Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 10 การพยาบาลมารดาหลังคลอดโดยเน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง, image, image…
บทที่ 10
การพยาบาลมารดาหลังคลอดโดยเน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายของมารดาหลังคลอด
ระบบอวัยวะสืบพันธุ์
:star:
น้ำคาวปลา
รกและเยื่อหุ้มทารกแยกออกจากเยื่อบุมดลูกชั้นSpongiosaเยื่อบุมดลูกจะแบ่งตัวออกเป็น 2 ชั้น
1.ชั้นที่อยู่ติดกับกล้ามเนื้อมดลูก “Decidua basilis” เป็นฐานรองรับการเกิดใหม่ของเยื่อบุมดลูกเพราะมี Endometrium glands เยื่อบุมดลูกเกิดใหม่จะไม่มีแผลและร่องรอยเดิม เรียกว่า Exfoliation
2.ชั้นที่อยู่ติดกับโพรงมดลูก “Decidua spongiosa” มีการเปื่อยและย่อยสลายหลุดออกมาปดกับน้ำเลือด,WBC,แบคทีเรีย เรียกว่า น้ำคาวปลา (Lochia)
แบ่งเป็น 3 ชนิด
1.ช่วง 3 วันแรกหลังคลอด ลักษณะเป็น สีแดงเข้ม เรียกว่า Lochia rubra > น้ำเลือดเป็นส่วนใหญ่/ มีเยื่อบุมดลูกชั้นสปอนจิโอซา/เมือก/ไข ขนอ่อน/ขี้เทา
2.วันที่ 4-9 ลักษณะ ชมพู-สีน้ำตาล เรียกว่า Lochia serosa ประกอบด้วย WBC/ RBC/เมือก /แบคทีเรีย/เศษของเยื่อบุมดลูก
วันที่ 10-14 หลังคลอด ลักษณะ สีขาว เรียกว่า Lochia alba ประกอบด้วย WBC และเมือกเป็นจำนวนมาก อาจมีเศษของเยื่อบุมดลูกและแบคทีเรียต่าง ๆ เล็กน้อย
:star:
มดลูก
ระยะหลังคลอดมดลูกจะมีการเข้าอู่ (Involution of uterus)อาศัยกระบวนการ 2 อย่าง
1.มดลูกขาดเลือดไปเลี้ยง (Ischemia) เนื่องจาก การหดรัดตัวและคลายตัวของใยกล้ามเนื้อมดลูก จึงบีบกดเส้นเลือดในโพรงมดลูก เมื่อเลือดไปเลี้ยงมดลูกลดลง จึงทำให้มดลูกมีขนาดเล็กลง
2.การย่อยตัวเอง (Autolysis) จากหลังคลอด เอสโตรเจนและโพรเจสเตอโรนลดลง > Collagenase ในตัวมดลูกเพิ่ม เพิ่มการหลั่งน้ำย่อย Proteolytic enzyme ซึ่งทำให้เกิดการแตกตัวของใยกล้ามเนื้อมดลูก
น้ำหนัก
หลังคลอดทันทีประมาณ 1000 กรัม
1 wk หลังคลอดประมาณ 500 กรัม
2 wk หลังคลอดประมาณ 300 กรัม
6 wk หลังคลอดประมาณ 50-100 กรัม
ขนาด/ระดับ
หลังคลอดทันทีกึ่งกลางระหว่างสะดือกับหัวหน่าว
24 ชั่วโมงแรกอยู่ระดับสะดือ
2 วันต่อมามดลูกจะหดรัดตัวและลดขนาดลงวันละ 1 cm.
