Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบเลือด, download, dFQROr7oWzulq5FZXUqTiufzRPk…
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบเลือด
สาเหตุของเลือดออกผิดปกติ
ความผิดปกติของหลอดเลือด ลักษณะเลือดออกจะเป็น petchiae หรือ ecchymosis ตื้นๆ กดดูไม่เป็นไตแข็งอยู่ข้างล่าง
ความผิดปกติของเกล็ดเลือด ลักษณะเลือดออกมักจะเป็น petchiae ecchymosis และ mucosal bleeding
ความพร่องในปัจจัยการแข็งตัวของเลือด ลักษณะเลือดออกมักจะมี ecchymosis ขนาดใหญ่ เลือดออกในข้อ (hemarthrosis) เลือดออกในกล้ามเนื้อ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
.
• platelet count คือการตรวจนับจำนวนเกล็ดเลือด และดูลักษณะของเกล็ดเลือด
• Bleeding time ค่าปกติ 2 – 7 นาที
• Touniquet test ค่าปกติ 0-10 จุด ในพื้นที่วงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว ที่บริเวณหน้าแขน
• Clot retraction ปกติเกิดขึ้นภายใน 1 – 2 ชั่วโมง
• Venous clotting time (VCT) ปกติเลือดจะแข็งตัวภายใน 5 – 15 นาที.
• Prothrombin time (PT)ใช้ตรวจการขาดของ factor I II V VII และ X ค่าปกติ 12 – 15 วินาที
• Partial thromboplastin time (PTT) ใช้ตรวจการขาดปัจจัยการแข็งตัวของเลือดทุก factor ยกเว้น factor VII
• Thrombin time (TT) ใช้ตรวจการพร่องหรือการทำหน้าที่ผิดปกติของ fibrinogen ค่าปกติประมาณ 1-2 วินาที
ITP
เป็นโรคที่มีอาการเลือดออกจากการมีจำนวนเกล็ดเลือดต่ำ โดยร่างกายสร้าง platelet antiboby ขึ้นมาทำลายเกล็ดเลือดของตัวเองและของผู้อื่น ทำให้มีเลือดออกใต้ผิวหนัง ( purpura )
สาเหตุ
ไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน เชื่อว่าเกิดจากปฏิกริยาอิมมูน จึงมีชื่อเรียกอื่นๆว่าImmunologic idiopathic purpura หรือ Autoimmune thrombocytopenic purpura
แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
แบบเฉียบพลัน ( acute )
ในเด็ก มักจะเป็นแบบเฉียบพลัน และหายภายใน 6 - 12 เดือน ส่วนใหญ่จะหายในระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 1 - 2 เดือน และไม่กลับเป็นซ้ำ
แบบเรื้อรัง ( chronic )
อาการ
เลือดออกตามผิวหนังและอวัยวะต่างๆ โดยไม่มีสาเหตุใดๆนำมาก่อนเช่น petechiae, purpuric spot, echymosis, epistaxis, abnormal menstrual bleeding หรือ เสียเลือดอย่างรวดเร็วและรุนแรงจาก GI bleeding, ตับม้ามและต่อมน้ำเหลืองไม่โต บางรายมีการติดเชื้อ URI นำมาก่อน ภาวะแทรกซ้อนที่น่ากลัวที่สุดคือ intracranial hemorrhage
ผลการตรวจทางห้องทดลอง
.
1.เกล็ดเลือดต่ำกว่า hemostatic level คือ 60,000 เซลล์/ลบ.มม. รายที่มีอาการรุนแรงมักจะต่ำกว่า 20,000 เซลล์/ลบ.มม.
hematrocrit อยู่ในเกณฑ์ปกติ ยกเว้นในรายที่มีเลือดออกรุนแรง หรือเลือดเรื้อรังอาจมีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กร่วมด้วย
WBC ปกติ บางรายพบ lymphocyte สูง
bone marrow พบตัวอ่อนของเกล็ดเลือดเพิ่มขึ้น
platelet antibody ได้ผลบวกร้อยละ 38 - 76 % 6. platelet อายุสั้นไม่เกิน 1 วัน ( ปกติ 9 - 11 วัน )
การรักษา
การรักษาตามอาการ
.
หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เลือดออก เช่นเดียวกับผู้ป่วยเลือดออกง่ายทั่วไป
การห้ามเลือดที่ออกในจมูกด้วยการทำ anterior nasal packing ถ้ายังออกไม่หยุด ทำ posterior nasal packing
แนะนำให้มารดาและผู้ป่วยเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่เป็นสิ่งสำคัญ
ให้เกล็ดเลือดเฉพาะในรายที่มีเลือดออกรุนแรง หรือออกในอวัยวะที่สำคัญๆ เช่นสมอง หรือในการผ่าตัด
การรักษาจำเพาะ
2.1 ให้ยา Pednisolone 1 - 2 มก./กก./วัน ยาจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของหลอดเลือด สกัดไม่ให้ ระบบ reticuloendotherium ทำลายเกล็ดเลือด และออกฤทธิ์ลดการสร้าง antibody ต่อเกล็ดเลือด
2.2 ทำผ่าตัดเอาม้ามออก ( splenectomy ) ในรายที่รักษาด้วย Pednisolone ไม่ได้ผล เนื่องจากม้ามเป็นแหล่งที่สำคัญในการทำลายเกล็ดเลือด ดังนั้นการตัดม้ามออกจึงเป็นการแก้ปัญหาเกล็ดเลือดต่ำได้ การตัดม้ามจะทำในเด็กที่อายุเกิน 4 ปี เพราะในช่วง4 ปี แรก ม้ามจะมีหน้าที่สร้างภูมคุ้มกันต่อเชื้อโรคต่างๆ
Thrombocytopenia
อาการ
.
Ecchymosis
Purpura
Nosebleeds
Mennorrhagia
Hematuria
Blood in stool
Petechiae
การพยาบาลเมื่อมีเลือดออก
Bleeding per gum & teeth
ให้ผู้ป่วยกัด gauze ที่บริเวณนั้นไว้ ถ้าออกทั่วๆไป ไม่มาก ให้บ้วนปากเบาๆ ด้วยน้ำเย็นห้ามดึงลิ่มเลือดออก ภายหลังจากให้ platelets หรือ clotting factor ที่ขาดแล้วเลือดจะหยุดได้เอง งดการแปรงฟัน ถ้าเลือดออกมากต้องส่งปรึกษาแผนกทันตกรรมเพื่อพิจารณาใส่ dental splint
ป้องกัน bleeding โดยไม่ให้เกิด trauma
ให้การพยาบาลอย่างนุ่มนวล การอาบน้ำผู้ป่วยต้องทำอย่างเบามือ ใช้แปรงสีฟันชนิดขนอ่อน ขณะที่มีเลือดออกต้องงดแปรงฟันทำความสะอาดปากฟันโดยการ บ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปาก เช็ดเบาๆด้วยไม้พันสำลี ห้ามดึงลิ่มเลือดออก ขณะที่ผู้ป่วยหลับหรือสลึมสลือ ให้ยกไม้กั้นเตียงขึ้นทุกครั้งป้องกันเด็กตกเตียง
ห้ามฉีดยาทางกล้ามเนื้อ ถ้า platelets น้อยกว่า 60,000 เซลล์/ลบ.มม. การเจาะเลือด การแทงเข็มให้สารน้ำควรให้ผู้ที่มีความชำนาญเป็นผู้ทำ ภายหลังเอาเข็มออกจากตัวผู้ป่วยต้องกดรอยเข็มไว้นานๆประมาณ 5 - 10 นาทีและต้องแน่ใจว่าเลือดหยุดจริง ถ้า IV leakaged ต้องหยุดการให้ทันที เพราะอาจทำให้เลือดออกมาใต้ชั้นผิวหนังนอกเส้นเลือด ทำให้เกิด tissue necrosis ได้
Hemarthrosis พันข้อด้วย elastic bandage งดการเคลื่อนไหวข้อนั้นละยกข้อให้สูงเหนือระดับหัวใจ ประคบด้วยความเย็นใน 24 ชั่วโมงแรก
Snake bite
พิษต่อระบบเลือด (hematotoxin)
Viper
พิษของงูชนิดนี้มีลักษณะเป็น thromboplastin-like เกิดเป็นลิ่มเลือดทั่วทั้งร่างกายที่เรียกว่าภาวะเลือดจับลิ่มในหลอดเลือดแพร่กระจาย (disseminated intravascular coagulation, DIC)
งูแมวเซา (Russell’s viper; Daboia russelli)
Pit-viper
พิษของงูชนิดนี้มีลักษณะเป็น thrombin-likeไม่มีภาวะ DIC
งูกะปะ (Malayan pit viper; Calloselasma rhodostoma) และงูเขียวหางไหม้ (green pit viper; Trimerusurus spp.)
