง (chronic)
อาการ
อาการเลือดออกตามผิวหนังและอวัยวะต่าง ๆ โดยไม่มีสาเหตุใด ๆนำมาก่อน
ผลการตรวจทางห้องทดลอง
เกล็ดเลือดต่ำกว่า hemostatic level คือ 60,000 เซลล์/ลบ.มม. รายที่มีอาการรุนแรงมักจะต่ำกว่า 20,000 เซลล์/ลบ.มม.
hematrocrit อยู่ในเกณฑ์ปกติ ยกเว้นในรายที่มีเลือดออกรุนแรง หรือเลือดเรื้อรังอาจมีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กร่วมด้วย
WBC ปกติ บางรายพบ lymphocyte สูง
bone marrow พบตัวอ่อนของเกล็ดเลือดเพิ่มขึ้น
platelet antibody ได้ผลบวกร้อยละ 38 - 76 % 6. platelet อายุสั้นไม่เกิน 1 วัน ( ปกติ 9 - 11 วัน )
การรักษา
การรักษาตามอาการ
หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เลือดออก
การห้ามเลือดที่ออกในจมูกด้วยการทำ anterior nasal packing ถ้ายังออกไม่หยุด ทำ posterior nasal packing
แนะนำให้มารดาและผู้ป่วยเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่เป็นสิ่งสำคัญ
ให้เกล็ดเลือดเฉพาะในรายที่มีเลือดออกรุนแรง หรือออกในอวัยวะที่สำคัญๆ เช่นสมอง หรือในการผ่าตัด
การรักษาจำเพาะ
2.1 ให้ยา Pednisolone 1 - 2 มก./กก./วัน ยาจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของหลอดเลือด สกัดไม่ให้ ระบบ reticuloendotherium ทำลายเกล็ดเลือด และออกฤทธิ์ลดการสร้าง antibody ต่อเกล็ดเลือด
2.2 ทำผ่าตัดเอาม้ามออก ( splenectomy ) ในรายที่รักษาด้วย Pednisolone ไม่ได้ผล เนื่องจากม้ามเป็นแหล่งที่สำคัญในการทำลายเกล็ดเลือด ดังนั้นการตัดม้ามออกจึงเป็นการแก้ปัญหาเกล็ดเลือดต่ำได้ การตัดม้ามจะทำในเด็กที่อายุเกิน 4 ปี เพราะในช่วง4 ปี แรก ม้ามจะมีหน้าที่สร้างภูมคุ้มกันต่อเชื้อโรคต่าง ๆ
การพยาบาลเมื่อมีเลือดออก
เพื่อช่วยให้เลือดหยุดและป้องกันไม่ให้เลือดออกโดยการ Stop bleeding
บาดแผล ทำ pressure dressing นานประมาณ 10 - 15 นาที หรือจนเลือดหยุด งดการเคลื่อนไหวบริเวณนั้นและยกบริเวณที่มีเลือดออกให้สูงเหนือกว่าระดับหัวใจ
Purpura ให้ผู้ป่วยนอนพักบนเตียง
Epistaxis ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้บีบปีกจมูกทั้งสองข้าง และวางกระเป๋าน้ำแข็งหรือ cold pack ที่บริเวณหน้าผาก จัดให้นั่งอยู่ในท่าโยกตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย หรือนอนศีรษะสูงตะแคงหน้าไปด้านที่มีเลือดออก เพื่อให้ผู้ป่วยคายเลือดที่ไหลลงคอได้สะดวก ถ้าเลือดออกมากและไม่หยุดไหล แพทย์จะทำ anterior nasal packing ด้วย gel foam หรือ gauze drain ชุบ Adrenalin 1 : 1000
Bleeding per gum & teeth ถ้ามองเห็นจุดที่เลือดออก ให้ผู้ป่วยกัด gauze ที่บริเวณนั้นไว้ ถ้าออกทั่วๆไป ไม่มาก ให้บ้วนปากเบาๆ ด้วยน้ำเย็นห้ามดึงลิ่มเลือดออก ภายหลังจากให้ platelets หรือ clotting factor ที่ขาดแล้วเลือดจะหยุดได้เอง งดการแปรงฟัน ถ้าเลือดออกมากต้องส่งปรึกษาแผนกทันตกรรมเพื่อพิจารณาใส่ dental splint
Hemarthrosis พันข้อด้วย elastic bandage งดการเคลื่อนไหวข้อนั้นละยกข้อให้สูงเหนือระดับหัวใจ ประคบด้วยความเย็นใน 24 ชั่วโมงแรก
ป้องกัน bleeding โดยไม่ให้เกิด trauma
ให้การพยาบาลอย่างนุ่มนวล การอาบน้ำผู้ป่วยต้องทำอย่างเบามือ ใช้แปรงสีฟันชนิดขนอ่อน ขณะที่มีเลือดออกต้องงดแปรงฟันทำความสะอาดปากฟันโดยการ บ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปาก เช็ดเบาๆด้วยไม้พันสำลี ห้ามดึงลิ่มเลือดออก
ขณะที่ผู้ป่วยหลับหรือสลึมสลือ ให้ยกไม้กั้นเตียงขึ้นทุกครั้งป้องกันเด็กตกเตียง
ห้ามฉีดยาทางกล้ามเนื้อ ถ้า platelets น้อยกว่า 60,000 เซลล์/ลบ.มม.
