Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบเลือด, image, image, image, image, image,…
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบเลือด
Thrombocyte , platelet
การซักประวัติและการตรวจร่างกาย
Abdominal discomfort ,fullness
Abdominal pain
Anemia
Angina pectoris
Anorexia
Arthritis
Back pain
Blindness
Bone pain
Brittle nail
Dryness of mouth
Echymosis
ลักษณะอาการเลือดออกที่ผิดปกติ
purpura เป็นภาวะที่มีเลือดออกใต้ผิวหนังหรือออกที่เยื่อเมือก
ออกเป็นจุดเล็กๆ เรียกว่า petechiae ถ้าออกเป็นจุดปานกลาง เรียกว่า purpuric spot
ออกเป็นจ้ำใหญ่ๆเรียกว่า echymosisหรือที่เรียกกันว่าพรายย้ำ
hematoma ภาวะที่มีเลือดคั่งเป็นก้อน
hemarthrosis ภาวะที่มีเลือดออกในข้อ
สาเหตุของเลือดออกผิดปกติ
ลักษณะเลือดออกจะเป็น petchiae หรือ ecchymosis ตื้นๆ กดดูไม่เป็นไตแข็งอยู่ข้างล่าง อาจมีสาเหตุมาจาก หลอดเลือดเปราะ ในผู้ป่วยที่มีปัญหาติดเชื้อ ขาดอาหาร ขาดวิตามินซี รับประทานยา steroid นานๆ
ความผิดปกติของเกล็ดเลือด ลักษณะเลือดออกมักจะเป็น petchiae ecchymosis และ mucosal bleeding
ความพร่องในปัจจัยการแข็งตัวของเลือด ลักษณะเลือดออกมักจะมี ecchymosis ขนาดใหญ่ เลือดออกในข้อ (hemarthrosis) เลือดออกในกล้ามเนื้อ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
platelet count
Bleeding time
Touniquet test
Clot retraction
Venous clotting time
Prothrombin time
Partial thromboplastin time
Thrombin time
สาเหตุของภาวะเกล็ดเลือดต่ำ
สร้างจากไขกระดูกได้น้อย เช่น ภาวะที่ไขกระดูกฝ่อ (Aplastic anemia) หรือภาวะที่ไขกระดูกถูกกดเบียดจากการมีโรคมะเร็งกระจายเข้าในไขกระดูก
เกล็ดเลือดถูกทำลายมาก
เกล็ดเลือดถูกบีบ (Squeeze) ไปอยู่ในที่หนึ่งที่ใดมากเกินไป
การใช้เกล็ดเลือดมากเกินไป
เกล็ดเลือดต่ำเพราะมีปริมาณน้ำในร่างกายมาก (Dilutional thrombocy topenia) พบในผู้ที่ได้รับน้ำเกลือ หรือสารน้ำคอลลอยด์
Idiopathic thrombocytopenic purpura
ลักษณะอาการ
อาการเลือดออกตามผิวหนังและอวัยวะต่างๆ โดยไม่มีสาเหตุใดๆนำมาก่อนเช่น petechiae, purpuric spot, echymosis, epistaxis, abnormal menstrual bleeding หรือ เสียเลือดอย่างรวดเร็วและรุนแรงจาก GI bleeding, ตับม้ามและต่อมน้ำเหลืองไม่โต บางรายมีการติดเชื้อ URI นำมาก่อน ภาวะแทรกซ้อนที่น่ากลัวที่สุดคือ intracranial hemorrhage
ผลการตรวจทางห้องทดลอง
เกล็ดเลือดต่ำกว่า hemostatic level คือ 60,000 เซลล์/ลบ.มม. รายที่มีอาการรุนแรงมักจะต่ำกว่า 20,000 เซลล์/ลบ.มม.
