Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหา เซลเจริญผิดปกติ - Coggle Diagram
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหา
เซลเจริญผิดปกติ
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
ความหมาย
ส่งผลให้จำนวนเม็ดเลือดขาวตัวอ่อนมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วร่างกายทำให้การสร้างเม็ดเลือดแดงและเกร็ดเลือดลดลง
เกิดจากความผิดปกติของ
เซลล์ต้นก าเนิด(Stem cell) ที่อยู่ในไขกระดูก
ไม่สามารถ differentiate ไปเป็นเซลล์ตัวแก่ได้
ผู้ป่วยจึงเกิดอาการซีด เลือดออก และติดเชื้อได้ง่าย
พบบ่อยที่สุดในเด็กคือมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน(Acute
lymphoblastic leukemia ,ALL) พบมากในช่วงอายุ 2-5 ปี
แบ่งได้เป็น 2 ชนิด
T-cell lymphoblastic leukemia
B-cell lymphoblastic leukemia
โดยส่วนใหญ่จะพบชนิด B-cell
เมื่อมีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วและคุมไม่ได้ในไขกระดูกจึงมีเซลเม็ดเลือดขาวตัวอ่อนเป็นจำนวนมาก
cell ที่ผิดปกติเหล่านั้นจึงถูกปล่อยออกมาในกระแสเลือด
ในรูปของ Blast cell ซึ่งเป็นเซลเม็ดเลือดขาวตัวอ่อน
ผลของการที่มี cell เม็ดเลือดขาวตัวอ่อนจำนวนมาก
ทำให้การสร้างเม็ดเลือดแดง เกร็ดเลือดลดลงผู้ป่วยจึงมีอาการซีด
เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เลือดออกง่าย ติดเชื้อได้ง่าย
แบ่งออกเป็น 4 ชนิด
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิด ALL(Acute lymphoblastic leukemia)
เป็นชนิดที่พบได้ในทุกช่วงอายุ ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่แต่พบได้บ่อยที่สุดในเด็กอายุ 2-5 ปี
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิด AML (Acute myelogenous leukemia)
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดนี้จึงพบได้ในผู้ใหญ่มากกว่าในเด็ก และพบในผู้ชายบ่อยกว่าผู้หญิง
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิด CLL (Chronic lymphocytic leukemia)
เป็นชนิดที่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ และมีความชุกของโรคมากขึ้นตามอายุ
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิด CML (Chronic myelogenous leukemia)
เป็นชนิดที่พบได้น้อย พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ในผู้ป่วยเด็กนั้นประมาณ 80% มักพบในเด็กอายุมากกว่า 4 ปี
สาเหตุของมะเร็งเม็ดเลือดขาว
ปัจจัยด้านพันธุกรรม
เด็กที่เป็นดาวน์ซินโดรม (Down’s syndrome)จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิด ALL และ AML มากกว่าคนปกติ
มีสมาชิกเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดALL
พบว่าจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้สูงกว่าคนทั่วไปประมาณ 2-4 เท่า
ฝาแฝดที่เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิด ALL โดยเฉพาะเมื่อเป็นโรคอายุยังน้อยพบว่าจะทำให้ฝาแฝดอีกคนหนึ่งมีโอกาสเป็น
