Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
3.8 การพยาบาลด้านจิตสังคมสำหรับผู้ประสบสาธารณภัย นาย พงศกร สมพร…
3.8 การพยาบาลด้านจิตสังคมสำหรับผู้ประสบสาธารณภัย
นาย พงศกร สมพร 6001211320 sec.B เลขที่61
การปฐมพยาบาลทางจิตใจ
(Psychological first Aid:PFA) ด้วยหลักการ EASE
วิธีการสร้างสัมพันธภาพและการเข้าถึงจิตใจ
ของผู้ได้รับผลกระทบ (Engagement: E)
ได้แก่ การสังเกตภาษาท่าทางและพฤติกรรม การสร้างสัมพันธภาพ และ การสื่อสาร
a. การสังเกตภาษาท่าทางและพฤติกรรม
Nonverbal
สีหน้า แววตา ท่าทาง การเคลื่อนไหวของร่างกาย
Verbal
พูดสับสนฟังไม่รู้เรื่อง ด่าทอ ร้องขอความช่วยเหลือ
พูดซ้ำไปซ้ำมา พูดวกวน
b. การสร้างสัมพันธภาพ
เริ่มจากการที่ผู้ให้การช่วยเหลือควรมีท่าทีสงบนิ่ง
มีการแนะนำตัวเอง มีการมองหน้าสบตา รับฟังด้วยท่าทีที่สงบให้กำลังใจ ด้วยการพยักหน้า การสัมผัส
ผู้ให้การช่วยเหลือควรเหมาะสมกับเหตุการณ์อารมณ์ความรู้สึกและสภาพสังคม วัฒนธรรม ศาสนาของ ผู้ประสบเหตุการณ์วิกฤต
c. การสื่อสาร
ควรเริ่มพูดคุยเบื้องต้นเมื่อผู้ประสบเหตุการณ์
วิกฤตมีความพร้อม
เริ่มสบตามีท่าทีที่ผ่อนคลาย มีสติรู้ตัว รับรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวชัดเจนขึ้น
เริ่มมองเห็นคนที่อยู่เคียงข้างเขา รับรู้ว่ารอบตัวเขา
เป็นสถานที่ใด โดยเน้นถึงความรู้สึกขณะนั้น
เพื่อให้พูดระบายความรู้สึกแต้ไม่ควรซักถามถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นอกจากผู้ประสบเหตุการณ์วิกฤตอยากเล่า
วิธีการประเมินผู้ได้รับผลกระทบ (Assessment: A)
ใช้หลักการประเมิน 3 ป.
a. ประเมินและตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกาย
ผู้ประสบภาวะวิกฤตได้รับบาดเจ็บทางด้านร่างกายก็ต้องบรรเทาความเจ็บปวดด้วยการให้ยา
ผู้ประสบภาวะวิกฤตมีอาการอ่อนเพลีย ควรจัดหาน้ำให้ดื่ม หาอาหารให้รับประทาน
ผู้ประสบภาวะวิกฤตเป็นลม ควรจัดหายาดมแอมโมเนีย ผ้าเย็นเช็ดหน้าและแขน
ผู้ประสบภาวะวิกฤตกำลังอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย เช่น มีเศษแก้วตกอยู่ ให้เคลื่อนย้าย
ผู้ประสบภาวะวิกฤตไปอยู่ในที่ปลอดภัย
b. การประเมินสภาพจิตใจ
ประเมินสภาพจิตใจของผู้ประสบภาวะวิกฤตว่าอยู่ในช่วงอารมณ์ความรู้สึกช็อค ปฏิเสธ โกรธ ต่อรอง หรือเศร้าเสียใจ
ผู้ประสบภาวะวิกฤตอยู่ในภาวะช็อกและปฏิเสธ
มึนงง สับสน หลงลืม จำอะไรไม่ได้
ความคิดแตกกระจายไม่สามารถเชื่อมโยงความคิด
การดูแลทางกาย
ให้อยู่ในสถานที่ที่สงบ รู้สึกปลอดภัย เตรียมนํ้า ยาดม ให้นั่งหรือนอนราบ คลายเสื้อผ้ากรณีที่ผู้ประสบภาวะวิกฤตเป็นลมหรือหายใจไม่ออก
