Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลด้านจิตสังคมสำหรับ ผู้ประสบสาธารณภัย,…
การพยาบาลด้านจิตสังคมสำหรับ
ผู้ประสบสาธารณภัย
การช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤตของทีม MCATT
ระยะเตรียมการ
เป็นระยะการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์วิกฤตต่างๆ อย่างทันท่วงที
จัดเตรียมทีมเพื่อปฏิบัติงานให้การช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต
มีการฝึกอบรมเกี่ยวกับการช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบ ภาวะวิกฤต
การให้การปฐมพยาบาลทางจิตใจ (Psychological First Aid : PFA)
การช่วยเหลือ ทางจิตใจและสังคมในภาวะวิกฤต (Crisis Intervention)
การบำบัดทางพฤติกรรมความคิด (Cognitive Behavior Therapy : CBT)
การช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตตามแบบ Satir
การใช่แบบประเมิน/ แบบคัดกรองภาวะสุขภาพจิตทั้งเด็กและผู้ใหญ่
ระยะวิกฤตและฉุกเฉิน
ระยะวิกฤต (ภายใน 72 ชั่วโมงแรกหลังเกิดเหตุ)
ผู้ประสบภาวะวิกฤตจะมีการตื่นตัวทาง สรีระและพฤติกรรม
เกิดความเครียด หวาดผวา หวาดกลัว ช็อก วิตกกังวล สับสน
ผู้ประสบภาวะวิกฤตจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
การช่วยเหลือจะมุ่งให้ความช่วยเหลือเฉพาะหน้า
เน้นการช่วยเหลือตามสภาพความเป็นจริงทั้งด้านร่างกาย ความต้องการพื้นฐาน
ระยะฉุกเฉิน (72 ชั่วโมง - 2 สัปดาห์)
กลุ่มเป้าหมายจะพิจารณาตามความรุนแรง
กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบหลังประสบภาวะวิกฤต
กลุ่มผู้สูงอายุและเด็ก
กลุ่มผู้ป่วยที่มีประวัติการรักษาทางจิตเวชหรือใช้สารเสพติด
กลุ่มผู้พิการและเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มผู้สูญเสียบุคคลในครอบครัว/ทรัพย์สิน
กลุ่มผู้ที่ต้องการบริการด้านสุขภาพจิต
การดูแลช่วยเหลือ
ลงพื้นที่ร่วมกับทีมให้การช่วยเหลือทางกายเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสุขภาพจิตและกำหนด พื้นที่ที่จะลงไป ช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
คัดกรองและค้นหากลุ่มเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต โดยใช้เวชระเบียนสำหรับผู้ประสบภาวะ วิกฤต/ภัยพิบัติ
(ผู้ใหญ่และเด็ก) และให้การปฐมพยาบาลด้านจิตใจ
สำรวจความต้องการช่วยเหลือทั้งด้านร่างกายและจิตใจ และการให้การช่วยเหลือเยียวยา จิตใจ โดยใช้วิธีให้การปฐมพยาบาลด้านจิตใจ (PFA)
กรณีพบความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิต ให้จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงและวางแผนการ
ติดตามต่อเนื่อง
สรุปรายงานสถานการณ์เบื้องต้นพร้อมทะเบียนกลุ่มเสี่ยง
วางแผนในการให้ความช่วยเหลือได้ตรงกับความต้องการของผู้ประสบภัย
การปฐมพยาบาลทางจิตใจ
วิธีการประเมินผู้ได้รับผลกระทบ (Assessment: A)
ประเมินและตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกาย
ได้รับบาดเจ็บทางด้านร่างกายต้องบรรเทาความเจ็บปวดด้วยการให้ยา
อาการอ่อนเพลีย ควรจัดหานํ้าให้ดื่มหาอาหารให้รับประทาน
เป็นลม ควรจัดหายาดมแอมโมเนีย ผ้าเย็นเช็ดหน้าและแขน
หากอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย เช่น มีเศษแก้วตกอยู่ ให้เคลื่อนย้าย ผู้ประสบภาวะวิกฤตไปอยู่ในที่ปลอดภัย
การประเมินสภาพจิตใจ
ภาวะช็อกและปฏิเสธ
การดูแลทางจิตใจ ให้ผู้ประสบภาวะวิกฤตได้ระบายความรู้สึก และใช้เทคนิคการสัมผัสตามความเหมาะสม เพื่อให้เกิดความรู้สึกอบอุ่น และความปลอดภัย
การช่วยเหลือทางสังคม สอบถามความต้องการเร่งด่วนของผู้ประสบภาวะวิกฤต ให้ความช่วยเหลือตามความต้องการอย่างรีบเร่ง
การดูแลทางกาย โดยให้อยู่ในสถานที่ที่สงบ รู้สึกปลอดภัย เตรียมนํ้า ยาดม ให้นั่งหรือนอนราบ คลายเสื้อผ้ากรณีที่ผู้ประสบภาวะวิกฤตเป็นลมหรือหายใจไม่ออก
ภาวะโกรธ
การดูแลทางกาย โดยให้อยู่ในสถานที่ปลอดภัย ให้มีการดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่รุกเข้าไป จัดระยะห่างที่เหมาะสมระหว่างผู้ประสบภาวะวิกฤต
การดูแลทางใจ โดยให้ระบายความรู้สึกโดยใช้ทักษะการฟังอย่างตั้งใจ และพูดสะท้อนอารมณ์
ภาวะต่อรอง
สนองความต้องการในสิ่งที่สามารถให้ได้
การให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ที่เป็นจริงตามความเหมาะสม
อดทน รับฟัง ไม่แสดงอาการท่าทางเบื่อหน่าย
ทักษะการประเมินอารมณ์ ความรู้สึกผู้ประสบภาวะวิกฤตและทักษะการบอกข่าวร้าย
ภาวะเสียใจ
การช่วยเหลือทางกาย โดยหาผ้าเช็ดหน้า นํ้าเย็น ผ้าเย็น ในรายที่มีอาการหายใจไม่ออก อาจใช้การฝึกหายใจแบบ Breathing Exercise หรือใช้การสัมผัส (Touching)
การประเมินภาวะฆ่าตัวตาย
ประเมินความต้องการทางสังคม
หากไร้ญาติขาดมิตร ประสานกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ ด้านที่พักอาศัย หรือสถานสงเคราะห์ มูลนิธิ หรือวัดเพื่อหาที่พักพิงชั่วคราวให้
ต้องการความช่วยเหลอืด้านการเงิน ทุนการศึกษา ให้ติดต่อหน่วยงาน ที่ เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประจำจังหวัด ฯลฯ
หากต้องการพบญาติ หรือครอบครัวให้ติดต่อประสานโดยการโทรศัพท์
วิธีการเรียกขวัญคืนสติลดความเจ็บปวดทางใจเสริมสร้างทักษะ (Skills: S)
ทักษะการ Grounding
การนวดสัมผัส และ การนวดกดจุดคลายเครียด
Touching skill (การสัมผัส)
การลดความเจ็บปวดทางใจ
การฟังอย่างใส่&ใจ
การสะท้อนความรู้สึก
การเงียบ
การทวนซ้ำ
การฝึกกำหนดลมหายใจ (Breathing exercise)
การเสริมสร้างทักษะ
วิธีการสร้างสัมพันธภาพและการเข้าถึงจิตใจของผู้ได้รับผลกระทบ (Engagement: E)
การสร้างสัมพันธภาพ
ควรมีท่าทีสงบนิ่ง มีการแนะนำตัวเอง มีการมองหน้าสบตา รับฟังด้วยท่าทีที่สงบให้กำลังใจ ด้วยการพยักหน้า การสัมผัส
ไม่ยิ้มในขณะที่อีกฝ่ายเศร้าแม้จะยิ้มเพื่อให้กำลังใจก็ตาม
ไม่พยายามฝืนความรู้สึกของผู้ประสบเหตุการณ์วิกฤตเมื่อเขายังไม่พร้อม
การสื่อสาร
ควรเริ่มพูดคุยเบื้องต้นเมื่อผู้ประสบเหตุการณ์วิกฤตมีความพร้อม
การสังเกตภาษาท่าทางและพฤติกรรม
Verbal : พูดสับสน ไม่รู้เรื่อง ด่าทอ ร้องขอความช่วยเหลือ
Nonverbal :สีหน้าแววตา ท่าทาง การเคลื่อนไหวของร่างกาย
วิธีการให้สุขภาพจิตศึกษาและข้อมูลที่จำเป็น (Education)
เติมเต็มความรู้
ติดตามต่อเนื่อง
ตรวจสอบความต้องการ
นางสาวธัญญารัตน์ ศรีโชคสิทธิกุล 6001210118 เลขที่ 5 Sec.A