โรคนี้ได้ประมาณ 25%
ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม
การมีประวัติได้รับสีไออนไนซ์(Ionizing radiation) เช่น ในเด็กที่รับรังสีรักษาในขณะอยู่ในครรภ์จากการตรวจโรคของมารดา
การมีประวัติได้รับยาเคมีบำบัดในการรักษาโรคมะเร็งชนิดอื่นมาก่อน
การสัมผัสสารเคมีที่เป็นพิษบางชนิด โดยเฉพาะสารเบนซิน
อาจเกิดจากการได้รับสารเคมีต่างๆ ที่เป็นพิษจากสิ่งแวดล้อม
หรือจากควันบุหรี่และการสูบบุหรี่
อาการ
อาการแรกที่เป็น คือ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ซีด อ่อนเพลียง่าย
เลือดออกง่าย
ออกตามไรฟัน มีจ้ำเขียวขึ้นบนตามตัว หรือมี
ประจำเดือนมากผิดปกติ
ผู้ป่วยติดเชื้อง่าย มีไข้ เป็นอาการสำคัญที่มักจะมารับการรักษา
มีก้อนขึ้นที่ขาหนีบต่อมน้ำเหลือง ขา คอ หรือมีตับ ม้ามโต
การวินิจฉัย
เจาะเลือดตรวจหาเซลล์เม็ดเลือดตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาว Blast cell
เจาะไขกระดูก Bone marrow Transplanted เพื่อดูให้ชัดเจนอีกครั้งว่ามีการแบ่งตัวที่ผิดปกติในไขกระดูกจริงหรือไม่
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง Lymphoma
เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน
ประกอบไปด้วย
อวัยวะที่เกี่ยวกับน้ำเหลือง ได้แก่ ม้าม,ไขกระดูก, ต่อมทอนซิล, ต่อมไทมัส,
ซึ่งมีหน้าที่นำสารอาหารและเซลล์เม็ดเลือดขาว(Lymphocyte) ไปยังส่วนต่างๆทั่วร่างกาย
ความผิดปกติของเม็ดเลือดขาวเหล่านี้ทำให้เกิดเป็นมะเร็ง่อมน้ำเหลือง การทำงานก็จะผิดปกติ
ตำแหน่งที่พบบ่อย
คือต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ(Cervical
Lympnode
แบ่งออกเป็น 3 ชนิด
มะเร็งต่อมน้้าเหลืองชนิดฮอดจ์กิน(Hodgkin Lymphoma)
พบต่อมน้ำเหลืองจะโตมาเป็นปี
ไม่มีอาการปวด
มีลักษณะเฉพาะ
พบ Reed-Sternberg cell
มะเร็งต่อมน้้าเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน(Non-Hodgkin Lymphoma)
อาการจะรุนแรง
มักจะมาโรงพยาบาลเมื่อมีการกระจายไปทั่วร่างกาย
อาจมีก้อนที่ช่องท้อง ช่องอกหรือในระบบประสาท
Burkitt Lymphoma
มีต้นกำเนิดมาจาก B-cell
มีการแทรกกระจายในเนื้อเยื่อ
มีก้อนเนื้องอกที่โตเร็วมาก
พบเฉพาะที่ เช่น ในช่องท้อง รอบกระดูกขากรรไกร
การวินิจฉัยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
การตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา (Biopsy)
การตรวจไขกระดูก เพื่อประเมินว่ามีการกระจายเข้าไปในไขกระดูกหรือไม่
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์(CT scan)
เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
การตรวจกระดูก (Bone scan)
การตรวจ PET scan เป็นการตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์
เพื่อหาเซลมะเร็ง
อาการเริ่มต้นที่พบบ่อย
จะคล าพบก้อนที่บริเวณต่าง ๆ เช่น คอ รักแร้
ขาหนีบ หรือเต้านมแต่จะไม่มีอาการเจ็บ
