Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลด้านจิตสังคมสำหรับผู้ประสบสาธารณภัย - Coggle Diagram
การพยาบาลด้านจิตสังคมสำหรับผู้ประสบสาธารณภัย
ปฏิกิริยาของผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์รุนแรง
ด้านด้านปฏิกิริยา/การแสดงออก
ได้แก่ นอนไม่หลับ หลับๆตื่นๆ ฝันร้าย ตกใจง่าย ร้องไห้ไม่มีสาเหตุ เฉยเมย แยกตัวออกจากสังคม หวาดระแวง กวาดตามองไปมาบ่อยๆ หันเข้าหาสุราของมึนเมาและยาเสพติดมากขึ้น
ด้านอารมณ์
ได้แก่ ช็อค ไม่ยอมรับในสิ่งที่เห็น วิตกกังวล กลัว เศร้า โกรธต้องการแก้แค้น ฉุนเฉียวง่าย โทษตัวเองและผู้อื่น อารมณ์แกว่งไปแกว่งมา คาดเดาไม่ได้
ด้านร่างกาย
ได้แก่ อาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ รู้สึกร้อนหรือหนาว รู้สึกตีบแน่นในลำคอ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ปวดท้องและคลื่นไส้อาเจียน ความอยากอาหารลดลงหรือเพิ่มขึ้น อาการกำเริบ หนักขึ้น ทำให้สุขภาพทรุดโทรมหนัก
ด้านการรับรู้
ได้แก่ สับสน มึนงง ไม่มีสมาธิ มีปัญหาด้านความจำ มีปัญหาในการตัดสินใจ ภาพทรงจำผ่านเข้ามาแบบวูบวาบ อาการเหล่านี้เป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นหลังเผชิญเหตุการณ์ สะเทือนขวัญ โดยจะเกิดขึ้นและลดลงจนหายไปภายใน 1 เดือน ถ้าหากอาการเหล่านี้ยังคงอยู่ จำเป็นต้องพบเชี่ยวชาญ ทางด้านจิตใจ เช่น จิตแพทย์ นักจิตวิทยา พยาบาลจิตเวช เพื่อให้การช่วยเหลือต่อไป
ระดับทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต (MCATT)
ทีมระดับอำเภอ
จิตแพทย์/แพทย์ พยาบาลที่รับผิดชอบงานสุขภาพจิตและจิตเวช นักจิตวิทยาคลินิก/นักจิตวิทยา/นักสังคมสงเคราะห์เภสัชกรนักวิชาการสาธารณสุข ตํารวจ ทหาร เจ้าหน้าที่เวชกิจฉุกเฉิน
ทีมระดับจังหวัด
จิตแพทย์พยาบาลจิตเวช นักจิตวิทยาคลินิก/นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์นักวิชาการสาธารณสุข เภสัชกร
ทีมระดับตําบล
ผอ.รพ.สต.และผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิต รพ.สต.อสม. เจ้าหน้าที่มูลนิธิตัวแทนจาก อปท. แกนนําชุมชน
ทีมระดับกรมสุขภาพจิต
จิตแพทย์พยาบาลจิตเวช นักจิตวิทยาคลินิก/นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์นักวิชาการสาธารณสุขเภสัชกรและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
ปัญหาที่เกิดขึ้นในผู้ประสบภาวะวิกฤต
ด้านร่างกาย
อาการนอนไม่หลับที่เกิดจากการฝันร้ายกลางดึกเกี่ยวกับเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นรวมทั้งภาพความสูญเสียของตนเอง
ด้านพฤติกรรม
ไม่สนใจดูแลตนเองและสิ่งแวดล้อม แยกตัวออกจากสังคม ปฏิเสธการรับรู้เรื่องราว ต่างๆ ลักขโมยหรือก่ออาชญากรรมในผู้ที่รู้สึกว่าไม่ได้รับความยุติธรรมหรือผู้ที่ได้รับการดูแลไม่ทั่วถึงโดยเฉพาะการ 4 ขาดปัจจัย 4 การติดยาหรือสารเสพติดเพื่อเป็นหนทางในการแก้ปัญหาและต้องการเหลีกเลี่ยงการเผชิญความรู้สึก ในด้านลบของตนเอง
ด้านจิตใจ
เกิดอาการหวาดกลัว/หวาดผวา สถานที่เกิดเหตุการณ์หรือสิ่งเร้าที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ส่งผลให้ไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตและทำงานเหมือนอย่างเดิมได้ เกิดปัญหาความเจ็บป่วยทางจิตเวช
ปฏิกิริยาทางจิตใจที่เกิดขึ้นหลังเกิดเหตุการณ์วิกฤต
ปฏิกิริยาทางจิตใจแบบโกรธ (Anger)