การเจาะเลือด การแทงเข็มให้สารน้ำควรให้ผู้ที่มีความชำนาญเป็นผู้ทำ ภายหลังเอาเข็มออกจากตัวผู้ป่วยต้องกดรอยเข็มไว้นานๆประมาณ 5 - 10 นาทีและต้องแน่ใจว่าเลือดหยุดจริง
ถ้า IV leakaged ต้องหยุดการให้ทันที เพราะอาจทำให้เลือดออกมาใต้ชั้นผิวหนังนอกเส้นเลือด ทำให้เกิด tissue necrosis ได้
พิษต่อระบบเลือด (hematotoxin)
อาการ
ปวด บวม แดง ร้อน แต่ไม่มาก
มีอาการเลือดออกผิดปกติ
ในกรณีงูแมวเซา มีอาการและอาการแสดงของภาวะ DIC
ในกรณีของงูกะปะและงูเขียวหางไหม้ อาการเลือดออกผิดปกติมักไม่รุนแรง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Plt ต่ำ
PT,PTT,TT prolong
Fibrinogen ต่ำ
Fibrin degradation products(FDP) สูง
Euglobulin clot lysis น้อยว่า/เท่ากับ 1 hr
การรักษาทั่วไป
รักษาภาวะฉุกเฉิน เช่น ภาวะช็อค anaphylactic shock การหยุดหายใจ
ปลอบใจและให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วย
หยุดการเคลื่อนไหวโดยเฉพาะบริเวณที่ถูกกัด ในกรณีที่มีอาการบวมมาก ให้ยกบริเวณนั้นสูง
ให้ยาแก้ปวด แอเคตามิโนเฟน ไม่ให้ยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางแก่ผู้ที่ถูกงูพิษต่อระบบประสาทกัด และไม่ให้ แอสไพรินในผู้ป่วยที่ถูกงูพิษต่อระบบเลือดกัด
ให้ยาต้านจุลชีพในกรณีถูกงูเห่าและงูจงอางกัด ใช้ยาที่ครอบคลุมเชื้อทั้งแกรมบวก แกรมลบเละเชื้อไม่พึ่งอากาศ
ควรให้ยากันบาดทะยัก ในกรณีงูพิษต่อระบบเลือดควรให้หลังจากอาการเลือดออกผิดปรกติดีขึ้น
การให้เซรุ่ม
งูแมวเซา VCT>20 นาที ให้เซรุ่ม 60 มล. ให้ซ้ำทุก 6 ชั่วโมง จนกว่า VCT ลดลงต่ำกว่า 30 นาที
งูกะปะ VCT>20 นาที ให้เซรุ่ม 50 มล. ให้ซ้ำทุก 6 ชั่วโมง จนกว่า VCT ลดลงต่ำกว่า 30 นาที
งูเขียวหางไหม้ ให้เซรุ่ม 50 มล. ให้ซ้ำทุก 6 ชั่วโมง จนกว่า VCT ลดลงต่ำกว่า 30 นาที
Viper ได้แก่ งูแมวเซา (Russell’s viper; Daboia russelli)
Pit-viper ได้แก่ งูกะปะ (Malayan pit viper; Calloselasma rhodostoma) และงูเขียวหางไหม้ (green pit viper; Trimerusurus spp.)