การตรวจทางห้องทดลอง
การตรวจ Complete Blood count จะพบว่าปริมาณเกล็ดเลือดลดลง
การตรวจ Prothrombin time (PT), partial prothromboplastin time (PPT), Thrombin time (TT) จะมีค่านานผิดปรกติ
ผลตรวจทางห้องทดลอง
.
Plt ต่ำ
PT,PTT,TT prolong
Fibrinogen ต่ำ
Fibrin degradation products(FDP) สูง
Euglobulin clot lysis น้อยว่า/เท่ากับ 1 hr
อาการ
.
• ปวด บวม แดง ร้อน แต่ไม่มาก ได้แก่ งูแมวเซา หรืออาการระยะแรกของงูเห่าและงูจงอาง ในกรณีที่พบมีเลือดออกจากรอยเขี้ยวให้คิดถึงงูแมวเซา
• มีอาการเลือดออกผิดปรกติ ได้แก่ เลือดออกจากแผลรอยกัดมาก, มีจ้ำเลือดบริเวณแผล, เลือดออกตามไรฟัน, จุดเลือดตามตัว, ปัสสาวะเป็นเลือด, อาเจียนเป็นเลือด
• ในกรณีงูแมวเซาซึ่งเป็น viper จะมีอาการปวดกล้ามเนื้อตามตัวได้มาก มีอาการและอาการแสดงของภาวะ DIC และมีอาการของภาวะไตล้มเหลวเฉียบพลัน
• ในกรณีของงูกะปะและงูเขียวหางไหม้ อาการเลือดออกผิดปรกติมักไม่รุนแรง แต่อาการที่บริเวณแผลงูกัดจะรุนแรง
การรักษาทั่วไป
.
รักษาภาวะฉุกเฉิน เช่น ภาวะช็อค anaphylactic shock การหยุดหายใจ
ปลอบใจและให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วย
หยุดการเคลื่อนไหวโดยเฉพาะบริเวณที่ถูกกัด ในกรณีที่มีอาการบวมมาก ให้ยกบริเวณนั้นสูง
ให้ยาแก้ปวด แอเคตามิโนเฟน ไม่ให้ยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางแก่ผู้ที่ถูกงูพิษต่อระบบประสาทกัด และไม่ให้ แอสไพรินในผู้ป่วยที่ถูกงูพิษต่อระบบเลือดกัด
ให้ยาต้านจุลชีพในกรณีถูกงูเห่าและงูจงอางกัด ใช้ยาที่ครอบคลุมเชื้อทั้งแกรมบวก แกรมลบเละเชื้อไม่พึ่งอากาศ
ควรให้ยากันบาดทะยัก ในกรณีงูพิษต่อระบบเลือดควรให้หลังจากอาการเลือดออกผิดปรกติดีขึ้น
การให้เซรุ่ม
.