hematrocrit อยู่ในเกณฑ์ปกติ ยกเว้นในรายที่มีเลือดออกรุนแรง หรือเลือดเรื้อรังอาจมีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กร่วมด้วย
WBC ปกติ บางรายพบ lymphocyte สูง
bone marrow พบตัวอ่อนของเกล็ดเลือดเพิ่มขึ้น
platelet antibody ได้ผลบวกร้อยละ 38 - 76 % 6. platelet อายุสั้นไม่เกิน 1 วัน ( ปกติ 9 - 11 วัน )
การรักษา
การรักษาตามอาการ
หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เลือดออก เช่นเดียวกับผู้ป่วยเลือดออกง่ายทั่วไป
การห้ามเลือดที่ออกในจมูกด้วยการทำ anterior nasal packing ถ้ายังออกไม่หยุด ทำ posterior nasal packing
แนะนำให้มารดาและผู้ป่วยเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่เป็นสิ่งสำคัญ
ให้เกล็ดเลือดเฉพาะในรายที่มีเลือดออกรุนแรง หรือออกในอวัยวะที่สำคัญๆ เช่นสมอง หรือในการผ่าตัด
การรักษาจำเพาะ
ให้ยา Pednisolone 1 - 2 มก./กก./วัน ยาจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของหลอดเลือด สกัดไม่ให้ ระบบ reticuloendotherium ทำลายเกล็ดเลือด และออกฤทธิ์ลดการสร้าง antibody ต่อเกล็ดเลือด
ทำผ่าตัดเอาม้ามออก ( splenectomy ) ในรายที่รักษาด้วย Pednisolone ไม่ได้ผล เนื่องจากม้ามเป็นแหล่งที่สำคัญในการทำลายเกล็ดเลือด ดังนั้นการตัดม้ามออกจึงเป็นการแก้ปัญหาเกล็ดเลือดต่ำได้ การตัดม้ามจะทำในเด็กที่อายุเกิน 4 ปี เพราะในช่วง4 ปี แรก ม้ามจะมีหน้าที่สร้างภูมคุ้มกันต่อเชื้อโรคต่างๆ
การพยาบาลเมื่อมีเลือดออก
บาดแผล ทำ pressure dressing นานประมาณ 10 - 15 นาที หรือจนเลือดหยุด
Purpura ให้ผู้ป่วยนอนพักบนเตียง
Epistaxis ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้บีบปีกจมูกทั้งสองข้าง และวางกระเป๋าน้ำแข็งหรือ cold pack ที่บริเวณหน้าผาก
Bleeding per gum & teeth ถ้ามองเห็นจุดที่เลือดออก ให้ผู้ป่วยกัด gauze ที่บริเวณนั้นไว้
Hemarthrosis พันข้อด้วย elastic bandage งดการเคลื่อนไหวข้อนั้นละยกข้อให้สูงเหนือระดับหัวใจ ประคบด้วยความเย็นใน 24 ชั่วโมงแรก
Snake bite
พิษต่อระบบเลือด
Viper ได้แก่ งูแมวเซา (Russell’s viper; Daboia russelli)
Pit-viper ได้แก่ งูกะปะ (Malayan pit viper; Calloselasma rhodostoma) และงูเขียวหางไหม้ (green pit viper; Trimerusurus spp.)
อาการ
ปวด บวม แดง ร้อน แต่ไม่มาก ได้แก่ งูแมวเซา หรืออาการระยะแรกของงูเห่าและงูจงอาง ในกรณีที่พบมีเลือดออกจากรอยเขี้ยวให้คิดถึงงูแมวเซา
มีอาการเลือดออกผิดปรกติ ได้แก่ เลือดออกจากแผลรอยกัดมาก, มีจ้ำเลือดบริเวณแผล, เลือดออกตามไรฟัน, จุดเลือดตามตัว, ปัสสาวะเป็นเลือด, อาเจียนเป็นเลือด
ในกรณีงูแมวเซาซึ่งเป็น viper จะมีอาการปวดกล้ามเนื้อตามตัวได้มาก มีอาการและอาการแสดงของภาวะ DIC และมีอาการของภาวะไตล้มเหลวเฉียบพลัน
ในกรณีของงูกะปะและงูเขียวหางไหม้ อาการเลือดออกผิดปรกติมักไม่รุนแรง แต่อาการที่บริเวณแผลงูกัดจะรุนแรง
การรักษาทั่วไป
รักษาภาวะฉุกเฉิน เช่น ภาวะช็อค anaphylactic shock การหยุดหายใจ