ซึ่งต่างจากการติดเชื้อที่มักจะมี
อาการเจ็บที่ก้อน
มีไข้ หนาว สั่น เหงื่อออกมากตอนกลางคืน คันทั่วร่างกาย
เบื่ออาหาร น้ าหนักลด อ่อนเพลียไม่ทราบสาเหตุ
ไอเรื้อรัง หายใจไม่สะดวก ต่อมทอนซิลโต
ปวดศีรษะ (พบในมะเร็งต่อมน้ าเหลืองในระบบประสาท)
อาการในระยะลุกลาม
ซีด มีเลือดออกง่าย
จุดเลือดออกตามตัว จ้ำเลือด
ในรายที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเกิดขึ้นภายในช่องท้อง
ผู้ป่วยจะมีอาการแน่นท้องหรืออาหารไม่ย่อย
ท้องโตขึ้นจากการมีน้ำในช่องท้อง
แนวทางในการรักษาในปัจจุบัน
การใช้ยาเคมีบ้าบัด (Chemotherapy)
การฉายรังสี(Radiation Therapy)
การรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นเนิด (Transplantation)
มะเร็งไต Wilm Tumor
หมายถึง ภาวะที่เนื้อไตชั้นพาเรนไคมา(Parenchyma)
มีการเจริญผิดปกติจนกลายเป็นก้อนเนื้องอกภายในเนื้อไต
ส่วนใหญ่จะมีขนาดใหญ่ และคลำได้ทางหน้าท้อง
จะไม่ให้คลำบ่อย เพราะอาจทำให้ก้อนแตกหรืออาจเกิดการแพร่กระจายของมะเร็ง
Neuroblastoma
เป็นเนื้องอกชนิดร้ายแรงที่พบได้บ่อยในเด็กอายุน้อยกว่า5 ปี
มีต้นกำเนิดมาจากเซลล์ของระบบประสาท(Neural crest)
สามารถเกิดบริเวณใดก็ได้ที่มีเนื้อเยื่อ Sympathetic nerve ได้แก่ ต่อมหมวกไต(adrenal gland) ในช่องท้อง
อาการนำที่มาพบแพทย์
มีก้อนในท้อง ท้องโต ปวดท้อง
ตาโปนมีรอยช้ารอบตา(raccoon eyes)
มีไข้ ปวดกระดูก
ตำแหน่งที่พบก้อนครั้งแรกมากที่สุดคือต่อมหมวกไต
การตอบสนองต่อการรักษาจะไม่ดี
มีอัตราการตายสูง
การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด
Chemotherapy
ระยะการรักษา
ระยะชักนำให้โรคสงบ (induction phase)
เป็นการให้ยาเพื่อทำลายเซลล์ในเวลาอันสั้นให้มากที่สุด
มีอันตรายต่อเซลล์ปกติให้น้อยที่สุด
ไขกระดูกสามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวได้ตามปกติ
ระยะนี้ใช้เวลา4 – 6 สัปดาห์
ยาที่ใช้
Vincristine, Adriamycin,
L – Asparaginase และ Glucocorticoid
2.ระยะให้ยาแบบเต็มที่ (intensive or consolidation
phase)
เป็นการให้ยาหลายชนิดร่วมกันภายหลังที่ผู้ป่วยอยู่ในระยะโรคสงบแล้ว
เพื่อให้ยาทำลายเซลล์มะเร็งให้เหลือน้อยที่สุด
ระยะนี้จะใช้เวลาประมาณ 4 สัปดาห์
ยาที่ใช้
Metrotrexate, 6 – MP และ Cyclophosephamide
ระยะป้องกันโรคเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง (CNS
prophylaxis phase)
เป็นการให้ยาเพื่อป้องกันไม่ให้โรคลุกลามเข้าสู่ระบบประสาท
ส่วนกลาง
ผู้ป่วยโดยทั่วไปหลังการให้ยามักมีโอกาสกลับเป็นโรคอีกครั้ง
โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีจำนวนเกล็ดเลือดต่ำ ตับม้ามโต
ยาที่ใช้
Metrotrexate, Hydrocortisoneและ ARA – C
ระยะควบคุมโรคสงบ (maintenance phase or
continuation therapy)
เป็นการให้ยาเพื่อควบคุม และรักษาโรคอย่างถาวร
ยาที่นิยมใช้
การให้ 6 – MP โดยการรับประทานทุกวันร่วมกับการให้ Metrotrexate
การรักษาประคับประคอง
