Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
“การพยาบาลด้านจิตสังคมสําหรับผู้ประสบสาธารณภัย”, ภัทชราภรณ์ ป๊กคำ …
“การพยาบาลด้านจิตสังคมสําหรับผู้ประสบสาธารณภัย”
การช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤตของทีม MCATT
ระยะเตรียมการ
ในระยะเตรียมการจะครอบคลุมตั้งแต่การรับนโยบายจากผู้ว่าราชการจังหวัด/นายแพยท์สาธารณสุขจังหวัด
ในการจัดเตรียมโครงสร้างการดําเนินงานช่วยเหลือด้านสุขภาพจิต
ผู้ประสบภาวะวิกฤต และแผนการดําเนินงานเพื่อรองรับสถานการณ์วิกฤต
ในการจัดเตรียมโครงสร้างการดําเนินงานช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตผู้ประสบภาวะวิกฤต
และแผนการดําเนินงานเพื่อรองรับสถานการณ์วิกฤต รวมถึงการจัดตั้งศูนย์
อํานวยการช่วยเหลือด้านสุขภาพจิต
ระยะวิกฤตและฉุกเฉิน(ภายใน 72 ชั่วโมงแรกหลังเกิดเหตุ - 2 สัปดาห์)
a. ระยะวิกฤต (ภายใน 72 ชั่วโมงแรกหลังเกิดเหตุ)
เน้นการช่วยเหลือตามสภาพความเป็นจริงทั้งด้านร่างกาย ความ
ต้องการพื้นฐาน
b.ระยะฉุกเฉิน (72 ชั่วโมง - 2 สัปดาห์)
ระยะนี้สามารถสํารวจหาข้อมูลของสถานการณ์และความต้องการของ
ผู้ประสบภาวะวิกฤตได้ชัดเจนมากขึ้น เพื่อวางแผนในการให้ความช่วยเหลือได้ตรงกับความต้องการของผู้ประสบภาวะวิกฤต
การจัดลําดับความต้องการของกลุ่มเสี่ยงที่ต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ความรุนแรง คือ
1.เมื่อเกิดสถานการณ์วิกฤต ทีม MCATT เข้าพื้นที่ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภาวะวิกฤตในพื้นที่เสี่ยง โดยลงพื้นที่ร่วมกับทีมให้การช่วยเหลือทางกาย
2.คัดกรองและค้นหากลุ่มเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตโดยใช้เวชระเบียนสําหรับผู้ประสบภาวะวิกฤต/ภัยพิบัติ (ผู้ใหญ่และเด็ก) และให้การปฐมพยาบาลด้านจิตใจ
3) สํารวจความต้องการช่วยเหลือทั้งด้านร่างกายและจิตใจ และการให้การช่วยเหลือเยียวยาจิตใจ โดยใช้ วิธีให้การปฐมพยาบาลด้านจิตใจ (PFA)
4) กรณีพบความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิต ให้จัดทําทะเบียนกลุ่มเสี่ยงและวางแผนการติดตามต่อเนื่อง
5) สรุปรายงานสถานการณ์เบื้องต้นพร้อมทะเบียนกลุ่มเสี่ยง
การปฐมพยาบาลทางจิตใจ (Psychological first Aid: PFA) ด้วยหลักการ EASE
วิธีการสร้างสัมพันธภาพและการเข้าถึงจิตใจของผู้ได้รับผลกระทบ (Engagement: E)
การสร้างสัมพันธภาพ
วิธีการเริ่มจากการที่ผู้ให้การช่วยเหลือควรมีท่าทีสงบนิ่ง มีการแนะนํา
ตัวเอง มีการมองหน้าสบตา รับฟังด้วยท่าทีที่สงบให้กําลังใจ ด้วยการพยักหน้า การสัมผัส
การสื่อสาร
ควรเริ่มพูดคุยเบื้องต้นเมื่อผู้ประสบเหตุการณ์วิกฤตมีความพร้อม เชน เริ่มสบตามีท่าทีที่ผ่อนคลาย มีสติรู้ตัว