2 สัปดาห์คลำมดลูกทางหน้าท้องไม่ได้
6 สัปดาห์ มดลูกเข้าอู่(Involution of uterus)
:star:
ปากมดลูก
• หลังคลอดทันที ปากมดลูกจะนุ่มมากและไม่เป็นรูปร่างจะเปิดกว้างอยู่ แต่จะค่อยๆ ปิดแคบลง
•หลังคลอด 1 wk ปากมดลูกจะกว้างประมาณ 1 cm. ลักษณะแข็ง และเป็นรูปร่างมากขึ้น
• 6 wk หลังคลอดเมื่อมดลูกเข้าสู่สภาพปกติ ปากมดลูกด้านนอก จะไม่กลมเหมือนระยะก่อนคลอด แต่จะเหมือนรอยตะเข็บหรือรอยแตก
<ปากมดลูกด้านนอกนี้สามารถบอกได้ว่าสตรีรายใดผ่านการคลอดมาแล้ว>
:star:
ช่องคลอด
ช่องคลอดจะอ่อนนุ่มมาก รอยย่นภายในช่องคลอดจะลดน้อยลง เส้นผ่าศูนย์กลางของช่องคลอดจะกว้างกว่าระยะก่อนคลอด การแก้ไขการไม่กระชับของช่องคลอดโดยวิธีฝึกขมิบช่องคลอด (Kegel’s exercises) อย่างสม่ำเสมอ
:star:
ฝีเย็บ
มารดาหลังคลอดจะมีอาการปวดบริเวณฝีเย็บ และแผลจะหายเป็นปกติภายใน 5-7 วัน
มารดาหลังคลอดที่มีการยืดขยายของกล้ามเนื้อฝีเย็บ แต่ช่องคลอดแคบเกินไปอาจทำให้เกิดการหย่อนสมรรถภาพของกล้ามเนื้อบริเวณนี้ เกิดภาวะเรคโตซิล (Rectocele) หรือซีสโตซิล (Cystocele) ขึ้น
Systemic changes
:star:ระบบฮอร์โมน
Placental hormones
ลดลงอย่างรวดเร็ว ภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอดจะตรวจไม่พบฮอร์โมน HPL หรือHCS
ส่วน HCG ลดลงรวดเร็วและมีระดับต่ำจนกระทั้งไข่ตก ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงร้อยละ 10 ภายหลังคลอด 3 ชั่วโมง
และลดต่ำสุดในวันที่ 7 หลังคลอดเกิดพร้อมการคัดตึงของเต้านม, FSHและLH ลดระดับลงในวันที่ 10-12หลังคลอด
Pituitary hormones
> Prolactin เพิ่มขึ้น ในมารดาที่ไม่ได้เลี้ยงบุตรด้วยน้ำนมตนเองจะค่อยๆลดลงจนเท่ากับระดับก่อนตั้งครรภ์ภายใน 2 wkหลังคลอด ส่วนในมารดาที่เลี้ยงบุตรด้วยนมตนเองระดับของโพรแลคทินจะสูงมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งในการให้บุตรดูดนมในแต่ละวัน
:star:ระบบทางเดินปัสสาวะ
กระเพาะปัสสาวะบวม
บวมช้ำรอบๆ รูเปิดท่อปัสสาวะ
ความจุของกระเพาะปัสสาวะเพิ่มขึ้น
ความไวต่อแรงกดลดลง
การขับปัสสาวะเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัว
เนื่องจากมีการสะสมน้ำไว้นอกเซลล์ระหว่างตั้งครรภ์
:star:ระบบการไหลเวียนโลหิต
การขับปัสสาวะและเหงื่อภายหลังคลอด เสียเลือดใน
ระหว่างคลอด >ปริมาณเลือดในร่างกายลดลง
คลอดปกติเสียเลือดประมาณ 300-500 ml.
ผ่าตัดคลอดเสียเลือดประมาณ 500-1,000 ml.
