Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หลักการสัมภาษณ์และประวัติทางจิตเวชวิธีการตรวจและประเมินสภาพจิตเบื้องต้น,…
หลักการสัมภาษณ์และประวัติทางจิตเวชวิธีการตรวจและประเมินสภาพจิตเบื้องต้น
วิธีการสัมภาษณ์ประวัติทางจิตเวช
การสัมภาษณ์ทางจิตเวช (Psychiatricinterview) คือวิธีการในการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยเพื่อนำมาวิเคราะห์สาเหตุหรือปัญหาทางจิตเวช
วิธีการเริ่มต้นการสัมภาษณ์ และข้อควรปฏิบัติในการสัมภาษณ์ทางจิตเวช
กล่าวทักทายผู้ป่วย แนะนำตนเอง
แสดงท่าทีเป็นมิตรแสดงความเห็นใจ จริงใจ และชี้แจงจุดมุ่งหมายการสัมภาษณ์
การสัมภาษณ์ควรมีความเป็นส่วนตัว ไม่มีสิ่งรบกวน
สังเกตอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด และพฤติกรรมของผู้ป่วย
ระหว่างการสัมภาษณ์ ถ้าผู้ป่วยมีท่าทีวิตกกังวล หรืออึดอัดควรใช้เทคนิคการถามและเปิดโอกาสให้แสดงความรู้สึก
การซักประวัติทางจิตเวช (Psychiatric history -taking)
ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วย
ชื่อ
อายุ
เชื้อชาติ
สัญชาติ
ศาสนา
สถานภาพสมรส
จำนวนบุตร
การศึกษา อาชีพ
อาการสำคัญ
อาการหรือปัญหาสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลเหตุผลในการมาโรงพยาบาล (Referal reason)ผู้ป่วยอาจตัดสินใจมาด้วยตนเองหรือได้รับคำแนะนำจากผู้อื่นหรือผู้ป่วยทราบเหตุผลในการที่ผู้อื่นนำผู้ป่วยมาโรงพยาบาลหรือไม่ความรู้สึกของผู้ป่วยต่อการมาโรงพยาบาลว่าเขาพอใจหรือไม่และเพราะเหตุใด พยาบาลควรเห็นใจและยอมรับความรู้สึกของผู้ป่วยควรอธิบายเพิ่มเติมให้เข้าใจในปัญหาของเขา
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน
สัมภาษณ์ และบันทึกประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบันโดยเรียงลำดับตั้งแต่เกิดอาการครั้งแรกจนถึงวันที่ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลในครั้งนี้พยาบาลซักถามเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพของผู้ป่วยความรู้ตัวของผู้ป่วยต่อการเปลี่ยนแปลงของตนเองและความสัมพันธ์กับผู้อื่น ผู้ป่วยเคยมีปัญหาเช่นเดียวกันนี้มาก่อนหรือไม่หรือมีปัญหาอื่นที่แตกต่างกันและผู้ป่วยแก้ไขอย่างไร
ประวัติครอบครัว
ประวัติครอบครัวของผู้ป่วยเป็นข้อมูลที่สำคัญที่ทำให้มีความเข้าใจลักษณะความเป็นอยู่ของผู้ป่วยกับบุคคลใกล้ชิดควรบันทึกลำดับบุคคลในครอบครัวที่ผู้ป่วยกล่าวถึงก่อนหลังตลอดจนท่าทีและอารมณ์ขณะที่ผู้ป่วยเล่าถึงบุคลนั้นๆด้วย
การชี้แจงเกี่ยวกับการสัมภาษณ์
แนะนำตนเอง และให้ข้อมูล เกี่ยวกับการถามประวัติ การตรวจสภาพจิต การตรวจร่างกายและแผนการบำบัดรักษาทางการพยาบาลให้ผู้ป่วยทราบ
การตรวจและประเมินสภาพจิตเบื้องต้น
การตรวจสภาพจิต (Mental status Examination)
ลักษณะทั่วไป