ปลอบใจและให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วย
หยุดการเคลื่อนไหวโดยเฉพาะบริเวณที่ถูกกัด ในกรณีที่มีอาการบวมมาก ให้ยกบริเวณนั้นสูง
ให้ยาแก้ปวด แอเคตามิโนเฟน ไม่ให้ยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางแก่ผู้ที่ถูกงูพิษต่อระบบประสาทกัด และไม่ให้ แอสไพรินในผู้ป่วยที่ถูกงูพิษต่อระบบเลือดกัด
ให้ยาต้านจุลชีพในกรณีถูกงูเห่าและงูจงอางกัด ใช้ยาที่ครอบคลุมเชื้อทั้งแกรมบวก แกรมลบเละเชื้อไม่พึ่งอากาศ
ควรให้ยากันบาดทะยัก ในกรณีงูพิษต่อระบบเลือดควรให้หลังจากอาการเลือดออกผิดปรกติดีขึ้น
การให้เซรุ่ม
งูแมวเซา VCT>20 นาที ให้เซรุ่ม 60 มล. ให้ซ้ำทุก 6 ชั่วโมง จนกว่า VCT ลดลงต่ำกว่า 30 นาที
งูกะปะ VCT>20 นาที ให้เซรุ่ม 50 มล. ให้ซ้ำทุก 6 ชั่วโมง จนกว่า VCT ลดลงต่ำกว่า 30 นาที
งูเขียวหางไหม้ ให้เซรุ่ม 50 มล. ให้ซ้ำทุก 6 ชั่วโมง จนกว่า VCT ลดลงต่ำกว่า 30 นาที
การดูแลผู้ป่วย
ข้อบ่งชี้ในการให้เซรุ่มแก้พิษงู คือ มีภาวะเลือดออกผิดปกติ
ขนาดของเซรุ่มแก้พิษงูที่ใช้ คือ 30 มล. สำหรับความรุนแรงปานกลาง (moderate) และ 50 มล.สำหรับความรุนแรงมาก (severe)
การติดตามผู้ป่วย ติดตามภาวะเลือดออก และ VCT ทุก 6 ชั่วโมง หากยังมีภาวะเลือดออก หรือVCT ยังผิดปกติ สามารถให้เซรุ่มแก้พิษงูซ้ำได้อีก จน VCT ปกติ
ในผู้ป่วยที่ถูกงูแมวเซากัด ติดตามการตรวจวัดปริมาณปัสสาวะทุก 6 ชั่วโมง และอาจพิจารณาทำ hemodialysis เมื่อมีข้อบ่งชี้
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Plt ต่ำ
PT,PTT,TT prolong
Fibrinogen ต่ำ
Fibrin degradation products(FDP) สูง
Euglobulin clot lysis น้อยว่า/เท่ากับ 1 hr
ภาวะแทรกซ้อน
Renal failure
Gangrene
Pulmonary emboli or hemorrhage
Acute respiratory distress sysdrome
Stroke
การพยาบาลผู้ป่วย DIC
หลีกเลี่ยงการใช้ยาเข้ากล้ามเนื้อและ rectral
Suction โดยใช้ Low pressure
สังเกต Clot รอบ IV site และ Injections sites
Patient and family support
ภาวะซีดจากธาลัสซีเมีย
สาเหตุ
โรคธาลัสซีเมียเมเจอร์ (Thalassemia major) เป็นความผิดปกติรุนแรงเพราะมีสภาวะโฮโมไซกัส (Homozygous state) มียินผิดปกติซึ่งได้รับมาจากทั้งบิดามารดา คนในแถวเอเชียโดยเฉพาะจากประเทศไทย ฟิลิปปินส์ และจีนมักพบว่าเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดมีความผิดผกติของการสร้างสายแอลฟา (Alpha-defect thalassemia)
โรคธาลัสซีเมีย เป็นความผิดปกติของการสังเคราะห์ฮีโมโกลบินซึ่งถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ทำให้มีการสร้างฮีโมโกลบินเอฟ (HbF) และฮีโมโกลบินแอลฟาทู (Hb 2) มากเกินปกติในผู้ใหญ่
อาการและการแสดงอาการ
อาการที่พบบ่อย ๆ ในเด็กหรือผู้ที่เป็นธาลัสซีเมีย ได้แก่ ซีด โหนกแก้มสูง หน้าผากนูนใหญ่ตาเหลือง ดั้งจมูกแฟบ ผิวหนังคล้ำเพราะเม็ดเลือดแดงแตกมากทำให้เหล็กเพิ่มขึ้น ต้องรับเลือดจนทำให้มีธาตุเหล็กมากเกินความจำเป็น ท้องโตเพราะตับม้ามโต เข้าสู่ภาวะหนุ่มสาวช้า การเจริญเติบโตจะช้ากว่าเด็กปกติ ธาลัสซีเมียสามารถป้องกันได้เพราะโรคนี้ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
