Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทวิเคราะห์ลิลิตตะเลงพ่าย - Coggle Diagram
บทวิเคราะห์ลิลิตตะเลงพ่าย
๒. คุณค่าด้านวรรณศิลป์
๒.๑ การเล่นเสียงสัมผัสพยัญชนะ
๑) สัมผัสในวรรค เช่น
...ควาญคัดท้ายบมิอยู่ วู่วางวิ่งฉับฉิว ปลิวประเลห์ลมพาน
สำ่แสะสารแสนยา ขวาซ้ายแซงหน้าหลัง ทั้งทวยพลตนขุน
ถ้วนทุกมูลมวลมาตย์ ยาตรบทันโทท้าว ด้าวศึกสู้สองสาร
ราญศึกสู้สองไท้ ไร้พิริยะแห่ห้อม…..
๒) สัมผัสระหว่างวรรค เช่น
อ้าไทภูธเรศหล้า แหล่งตะเลง โลกฤา
เผยพระยศยินเยง ย่านแกล้ว
สิบทิศทั่วลือละเวง หวั่นเดช ท่านนา
ไป่เริ่มรอฤทธิ์แผ้ว เผือดกล้าแกลนหนี
๒.๒ การเล่นคำ
๑) ซำ้าคำเพื่อเน้นความ เช่น
จงจำคำพ่อไซร้ สั่งสอน
จงประสิทธิ์สมพร พ่อให้
จงเรืองพระฤทธิ์รอน อิริราช
จงพ่อลุลาภได้ เผด็จด้าวแดนสยาม
๑. คุณค่าด้านสังคมและวัฒนธรรม ลิลิตตะเลงพ่ายนับเป็นวรรณคดีอิงเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ทั้งสถานที่จริง เช่น ตำบลตระพังตรุ จังหวัดสุพรรณบุรี และตัวละคร เช่น สมเด็จพระนเรสวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ พระมหาอุปราชา ผุ้ทรงพระนิพนธ์สามารถนำเรื่องราวในประวัติศาสตร์มาถ่ายทอดได้อย่างมีชีวิตชีวา สมจริง ทำให้ผู้อ่านได้เรียนรู้ทั้งประวัติศาสตร์และศิลปะการประพันธ์ที่วิจิตรบรรจง
ลิลิตตะเลงพ่ายปรากฏความเชื่อหลายประการ
๔. คุณค่าด้านคุณธรรม ลิลิตตะเลงพ่ายเป็นวรรณคดีที่ทำให้ผู้อ่านภาคภูมิใจในบรรพบุรุษไทย ที่เสียสละเลือดเนื้อและชีวิตเพื่อปกป้องผืนแผ่นดินไทย และช่วยปลุกใจให้คนไทยรักชาติ
๑.๒ ความเชื่อเรื่องโชคลางและการมีเคราะห์ ปรากฏให้เห็นหลายตอน ทั้งตอนที่พระมหาอุปราชากราบทูลพระราชบิดาว่าพระองค์กำลังมีเคราะห์ ไม่ควรออกรบจนพระราชบิดากริ้ว และเมื่อพระมหาอุปราชา ต้องฝืนพระทัยนำกองทัพไปตีกรุงศรีอยุธยาก็เกิดลางร้ายขึ้น ดังคำประพันธ์ว่า
๑.๓ ความเชื่อเรื่องสวรรค์และเทวดา เช่น ตอนที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชมีพระราชดำรัสกับเทพยดาบนสวรรค์ในขณะที่ทรงอยู่ในวงล้อมข้าศึก และเกิดฝุ่นฟุ้งตลบมืดครึ้มไปทั่วท้องฟ้า ดังคำประพันธ์ว่า
๒.๓ การหลากคำ คือ การเลือกสรรคำต่างๆ ที่มีความหมายเหมือนกันมาใช้ในคำประพันธ์ เพื่อเน้นความและให้เกิดความไพเราะ นอกจากนี้ ยังเป็นการแสดงถึงความสามารถของกวี ซึ่งในลิลิตตะเลงพ่าย กวีใช้การหลากคำมากมาย เช่น คำที่มีความหมายถึงพระมหากษัตริย์ ข้าศึก
๒.๔ การใช้โวหารภาพพจน์๑) อุปมา คือ การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเหมือนอีกสิ่งหนึ่ง จะมีคำว่า ดุจ ประดุจ ดั่ง เพียง ราว พ่าง ฯลฯ ดังที่กวีเปรียบเทีบการสู้รบระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชาว่ายิ่งใหญ่และงดงามเหมือนกับการสู้รบระหว่างพระอินทรกับท้าวไพจิตราสูร และการสู้รบระหว่างพระรามและทศกัณฐ์ ดังคำประพันธ์ว่า
๒.๕ การใช้คำที่ก่อให้เกิดจินตภาพ คือ การใช้ถ้อยคำมาเรียงร้อยให้ผู้อ่านเห็นภาพอย่างชัดเจน เช่น ภาพการต่อสู้บนหลังช้างระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชาที่ต่างก็มีพระปรีชาสามารถทั้งสองพระองค์ ให้นักเรียนสังเกตคำที่แสดงการเคลื่อนไหวอันคล่องแคล่วว่องไว ประหนึ่งได้เห็นการต่อสู้อยู่ตรงหน้า ดังนี้
๒.๖ การใช้พรรณาแนวนิราศ คือ การพรรณนาการเดินทาง และรำพันถึงนางอันเป็นที่รัก เห็นได้จากตอนที่พระมหาอุปราชาเสด็จไปรบแล้วรำพันถึงนางสนม
๓. คุณค่าด้านอารมณ์ นับเป็นความสามารถของกวีในการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครและ เหตุการณ์มายังผู้อ่าน ให้รู้สึกคล้อยตามไปกับเรื่องได้อย่างแท้จริง เช่น ตอนที่พระเจ้ากรุงหงสาวดี ทรงตำหนิพระมหาอุปราชาที่จะไม่เสด็จออกรบว่า
๔. คุณค่าด้านคุณธรรม ลิลิตตะเลงพ่ายเป็นวรรณคดีที่ทำให้ผู้อ่านภาคภูมิใจในบรรพบุรุษไทย ที่เสียสละเลือดเนื้อและชีวิตเพื่อปกป้องผืนแผ่นดินไทย และช่วยปลุกใจให้คนไทยรักชาติ