งูแมวเซา VCT>20 นาที ให้เซรุ่ม 60 มล. ให้ซ้ำทุก 6 ชั่วโมง จนกว่า VCT ลดลงต่ำกว่า 30 นาที
งูกะปะ VCT>20 นาที ให้เซรุ่ม 50 มล. ให้ซ้ำทุก 6 ชั่วโมง จนกว่า VCT ลดลงต่ำกว่า 30 นาที
งูเขียวหางไหม้ ให้เซรุ่ม 50 มล. ให้ซ้ำทุก 6 ชั่วโมง จนกว่า VCT ลดลงต่ำกว่า 30 นาที
การป้องกันปฏิกิริยาของเซรุ่ม
ต้องเตรียมยาแก้แพ้เซรุ่มแก้พิษงูไว้ก่อนเสมอ โดยใช้ adrenalin 1:1,000 ขนาด 0.5 มล.สำหรับผู้ใหญ่ หรือ 0.01 มล.ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. สำหรับเด็ก ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง หรือเข้ากล้ามเนื้อ
การดูแลผู้ป่วย
ระมัดระวังภาวะเสี่ยงต่อเลือดออก (Bleeding precaution) และพิจารณาให้การรักษาดังนี้
ข้อบ่งชี้ในการให้เซรุ่มแก้พิษงู
ขนาดของเซรุ่มแก้พิษงูที่ใช้ คือ 30 มล. สำหรับความรุนแรงปานกลาง (moderate) และ 50 มล.สำหรับความรุนแรงมาก (severe)
การติดตามผู้ป่วย ติดตามภาวะเลือดออก และ VCT ทุก 6 ชั่วโมง หากยังมีภาวะเลือดออก หรือVCT ยังผิดปกติ สามารถให้เซรุ่มแก้พิษงูซ้ำได้อีก จน VCT ปกติ หลังจากนั้นควรทำ VCT ซ้ำอีกประมาณ 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก
ในผู้ป่วยที่ถูกงูแมวเซากัด ติดตามการตรวจวัดปริมาณปัสสาวะทุก 6 ชั่วโมง และอาจพิจารณาทำ hemodialysis เมื่อมีข้อบ่งชี้
ภาวะแทรกซ้อน
.
Renal failure
Gangrene
Pulmonary emboli or hemorrhage
Acute respiratory distress sysdrome
Stroke
การพยาบาลผู้ป่วย DIC
หลีกเลี่ยงกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำให้เกิด Increase intracranial pressure
หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลต่อหน้าที่ของเกร็ดเลือด
ASA, NSAID, Beta-lactam antibiotic
Response to heparin therapy
Monitor
.
หลีกเลี่ยงการใช้ยาเข้ากล้ามเนื้อและ rectral
Suction โดยใช้ Low pressure
สังเกต Clot รอบ IV site และ Injections sites
Patient and family support
ภาวะซีด
ภาวะซีด เป็นภาวะที่มีจำนวนเม็ดเลือดแดงในร่างกายน้อยลงหรือน้อยกว่าปกติ โดยระดับของ Hemoglobin ลดลงต่ำกว่าค่าปกติ ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุและเพศ
ระดับค่าฮีโมโกลบิน (Hemoglobin: Hb)
ผู้ชาย13 กรัม/เดซิลิตร ผู้หญิง 12 กรัม/เดซิลิตร
สาเหตุ
.
ภาวะซีดจากการสร้างเม็ดเลือดแดงลดลง
.
ภาวะซีดจากการขาดสารอาหารที่จำเป็นในการสร้างเม็ดเลือดแดง
ภาวะซีดจากการทำงานของไขกระดูกล้มเหลว
ภาวะซีดจากการพยาธิสภาพของโรคต่าง
ภาวะซีดจากเม็ดเลือดแดงถูกทำลายเพิ่มขึ้นหรือมากผิดปกติ
ภาวะซีดจากเม็ดเลือดแดงแตกหรือถูกทำลายเร็วกว่าปกติ
ภาวะซีดจากการติดเชื้อ
ภาวะซีดเนื่องจากยา สารเคมี และ Venoms
ภาวะซีดจากการเสียเลือดจากร่างกาย
อาการ
มีอาการเหลืองเนื่องจากมีปริมาณบิลิรูบินในเลือดเพิ่มขึ้น อาการเหลืองของผู้ป่วยมักจะไม่มากเท่าผู้ป่วยที่มีอาการเหลืองจากการอุดตันของทางเดินน้ำดี และอาจพบม้ามโต ต่อมน้ำเหลืองโต ปัสสาวะมีสีคล้ำ ปวดท้องอย่างมาก มีแผลบริเวณผิวหนัง
Thalassemia
ภาวะที่ทำให้มีการสร้างสายโกลบิน (Globin) ลดลงหรือไม่สร้างเลย ทำให้สร้างฮีโมโกลบินปกติลดลงหรือไม่สามารถสร้างฮีโมโกลบินปกติได้เลย
สาเหตุ
ความผิดปกติของการสังเคราะห์ฮีโมโกลบินซึ่งถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์
ความผิดปกติรุนแรงเพราะมีสภาวะโฮโมไซกัส (Homozygous state) มียินผิดปกติซึ่งได้รับมาจากทั้งบิดามารดา
อาการ
ซีด โหนกแก้มสูง หน้าผากนูนใหญ่ตาเหลือง ดั้งจมูกแฟบ ผิวหนังคล้ำท้องโตเพราะตับม้ามโต เข้าสู่ภาวะหนุ่มสาวช้า การเจริญเติบโตจะช้ากว่าเด็กปกติ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
.