การวินิจฉัย
การซักประวัติ เกี่ยวกับประวัติในครอบครัว
การตรวจร่างกาย จะพบอาการทางคลินิก การตรวจร่างกาย พบหน้าบอกธาลัสซีเมีย (Thalassemic face) ได้แก่ ซีด เหลือง ตับโต และม้ามโต
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษอื่น ๆ
การรักษา
. แบบประคับประคอง โดยรักษาตามอาการ และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน
การให้เลือดมี 2 แบบ คือ การให้เลือดอย่างสม่ำเสมอตลอดไป โดยระดับความเข้มข้นของเลือด (Hematocrit)
ยาขับเหล็ก ผู้ป่วยจะได้รับเหล็กจากเลือดประมาณครั้งละ 230 มิลลิกรัม หรือปีละ 6 กรัม ควรให้ในรายที่ได้รับเลือดเป็นประจำ
การตัดม้าม ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับเลือด มักจะมีปัญหาม้ามโต ผู้ป่วยจะมีอาการซีดเร็วกว่าที่เคยเป็นต้องให้เลือดบ่อยขึ้น
กรดโฟลิก (Folic acid) ซึ่งเป็นยาบำรุงเม็ดเลือด หากผู้ป่วยไม่ได้รับเลือด จะมีความต้องการกรดโฟลิกสูง
การรักษาอาการแทรกซ้อน ได้แก่ ภาวะติดเชื้อ และหัวในล้มเหลว
ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงและหลีกเลี่ยงยาบำรุงที่มีธาตุเหล็ก
การรักษาต้นเหตุ
การปลูกถ่ายไขกระดูก สามารถนำไขกระดูกจากพี่น้อง
การเปลี่ยนยีน (Gene therapy) กำลังอยู่ในขั้นตอนพัฒนาและวิจัย
การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำหนดเม็ดเลือด เป็นหนทางเดียวที่จะรักษาโรคธาลัสซีเมียให้หายขาดได้โดยได้รับจากพี่น้องหรือผู้บริจาคที่มี Human leukocyte antigen (HLA) ตรงกัน
G-6-PD deficiency
สาเหตุ
ภาวะพร่อง จี-6-พีดี มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ X-linked หญิงที่เป็น Heterocygote จะเป็นพาหะถ่ายทอดภาวะนี้ไปให้บุตรชายประมาณครึ่งหนึ่ง ทำให้พบภาวะพร่องจี-6-พีดี พบมากในผู้ชาย ส่วนบุตรที่บิดาปกติจะเป็นพาหะแบบมารดาประมาณครึ่งหนึ่ง ในหญิงที่รับ X-chromosome ผิดปกติมาจากทั้งบิดาและมารดา (Homozygote) จะมีภาวะพร่อง จี-6-พีดี ชัดเจน
สารบางอย่าง เช่น ยา (Aspirin, Antimalarial drugs, Sulfonamides, Vitamin K) เป็นต้น
อาการและอาการแสดง
ภาวะซีดอย่างเฉียบพลัน ผู้ที่พร่อง จี-6-พีดี เมื่อมีภาวะเจ็บป่วยหรือได้รับยาหรือสารเคมีบางอย่าง ซึ่งมีผลทำให้เม็ดเลือดแดงเป็นจำนวนมากแตกอย่างรวดเร็วในหลอดเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการซีดลงอย่างรวดเร็วร่วมกับถ่ายปัสสาวะดำและอาจตามมาด้วยภาวะไตล้มเหลวเฉียบพลัน
ภาวะซีดเรื้อรัง เนื่องจากมีการแตกของเม็ดเลือดเรื้อรัง ซึ่งอาการซีดแบบโรคธาลัสซีเมียหรือภาวะพร่องเอนไซม์อื่น ๆ พบน้อย อาการมักจะเกิดขึ้นทันทีเป็นโรคติดเชื้อ
การวินิจฉัย
ซักประวัติ มีประวัติว่าตั้งแต่แรกคลอดมีอาการเหลืองผิดปกติ โดยไม่รู้สาเหตุ เหลืองมากผิดปกติเคยมีอาการซีดอย่างเฉียบพลันในระยะเวลาอันสั้น (7-10 วัน) โดยไม่มีการเสียเลือด บางรายเคยมีปัสสาวะสีคล้ายน้ำปลาหรือโคล่า มีประวัติได้รับยา มีไข้มาก่อน มีประวัติเลือดจางในครอบครัว