การสังเกตภาษาท่าทางและพฤติกรรม
Nonverbal ได้แก่ สีหน้า แววตา ท่าทาง การเคลื่อนไหวของร่างกาย
Verbal ได้แก่ พูดสับสนฟังไม่รู้เเรื่อง ด่าทอ ร้องขอความช่วยเหลือ พูดซ้ําไปซ้ํามา พูดวกวน
วิธีการประเมินผู้ได้รับผลกระทบ (Assessment: A)
ประเมินและตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกาย
ผู้ประสบภาวะวิกฤตได้รับบาดเจ็บทางด้านร่างกายก็ต้องบรรเทาความเจ็บปวดด้วยการให้ยา
ผู้ประสบภาวะวิกฤตมีอาการอ่อนเพลีย ควรจัดหานํ้าให1ดื่ม หาอาหารให1รับประทาน
ผู้ประสบภาวะวิกฤตเป็นลม ควรจัดหายาดมแอมโมเนีย ผ้าเย็นเช็ดหน้าและแขน
ผู้ประสบภาวะวิกฤตกําลังอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย เช่น มีเศษแก้วตกอยู่ ให้เคลื่อนย้ายผู้ประสบภาวะวิกฤตไปอยู่ในที่ปลอดภัย
การประเมินสภาพจิตใจ ประเมินสภาพจิตใจของผู้ประสบภาวะวิฤตอยู่ในช่วงอารมณ์
ความรู้สึกช็อค ปฏิเสธ โกรธ ต่อรอง หรือเศร้าเสียใจ
ผู้ประสบภาวะวิกฤตอยู่ในภาวะโกรธ
การดูแลทางกาย โดยให้อยู่ในสถานที่ปลอดภัย ให้มีการดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่รุกเข้าไป จัดระยะห่างที่เหมาะสมระหว่างผู้ประสบภาวะวิกฤต
การดูแลทางใจ โดยให้ระบายความรู้สึกโดยใช้ทักษะการฟังอย่างตั้งใจ(Active ListeningSkill) และพูดสะท้อนอารมณ์
ผู้ประสบภาวะวิกฤตอยู่ในภาวะต่อรอง
การให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ที่เป็นจริงตามความเหมาะสม
ทักษะการประเมินอารมณ์ ความรู้สึกผู้ประสบภาวะวิกฤตและทักษะการ บอกข่าวร้าย
สนองความต้องการในสิ่งที่สามารถให้ได้
อดทน รับฟัง ไม่แสดงอาการท่าทางเบื่อหน่าย
ผู้ประสบภาวะวิกฤตอยู่ในภาวะเสียใจ
การช่วยเหลือทางกายทําได้โดยหาผ้าเช็ดหน้า นํ้าเย็น ผ้าเย็น ในรายที่มีอาการหายใจไม่ออกอาจใช้การฝึกหายใจแบบ Breathing Exercise หรือใช้การสัมผัส (Touching)
การประเมินภาวะฆ่าตัวตาย
การปฐมพยาบาลทางจิตใจต้องระมัดระวัง ใส่ใจทุกรายละเอียดเพื่อ
ประเมินหาสัญญาณของภาวะ/ ความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
ตัวชี้วัดที่บ่งบอกว่าผู้ประสบภาวะวิกฤตได้รับการตอบสนองความต้องการที่ได้จากการประเมินแล้ว
ผู้ประสบภาวะวิกฤตรับฟังมากขึ้น ยอมรับข้อมูล
อารมณ์สงบ
ลดเงื่อนไขในการต่อรองลง อาจต่อรองในสิ่งที่มีความเป็นไปได้มากขึ้น ยอมรับความจริงมากขึ้น
หลังจากผู้ประสบภาวะวิกฤตยอมรับความจริงมีอารมณ์สงบลง อาจมีการหดหู่ ท้อแท้ ไม่มีกําลังใจ อาจเข้าสู่อาการภาวะซึมเศร้าได้
ประเมินความต้องการทางสังคม
ผู้ประสบภาวะวิกฤตต้องการพบญาติ หรือครอบครัวให้ติดต่อประสานโดยการโทรศัพท์