เป็นการรักษาโรคแทรกซ้อน และอาการข้างเคียงจากการให้ยา
แบ่งเป็น 2 แนวทาง
การรักษาทดแทน (Replacement therapy)
การให้เลือดเพื่อให้ระดับฮีโมโกลบินไม่น้อยกว่า 7-8 กรัม/ดล. ในระยะแรกก่อนโรคสงบ
การรักษาด้วยเกร็ดเลือด
หากผู้ป่วยมีเลือดออกจากจำนวนเกร็ดเลือดต่ำจำเป็นต้องให้เกร็ดเลือดก่อน
ซึ่งวิธีนี้จะช่วยรักษาชีวิตผู้ป่วยได้สูง
เพราะมีเกร็ดเลือดต่่ำ
มากจะทำให้ผู้ป่วยถึงเสียชีวิตได้รวดเร็วไม่เกิน 24 ชั่วโมง
วิธีการให้ยาเคมีบำบัด IT IM IV
ทางช่องไขสันหลัง intrathecal
ทางกล้ามเนื้อ หลังฉีดต้องระวังเลือดออก
ทางหลอดเลือดดำ vein ต้องระวังการรั่วของยาออกนอกหลอดเลือดที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง
ยาเคมีบำบัดที่ใช้บ่อย
1.Cyclophosphamide
รักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวโดยออกฤทธิ์จับ
หรือรวมตัวกับดีเอ็นเอของเซลล์มะเร็ง
ส่งผลทำให้เพิ่มจำนวนไม่ได้
Mercaptopurine(6-MP)
รักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน
โดยยับยั้งการสร้าง Purine ยับยั้งการสร้างกรดนิวคลีอิก
Methotrexate
รักษามะเร็ง Acute leukemia
โดยยับยั้งการสร้างDNA และRNA และมีฤทธิ์กดการเจริญเติบโตของเซลล์
Cytarabine(ARA-C)
รักษามะเร็งชนิด Acute lymphoblastic leukemia (ALL)
จะขัดขวางการสร้าง DNA
Mesna
ป้องกันภาวะเลือดออกในผู้ป่วยกระเพาะปัสสาวะอักเสบที่มีสาเหตุมาจากยารักษามะเร็งได้แก่ Cyclophosphamide
Ondasetron(onsia)
ป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยมะเร็งที่ต้องเข้ารับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด
Bactrim
ป้องกันการติดเชื้อฉวยโอกาส
เนื่องจากผู้ป่วยมีภูมิต้านทานต่ำ
Ceftazidime(fortum)
ป้องกันการติดเชื้อเนื่องจากมีไข้หลังได้รับยาเคมีบำบัด
Amikin
ป้องกันการติดเชื้อเนื่องจากมีไข้หลังได้รับยาเคมีบำบัด
ผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัด
ผลต่อระบบเลือด
ทำให้ไขกระดูกผลิตเซลล์เม็ดเลือดต่างๆ ได้น้อยลง
เซลล์เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกร็ดเลือด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตรวจเลือดก่อนเริ่มยาเคมีบำบัดทุกครั้ง
เม็ดเลือดแดง : RBC ผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดจะมีภาวะซีด (Anemia)
แพทย์อาจพิจารณาให้เลือดเมื่อระดับค่า Hb อยู่ที่ 8-10 gm/dl, Hct 24-30 gm/dl
1.2เม็ดเลือดขาวต่ำ(Leukopenia) ประเมินได้จากค่า ANC : absolute neutrophil count
แบ่งภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ(Leukopenia) เป็น 3 ระดับ
1.เม็ดเลือดขาวต่ำเล็กน้อย
ANC 1000-1500 เซลล์/ลบ.มม.เป็นภาวะที่เม็ดเลือดขาวต่ำเล็กน้อย
ผู้ป่วยจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น
2.เม็ดเลือดขาวต่ำปานกลาง
ANC 500-1000 เซลล์/ลบ.มม.
เม็ดเลือดขาวต่่ำรุนแรง
ANC ต่ำกว่า 500 เซลล์/ลบ.มม.