เสียเลือด 250 ml. Hematocrit ลดลง 4 %
:star:ระบบทางเดินอาหาร
เนื่องจาก Progesterone ยังคงมีอยู่ ในระยะ 1 Wk.หลังคลอด +Blood & water loss + Episiotomy หรือ Hemorrhiod >มารดาไม่กล้าเบ่งถ่ายอุจจาระ เนื่องจากกลัวเจ็บแผล>ท้องผูกได้
กระตุ้นให้มารดาหลังคลอดได้รับน้ำมากกว่า 2,500 ml/วัน หรือมากกว่า 10 แก้ว รับประทานอาหารที่มีกากใยมาก ได้แก่ ผักและผลไม้ และมีการลุกจากเตียงโดยเร็วจะช่วยลดอาการท้องผูกได้เป็นอย่างดี
:star:ระบบผิวหนัง
Progesterone & Estrogen ลดลง >ลานนม หัวนม ต้นขาด้านใน เส้นกลางท้อง (Linea nigra) และฝ้าที่หน้า (Facial chloasma) จางลง
รอยแตก (Striae gravidarum) บนหน้าท้องเห็นได้ชัดเจนกว่าขณะตั้งครรภ์และกลายเป็นแนวสีเงินขาวและปรากฏร่องรอยอยู่ตลอดไป
Estrogen ลดลง>มารดาหลังคลอดมักมีผมร่วงเป็นหย่อมๆ (Alopecia)ช่วง 4-20 wk หลังคลอด หลังจากนั้นก็จะมีผมงอกออกมา
ผลของการเปลี่ยนแปลง
ในทางลดลง
:star:ความอ่อนเพลีย
ในระยะท้ายของการตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักของร่างกายเพิ่มขึ้น +สูญเสียพลังงานในระยะคลอด หลังคลอดทันทีมารดาจึงอ่อนเพลีย และมักง่วงนอน
:star:Weight loss
ขณะตั้งครรภ์จะมีน้ำหนักร่างกายเพิ่มขึ้น 10-12 กก.
หลังคลอดน้ำหนักร่างกายลดลง 5-6 กก.
ช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอดลดลงอีก 2-4 กก.
6 สัปดาห์แรกหลังคลอดจะมีน้ำหนักคงที่เหมือนระยะก่อนตั้งครรภ์
:star:Vital signs
อุณหภูมิ
- 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด Body temp. ไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส เรียกว่า Reactionary fever เนื่องจากเนื้อเยื่อถูกทำลาย + สูยเสียน้ำ
Pulse
- ลดลงอยู่ในช่วง 60-70 ครั้ง/นาที จากนั้นจะเข้าสู่ภาวะปกติ
Blood pressure
- เปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
การเปลี่ยนแปลงในทางก้าวหน้า
:star:การหลั่งน้ำนม
ระยะหลังคลอดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจนจะลดระดับลง ทำให้โปรแลคตินสามารถออกฤทธิ์ในการสร้างน้ำนมได้
การดูดนม (suckling) > ระดับโปรแลคตินเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างน้ำนมใหม่ขึ้นมาเพื่อเก็บไว้ และยังกระตุ้นการหลั่งออกซิโตซินให้มีการหลั่งน้ำนม
ถ้าไม่มีการดูดนมระดับ โปรแลคตินจะกลับเข้าสู่ระดับปกติภายใน 7 วันหลังคลอด
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระดับโปรแลคตินจะกลับเข้าสู่ระดับปกติภายใน 4 6 เดือนหลังคลอด
:star:การตกไข่และการมีประจำเดือน
ปกติมารดาหลังคลอดส่วนมากมักมีประจำเดือนครั้งแรกเป็นแบบไม่มีการตกไข่เนื่องจากการทำงานของ Corpus luteum ยังไม่สมบูรณ์LH & Progesterone ลดต่ำ