ผู้ประสบภาวะวิกฤตไร้ญาติขาดมิตร ประสานกํานัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ ด้านที่พักอาศัย หรือสถานสงเคราะห์ มูลนิธิ หรือวัดเพื่อหาที่พักพิงชั่วคราวให้
ผู้ประสบภาวะวิกฤตติองการความช่วยเหลือด้านการเงิน ทุนการศึกษา ให้ติดต่อหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง
วิธีการเรียกขวัญคืนสติลดความเจ็บปวดทางใจเสริมสร้างทักษะ (Skills: S)
a. การฝึกกําหนดลมหายใจ (Breathing exercise) เพื่อให้เกิดความผ่อนคลายทางอารมณ์ลดอาการใจสั่น หายใจถี่แรง
b. Touching skill (การสัมผัส) การสัมผัสทางกาย เช่น แตะบ่า แตะมือ บีบนวดเบาๆ โดยคํานึงถึงความเหมาะสม
c. ทักษะการ Grounding การใช1การ Grounding คือ การช่วยให้ผู้ประสบเหตุการณ์วิกฤตที่มีอารมณ์ท่วมท้น (overwhelmed feeling)
d. การนวดสัมผัส และ การนวดกดจุดคลายเครียด การนวดสัมผัสนอกจากจะเป็นการลดความเครียด ผ่อนคลายกล้ามเนื้อแล้ว การสัมผัสยังเสริมสร้างความรู้สึกอบอุ่นใจ
e. การลดความเจ็บปวดทางใจ
2) การสะท้อนความรู้สึก การสะท้อนความรู้สึกเป็นเทคนิคหนึ่งที่ผู้ให้การช่วยเหลือสะท้อนอารมณ์ความรู้สึกของผู้ประสบเหตุการณ์วิกฤตออกมาโดยภาษาที่เรียบ
3) การเงียบ การเงียบเป็นช่วงเวลาระหว่างหยุดที่ไม่มีการสื่อสารด้วยวาจาระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ในการปฏิบัติงานต้องพิจารณาว่าการเงียบที่เกิดขึ้นนั้นเป็นการเงียบทางบวกหรือทางลบ
1) การฟังอย่างใส่ใจ (Active Listening) คือการตั้งใจฟังอย่างต่อเนื่องต่อเนื้อหาสาระและอารมณ์ของผู้ประสบเหตุการณ์รุนแรง
4) การทวนซ้ํา การทวนซ้ําเป็นการพูดในสิ่งที่ผู้รับบริการได้บอกเล่าอีกครั้งหนึ่ง
f. การเสริมสร้างทักษะ การเรียนรู้ การเสริมสร้าง Coping skills สามารถช่วยลดความกังวลปฏิกิริยาที่เป็นทุกข์อื่นๆ ช่วยแก้ไขสถานการณ์ และช่วยผู้ประสบเหตุการณ์วิกฤตให้ผ่านพ้นช่วงเวลาอันเลวร้าย
วิธีการให้สุขภาพจิตศึกษาและข้อมูลที่จําเป็น (Education)
ต.2 เติมเต็มความรู้
ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้นจากความเครียด และผลกระทบทางจิตใจ ที่อาจเกิดขึ้น พร้อมทั้งบอกวิธีการปฏิบัติตัวเพื่อลดความเครียด แหล่งช่วยเหลือต่างๆ
ต.3 ติดตามต่อเนื่อง
ร่วมกันวางแผนและหาแนวทางในการรับการช่วยเหลือต่างๆ เพิ่มเติม ควรมีการพูดคุยวางแผนร่วมกันระหว่างผู้ให้การช่วยเหลือกับผู้ประสบภาวะวิกฤต
ต.1 ตรวจสอบความต้องการ
โดยไต่ถมถึงข้อมูลและตรวจสอบความต้องการช่วยเหลือที่จําเป็นและ
เร่งด่วน การตรวจสอบ้วามต้องการของผู1ประสบภาวะวิกฤตจะใช้วิธีสอบถามเพื่อสํารวจในเรื่อง ความต้องการการสนับสนุนในด้านเศรษฐกิจ การเงิน อาชีพ ปัญหาภายในครอบครัวที่ต้องการการช่วยเหลือ
ภัทชราภรณ์ ป๊กคำ 6001210668 เลขที่31 sec B