การตรวจร่างกาย อาจไม่พบความผิดปกติ นอกจากซีด บางรายอาจมีตาตัวเหลือง ปัสสาวะมีสีน้ำปลา มีไข้หนาวสั่น แต่ตับม้ามมักไม่โต
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษอื่น ๆ การตรวจเลือดพบว่าเม็ดเลือดมีลักษณะปกติ มีฮีโมโกลบินในปัสสาวะ ไม่มีการจัดกลุ่มของเม็ดเลือดแดง (Autoagglutination) และ Coomb’s test ให้ผลลบ
การรักษา
หาสาเหตุและหลีกเลี่ยงแก้ไข เช่น หยุดยาหรือขจัดสารที่เป็นสาเหตุทำให้เม็ดเลือดแดงแตก รักษาโรคติดเชื้อที่เป็นสาเหตุ
2.ให้เลือด ชนิด Packed red cell เพื่อหลีกเลี่ยงโปแตสเซียมสูง
ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน ดูแลให้สารน้ำและติดตามภาวะสมดุลของอิเล็กโตรไลท์ ระหว่างมีการแตกทำงายของเม็ดเลือดแดง
รักษาตามอาการ
ให้คำแนะนำผู้ป่วยและญาติในการสังเกตอาการผิดปกติ หลีกเลี่ยงการใช้ยาโดยไม่จำเป็น ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง
ภาวะซีดจากการเสียเลือดจากร่างกาย
อาการ
1) อาการซีด หรืออาจมีคนทักว่าเหลือง ซีด อาการซีดดูได้จากหน้าตา ผิวหนัง เปลือกตา เหงือก และลิ้น
2) อาการเหนื่อยง่ายหรือรู้สึกเหนื่อยผิดปกติเวลาที่ต้องออกแรง
3) อาการอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น ไม่มีแรงเคลื่อนไหว ทำให้มีการเคลื่อนไหวช้าลง เวียนศีรษะ ออกกำลังกายไม่ได้ตามปกติ
4) อาการเป็นลม หน้ามืด วิงเวียน อาจทำให้หกล้มได้
5) อาการทางสมอง เช่น รู้สึกสมองช้า เวียนศีรษะ หลงลืมง่าย ขาดสติในการทำงาน เรียนหนังสือไม่ดีเท่าที่ควร
อาการหัวใจขาดเลือด พบในผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หากมีภาวะซีดร่วมด้วยจะทำให้อาการของโรคหัวใจ
อาการเลือดไปเลี้ยงที่ขาไม่เพียงพอ พบในผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดของขา ทำให้ปวดขา เดินได้ไม่ไกล
ระยะของภาวะซีด
ภาวะซีดชนิดเฉียบพลัน หมายถึง มีอาการของภาวะซีดที่เกิดขึ้นใน 7-10 วัน ซึ่งเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ จากโรคหรืออวัยวะต่าง ๆ ส่งผลให้เลือดออกมาผิดปกติ อาจจะจากภายในร่างกายหรือภายนอกร่างกาย
ภาวะซีดชนิดเรื้อรัง หมายถึง มีอาการของภาวะซีดที่เกิดขึ้นมากกว่า 10 วัน อาจเป็นเดือน ๆ ก็ได้ ซึ่งเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ โดยตรวจสอบลักษณะทางคลินิก จากประวัติ อาการและอาการแสดง เพื่อช่วยบ่งชี้ถึงสาเหตุของภาวะซีดได้
การตรวจร่างกาย
การตรวจผิวหนัง ดูจุดจ้ำเลือดตามตัว (Ecchymosis) จุดเลือดออกใต้ผิวหนัง (Petechiae) หรือภาวะที่เลือดออกและสะสมภายในเนื้อเยื่อจนเกิดเป็นก้อนขึ้น (Hematoma) เยื่อบุต่าง ๆ เปลือกตา ความดันโลหิตและชีพจร
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะซีด
. พฤติกรรมการรับประทานยาที่ถูกต้อง โดยรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ไม่รับประทานยาชุด ยาแก้ปวดเมื่อย ยาแก้อักเสบ ยาลูกกลอน
การรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโรคที่เป็นสาเหตุของการเกิดภาวะซีด โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
การพักผ่อน และการออกกำลังกาย เป็นสิ่งที่สำคัญ โดยควรประเมินสภาพร่างกายของผู้ป่วยก่อนเพื่อให้คำแนะนำในการทำกิจกรรมและการออกกำลังกายที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วย
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะซีดจากการสร้างเม็ดเลือดแดงลดลง
ภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก
สาเหตุ
การเสียเลือดชนิดเฉียบพลันหรือเรื้อรัง ได้แก่ เสียเลือดจากอุบัติเหตุ มีประจำเดือนที่มากและนานกว่าปกติ มีเลือดออกกะปริดกะปรอยทางช่องคลอด สตรีที่คุมกำเนิดโดยการใช้ห่วงอนามัย การเสียเลือดในทางเดินอาหาร
การได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ
1 กลุ่มที่มีความต้องการธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น ได้แก่ ทารกคลอดก่อนกำหนด วัยรุ่นหญิงเมื่อเริ่มมีประจำเดือน
2 กลุ่มที่ได้รับธาตุเหล็กจากสารอาหารไม่เพียงพอ
ผลของการขาดธาตุเหล็ก
ระบบโลหิตวิทยา
ระยะแรก ๆ ของการขาดธาตุเหล็ก ผู้ป่วยมักจะยังไม่ซีดและไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ ต่อมาเมื่อขาดธาตุเหล็กมากขึ้นจนถึงระดับหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีการเปลี่ยนแปลงของเม็ดเลือดแดง เช่น ขนาดเล็กลง ระดับฮีโมโกลบินลดลง เม็ดเลือดแดงติดสีจางลง ตรวจพบ Mean corpuscular volume (MCV), Mean corpuscular hemoglobin (MCH) และ Mean corpuscular hemoglobin concentration (MCHC) ลดลง
ผลต่อระบบอื่น ๆ
ผลต่อเซลล์ผิวภายนอกและภายในร่างกาย (Epithelial cells)
ผลต่อภูมิต้านทานของร่างกาย
ผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง เนื่องจากอาการเหนื่อยง่าย
ผลต่อการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ร่างกายจะไม่สามารถรักษาอุณหภูมิไว้ได้เมื่ออยู่ในภาวะที่มีอุณหภูมิต่ำ ๆ
ผลต่อการตั้งครรภ์ มารดาที่มีภาวะซีดโดยเฉพาะถ้ามีภาวะซีดตั้งแต่ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ จะมีอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์สูงขึ้นอย่างชัดเจน
ผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก ทารกที่ขาดธาตุเหล็กอย่างรุนแรงมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการช้ากว่าปกติ
อาการ
ผู้ป่วยจำนวนมากที่ไม่ต้องให้ยา จนกว่าระดับฮีโมโกลบินลดลงเหลือ 7-8 กรัม/เดซิลิตร ผู้ป่วยจึงจะมีอาการของภาวะซีด
ภาวะแทรกซ้อน
มีการติดเชื้อและภาวะปอดอักเสบ มีการเสียเลือด โดยจะเห็นจากรอยจ้ำเลือดตามผิวหนัง ปัสสาวะเป็นเลือด มีเลือดออกที่เหงือก
การวินิจฉัย
การตรวจไขกระดูก
การศึกษาระบบทางเดินอาหาร
การวินิจฉัยจะต้องกำจัดภาวะซีดชนิดอื่น ออกด้วย
การรักษา
หลีกเลี่ยงสาเหตุของการเสียเลือด
. ให้เหล็กโดยการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กมากขึ้น
ระมัดระวังผลข้างเคียงของยา