การปรับตัวด้านจิตสังคมและบทบาทการเป็นมารดาหลังคลอด
การปรับตัวของมารดาหลังคลอด
:star:ระยะที่มีพฤติกรรมพึ่งพา
(Taking-in phase)
อาจใช้เวลา 1-2 วัน มารดาหลังคลอดจะมุ่งที่ตนเองและต้องการพึ่งพาผู้อื่น สนใจแต่ความต้องการ และความสุขสบายของตนเอง มากกว่าที่จะนึกถึงบุตร
มารดาอาจเฉื่อยชาไม่ค่อยเคลื่อนไหว ยอมรับการช่วยเหลือที่สนองความต้องการด้านร่างกายและจิตใจทำตามคำแนะนำ พูดมากแต่ไม่ค่อยกล้าลงมือทำเอง ลังเลที่จะตัดสินใจ
ระยะนี้จะเป็นการสังเกตรูปร่าง หน้าตา ลักษณะทั่ว ๆ ไปของบุตร เปรียบเทียบลักษณะของบุตรกับบุคค
บทบาทพยาบาล
ตอบสนองความต้องการทางกาย เช่นการพักผ่อน อาหาร การขับถ่าย ความสุขสบาย ความสะอาด
2.ตอบสนองความต้องการทางจิตใจ เช่น ให้พูดระบาย รับฟัง
3.แสดงออกถึงความเข้าใจในความ วิตกกังวลต่อการปรับตัวของมารดา
4.สนับสนุนให้สามี ญาติได้มีส่วนร่วมในการดูแลแก่มารดาหลังคลอด
อธิบายการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและอารมณ์ของมารดา
:star:ระยะพฤติกรรมระหว่างพึ่งพา
และไม่พึ่งพา (Taking-hold phase)
ใช้เวลาประมาณ 10 วัน มารดามีประสบการณ์มากขึ้น มีการปรับตัวกับชีวิตใหม่ ได้พักผ่อนเพียงพอและฟื้นจากการสูญเสียพลังงานพร้อมที่จะปรับวิถีชีวิตของตนเอง สนใจตนเองน้อยลงและสนใจบุตรมากขึ้น มารดาจะพึ่งพาตนเองมากขึ้นสนใจเกี่ยวกับการให้นมบุตร ปริมาณและคุณภาพของน้ำนม ต้องการเคลื่อนไหว
บทบาทพยาบาล
1.ให้คำแนะนำ สาธิตความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองและทารก อาจส่งเสริมให้สามีญาติมีส่วนร่วม
2.กระตุ้นมารดาหลังคลอดในการปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลตนเองและทารก
อาจต้องสอน สาธิตซ้ำ เมื่อเห็นว่ายังทำไม่ถูกต้อง รวมทั้งให้กำลังใจ
:star:ระยะพฤติกรรมพึ่งพาตนเอง
(Letting-go-phase)
มักเป็นระยะที่มารดากลับบ้านแล้ว มารดาต้องปรับตัว 2 ประการ 1.ต้องตระหนักและยอมรับความจริงว่าได้แยกจากบุตรทางด้านร่างกายแล้ว 2.ต้องทิ้งบทบาทเดิมที่เป็นอิสระ ไม่มีบุตรต้องคอยห่วง มารดาต้องปรับตัวต่อบุตรที่ต้องการการพึ่งพาและช่วยเหลือตนเองไม่ได้
บทบาทพยาบาล
1.ให้คำแนะนำแก่มารดาและ ครอบครัว เกี่ยวกับการปรับตัว วางแผนการ
ดำเนินชีวิตตาม พัฒนกิจของครอบครัว และการวางแผนครอบครัวที่เหมาะสม
2.กระตุ้นให้สามีและบุคคลในครอบครัว ให้การช่วยเหลือดูแล แบ่งเบาภาระการเลี้ยงดูทารก
3.กระตุ้นให้มารดาและสามี จัดสรรเวลาซึ่งกันและกัน รวมทั้งการดูแลบุตรคนก่อน
ภาวะอารมณ์เศร้า (Postpartum blues)
อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่แรกคลอดทันที แต่พบมากที่สุดในช่วง 2 – 3 วันแรก
