Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การสำรวจความถนัดในด้านต่างๆของพหุปัญญา นักเรียนห้องเรียนพิเศษ…
การสำรวจความถนัดในด้านต่างๆของพหุปัญญา
นักเรียนห้องเรียนพิเศษ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 โรงเรียนสระแก้ว
บทที่1
ที่มาและความสำคัญ
ในสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่า เด็กนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาเป็นจำนวนมากไม่มีการวางแผนว่าหลังจบการศึกษาระดับมัธยมแล้วจะไปทำอะไรหรือศึกษาต่ออะไร จากปัญหาดังกล่าว ทางคณะผู้จัดทำได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาข้างต้น จึงได้ทำการศึกษาความถนัดในด้านต่างๆของพหุปัญญาของเด็กนักเรียนห้องเรียนพิเศษมัธยมศึกษาปี ที่ 2 เพื่อนำข้อมูลให้โรงเรียน ซึ่งโรงเรียนอาจสามารถจัดกิจกรรมหรือส่งเสริมพหุปัญญาในด้านนั้นๆให้สามารถเพิ่มศักยภาพความสามารถของเด็กนักเรียนที่ถนัดในเรื่องนั้นๆได้
วัตถุประสงค์
เพื่อต้องการศึกษาจ านวนและประเภทความถนัดในด้านต่างๆของพหุปัญญาของเด็กนักเรียนห้องเรียนพิเศษระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปี ที่ 2 ( ม.2/13 ถึง ม.2/16 ) ปี การศึกษา 2562 โรงเรียนสระแก้ว
สมมติฐาน
ระดับชั้น เพศ อายุ จ านวนนักเรียน ความสามารถต่างๆ ความชอบ ฯลฯ มีผลต่อความถนัดในด้านต่างๆของพหุปัญญา
ขอบเขตการศึกษา
สถานที่ : โรงเรียนสระแก้ว
ระยะเวลา : เดือน มกราคม พ.ศ. 2563
จ านวนประชากร : นักเรียนห้องเรียนพิเศษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี ที่2 โรงเรียนสระแก้วจำนวน 107 คน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
สามารถน าผลการศึกษา ไปใช้เป็ นข้อมูลเพื่อส่งเสริมความถนัดในด้านต่างๆของพหุปัญญาของเด็กนักเรียน
สามารถจัดเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลของโรงเรียนได้
นำไปปรับใช้กับเด็กนักเรียนกลุ่มอื่นๆในโรงเรียน หรือโรงเรียนอื่นที่ต้องการศึกษา
บทที่2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ประวัติของทฤษฎีพหุปัญญา
ศาสตราจารย์โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) นักจิตวิทยา มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด เป็นผู้ที่พยายามจะอธิบายให้เห็นถึงความสามารถที่หลากหลาย โดยคิดเป็น “ ทฤษฎีพหุปัญญา ” (Theory ofMultiple Intelligences) เพื่อเสนอแนวคิดที่ว่า สติปัญญาของมนุษย์มีหลายด้านที่มีความสeคัญเท่าเทียมกัน ขึhoอยู่กับว่าใครจะโดดเด่นในด้านไหนบ้าง แล้วแต่ละด้านผสมผสานซึ่ง กันและกัน แสดงออกมาเป็นความสามารถในเรื่องใด เป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคนไป ในปี พ.ศ. 2526 การ์ดเนอร์ ได้เสนอว่าปัญญาของมนุษย์มีอยู่อย่างน้อย 7 ด้าน แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ได้เพิ่มเติมเข้ามาอีก 1 ด้าน ทำให้ในปัจจุบันมีพหุปัญญาอยู่อย่างน้อย 8 ด้าน
ข้อมูลทฤษฎีพหุปัญญา
ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)
ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ (Logical–Mathematical Intelligence)
ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Visual – Spatial Intelligence)
ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily– Kinesthetic Intelligence)
ปัญญาด้านดนตรี(Musical Intelligence)
ปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์(Interpersonal Intelligence)
ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence)
ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา(Naturalist Intelligence)
บทที่3
วิธีดำเนินงานศึกษาค้นคว้า
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
แบบสอบถาม จำนวน 1 ฉบับ
วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า
กำหนดเรื่องที่จะศึกษา โดย คณะผู้จัดทำ ประชุมร่วมกัน และร่วมกันคิดและวางแผน ว่าจะศึกษาเรื่องใด
เลือกเรื่องที่จะศึกษา โดยเลือกเรื่องที่สมาชิกมีความสนใจมากที่สุดเพื่อเป็นแรงจูงใจในการค้นหาจุดหมายคำตอบ
ศึกษาแนวคิดในการแก้ปัญหาวิธีการและสร้างเครื่องมือ (แบบสอบถาม)
ตั้งชื่อเรื่อง
คณะผู้จัดทำพบครูที่ปรึกษาเพื่อปรึกษา วางแผนและรับฟังความคิดเห็น ปรับปรุงแก้ไข
เขียนความสำคัญความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ สมมุติฐาน ขอบเขตการศึกษาและประโยชน์ที่คาดว่าจะ ได้รับ โดยศึกษาข้อมูลจากหนังสือ วิทยานิพนธ์และสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตและจดบันทึกในโครงร่างรายงานเชิงวิชาการ
สร้างเครื่องมือ ที่เป็นแบบสอบถาม จำนวน 80ข้อ
นำเครื่องมือที่ปรับปรุงแล้วไปใช้
รวบรวมข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูล
สรุปผลการศึกษา
ประชากร
ได้แก่เด็กนักเรียนห้องเรียนพิเศษระดับมัธยมศึกษาปี ที่ 2 โรงเรียนสระแก้ว ปี การศึกษา2562 โดยมีจำนวนทั้งหมด 107 คน
วัตถุประสงค์
เพื่อต้องการทราบจำนวนและประเภทความถนัดในด้านต่างๆของพหุปัญญาของเด็กนักเรียนห้องเรียนพิเศษระดับมัธยมศึกษาปี ที่ 2 โรงเรียนสระแก้ว
การเก็บรวบรวมข้อมูล
การศึกษาครั้งนี ้ได้ดำเนินการเก็บข้อมูลจากเด็กนักเรียนห้องเรียนพิเศษชั้นมัธยมศึกษาปี 2 ( ม.2/13 ถึง ม.2/16 )โรงเรียนสระแก้ว โดยคณะผู้จัดทำได้สร้างแบบทดสอบและดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง
บทที่5
สรุปและอภิปรายผลการดำเนินงาน
จากผลการศึกษาพบว่านักเรียนห้องเรียนพิเศษชั้นมัธยมศึกษาปี2 ( ม.2/13 ถึง ม.2/16 )จำนวน107 คน ของโรงเรียนสระแก้ว มีความถนัดในหลายๆด้าน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีเพราะการมีทักษะหลายด้านจะทำให้เด็กมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ในสิ่งต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย โดยส่วนใหญ่เด็กนักเรียนกลุ่มนี ้มีความถนัดด้านที่ 2ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ (Logical–Mathematical Intelligence)ด้านที่6 ปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence) และด้านที่ 8ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา(Naturalist Intelligence) ขณะที่ผลการศึกษาครั้งนี้ก็บอกด้วยเช่นกันว่าเด็กกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ไม่ถนัดด้านที่ 1 ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)
ข้อเสนอแนะ
พ่อแม่ผู้ปกครองและโรงเรียนควรส่งเสริม สนับสนุน เด็กกลุ่มนี ้ให้มีกิจกรรมรวมถึงจัดสภาพแวดล้อมให้เอื ้อกับการเรียนรู้และฝึกทักษะทางด้านตรรกะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเพื่อเสริมให้เด็กมีความสามารถยิ่งขึ ้นในส่วนที่พวกเขามีความถนัด และพยายามพัฒนา เติมเต็มในส่วนที่ยังไม่ค่อยช านาญคือ เรื่องของทักษะในการสื่อสาร การพูดในที่ชุมชนหรือสถานการณ์ต่างๆเพื่อให้เด็กได้ฝึกทักษะในส่วนที่ยังไม่ถนัดยังไม่ช านาญ
ผู้ที่สนใจทั่วไปหรือโรงเรียนสามารถนำรูปแบบวิธีการศึกษานี้ไปทำการศึกษาในเด็กกลุ่มอื่นให้เหมาะสมกับกลุ่มเด็กแต่ละกลุ่มได้อย่างเหมาะสม
บทที่4
ผลการดำเนินงานศึกษาค้นคว้า