Patient and family support
เป็นภาวะที่มีจำนวนเม็ดเลือดแดงในร่างกายน้อยลงหรือน้อยกว่าปกติ โดยระดับของ Hemoglobin ลดลงต่ำกว่าค่าปกติ ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุและเพศ
โดยในผู้ชายระดับค่าฮีโมโกลบิน (Hemoglobin: Hb) ในเลือดต่ำกว่า 13 กรัม/เดซิลิตร หรือ 12 กรัม/เดซิลิตรในผู้หญิง หากคิดเป็นค่าฮีมาโตคริต (Hematocirt; Hct) หมายถึง ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงต่ำกว่าร้อยละ 39 ในผู้ชาย และร้อยละ 36 ในผู้หญิง
สาเหตุ
ภาวะซีดจากการสร้างเม็ดเลือดแดงลดลง
ภาวะซีดจากการขาดสารอาหารที่จำเป็นในการสร้างเม็ดเลือดแดง
ภาวะซีดจากการทำงานของไขกระดูกล้มเหลว
ภาวะซีดจากการพยาธิสภาพของโรคต่าง
ภาวะซีดจากเม็ดเลือดแดงถูกทำลายเพิ่มขึ้นหรือมากผิดปกติ
มีอาการเหลือง อาจพบม้ามโต ต่อมน้ำเหลืองโต ปัสสาวะมีสีคล้ำ ปวดท้องอย่างมาก มีแผลบริเวณผิวหนัง
ภาวะซีดจากเม็ดเลือดแดงแตกหรือถูกทำลายเร็วกว่าปกติ
. ภาวะซีดจากธาลัสซีเมีย
ภาวะที่ทำให้มีการสร้างสายโกลบิน (Globin) ลดลงหรือไม่สร้างเลย
อาการ ซีด โหนกแก้มสูง หน้าผากนูนใหญ่ตาเหลือง ดั้งจมูกแฟบ ผิวหนังคล้ำ
การวินิจฉัย
การซักประวัติ เกี่ยวกับประวัติในครอบครัว
การตรวจร่างกาย จะพบอาการทางคลินิก การตรวจร่างกาย พบ Thalassemic face
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษอื่น ๆ
3.1 การตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยตรวจสเมียร์เลือด
3.2 การตรวจหา Inclusion body ในเม็ดเลือดแดง
3.3 การตรวจชนิดของฮีโมโกลบินในสนามแม่เหล็ก
การรักษา
1.1 การให้เลือด
1.2 ยาขับเหล็ก
1.3 การตัดม้าม
1.4 กรดโฟลิก (Folic acid)
1.5 การรักษาอาการแทรกซ้อน
1.6 ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง
2.1 การปลูกถ่ายไขกระดูก
. ภาวะซีดจากภาวะซีดจากภาวะพร่องจี-6-พีดี
อาการ
ภาวะซีดอย่างเฉียบพลัน มีอาการซีดลงอย่างรวดเร็วร่วมกับถ่ายปัสสาวะดำและอาจตามมาด้วยภาวะไตล้มเหลวเฉียบพลัน
ภาวะซีดเรื้อรัง
การวินิจฉัย
การซักประวัติ เหลืองผิดปกติตั้งตาแรกคลอด
การตรวจร่างกาย อาจไม่พบความผิดปกตินอกจากซีด
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษอื่น ๆ
การรักษา
หาสาเหตุและหลีกเลี่ยงแก้ไข
ให้เลือดชนิด Packed red cell
ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
รักษาตามอาการ
ให้คำแนะนำผู้ป่วยและญาติในการสังเกตอาการผิดปกติ
ภาวะซีดจากการเสียเลือดจากร่างกาย
อาการ
1) อาการซีด เหลือง อาการซีดดูได้จากหน้าตา ผิวหนัง เปลือกตา เหงือก และลิ้น
2) อาการเหนื่อยง่ายหรือรู้สึกเหนื่อยผิดปกติเวลาที่ต้องออกแรง
3) อาการอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น ไม่มีแรงเคลื่อนไหว
4) อาการเป็นลม หน้ามืด วิงเวียน
5) อาการทางสมอง เช่น รู้สึกสมองช้า เวียนศีรษะ หลงลืมง่าย
อาการหัวใจขาดเลือด
อาการเลือดไปเลี้ยงที่ขาไม่เพียงพอ
อาการในระบบทางเดินอาหาร เช่น เบื่ออาหาร ท้องอืด
การรักษา
การรักษาทั่วไป เป็นการบำบัดอาการของภาวะซีด ระหว่างที่ทำการรักษาที่เป็นสาเหตุของภาวะซีด
การรักษาเฉพาะ เป็นการรักษาที่สาเหตุ
ภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก
สาเหตุ
การเสียเลือดชนิดเฉียบพลันหรือเรื้อรัง