สัมภาษณ์ควรสังเกตรูปร่าง สีหน้า ท่าทาง การแต่งกายท่าทีต่อการถูกสัมภาษณ์ พฤติกรรมที่มากหรือน้อยกว่าปกติพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และอาการแสดงที่บ่งลักษณะของผู้ป่วย
การพูด
ลักษณะการพูดของผู้ป่วยจะแสดงถึงกระแสความคิดผู้สัมภาษณ์ควรสังเกตว่าผู้ป่วยพูดมากหรือน้อย พูดช้าหรือเร็ว มีจังหวะที่เหมาะสมหรือไม่
อารมณ์พื้นฐาน และอารมณ์ที่แสดงออก
อารมณ์พื้นฐาน (Mood) หมายถึงอารมณ์โดยรวมที่มีอยู่ในช่วงที่ผ่านมา เช่น เศร้า เซ็งอารมณ์พื้นฐาน
จะได้จาการซักถามผู้รับบริการไม่ใช่จากการสังเกต
อารมณ์ที่แสดงออก (Affect) หมายถึงอารมณ์ที่มักถูกสังเกตได้ทางสีหน้า ซึ่งอาจร่วมกับแววตาน้ำเสียงในการพูดคุย ท่าทาง
ความคิด (Thought) มี 2 องค์ประกอบที่ต้องประเมิน
กระบวนการ หรือรูปแบบของความคิด (Thoughtprocess or Thought form) สิ่งสำคัญที่ผู้ประเมินต้องประเมิน คือกระแสของความคิด (Stream of Thought)ซึ่งประเมินจากความต่อเนื่องกัน (Association)
เนื้อหาความคิด (Thought content) ให้สังเกตว่าถูกต้องมีเหตุมีผล และเหมาะสมหรือไม่ มีลักษณะหลงผิดหรือไม่คำถามเพื่อประเมินความคิดจึงควรเป็นคำถามปลายเปิดกว้างๆซึ่งผู้ใช้บริการจะได้อธิบายความคิดของตนเอง
การรับรู้
Illusions หมายถึงการที่ผู้รับบริการแปลความหมายของประสาทรับรู้เมื่อมีสิ่งกระตุ้นต่างๆผิดไป
Hallucinationsเป็นอาการรับรู้ว่ามีสิ่งกระตุ้นทางระบบสัมผัสต่างๆทั้งที่จริงแล้วไม่มี เช่น หูแว่ว (Auditory Hallucination)เห็นภาพหลอน (Visual Hallucination)
การหยั่งรู้สภาพความเจ็บป่วย (Insight)เป็นระดับของการรู้ตัวและเข้าใจเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของตัวผู้ใช้บริการเองผู้ตรวจควรทราบว่าผู้ใช้บริการเข้าใจสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นหรือไม่ว่าทำไมจึงเกิด อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด
การตัดสินใจ (Judgment)ประเมินว่าผู้ใช้บริการตัดสินใจเหมาะสมหรือไม่ประกอบด้วยเหตุผลเพียงไร
และผู้ใช้บริการประพฤติตามที่ตัดสินใจนั้นได้เพียงใด
การรู้เวลา สถานที่และบุคคล
เวลา (Time) เช่น ถามเวลา รวมทั้งวัน วันที่ เดือน ปี
สถานที่ (Place) เช่น ถามชื่อโรงพยาบาล
บุคคล (Person) โดยถามชื่อผู้ใช้บริการถามชื่อและความสัมพันธ์ของผู้ใช้บริการกับคนที่ผู้ใช้บริการคุ้นเคย ซึ่งอยู่ในสถานที่นั้น
ความจำ
ความจำระยะสั้น (Recent memory)การจำเหตุการณ์ต่างๆที่เพิ่งผ่านมาภายใน 1- 3 วันได้
ความจำในอดีต (Remote memory)จำเหตุการณ์ในอดีตที่ผ่านมา เช่น ประวัติสถานที่เกิด
ประวัติส่วนตัว การศึกษา
การเรียกคืนความจำ
-ความคิดเชิงนามธรรม
-ความตั้งใจ และสมาธิ
นางสาวนฤมล คำหล่า 61122230046 เลขที่ 41
นางสาวธนิษฐา เหมพลเทพ 61122230047 เลขที่ 42