ให้รับประทานร่วมกับวิตามินซีสูงในมื้อเดียวกันเพราะวิตามินซีจะช่วยทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น
ภาวะซีดจากการขาดวิตามินบี12
สาเหตุ
การดูดซึม วิตามินบี12 ผิดปกติ เนื่องจากขาด Intrinsic factor ซึ่งเป็นโปรตีนที่สร้างจากเยื่อบุในกระเพาะอาหาร ภาวะซีดชนิดนี้ เรียกว่า ภาวะซีดเพอร์นิเซียส (Pernicious anemia)
การได้รับ วิตามินบี12 ไม่เพียงพอ พบในผู้ป่วยที่รับประทานอาหารมังสวิรัติอย่าง เคร่งครัด คนไทยมักจะไม่ขาด วิตามินบี12 เนื่องจากจะได้สารอาหาร
อาการและอาการแสดง
อาการของเนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เป็นต้น อาการทางระบบประสาท เช่น ความจำเสื่อม สับสน ชาที่แขนขา กล้ามเนื้อขาไม่มีแรง มีอาการสั่นเดินแล้วล้ม การรับความรู้สึกเสียไป ไม่มีรีเฟล็กซ์
การรักษา
ให้เลือดเพื่อแก้ไขภาวะซีด
ให้รับประทานอาหารพวกปลา เนื้อสัตว์ นม และไข่
ให้ยาช่วยสร้างเม็ดเลือด
ภาวะซีดทำให้ผู้ป่วยอ่อนแรง อาจจะให้พักบนเตียง
ผู้ป่วยหนักมีผลกับหัวใจและปอดอาจต้องให้เลือด ให้ยาดิจิตาลีส
ผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิตามินบี12 โดยการฉีด อาจมีอาการผิดปกติทางระบบประสาทอย่างถาวร
การวินิจฉัย
การซักประวัติ ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย เจ็บปาก ชาที่แขนขา
การตรวจร่างกาย จะเห็นริมฝีปาก เหงือกและลิ้นแดง ตาขาวมีสีเหลืองและซีดเล็กน้อย
ควบคุมการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะไม่ได้
ภาวะซีดอะพลาสติก
สาเหตุ
ภาวะซีดอะพลาสติกเป็นภาวะที่ไขกระดูกล้มเหลวไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดได้ตามปกติ ทำให้เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดต่ำกว่าระดับปกติ
เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมแต่กำเนิด (Fanconi syndrome) ทำให้เลือดพร่องเม็ดเลือดทุกชนิดสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
เกิดจากได้รับสารที่เป็นอันตรายต่อไขกระดูกโดยตรง
อาการและอาการแสดง
มีจุดเลือดออกที่เยื่อบุเปลือกตาหรือเรตินา พบจำนวนเม็ดเลือดแดงน้อยกว่า 1 ล้านเซลล์/ลบ.มม. เรติคิวโลไซต์ต่ำ มีอาการอ่อนเพลีย และหายใจลำบากเมื่อออกแรง เลือดออกง่ายเนื่องจากเกล็ดเลือดต่ำ
การวินิจฉัย
การซักประวัติ อาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง หายใจไม่สะดวก และปวดศีรษะ
การตรวจร่างกาย จะพบว่าซีด จ้ำเลือด จุดเลือดเล็ก ๆ หรือมีเลือดออกในเรตินา ถ้ามีความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด อาจมีอาการสับสนและอ่อนแรง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษอื่น ๆ จากการสเมียร์เลือด
ลักษณะเซลล์เม็ดเลือดแดงมีขนาดและการติดสีปกติ Reticulocyte count ต่ำมาก
การรักษา
การรักษาที่ได้ผล ต้องแยกสาเหตุและให้การรักษาอย่างดี
ภาวะแทรกซ้อน มีการเสียเลือดอย่างทันทีทันใด และมีการติดเชื้อจากการที่ผู้ป่วยได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
นางสาวพิชญามน แสงสุวรรณ์ เลขที่ 51 รหัสนักศึกษา 612501054