การดูแลทางจิตใจ
ให้ผู้ประสบภาวะวิกฤตได้ระบายความรู้สึก
ใช้เทคนิคการสัมผัสตามความเหมาะสม
เพื่อให้เกิดความรู้สึกอบอุ่น และความปลอดภัย
ฝึกกำหนดลมหายใจเพื่อลดความเครียด
การช่วยเหลือทางสังคม
สอบถามความต้องการเร่งด่วนของผู้ประสบภาวะวิกฤต
ให้ความช่วยเหลือตามความต้องการอย่างรีบเร่ง
ผู้ประสบภาวะวิกฤตอยู่ในภาวะโกรธ
ตะโกน ด่าทอ กำมือ มือปากสั่น ทำร้ายตนเองหรือขว้างของรอบตัว กล่าวโทษแก่บุคคลอื่น พูดขู่อาฆาต
การดูแลทางกาย
ให้อยู่ในสถานที่ปลอดภัย ให้มีการดูแลอย่างใกล้ชิด
จัดระยะห่างที่เหมาะสมระหว่างผู้ประสบภาวะวิกฤต
ผู้ให้การช่วยเหลือต้องมีทำทีสงบนิ่ง ยอมรับพฤติกรรมที่
แสดงออกมาของผู้ประสบภาวะวิกฤต
การดูแลทางใจ
ให้ระบายความรู้สึกโดยใช้ทักษะการฟังอย่างตั้งใจ (Active Listening Skill) และพูดสะท้อนอารมณ์
ถามความต้องการเพื่อตอบสนองความต้องการทางกายจิตใจ สังคม ที่สามารถตอบสนองให้ได้
ผู้ประสบภาวะวิกฤตอยู่ในภาวะต่อรอง
พูดซํ้าๆ หรือพูดคาดคั้นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เรียกร้องหรือต่อรองเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถตอบสนองให้ได้จริงในเวลานั้น
คาดหวังปาฏิหาริย์บนบานศาลกล่าว โดยแสดงออกในคำพูดทำนองเป็นลักษณะหนึ่งของการหลอกตัวเอง
ทักษะการช่วยเหลือ
อดทน รับฟัง ไม่แสดงอาการท่าทางเบื่อหน่าย
สนองความต้องการในสิ่งที่สามารถให้ได้
การให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ที่เป็นจริงตามความเหมาะสม
ทักษะการประเมินอารมณ์ ความรู้สึกผู้ประสบภาวะวิกฤตและทักษะการบอกข่าวร้าย
ผู้ประสบภาวะวิกฤตอยู่ในภาวะเสียใจ
แยกตัว นิ่งเงียบ ไม่อยากทำอะไร โทษตัวเอง มองไม่เห็นทางออก หมดเรี่ยวแรง
การช่วยเหลือทางกายทำได้โดยหาผ้าเช็ดหน้า
นํ้าเย็น ผ้าเย็น
ในรายที่มีอาการหายใจไม่ออกอาจใช้การฝึกหายใจแบบ Breathing Exercise หรือใช้การสัมผัส (Touching)
c. ประเมินความต้องการทางสังคม
ผู้ประสบภาวะวิกฤตต้องการพบญาติ หรือครอบครัวให้ติดต่อประสานโดยการโทรศัพท์
ผู้ประสบภาวะวิกฤตไร้ญาติขาดมิตร ประสานกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
ผู้ประสบภาวะวิกฤตต้องการความช่วยเหลือด้านการเงิน ทุนการศึกษา ให้ติดต่อหน่วยงาน ที่
เกี่ยวข้อง
วิธีการเรียกขวัญคืนสติลดความเจ็บปวดทางใจเสริมสร้างทักษะ (Skills: S)
a. การฝึกกำหนดลมหายใจ (Breathing exercise)
เพื่อให้เกิดความผ่อนคลายทางอารมณ์
ลดอาการใจสั่น หายใจถี่แรง
b. Touching skill (การสัมผัส)