มีอาการทางจิตใจ และอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปส่วนใหญ่มักมีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด ร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ ซึมเศร้าและวิตกกังวลสูงขึ้น หลงลืมง่ายนอนไม่หลับ อาการเหล่านี้จะเป็นไม่นานนักและสามารถหายได้เอง
สาเหตุ
แยกจากครอบครัว
อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคย
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในระยะ 2-3 วันแรก หลังคลอด
ไม่สุขสบายทางด้านร่างกาย
อ่อนเพลีย พักผ่อนไม่เพียงพอ
ความสูญเสียด้านร่างกายในระยะหลังคลอด
ความรู้สึกว่าตนเองสูญเสียความสำคัญ
ความรู้สึกไม่มั่นใจต่อการปรับบทบาทของการเป็นมารดา
ความรู้สึกสูญเสียความงาม
การปรับตัวต่อบทบาท
การเป็นมารดา
สัมพันธภาพระหว่างสามี ทั้งในด้านปฏิสัมพันธ์ พฤติกรรมการให้ความรัก ความเอาใจใส่และการตอบสนองทางอารมณ์ของกันและกัน
การรับรู้ถึงการมีส่วนร่วมในการดูแลบุตรของสามีโดยการรับรู้ถึงความสนใจ การเอาใจใส่ที่สามีมีต่อบุตร และการให้เวลาสำหรับบุตร การที่สามีมีส่วนช่วยมารดาเลี้ยงดูบุตร ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงถึงความรักใคร่ผูกพันอันดีของสามี ทำให้มารดามองเห็นคุณค่าของการเลี้ยงดูบุตร
ความพึงพอใจของมารดาที่มีต่อประสบการณ์ในระยะเจ็บครรภ์และขณะคลอด
ความพึงพอใจของมารดาต่อสภาพชีวิต และฐานะทางครอบครัว
ความมั่นใจของมารดาในการปฏิบัติพัฒนกิจตามบทบาทการเป็นมารดา มารดาต้องมีความรู้สึกเชื่อมั่นว่าตนมีความรู้เรื่องหน้าที่ของมารดาในการเลี้ยงดูบุตร
ความพึงพอใจในการเลี้ยงดูบุตร มารดาต้องสามารถปรับตัวต่อกิจกรรมต่าง ๆ ในการดูแลบุตร ได้แก่ การให้นม การดูแลเรื่องความสะอาด การกอดรัดอุ้มชูบุตร และการตอบสนองความต้องการต่าง ๆ ของบุตรได้อย่างมีความสุข
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการ
ปรับตัวสู่บทบาทการเป็นมารดา
บุคลิกภาพและการเลี้ยงดูที่ได้รับในวัยเด็ก ถ้าได้รับการอบรมเลี้ยงดูในวัยเด็กด้วยความอบอุ่นและเข้าใจ จะปรับตัวในการเป็นมารดาได้ดีกว่ามารดาหลังคลอดที่ขาดความอบอุ่นในวัยเด็ก ในกรณีที่มารดาหลังคลอดขาดความอบอุ่นในวัยเด็กมักจะแสดงพฤติกรรมเช่นเดียวกับที่มารดาแสดงต่อตน เช่น การปล่อยปละละเลย ทุบตีทารุณ
อายุ - อายุต่ำกว่า 20 ปี ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีวุฒิภาวะอารมณ์ต่ำ ความสนใจเอาใจใส่และความรับผิดชอบต่อการดูแลบุตรและครอบครัวยังไม่สูงนัก อารมณ์อ่อนไหวเปลี่ยนแปลงง่ายต่อสิ่งที่มากระทบ ทำให้บุคลกลุ่มนี้มีการปรับตัวเป็นมารดาได้ช้าหรือน้อยกว่ากลุ่มมารดาหลังคลอดที่มีอายุสูงกว่า 20 ปี
ประสบการณ์ในการเลี้ยงดูเด็ก - หากมารดาหลังคลอดมีประสบการณ์ในการเลี้ยงดูเด็กมาก่อน เช่น เลี้ยงน้องหรือเลี้ยงหลาน จะมีการปรับตัวต่อบทบาทการเป็นมารดาได้ดีกว่ามารดาหลังคลอดที่ไม่เคยมีประสบการณ์