การได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ
อาการ
มีอาการซีด เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ หน้ามืด หากรุนแรงจะมีอาการมึนงง สับสน หัวใจล้มเหลว มุมปากอักเสบ ลิ้นเลี่ยนแดงหรืออักเสบ เล็บเปราะแบนคล้ายช้อนหรือเว้าลงเป็นรูปช้อน
ผลกระทบ
เริ่มเกิดอาการ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ เป็นต้น
ผลต่อเซลล์ผิวภายนอกและภายในร่างกาย มุมปากอักเสบ ลิ้นเลี่ยน
ผลต่อภูมิต้านทานของร่างกาย ขาดธาตุเหล็ก
ผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน
ผลต่อการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
ผลต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก
การวินิจฉัย
การซักประวัติ มีประวัติการเสียเลือด
การตรวจร่างกาย การดูอาจเห็นว่าลิ้นแดง บวม เรียบ และเจ็บ มุมปากอาจจะบวมแดง และเจ็บ
ระดับฮีโมโกลบินต่ำ ฮีมาโตคริตต่ำ ระดับธาตุเหล็กให้ซีรั่ม (Serum iron) ต่ำ ระดับเฟอริตินในซีรั่ม (Serum ferriti) ต่ำ
การตรวจไขกระดูก โดยการย้อมธาตุเหล็กจากไขกระดูก
การรักษา
หลีกเลี่ยงสาเหตุของการเสียเลือด
ให้เหล็กโดยการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กมากขึ้น
ภาวะซีดจากการขาดวิตามินบี12
สาเหตุ
การดูดซึม วิตามินบี12 ผิดปกติ
การได้รับ วิตามินบี12 ไม่เพียงพอ
อาการ
เนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย อาการทางระบบประสาท เช่น ความจำเสื่อม สับสน
การวินิจฉัย
การซักประวัติ ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย เจ็บปาก ชาที่แขนขา
การตรวจร่างกาย จะเห็นริมฝีปาก เหงือกและลิ้นแดง ตาขาวมีสีเหลืองและซีดเล็กน้อย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษอื่น ๆ ระดับฮีโมโกลบินต่ำ และจำนวนเม็ดเลือดแดงต่ำ
การรักษา
ให้เลือดเพื่อแก้ไขภาวะซีด
ให้รับประทานอาหารพวกปลา เนื้อสัตว์ นม และไข่
ให้ยาช่วยสร้างเม็ดเลือด
ภาวะซีดอะพลาสติก
อาการ
มีจุดเลือดออกที่เยื่อบุเปลือกตาหรือเรตินา ต่ำ มีอาการอ่อนเพลีย และหายใจลำบากเมื่อออกแรง เลือดออกง่ายเนื่องจากเกล็ดเลือดต่ำ จะพบจ้ำเขียวตามผิวหนัง เหงือกและฟัน มีไข้จากการติดเชื้อในร่างกาย
การวินิจฉัย
การซักประวัติ อาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง หายใจไม่สะดวก และปวดศีรษะ เป็นต้น อาการของความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด
การตรวจร่างกาย จะพบว่าซีด จ้ำเลือด จุดเลือดเล็ก ๆ หรือมีเลือดออกในเรตินา
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษอื่น ๆ จากการสเมียร์เลือด
การรักษา
การรักษาที่ได้ผล ต้องแยกสาเหตุและให้การรักษาอย่างดี
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
สาเหตุ
สารก่อมะเร็ง
รังสี (Ionizing radiation)
ความผิดปกติของโครโมโซม (Chromosomal aberration)
ไวรัสบางชนิด
อาการ
ติดเชื้อเมื่อมีเม็ดเลือดขาวปกติลดลง
ภาวะซีด จากเม็ดเลือดแดงลดลง
เลือดออกง่ายจากเกล็ดเลือดลดลง
การรักษา
เคมีบำบัด ผู้ป่วยจะคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ผมร่วง เป็นหมัน
การปลูกถ่ายไขกระดูก เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
การสร้างภูมิคุ้มกัน Biological therapy