มีความผิดปกติของผิวหนังเนื่องจากอวัยวะส่วนปลายขาดเลือดไปเลี้ยง
ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายเนื่องจากตับและม้ามโต การเมตะบอลิสมบกพร่อง
มีความผิดปกติของการแลกเปลี่ยนออกซิเจนของหัวใจและปอดเนื่องจากการสูบฉีดเลือดออกจากหัวใจไม่ดี
การปฏิบัติตัวไม่ถูกต้องเนื่องจากขาดความรู้
การรักษา
แบบประคับประคอง
.
1 การให้เลือด
2 ยาขับเหล็ก
3 การตัดม้าม
4 กรดโฟลิก (Folic acid)
5 การรักษาอาการแทรกซ้อน
6 ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงและหลีกเลี่ยงยาบำรุงที่มีธาตุเหล็ก
รักษาที่ต้นเหตุ
.
1 การปลูกถ่ายไขกระดูก
2 การเปลี่ยนยีน (Gene therapy)
3 การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำหนดเม็ดเลือด
การวินิจฉัย
.
การซักประวัติ เกี่ยวกับประวัติในครอบครัว
การตรวจร่างกาย จะพบอาการทางคลินิก การตรวจร่างกาย พบหน้าบอกธาลัสซีเมีย (Thalassemic face) ได้แก่ ซีด เหลือง ตับโต และม้ามโต
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษอื่น ๆ
G-6-PD deficiency
สาเหตุ
มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ X-linked
สารบางอย่าง เช่น ยา (Aspirin, Antimalarial drugs, Sulfonamides, Vitamin K) เป็นต้น
พยาธิสรีรภาพ
ภาวะพร่อง จี-6-พีดี เป็นเอนไซม์ที่มีกับเม็ดเลือดแดงเป็นตัวช่วยในการ Glycolysis ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างพลังงานให้กับเซลล์เม็ดเลือดแดง หากมีความผิดปกติของ จี-6-พีดี จะเป็นสาเหตุให้มีการแตกแยกของเม็ดเลือดแดง
อาการ
ภาวะซีดอย่างเฉียบพลัน ผู้ที่พร่อง จี-6-พีดี เมื่อมีภาวะเจ็บป่วยหรือได้รับยาหรือสารเคมีบางอย่าง ผู้ป่วยจะมีอาการซีดลงอย่างรวดเร็วร่วมกับถ่ายปัสสาวะดำและอาจตามมาด้วยภาวะไตล้มเหลวเฉียบพลัน
ภาวะซีดเรื้อรัง เนื่องจากมีการแตกของเม็ดเลือดเรื้อรัง ซึ่งอาการซีดแบบโรคธาลัสซีเมียหรือภาวะพร่องเอนไซม์อื่น ๆ พบน้อย อาการมักจะเกิดขึ้นทันทีเป็นโรคติดเชื้อ หรือหลังได้รับยาที่มีปฏิกิริยาต่อกัน
การรักษา
.
หาสาเหตุและหลีกเลี่ยงแก้ไข เช่น หยุดยาหรือขจัดสารที่เป็นสาเหตุทำให้เม็ดเลือดแดงแตก รักษาโรคติดเชื้อที่เป็นสาเหตุ
ให้เลือด ชนิด Packed red cell เพื่อหลีกเลี่ยงโปแตสเซียมสูง
ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน ดูแลให้สารน้ำและติดตามภาวะสมดุลของอิเล็กโตรไลท์ ระหว่างมีการแตกทำงายของเม็ดเลือดแดง
รักษาตามอาการ
ให้คำแนะนำผู้ป่วยและญาติในการสังเกตอาการผิดปกติ หลีกเลี่ยงการใช้ยาโดยไม่จำเป็น ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
.
ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอเนื่องจากภาวะซีด
มีภาวะไม่สมดุลของสารน้ำและอิเล็กโตรไลน์เนื่องจากการแตกของเม็ดเลือดแดง
มีความวิตกกังวลเนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องโรค
ภาวะซีดจากการเสียเลือด
อาการ
.
1.อาการซีด หรืออาจมีคนทักว่าเหลือง ซีด อาการซีดดูได้จากหน้าตา ผิวหนัง เปลือกตา เหงือก และลิ้น
2.อาการเหนื่อยง่ายหรือรู้สึกเหนื่อยผิดปกติเวลาที่ต้องออกแรง
3.อาการอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น ไม่มีแรงเคลื่อนไหว
4.อาการเป็นลม หน้ามืด วิงเวียน อาจทำให้หกล้มได้
5.อาการทางสมอง
6.อาการหัวใจขาดเลือด
7.อาการเลือดไปเลี้ยงที่ขาไม่เพียงพอ
8.อาการในระบบทางเดินอาหาร
การรักษา
การรักษาทั่วไป เป็นการบำบัดอาการของภาวะซีด ระหว่างที่ทำการรักษาที่เป็นสาเหตุของภาวะซีด
การรักษาเฉพาะ เป็นการรักษาที่สาเหตุ
ซีดจากการสร้างเม็ดเลือดแดงลดลง
ภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก
สาเหตุ
การเสียเลือดชนิดเฉียบพลันหรือเรื้อรัง
การได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ
ผลของการขาดธาตุเหล็ก
1 ผลต่อเซลล์ผิวภายนอกและภายในร่างกาย
2 ผลต่อภูมิต้านทานของร่างกาย
3 ผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน
4 ผลต่อการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
5 ผลต่อการตั้งครรภ์
6 ผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก
อาการ
มีอาการซีด เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ หน้ามืด หากรุนแรงจะมีอาการมึนงง สับสน หัวใจล้มเหลว มุมปากอักเสบ (Angular stomatitis)
ภาวะแทรกซ้อน
มีการติดเชื้อและภาวะปอดอักเสบ มีการเสียเลือด โดยจะเห็นจากรอยจ้ำเลือดตามผิวหนัง ปัสสาวะเป็นเลือด มีเลือดออกที่เหงือก
การรักษา
หลีกเลี่ยงสาเหตุของการเสียเลือด
ให้เหล็กโดยการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กมากขึ้น
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
.
มีความบกพร่องเกี่ยวกับการรับรู้ เนื่องจากสมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
เหนื่อยง่ายเนื่องจากเนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
เซลล์ผิวมีความผิดปกติเนื่องจากการดูดซึมลดลง
ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายเนื่องจากรับประทาน
อาหารที่มีธาตุเหล็กน้อย และมีการอักเสบที่มุมปากและในช่องปาก
ปฏิบัติตัวไม่ถูกต้องเนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องโรค
ภาวะซีดจากการขาดวิตามินบี12
สาเหตุ
การดูดซึม วิตามินบี12 ผิดปกติ เนื่องจากขาด Intrinsic factor ซึ่งเป็นโปรตีนที่สร้างจากเยื่อบุในกระเพาะอาหาร
การได้รับ วิตามินบี12 ไม่เพียงพอ
อาการ
อาการของเนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
อาการทางระบบประสาท
ความจำเสื่อม สับสน ชาที่แขนขา กล้ามเนื้อขาไม่มีแรง มีอาการสั่นเดินแล้วล้ม การรับความรู้สึกเสียไป ไม่มีรีเฟล็กซ์ มีอาการสั่นเดินแล้วล้ม
อาการในระบบทางเดินอาหาร
อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องอืด ท้องผูก ท้องเสีย เจ็บปาก ลิ้นเลี่ยนแดง น้ำหนักลด
การรักษา
.
• ให้เลือดเพื่อแก้ไขภาวะซีด
• ให้รับประทานอาหารพวกปลา เนื้อสัตว์ นม และไข่ให้ยาช่วยสร้างเม็ดเลือด
• ภาวะซีดทำให้ผู้ป่วยอ่อนแรง อาจจะให้พักบนเตียงจนกว่าฮีโมโกลบินจะสูงขึ้น
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
.
เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากสูญเสียความรู้สึกและไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ทำ
ให้มีการบกพร่องด้านจิตใจและการรับรู้
อาจเกิดความผิดปกตีที่ผิวหนังเนื่องจากหลอดเลือดส่วนปลายเปราะ
ได้รับ วิตามินบี12 ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เนื่องจากการ ดูดซึมผิดปกติ หรือพฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่เหมาะสม
มีความบกพร่องในการแลกเปลี่ยนก๊าซเนื่องจากมีปริมาณเม็ดเลือดแดงน้อย
ภาวะซีดอะพลาสติก
สาเหตุ
โดยสาเหตุที่แน่ชัดยังไม่ทราบ อาจเกิดจากพิษของยาหรือสารเคมีไปทำลายไขกระดูก
เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมแต่กำเนิด
อาการ
มีจุดเลือดออกที่เยื่อบุเปลือกตาหรือเรตินา พบจำนวนเม็ดเลือดแดงน้อยกว่า 1 ล้านเซลล์/ลบ.มม. เรติคิวโลไซต์ต่ำ มีอาการอ่อนเพลีย และหายใจลำบากเมื่อออกแรง เลือดออกง่ายเนื่องจากเกล็ดเลือดต่ำ จะพบจ้ำเขียวตามผิวหนัง เหงือกและฟัน มีไข้จากการติดเชื้อในร่างกาย พบเม็ดเลือดขาวในเลือดต่ำกว่า 2,000 เซลล์/ลบ.มม. เป็นชนิดลิมโฟไซม์
การรักษา
ต้องแยกสาเหตุและให้การรักษาอย่างดี เช่น ให้ Packed red cell, Platelet และให้เลือดชนิดต่าง ๆ การปลูกถ่ายไขกระดูกสำหรับผู้ป่วยที่มีเม็ดเลือดขาวต่ำ ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อจึงควรป้องกันโดยการล้างมือบ่อย ๆ ให้ยาปฏิชีวนะเมื่อมีการติดเชื้อ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
.
ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ เนื่องจากภาวะพร่องออกซิเจน
มีโอกาสติดเชื้อเนื่องจากปริมาณเม็ดเลือดขาวลดลง
มีโอกาสเสียเลือดเนื่องจากปริมาณเกล็ดเลือดต่ำและมีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
สาเหตุ
.
สารก่อมะเร็ง
รังสี (Ionizing radiation)
ความผิดปกติของ
โครโมโซม (Chromosomal aberration)
ไวรัสบางชนิด
ชนิด
.
Acute lymphocytic leukemia [ALL] เซลล์ส่วนใหญ่เป็น lymphocyte มักพบในเด็ก
Acute myeloid leukemia [AML] พบมากในเด็กและผู้ใหญ่
Chronic lymphocytic leukemia [CLL] พบมากในอายุมากกว่า 55 ปี
Chronic myeloid leukemia [CML] พบในผู้ใหญ่
Lymphocytic leukemia คือ การที่พบเซลล์ในสาย Lymphoid ได้แก่ Lymphocytes และplasma cells ที่ผิดปกติเป็นจำนวนมากในกระแสเลือด
Myelogenous leukemia คือ การที่พบเซลล์ที่ผิดปกติในสายmyeloid ได้แก่ eosinophils, neutrophils, และ basophils เพิ่มมากขึ้นในกระแสเลือด
อาการ
.
ติดเชื้อเมื่อมีเม็ดเลือดขาวปกติลดลง
ภาวะซีด จากเม็ดเลือดแดงลดลง
เลือดออกง่ายจากเกล็ดเลือดลดลง
การรักษา
.
เคมีบำบัด
อาการข้างเคียงเกิดจากการที่เซลล์ปกติถูกทำลาย ผู้ป่วยจะคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ผมร่วง เป็นหมัน
การปลูกถ่ายไขกระดูก
ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เลือดออกผิดปกติ
การสร้างภูมิคุ้มกัน Biological therapy โดยการใช้ interferon กับเซลล์มะเร็งได้บางชนิด
รังสีรักษา
บริเวณที่ฉายแสงขนหรือผมจะร่วง ผิวบริเวณดังกล่าวจะแห้ง คัน ห้ามใช้ lotion ก่อนปรึกษาแพทย์
นางสาวณัฐวดี สมบูรณ์ เลขที่ 26 รหัสนักศึกษา 612501028