Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย และจิตใจของสตรีในระยะคลอด - Coggle Diagram
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
และจิตใจของสตรีในระยะคลอด
ระยะคลอด
คือระยะตั้งแต่เจ็บครรภ์จริงจนถึงเด็กและรกคลอดออกมาครบระยะคลอดจริงๆแบ่งเป็น 3ระยะ แต่ในทางปฏิบัตินับรวม 2 ชม.หลังคลอด เป็นระยะที่ 4 ของการคลอดด้วย
ระยะที่ 1 ของการคลอด คือ ตั้งแต่เจ็บครรภ์คลอดถึงปากหมดลูกเปิด
ระยะที่ 2 ของการคลอด คือ ตั้งแต่ปากหมดลุกเปิดหมดถึงเด็กคลอดทั้งตัว
ระยะที่ 3 ของการคลอด คือ ตั้งแต่เด็กคลอดถึงรกคลอดออกมาทั้งหมด
ระยะที่ 4 ของการคลอด คือ ตั้งแต่รกคลอดถึง 2 ชม. หลังคลอด
Parturition
หมายถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงในระหว่างการตั้งครรภ์ที่จะนำไปสู่การเจ็บครรภ์คลอดการเจ็บครรภ์คลอด (Labor) หมายถึงกระบวนการที่มดลูกหดรัดตัวอย่างรุนแรงและเป็นจังหวะสม่ำเสมอทำให้ปากมดลูกเปิดขยายออกและทารกถูกบีบไล่ให้เคลื่อนต่ำลงมาตามช่องทางคลอดโดยจะสิ้นสุดเมื่อคลอดทารกปกติจะใช้เวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมงและรัก
กลไกการเกิด Paturition
กลไกการเกิด Parturition ในมนุษย์สรุปได้
1.ทารกในครรภ์ส่งสัญญาณไปกระตุ้นให้เกิดกระบวนการต่างๆใน parturition
2.มีการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีภายในมดลูก
3.ต่อมใต้สมองหลั่ง H. Oxytocin เพิ่มขึ้นเป็นพัก ๆ ในระยะท้ายของการตั้งครรภ์กระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัว
4.การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพจากการที่ทารกโตขึ้นและน้ำคร่ำที่มากขึ้นทำให้มีน้ำหนักกดลงบนปากมดลูกและส่วนล่างของมดลูกทวีตาร์แกนจะ
การเปลี่ยนแปลงของมดลูก
ระยะตั้งครรภ์
มดลูกอยู่ในสภาพคลายตัวสงบเงียบและยืดขยายปากมดลูกแข็งแรงสามารถต้านแรงดันจากภายในโพรงมดลูกได้
เมื่อเข้าสู่ระยะคลอด
กล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวรุนแรงขึ้นและเป็นจังหวะปากมดลูกจะนุ่มอ่อนตัวลงมากและยืดขยาย
กล้ามเนื้อมดลูกแบ่งเป็น 3 ชั้นตามลักษณะใยกล้ามเนื้อ
1.ชั้นนอกใยกล้ามเนื้อเรียงตัวตามยาว (Longitudinal) ช่วยให้กล้ามเนื้อมดลูกมีความแข็งแรงตามความยาวทำให้มีการผลักดันทารกในครรภ์ลงมาได้ดี
2.ชั้นกลางใยกล้ามเนื้อเรียงตัวประสานเป็นรูปเลข ( figure of eight) ล้อมรอบเส้นเลือดช่วยบีบรัดเส้นเลือดทำให้เลือดหยุดไหลได้ในระยะหลังคลอดกล้ามชั้นนี้มีความหนาและแข็งแรงที่สุด
3ชั้นในใยกล้ามเนื้อเรียงตัวแบบวงกลม (circular) ประกอบกันเป็นกล้ามเนื้อหูรูดโดยเฉพาะที่บริเวณปากมดลูกชั้นในจะมีการยืดขยายออกเมื่อเข้าสู่ระยะคลอดที่เรียกว่าปากมดลูกเปิด (cervical dilatation)
การหดรัดตัวของมดลูกก่อให้เกิดความเจ็บปวดได้อย่างไรสาเหตุของความเจ็บปวดไม่ทราบแน่ชัด แต่มีสมมติฐานดังนี้
1.มัดกล้ามเนื้อในบริเวณปากมดลูกและมดลูกส่วนล่างกด ganglia ของเส้นประสาทเมื่อมีการหดรัดตัว
2.ภาวะ hypoxia ของกล้ามเนื้อมดลูกขณะหดรัดตัว
3.การดึงรั้งหรือการยืดขยายของปากมดลูกในระหว่างที่มีการถ่างขยายปากมดลูก
4.การดึงรั้งหรือการยืดขยายของเยื่อบุช่องท้องที่ปกคลุม
การหดรัดตัวของมดลูกอยู่นอกอำนาจจิตใจบังคับไม่ได้การหดรัดตัวของมดลูกเกิดขึ้นเป็นจังหวะและถี่ขึ้นเรื่อย ๆ ระยะคลายตัวการไหลเวียนของเลือดในรกจะดีกว่าระยะการหดรัดตัวความดันภายในโพรงมดลูกระหว่างการเจ็บครรภ์เฉลี่ย 40 (20-60) มิลลิเมตรปรอท