แตะบ่า แตะมือ บีบนวดเบาๆ โดยคำนึงถึงความเหมาะสม
c. ทักษะการ Grounding
การช่วยให้ผู้ประสบเหตุการณ์วิกฤตที่มี
อารมณ์ท่วมทน (overwhelmed feeling) กลับมาอยู่กับความเป็นจริงโดยเพิ่มปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
d. การนวดสัมผัส และ การนวดกดจุดคลายเครียด
การนวดสัมผัสนอกจากจะเป็นการลดความเครียด ผ่อนคลายกล้ามเนื้อแล้ว การสัมผัสยังเสริมสร้างความรู้สึกอบอุ่นใจ มั่นคงปลอดภัย
e. การลดความเจ็บปวดทางใจ
1) การฟังอย่างใส่ใจ (Active Listening)
การตั้งใจฟังอย่างต่อเนื่องต่อเนื้อหาสาระและ
อารมณ์ของผู้ประสบเหตุการณ์รุนแรง ที่แสดงออกมา
มีสติและพยายามจับประเด็นสำคัญในปัญหาของผู้ประสบเหตุการณ์รุนแรง ไม่แทรกหรือขัดจังหวะ
2) การสะท้อนความรู้สึก
ใช้ภาษาที่เรียบ สงบ ปราศจากการตัดสิน
โดยจะทำให้ผู้ประสบเหตุการณ์วิกฤตได้ฉุกคิดและวิเคราะห์อารมณ์ที่เกิดขึ้นของตัวเองว่ากำลังรู้สึกอะไรอยู่
3) การเงียบ
เงียบเป็นช่วงเวลาระหว่างหยุดที่ไม่มีการสื่อสารด้วยวาจาระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ
4) การทวนซ้ำ
ทวนซ้ำเป็นการพูดในสิ่งที่ผู้รับบริการได้บอกเล่าอีกครั้งหนึ่ง
โดยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นงานของภาษาหรือความรู้สึกที่แสดงออกมา
f. การเสริมสร้างทักษะ
เรียนรู้การเสริมสร้าง Coping skills
การคุยและใช้เวลาคุยกับคนอื่นๆ เพื่อเป็นกําลังใจ
พักผ่อนเพียงพอ ทํากิจกรรมที่มีความสุข หลีกเลี่ยงความหมกมุ่น
วิธีการให้สุขภาพจิตศึกษาและข้อมูลที่จำเป็น (Education)
ประกอบด้วย 3 ต.
ต.1 ตรวจสอบความต้องการ
ไต่ถามถึงข้อมูลและตรวจสอบความต้องการช่วยเหลือที่จำเป็นและเร่งด่วน
ความต้องการการสนับสนุนในด้านเศรษฐกิจ การเงิน อาชีพ ปัญหาภายในครอบครัวที่ต้องการการช่วยเหลือ
ต.2 เติมเต็มความรู้
ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้นจากความเครียด และผลกระทบทางจิตใจ ที่อาจเกิดขึ้น
ต.3 ติดตามต่อเนื่อง
ร่วมกันวางแผนและหาแนวทางในการรับการช่วยเหลือต่างๆ เพิ่มเติม
ควรมีการพูดคุยวางแผนร่วมกันระหว่างผู้ให้การช่วยเหลือกับผู้ประสบภาวะวิกฤต
ดูแลติดตามอย่างต่อเนื่องโดยอาจใช้วิธีการติดตามโดยการนัดหมายมาพบที่สถานบริการสาธารณสุข การโทรศัพท]ติดตามผล และการเยี่ยมบ้าน
การเตรียมตัวเพื่อรับสถาณการณ์ฉุกเฉิน
ของพยาบาลทีม mcatt
ระดับของทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจ
ทีมระดับตำบล
ผอ.รพ.สต.
ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิต รพ.สต.อสม.