ผู้ป่วยจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่รุนแรงมากขึ้น
ในรายที่ ANC ต่ำกว่า 100 เซลล์/ลบ.มม.เป็นภาวะที่เม็ดเลือดขาวต่่ำระดับรุนแรงอย่างมาก
ผู้ป่วยจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบในกระแสเลือด
1.3 เกร็ดเลือดต่ า (thrombocytopenia)
เป็นภาวะที่ผู้ป่วยมีเกล็ดเลือดน้อยกว่า 100,000/mm3
ในรายที่มีต่ ากว่า 50,000เซลล์/ลบ.มม.จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการเลือดออกง่ายหยุดยาก
ผลต่อระบบทางเดินอาหาร
ทำให้มีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน แผลในปากและคอ
ในรายที่มีอาการอาเจียนแพทย์จะมีแผนการรักษาให้ยา Onsia (ondansetron) เข้าทางหลอดเลือดดำ
ต้องดูแลป้องกันการติดเชื้อในช่องปากด้วย
โดยการให้ผู้ป่วยบ้วนปากด้วย 0.9%NSS อย่างต่อเนื่องทุกครั้งหลังรับประทานอาหารหรืออาจจะทุก 2 ชั่วโมงในรายที่มีแผลในปาก
ให้ผู้ป่วยรับประทาน LowBacterial diet คืออาหารที่สุกสะอาดและปรุงเสร็จใหม่ๆ
ผลต่อระบบผิวหนัง
ทำให้ผมร่วง หลังจากได้ยาไปแล้ว 2-3 สัปดาห์และจะงอกขึ้นมาใหม่หลังหยุดยา
ลักษณะผมที่ขึ้นมาใหม่จะไม่เหมือนเดิม สี ความหนา ความยืดหยุ่น จะ
เปลี่ยนไป
ระบบทางเดินปัสสาวะ
การตกตะกอนของยาเคมีบำบัดทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบCystitis
ดังนั้นผู้ป่วยจะต้องได้รับน้ำที่มากพอทางหลอดเลือดดำและทางปาก ต้องปรับปรับให้ปัสสาวะมีฤทธ์เป็นด่าง
โดยให้โดยให้7.5% NaHCO3
ติดตามค่าsp.gr ให้ต่ ากว่า 1.010 และค่า PH ของปัสสาวะสูงกว่า 6.5-7 (สภาพความเป็นด่าง)
ตับ
ยาเคมีบำบัดส่วนใหญ่จะถูกย่อยสลายที่ตับและยาเคมีบำบัดบางชนิดมีฤทธิ์ทำลายตับ
จะหายเป็นปกติได้ภายใน 2-3 สัปดาห์หลังจากได้รับยาเคมี
โดยผู้ป่วยอาจมีอาการต่อไปนี้ตัวตาเหลือง , อ่อนเพลีย, ปวดชายโครงด้านขวา, ท้องโตขึ้นหรือเท้าบวม
การวางแผนการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด
1.การดูแลผู้ป่วยหลังได้รับยาเคมีบำบัดผ่านเข้าทางช่องไขสันหลัง( Intrathecal:IT)
ซึ่งการให้ยาทางหลอดเลือดดำไม่สามารถเข้าไปถึงได้
หลังให้ยาต้องจัดให้ผู้ป่วยนอนราบ 6-8 ชั่วโมงเพื่อป้องกันการเกิด Herniation ของสมอง
แนะนำญาติดูแลไม่ให้ผู้ป่วยลุกขึ้นนั่งในช่วงเวลาที่กำหนด
นอกจากนี้การให้ยาแพทย์จะต้องนำน้ำไขสันหลังออกเท่ากับจำนวนยาที่ใส่เข้าไป โดยนับหยดน้ำไขสันหลัง 15 หยดต่อ 1 ซีซี
การดูแลป้องกันการเกิดแผลในปาก
เยื่อบุช่องปากถูกทำลายด้วยยาเคมีบำบัด
การดูแลจึงต้องเน้นเรื่องการรักษาความสะอาดโดยให้บ้วนปากด้วย 0.9%NSS
จะไม่แปรงฟันถ้าเกร็ดเลือดต่ำกว่า 50,000 cell/cu.mm
แต่ถ้าเกร็ดเลือดเกินกว่านี้สามารถแปรงฟันได้ แต่ต้องใช้แปรงสีฟันที่อ่อนนุ่ม
การดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยา ต้องดูแลอย่างถูกวิธี
ให้ผู้ป่วยอมไว้ ประมาณ 2-3 นาทีและบ้วนทิ้งไม่ควรกลืนเนื่องจากมียาชาเป็นส่วนผสม
ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับยาฆ่าเชื้อราในปาก Nystatin oral ต้องดูแลให้ผู้ป่วยเด็กอมยาไว้ในปาก 2-3 นาทีเช่นกัน
ไม่ต้องให้น้ าตาม (เพื่อให้ยาค้างในช่องปากนานๆ)
ต้องให้หลังให้นมเพราะถ้าให้ก่อนให้นม เด็กดูดนมยาก็จะไปกับนมไม่ค้างในปาก
รับประทานอาหารที่สุกใหม่
Low Bacterial Dietโดยให้มีคุณค่าครบถ้วน แคลอรีและโปรตีนสูง
ดื่มนมที่ผลิตด้วยวิธีสเตอริไลส์ และยูเอช ที UHT แทนการดื่มนมพลาสเจอร์ไลด์
4.การดูแลปัญหาซีด
ผู้ป่วยเด็กที่ได้รับยาเคมีบำบัดจะเกิดภาวะแทรกซ้อนคือไขกระดูกถูกกด
มีผลต่อการสร้างเม็ดเลือดทำให้เม็ดเลือดลดน้อยลงถ้าเม็ดเลือดแดงลดลงผู้ป่วยจะมีภาวะซีด
แพทย์จะมีแผนการรักษาคือ
การให้เลือด(Pack Red Cell) จึงต้องดูแลผู้ป่วยขณะให้เลือด
ติดตามประเมิน V/S อย่างต่อเนื่อง ทุก 15 นาที 4 ครั้ง หลังจากนั้นทุก 1⁄2 ชั่วโมงจนกว่าจะ Stable
ก่อนให้เลือดแพทย์จะให้ยา Pre-med คือ PCM CPMและ lasix ต้องดูแลให้เลือดหมดโดยใช้เวลา 3-4 ชั่วโมง
หลังจากนั้นติดตามค่า Hct หลังให้เลือด หมดแล้ว 4ชั่วโมง
แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีโปรตีนและธาตุเหล็กสูง
ต้องเฝ้าระวังภาวะชักจากความดันสูง(HCC syndrome : Hypertensive convalsion cerebral hemorrhage syndrome)
การดูแลป้องกันเลือดออกง่ายหยุดยาก
เนื่องจากการสร้างเกร็ดเลือดลดลง
ผู้ป่วยจึงเสี่ยงเลือดออกง่ายหยุดยา
แพทย์อาจมีแผนการรักษา
ให้ Platlet concentration หลักการให้คือให้หมดภายใน 1⁄2 -1 ชั่วโมงเนื่องจากมี half life สั่น
การให้จึงต้องให้หยดแบบ free flow
Tumorlysis Syndrome : TLS
เกิดจากการสลายของเซลล์มะเร็งจำนวนมากอย่างรวดเร็ว
การสลายของเซลล์มะเร็ง เหล่านี้ทำให้เกิดการปลดปล่อยส่วนประกอบของเซลล์ออกมาเช่น กรดนิวคลีอิก โพแทสเซียม และฟอสฟอรัสเข้าสู่กระแสเลือดอย่างมากภายในระยะเวลาสั้นๆ
จึงก่อให้เกิดกลุ่มความผิดปกติทางเมตาบอลิก
ความผิดปกติของ electrolyte ที่พบบ่อยได้แก่
1.ภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง
มักพบในช่วง 12-24 ชั่วโมงหลังการได้รับการรักษาโรคมะเร็ง
เนื่องจากเป็นภาวะที่ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะและเสียชีวิต
2.ภาวะฟอสเฟตในเลือดสูง
มักพบในช่วง 24-48 ชั่วโมงหลังการได้รับการรักษาโรคมะเร็ง
สาเหตุที่เกิดภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำตามมา ส่งให้เกิดการชักเกร็ง (tetany)หัวใจเต้นผิดจังหวะและชักได้
3.ภาวะกรดยูริกในเลือดสูง
มักพบในช่วง 48 – 72 ชั่วโมงหลังการได้รับการรักษาโรคมะเร็ง
กรดยูริกยังสามรถเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันจากกลไกอื่นอีกด้วย
สาเหตุ และ ปัจจัยเสี่ยงของการเกิด TLS
เกิดขึ้นบ่อยที่สุดระหว่างการรักษามะเร็งด้วยยาเคมีบำบัด (chemotherapy)
อาจเกิดขึ้นเองก็ได้ TLS เกิดขึ้นบ่อยที่สุดในผู้ป่วยที่มีปริมาณเซลล์มะเร็ง