การศึกษา -ผู้ที่มีการศึกษาสูงจะสามารถปรับตัวสู่การเป็นมารดาได้ดีกว่าผู้มีการศึกษาน้อย
รายได้ - ผู้ที่มีรายได้น้อยมักมีความวิตกกังวลต่อฐานะเศรษฐกิจของตนและจะยิ่งวิตกกังวลมากขึ้นภายหลังคลอดบุตร จึงส่งผลให้การรับรู้ต่อบทบาทของการปรับตัวเป็นมารดาน้อยลง
สัมพันธภาพในชีวิตสมรส
การการพยาบาล
เพื่อส่งเสริมบทบาทการเป็นมารดา
ระยะตั้งครรภ์
ควรตระหนักถึงความสำคัญของความผูกพันต่อบุตรในหญิงตั้งครรภ์ และความสำคัญของบุคคลที่จะช่วยเหลือหญิงตั้งครรภ์ในการเผชิญต่อการเปลี่ยนแปลงขณะตั้งครรภ์ได้อย่างเหมาะสม
ระยะคลอด
1.สร้างสัมพันธภาพที่ดีแก่มารดาตั้งแต่แรกรับเข้ามาห้องคลอด เปิดโอกาสให้หญิงตั้งครรภ์ได้ซักถาม
2.แจ้งให้มารดาทราบความก้าวหน้าของการคลอด
ตอบสนองความต้องการของมารดา เช่น การพักผ่อน ดูแลความสุขสบายทั่วไป เป็นต้น
4.ช่วยเหลือบรรเทาความเจ็บปวดขณะมดลูกหดรัดตัว
ระยะหลังคลอด
1.ดูแลให้มารดากับบุตรได้อยู่ด้วยกันทันทีหลังคลอด กรณีที่บุตรไม่มีภาวะแทรกซ้อน
ในกรณีที่มารดาผ่าตัดคลอด ได้ยาระงับความรู้สึก ควรกระตุ้น
ambulate เพื่อให้มารดาและบุตรได้อยู่ด้วยกันเร็วขึ้น
ในกรณีที่บุตรเจ็บป่วยหรือมารดาป่วยหลังคลอด ควรเปิดโอกาสให้มารดาไปเยี่ยมบุตรขณะอยู่โรงพยาบาล ให้มารดาได้เห็น ได้สัมผัสบุตร
ส่งเสริมให้ความรู้เรื่องการปฏิบัติตนหลังคลอด และการดูแลบุตร
3.กระตุ้นให้มารดาได้อุ้ม ประสานสายตา และให้นมบุตร
บทบาทการเป็นบิดา
พัฒนกิจของบิดาในระยะเริ่มเลี้ยงดูบุตรวัย 0-6 ปี
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของบิดา
หาแนวทางหรือวิธีการแก้ไขความกดดันในขณะเริ่มเป็นบิดา
การเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งจำเป็นในการดูแลบุตร
กำหนดหลักการเพื่อที่จะทำให้สมาชิกในครอบครัวมีสุขภาพอนามัยที่ดี
ส่งเสริมให้บุตรมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ อย่างเต็มความสามารถ
6.ดำรงไว้ซึ่งความพึงพอใจในสัมพันธภาพระหว่างสามีและภรรยา การมีเพศสัมพันธ์ และการวางแผนที่จะมีบุตร
มีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการหารายได้เลี้ยงครอบครัว รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในครอบครัว
เพื่อเลี้ยงดูบุตรและจัดหาความสุขสบายให้แก่สมาชิกในครอบครัว
ดำรงไว้ซึ่งความรู้สึกภาคภูมิใจในความเป็นชาย ตลอดจนเป็นบุคคลที่มีครอบครัว
เสริมสร้างและดำรงไว้ซึ่งระบบสื่อสารที่มีประสิทธิภาพระหว่างสมาชิกในครอบครัว
เป็นตัวแทนของครอบครัวในการเข้าไปมีส่วนร่วมกับชุมชน
บทบาทของบิดาในการพัฒนาสุขภาพของบุตร
ด้านร่างกายของบุตร การตอบสนอง
ความต้องการทางด้านร่างกายของบุตร