ทำร้าย ตนเองหรือขว้างของรอบตัว กล่าวโทษแก่บุคคลอื่น พูดขู่อาฆาต ไม่ร่วมมือ แยกตัว ในบางครั้งผู้ประสบเหตุการณ์ วิกฤตอาจมีอารมณ์โกรธแต่ไม่แสดงออกอย่างเปิดเผย อาจสังเกตโดยน้ำเสียง และการกระทำ
ปฏิกิริยาทางจิตใจแบบต่อรอง (Bargaining)
พูดซ้ำๆ หรือพูดคาดคั้นในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง เรียกร้องหรือต่อรอง เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถตอบสนองให้ได้จริงในเวลานั้น โดยแสดงออกในคำพูดทำนองเป็นลักษณะหนึ่งของการหลอกตัวเอง
ปฏิกิริยาทางจิตใจแบบช็อคและปฏิเสธ (Shock & Denial)
ความคิดแตกกระจาย ไม่สามารถเชื่อมโยงความคิดการรับรู้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยน ปฏิเสธ ไม่ยอมรับ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง มีอารมณ์เศร้า โกรธรุนแรง ควบคุมตนเองไม่ได
ปฏิกิริยาทางจิตใจแสดงอารมณ3เศร"า (Depression)
ยืนไม่ไหว อาการเศร้ามักปรากฏร่วมกับการรู้สึกผิด และโทษตัวเอง
การช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤตของทีม MCATT
ระยะวิกฤตและฉุกเฉิน
ระยะวิกฤต (ภายใน 72 ชั่วโมงแรกหลังเกิดเหตุ)
ระยะนี้เป็นระยะที่สำคัญต้องให้การปฐมพยาบาลด้านจิตใจแก่ผู้ประสบภาวะวิกฤต (PFA) และให้การช่วยเหลือที่ตรงตามความต้องการ
ระยะฉุกเฉิน (72 ชั่วโมง - 2 สัปดาห์)
ระยะนี้ผู้ประสบภาวะวิกฤต ทั้งผู้สูญเสียหรือผู้รอดชีวิตจะมองโลกในแง่ดี การช่วยเหลือหลั่งไหลเข้ามา ผู้ประสบภาวะวิกฤตเกิดกำลังใจว่า ครอบครัวและชุมชนจะสามารถฟื้นตัวได้ ระยะนี้สามารถสำรวจหาข้อมูลของสถานการณ์ และความต้องการของ ผู้ประสบภาวะวิกฤตได้ชัดเจนมากขึ้น
ระยะเตรียมการ
การให้การปฐมพยาบาลทางจิตใจ (Psychological First Aid : PFA)การช่วยเหลือ ทางจิตใจและสังคมในภาวะวิกฤต (Crisis Intervention) การบำบัดทางพฤติกรรมความคิด(Cognitive Behavior Therapy : CBT) และการช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตตามแบบ Satir
การปฐมพยาบาลทางจิตใจ (Psychological first Aid: PFA) ดBวยหลักการ EASE
วิธีการประเมินผู้ได้รับผลกระทบ (Assessment: A)
เพื่อให้การช่วยเหลือได้ตรงกับความต้องการอย่างแท้จริง โดยใช้หลักการประเมิน 3 ป.
ประเมินสภาพจิตใจของผู้ประสบภาวะวิกฤตว่าอยู่ในช่วยอารมณ์ความรู้สึกช็อค ปฏิเสธ โกรธ ต่อรอง หรือเศร้าเสียใจ
ประเมินความต้องการทางสังคม
ประเมินและตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกาย
วิธีการเรียกขวัญคืนสติลดความเจ็บปวดทางใจเสริมสร้างทักษะ (Skills: S)
ทักษะการ Grounding
การนวดสัมผัส และ การนวดกดจุดคลายเครียด
Touching skill (การสัมผัส)
การลดความเจ็บปวดทางใจ
การฝึกกำหนดลมหายใจ (Breathing exercise)
การเสริมสร้างทักษะ การเรียนรู้ การเสริมสร้าง Coping skills
วิธีการสร้างสัมพันธภาพและการเข้าถึงจิตใจของผู้ได้รับผลกระทบ (Engagement: E)
การสังเกตภาษาท่าทางและพฤติกรรม การสร้างสัมพันธภาพ และ การสื่อสาร
วิธีการให้สุขภาพจิตศึกษาและข"อมูลที่จำเปuน (Education)
ต.2 เติมเต็มความรู้ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้นจากความเครียด และผลกระทบทางจิตใจ ที่อาจเกิดขึ้น
ต.3 ติดตามต่อเนื่อง ร่วมกันวางแผนและหาแนวทางในการรับการช่วยเหลือต่างๆ เพิ่มเติม
ต.1 ตรวจสอบความต้องการ โดยไต่ถามถึงข้อมูลและตรวจสอบความต้องการช่วยเหลือที่จำเป็นและเร่งด่วน