จำนวนมาก
มะเร็งชนิดที่มีความไวต่อเคมีบำบัด
อาการและอาการแสดง
มักพบอาการทางระบบทางเดินอาหาร ภาวะกรดยูริกในเลือดสูงอาจพบภาวะง่วงซึม
อาการและอาการแสดงของภาวะทางเดินปัสสาวะอุดตัน (obstructive uropathy) หรือไตวาย ภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง
อาจพบอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ชา (paresthesia) หัวใจเต้นผิดจังหวะ
ภาวะฟอสเฟตในเลือดสูงและภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำอาจพบกล้ามเนื้อตะคริว ชักเกร็ง ชัก ไตวาย และหัวใจเต้นผิดจังหวะ
การวินิจฉัย
ปัจจุบันไม่มีเกณฑ์การวินิจฉัย TLS ที่เป็นมาตรฐานทั่วไป
TLS วินิจฉัยจากอาการทางคลินิก ร่วมกับผลการตรวจทางห้องปฎิบัติการ
ภาวะ Febrile neutropenia
ภาวะที่ผู้ป่วยมีจำนวนของเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิล (neutrophil)น้อยกว่า 500 เซลล์/ลบ.มม.หรือมีANC น้อยกว่า 1000 เซลล์/ลบ.มม.
แต่มีแนวโน้มว่าจะลดลงจนน้อยกว่า 500 เซลล์/ลบ.มม.
จึงทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น
อาจจะเกิดขึ้นได้จากโรคมะเร็งเองพบได้ในผู้ป่วยลิวคีเมีย (acute leukemia)
สาเหตุ
อาจจะเกิดขึ้นได้จากโรคมะเร็งเองพบได้ในผู้ป่วยลิวคีเมีย (acute leukemia) ที่มีเซลล์มะเร็งในกระแสเลือดมากมีผลให้จำนวนเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลลดลง
การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดซึ่งมีฤทธิ์กดการทำงานของไขกระดูกหรือการฉายรังสีที่มีปริมาณสูงหรือผลของทั้ง 2 อย่างร่วมกัน
อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วภายใน 1-2วันหลังจากการรักษายาเคมีบำบัดที่มีผลเกี่ยวข้องกับการกดไขกระดูกที่นำไปสู่ภาวะนิวโทรพีเนีย(neutropenia)
อาการและอาการแสดงของการติดเชื้อ
บวมแดงหรือมีหนองบ่อยครั้งที่ไข้เป็นอาการเพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่แสดงว่ามีการติดเชื้อ
การใช้ยาต้านเชื้อรา (antifungal therapy)
มีโอกาสเกิด systemic fungal infectionสูง ดังนั้นผู้ป่วยที่มี febrile neutropenia นานกว่า 5 วันและไม่มีแนวโน้มที่ภาวะนิวโทรพีเนียจะดีขึ้น
แพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านเชื้อรา
amphotericin B ซึ่งถึงแม้ว่าจะให้ผลดีในการรักษาเชื้อรา
ผลข้างเคียงของยา
พิษต่อไต ทำให้ creatinine ในเลือดสูงขึ้น
เกิดโรคไตผิดปกติในการขับกรด
มีไข้ หนาว สั่น คลื่นไส้/อาเจียน ความดันโลหิตต่ำ ชัก ระดับโปตัสเซียมและแมกนีเซียมในเลือดต่ำ
การใช้ granulocyte colony-stimulating factor(G-CSF)
อาจจะช่วยลดระยะเวลาของการเกิดภาวะนิวโทรพีเนีย
ช่วยให้มีการผลิตเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิล ได้เร็วกว่าที่ร่างกายจะผลิตได้เอง
ผลข้างเคียงที่พบบ่อยในระหว่างที่ได้รับยาคือ
อาการปวดกระดูก (bone pain)ซึ่งจะเริ่มต้นใน2-3 วันหลังจากการให้ G-CSF