การดูแลให้บุตรได้รับสารอาหารต่าง ๆ อย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย บิดาควรสนับสนุนและเป็นกำลังใจให้มารดาเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา
การดูแลบุตรให้ได้รับความสุขสบาย
3.การดูแลขณะที่บุตรมีอาการไม่สุขสบายหรือเจ็บป่วยเล็กน้อย ควรสังเกตภาวะสุขภาพของบุตร
บทบาทเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการของบุตร
การส่งเสริมพัฒนาการให้กับบุตรจะต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอนของแต่ละวัย และครอบคลุมถึงพัฒนาการด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว พัฒนาการด้านภาษา และพัฒนาการด้านสังคม
การมีปฏิสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับบุตร มีเวลาให้บุตรอย่างเพียงพอ เล่นกับบุตรในลักษณะต่าง ๆ ตลอดจนหาของเล่นหรืออุปกรณ์การเล่นที่เหมาะสมกับวัยให้แก่บุตร
บทบาทเกี่ยวกับการปกป้อง
คุ้มครองอันตรายแก่บุตร
การดูแลป้องกันอันตรายต่าง ๆ ที่จะเกิดแก่บุตร ได้แก่ อุบัติเหตุทั้งภายในและภายนอกบ้าน
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวสู่บทบาทการเป็นบิดา
อายุ การศึกษา อาชีพ
รายได้
ประสบการณ์ที่ได้รับในวัยเด็ก
ลักษณะของสังคมและวัฒนธรรม
การมีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างสามีและภรรยา
ทางการพยาบาลเพื่อส่งเสริมบทบาทการเป็นบิดา
ให้ความรู้เกี่ยวกับพัฒนกิจและบทบาทการเป็นบิดา
ให้บิดาได้มีส่วนร่วมในการฟังคำแนะนำ การปฏิบัติตัวของมารดาหลังคลอด การดูแลบุตร
เปิดโอกาสให้บิดา มารดา บุตรได้อยู่ร่วมกันหลังคลอด
เสริมสร้างกำลังใจแก่บิดา
จัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับบทบาทของการเป็นบิดาในโอกาสที่เหมาะสม เช่น วันพ่อแห่งชาติ
ทางการส่งเสริมความผูกพันระหว่างบิดามารดา และทารก
ประเมินพฤติกรรมความรักความผูกพัน
ประเมินปัจจัยเสี่ยงที่ขัดขวางกระบวนสร้างสัมพันธภาพ
จัดกิจกรรมการพยาบาล (Intervention) เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่ขัดขวางกระบวนสร้างสัมพันธภาพ
1.ส่งเสริมให้มารดามีโอกาสสัมผัสกับบุตรในระยะ sensitive period
2.จัดให้มารดาอยู่กับบุตรโดยเร็ว (Rooming in)
3.ให้กําลังใจ ให้คําปรึกษา แนะนําแก่บิดา มารดา เกี่ยวกับการดูแลบุตร
4.ตอบสนองความต้องการของมารดาทั้งทางด้านรร่างกาย จิตใจ
กระตุ้นให้มารดามีปฏิสัมพันธ์ดีกับบุตร
6.เป็นแบบแผนในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารก
7.จัดให้บิดามารดาและทารกมีโอกาสอยู่ด้วยกันตามลําพัง
8.ติดตามประเมินพฤติกรรมสร้างสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารกและระหว่างบิดากับทารกอย่างต่อเนื่อง
9.ส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา:<3:
นางสาวถาวร จารุจิตร รหัสนิสิต 61010131 sec 03