Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หลักการสัมภาษณ์ประวัติทางจิตเวช วิธีการตรวจ และประเมินสภาพจิตเบื้องต้น,…
หลักการสัมภาษณ์ประวัติทางจิตเวช วิธีการตรวจ
และประเมินสภาพจิตเบื้องต้น
จุดมุ่งหมายของการตรวจสภาพจิต
การตรวจสภาพความคิดจิตใจด้านต่างๆของผู้ป่วยขณะทำการสัม
ภาษณ์ และประเมินความรุนแรงของอาการแล้วนำไปพิจารณาประกอบกับ ข้อมูลที่ได้จากการซักประวัติ เพื่อดำเนินการวินิจฉัยทางการพยาบาลต่อไป
การตรวจสภาพจิต (Mental status Examination)
3.5 การรับรู้ (Perception)
Illusions หมายถึง การที่ผู้รับบริการแปลความหมายของประสาทรับรู้เมื่อมีสิ่งกระตุ้น ต่างๆผิดไป
Hallucinations เป็นอาการรับรู้ว่ามีสิ่งกระตุ้นทางระบบสัมผัสต่างๆ ทั้งที่จริงแล้วไม่มี เช่น หูแว่ว (Auditory Hallucination) เห็นภาพหลอน (Visual Hallucination) ฯลฯ
3.6 การหยั่งรู้สภาพความเจ็บป่วย (Insight)
เป็นระดับของการรู้ตัวและเข้าใจเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของตัวผู้ใช้บริการเองผู้ตรวจควรทราบว่าผู้ใช้บริการเข้าใจสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นหรือไม่ว่า
ทำไมจึงเกิด อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด ผู้ใช้บริการเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ ผู้ใช้บริการอาจปฏิเสธความเจ็บป่วยโดยสิ้นเชิง หรืออาจรู้ตัวว่าป่วยแต่โทษว่าเป็นความผิดของคนอื่น
3.4 ความคิด (Thought)
มี 2 องค์ประกอบที่ต้องประเมิน คือ
กระบวนการ หรือรูปแบบของความคิด (Thought process or Thought form) สิ่งสำคัญที่ผู้ประเมินต้องประเมิน คือ กระแสของความคิด (Stream of Thought) ซึ่งประเมินจากความต่อเนื่องกัน (Association) การพูดที่มีเนื้อหาน้อย (Poverty of Content of speech) การพูดแบบเฉียดๆ (Tangentially) การพูดหรือตอบไม่ตรงคำถาม (Irrelevant)
เนื้อหาความคิด (Thought content) ให้สังเกตว่าถูกต้อง มีเหตุมีผล และเหมาะสมหรือไม่ มีลักษณะหลงผิดหรือไม่ คำถามเพื่อประเมินความคิดจึงควรเป็นคำถามปลายเปิดกว้างๆ ซึ่งผู้ใช้บริการจะได้อธิบายความคิดของตนเอง
3.7 การตัดสินใจ (Judgment)
ประเมินว่าผู้ใช้บริการตัดสินใจเหมาะสมหรือไม่ ประกอบด้วยเหตุผลเพียงไร และผู้ใช้บริการประพฤติตามที่ตัดสินใจนั้นได้เพียงใด การตัดสินใจและการกระทำเป็นที่ ยอมรับของสังคม และเหมาะสมกับประเพณี หรือวัฒนธรรมหรือไม่ การตัดสินใจใช้เหตุผลหรือใช้อารมณ์
3.3 อารมณ์พื้นฐาน และอารมณ์ที่แสดงออก (Mood and
affect)
อารมณ์พื้นฐาน (Mood) หมายถึง อารมณ์โดยรวมที่มีอยู่ในช่วงที่ผ่านมา เช่น เศร้า เซ็ง อารมณ์พื้นฐาน จะได้จาการซักถามผู้รับบริการไม่ใช่จากการสังเกต
อารมณ์ที่แสดงออก (Affect) หมายถึง อารมณ์ที่มักถูกสังเกตได้ทางสีหน้า ซึ่งอาจร่วมกับแววตา น้ำเสียงในการพูดคุย ท่าทาง และการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้รับบริการ เช่น สงบ (Calm) รื่นเริง(Elated) กังวล (Anxiety) หงุดหงิด (Irritable)
3.8 การรู้เวลา สถานที่และบุคคล (Orientation)
เวลา (Time) เช่น ถามเวลา รวมทั้งวัน วันที่ เดือน ปี
สถานที่ (Place) เช่น ถามชื่อโรงพยาบาล
บุคคล (Person) โดยถามชื่อผู้ใช้บริการ
ถามชื่อและความสัมพันธ์ของผู้ใช้บริการกับคนที่ผู้ใช้บริการคุ้นเค
ย ซึ่งอยู่ในสถานที่นั้น
3.2 การพูด (Speech)
ลักษณะการพูดของผู้ป่วยจะแสดงถึงกระแสความคิด ผู้สัมภาษณ์ควรสังเกตว่าผู้ป่วยพูด มากหรือน้อย พูดช้าหรือเร็ว มีจังหวะที่เหมาะสมหรือไม่ สังเกตความต่อเนื่องของความคิดว่า มีการขาดหายเป็นท่อนๆ มีการหยุดโดยฉับพลันหรือพูดไม่ปะติดปะต่อ (loosening of association) การพูดอ้อมค้อม หรือพูดออกนอกเรื่องหรือไม่ ผู้ป่วยบางรายพูดแล้วฟังไม่รู้เรื่องเนื่องจากขาดความต่อเนื่องของความคิดมาก (Incoherence)บางรายอาจพูดไม่ตรงประเด็น
(Irrelevant)
3.9 ความจำ (Memory)
ความจำระยะสั้น (Recent memory) การจำเหตุการณ์ต่างๆที่เพิ่งผ่านมาภายใน 1- 3 วันได้
ความจำในอดีต (Remote memory) จำเหตุการณ์ในอดีตที่ผ่านมา เช่น ประวัติสถานที่เกิด ประวัติส่วนตัว การศึกษา
การเรียกคืนความจำ (Recall memory) โดยการจำของ 3 สิ่ง ให้ผู้รับบริการพูดทวน แล้วให้กลับมาบอกอีกครั้งเมื่อเวลาผ่านไป 5 นาที
3.1 ลักษณะทั่วไป (General Appearance)
ผู้สัมภาษณ์ควรสังเกตรูปร่าง สีหน้า ท่าทาง การแต่งกาย ท่าทีต่อการถูกสัมภาษณ์ พฤติกรรมที่มากหรือน้อยกว่าปกติ พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และอาการแสดงที่บ่งลักษณะของผู้ป่วย หรือเกิดควบคู่กับอารมณ์บางอย่าง เช่น มือสั่น หลุกหลิก ท่าทีระมัดระวังมาก บรรยายลักษณะท่าทางของผู้ป่วยตามที่เป็นจริงโดยให้มองเห็นภาพของผู้ป่วยได้อย่างชัดเจน
3.10 ความตั้งใจ และสมาธิ (Attention and
Concentration)
การลบเลขทีละ 7 หรือ ทีละ 3 (Serial 7’s or Serial 3’s) เป็นการตรวจดูสมาธิโดยวิธีลบเลขในใจ ออกทีละ 7 จากเลขจำนวน 100 หากผู้ใช้บริการไม่สามารถทำได้อาจใช้การลบเลขออกทีละ 3 จากเลขจำนวน 20 แทน หากผู้รับบริการยังทำไม่ได้อาจใช้วิธีอื่นทดสอบ ได้แก่ การพูดชื่อวันในสัปดาห์โดยให้พูดย้อนหลัง การพูดชื่อเดือนในหนึ่งปีย้อนหลัง
3.11 ความคิดเชิงนามธรรม (Abstract Thinking)
การแปลความหมายของสุภาษิต หรือคำพังเพย (Proverb interpretation) การใช้สุภาษิตมาถามอาจเป็นปัญหาได้ หากเลือกสุภาษิตที่ไม่คุ้นเคย และผู้รับบริการที่ถูกถามซ้ำๆ อาจมีการเรียนรู้และจดจำได้ซึ่งยากต่อการประเมินความสามารถที่แท้จริงโดยรวม
การเปรียบเทียบความเหมือนกันของสองสิ่ง (Similaeities) เป็นการวัดความสามารถในการให้เหตุผลเชิงนามธรรมเพื่อดูว่าผู้รับบริการ สามารถเห็นความเหมือนของสองสิ่งแล้วใส่ในกลุ่มเดียวกันได้หรือไม่ เช่น กล้วยกับส้ม เบียร์กับไวน์ แมวกับหนู
สรุป
การตรวจสุขภาพจิตเป็นการตรวจหาสภาพปัญหาด้านจิตใจที่แท้จริงของผู้รับบริการเพื่อจะได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องตามสภาพปัญหานั้นๆ และการตรวจสภาพจิตจำเป็นต้องอาศัยทักษะการสนทนา การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและสัมพันธภาพที่ดี ระหว่างพยาบาลและผู้ใช้บริการ
นางสาวนฤมล พลสว่าง 61122230032 เลขที่ 29
นางสาวดลนภา สีทอน 61122230033 เลขที่ 30