เจ้าหน้าที่มูลนิธิ
ตัวแทน อภปร. แกนนำหมู่บ้าน
ทีมระดับอำเภอ
จิตแพทย์/แพทย์พยาบาลผู้รับผิดชอบ
นักจิตวิทยาคลินิก/นักจิตแพทย์/นักสังคมสงเคราะห์
เภสัชกร นักวิชาการที่สาธารณสุข
และเจ้าหน้าทหาร ตำรวจ
ทีมระดับจังหวัด
จิตแพทย์ พยาบาล
นักจิตวิทยาคลินิก/นักจิตวิทยา
นักสังคมสงเคราะห์
นักวิชาการสารธารณสุข
เภสัชกร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
ทีมระดับกรมสุขภาพจิต
จิตแพทย์ พยาบาล
นักจิตวิทยาคลินิก/นักจิตวิทยา
นักสังคมสงเคราะห์
นักวิชาการสารธารณสุข
เภสัชกร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
การช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤตของทีม MCATT
ระยะเตรียมการ
เป็นระยะการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์วิกฤตต่างๆ
จำเป็นต้องเป็นเตรียมความพร้อมทั้งระดับบุคคล องค์กรและชุมชน
ครอบคลุมตั้งแต่การรับ
นโยบายจากผู้ว่าราชการจังหวัด
/นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด
รวมถึงการจัดตั้งศูนย์
อำนวยการช่วยเหลือด้านสุขภาพจิต
จัดเตรียมทีมเพื่อปฏิบัติงานให้การช่วยเหลือเยียวยาจิตใจ
มีความรู้เรื่องวัฒนธรรม
ธรรมเนียมปฏิบัติ และหลักคำสอน ทางศาสนา
ระยะวิกฤตและฉุกเฉิน ภายใน72ชม.แรก-2สัปดาห์
a. ระยะวิกฤต (ภายใน 72 ชั่วโมงแรกหลังเกิดเหตุ)
เกิดความเครียด หวาดผวา หวาดกลัว ช็อก วิตกกังวล สับสนผู้ประสบภาวะวิกฤตจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
มุ่งให้ความช่วยเหลือเฉพาะหน้า
ส่วนด้านจิตใจนั้น ปฏิกิริยาที่แสดงออก
ถือว่าเป็นปฏิกิริยาปกติในสถานการณ์ไม่ปกติ
(Normal Reaction at Abnormal Situation)
เป็นระยะที่สำคัญต้องให้การปฐมพยาบาลด้านจิตใจแก่
ผู้ประสบภาวะวิกฤต (PFA)
b. ระยะฉุกเฉิน (72 ชั่วโมง - 2 สัปดาห์)
ผู้สูญเสียหรือผู้รอดชีวิตจะมองโลกในแง่ดี การช่วยเหลือหลั่งไหลเข้ามา ผู้ประสบภาวะวิกฤตเกิดกำลังใจ
ระยะนี้สามารถสำรวจหาข้อมูลของสถานการณ์ และความต้องการของ ผู้ประสบภาวะวิกฤตได้ชัดเจนมากขึ้น
มีการจัดลำดับความต้องการของกลุ่มเสี่ยงที่ต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนและต่อเนื่อง
การดูแลช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายจะพิจารณาตาม ความรุนแรง 6 กลุ่ม มีขั้นตอนดังนี้
เมื่อเกิดสถานการณ์วิกฤต ทีม MCATT
เข้าพื้นที่ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภาวะวิกฤตใน
พื้นที่เสี่ยง โดยลงพื้นที่ร่วมกับทีมให้การช่วยเหลือทากาย
คัดกรองและค้นหากลุ่มเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต
โดยใช้เวชระเบียนสำหรับผู้ประสบภาวะวิกฤต/ภัยพิบัติ (ผู้ใหญ่และเด็ก) และให้การปฐมพยาบาลด้านจิตใจ
สำรวจความต้องการช่วยเหลือทั้งด้านร่างกายและจิตใจ และการให้การช่วยเหลือเยียวยาจิตใจ
ใช้วิธีให้การปฐมพยาบาลด้านจิตใจ (PFA) สร้างสัมพันธภาพกับผู้ประสบภาวะวิกฤต
สำรวจความต้องการของผู้ประสบภาวะวิกฤต ด้านปัจจัยสี่ ความต้องการได้รับการดูแลรักษาโรคทางกาย
หากพบ PFA เน้นให้ผู้ประสบภาวะวิกฤต
ระบายความรู้สึกให้มากที่สุด
ให้การช่วยเหลือทางด้านสุขภาพจิตผู้ประสบภาวะวิกฤต
ในกรณีที่พบว่าผู้ประสบ
ภาวะวิกฤต มีความเครียด วิตกกังวล หวาดผวา หวาดกลัว นอนไม่หลับ หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า
1 more item...
กรณีพบความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิต ให้จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงและวางแผนการติดตามต่อเนื่อง
สรุปรายงานสถานการณ์เบื้องต้นพร้อมทะเบียนกลุ่มเสี่ยง