เมื่อการคลอดก้าวหน้ามากขึ้น Upper segment wa: Lower segment จะแบ่งขอบเขตกันชัดเจนเกิดเป็น 'physiological retraction ring' SAMPLE
ถ้าหดรัดตัวรุนแรงมากผิดปกติจะเกิด pathological retraction ring "หรือ Bandl ring Bestionniña vodacom มักจะเกิดในรายที่ศีรษะของทารกและเชิงกรานของมารดาAnănásu (Cephalo Pelvic Disproportion: CPD)
ความแรงของการหดรัดตัวของมดลูกในส่วนต่างๆแรงไม่เท่ากันส่วนบน (upper segment) มีความรุนแรงมากและค่อยๆลดหลั่นลงเรื่อย ๆ จากยอดมดลูกไปถึงส่วนล่างเมื่อหดรัดตัวแต่ละครั้งจะมีแรงขับเคลื่อนเด็กให้เคลื่อนลงไปทางส่วนล่าง (lower segment)
การเปลี่ยนแปลงด้านรูปร่างของมดลูก "รูปร่างของมดลูกจะยืดยาวออกไปตามแนวยาวของตัวมดลูก 1 เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวนอนหรือแนวหน้า-หลังจะสั้นลงทำให้ fetal ovoid หรือตัวเด็กที่อยู่ในทรงรูปไข่ถูกบีบให้กระดูกสันหลังยืดยาวออกความยาวจะยืดออกประมาณ 5-10 cm. ทำให้ส่วนของเด็กเคลื่อนต่ำลงสู่ช่องเชิงกรานซึ่งมีแรงต้านทานต่ำกว่าความดันที่มีผลต่อเด็กในลักษณะนี้เรียกว่า fetal axis pressure 1 ตัวมดลูกยืดยาวออกใยกล้ามเนื้อมดลูกส่วนล่างและปากมดลูกถูกดึงรั้งขึ้นไปข้างบนทำให้ปากมดลูกเปิดขยาย
ความบางตัวของปากมดลูก (cervical effacement)
ถ้าปากมดลูกหนา 2 cm. จะมีความบาง 0%
ถ้าปากมดลูกหนา 1 cm. จะมีความบาง 50%
ถ้าปากมดลูกหนา 0.5 cm. จะมีความบาง 75%
ถ้าปากมดลูกหนา 1-2 mm. จะมีความบาง 100%
การเปิดขยายของปากมดลูก Dilatation of the cervical Os) ในระยะ Latent phase (0-3 cm.) เปิดช้าครรภ์แรกใช้เวลา 8-12 ชม. ครรภ์หลังใช้เวลา 6-8 ชม. ในระยะ Active phase (4-10 cm.) เปิดเร็วครรภ์แรกเฉลี่ย 1-1.2 cm./ ชม. ครรภ์หลังเฉลี่ย 1.5 cm./ ชม.
การเปลี่ยนแปลงภายในถุงน้ำคร่ำน้ำคร่ำจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
น้ำคร่ำที่อยู่ต่ำกว่าส่วนนำเรียกว่าน้ำทูนหัว (fore water)
น้ำคร่ำที่ล้อมรอบตัวเด็กอยู่เหนือส่วนนำเรียกว่า hind Water
การเปลี่ยนแปลงของระบบหัวใจและหลอดเลือด n Blood Volume เพิ่มขึ้นเ Cardiac output เพิ่มขึ้นเนื่องจากขณะมดลูกหดรัดตัวจะมีเลือดออกจากมดลูกเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดของมารดาประมาณ 400 ml. ต้นระยะที่ 1 ของการคลอด C.O, เพิ่มขึ้น 15-20% ปลายระยะที่ 1 และต้นระยะที่ 2 C.O, เพิ่มขึ้น 35-40%
การเปลี่ยนแปลงของระบบหัวใจและหลอดเลือด Heart Rate: เพิ่มขึ้นในระยะ 1st stage of labor โดยทั่วไปชีพจรจะอยู่ระหว่าง 80-90 ครั้ง / นาทีและลดลงเล็กน้อยในระยะ 2nd stage of labor Blood Pressure: Normal และเพิ่มขึ้นขณะมดลูกหดรัดตัว systolic blood pressure ระยะที่ 1 เพิ่มขึ้น 10-15 mmHg ระยะที่ 2 เพิ่ม 30 mmHg diastolic blood pressure ระยะที่ 1 เพิ่มขึ้น 5-10 mmHg ระยะที่ 2 เพิ่ม 25 mmHg
การเปลี่ยนแปลงของระบบเลือดและเม็ดเลือด Hemoglobin / Hct. เพิ่มขึ้นเล็กน้อยประมาณ 1.2 g% เนื่องจากภาวะเครียดและภาวะขาดน้ำและจะลดลงในวันแรกหลังคลอดระดับ Fibrinogen ในกระแสเลือดเพิ่มขึ้นเม็ดเลือดขาวจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 15,000 cell / mm และอาจเพิ่มถึง 25,000-30,000 cell / mm3 การเปลี่ยนแปลงของระบบหายใจอัตราการหายใจเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตลอดการคลอด