Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลมารดาที่มีปัญหาสุขภาพในระยะหลังคลอด …
บทที่ 8 การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลมารดาที่มีปัญหาสุขภาพในระยะหลังคลอด
มดลูกกลับสู่สภาพปกติช้า (Subinvolution of uterus)
สาเหตุ
ความตึงตัวของการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกไม่ดี
มีเศษรก หรือเยื่อหุ้มรกค้างในโพรงมดลูก
มีการอักเสบติดเชื้อของเยื่อบุโพรงมดลูก
มารดาหลังคลอดที่ไม่ได้เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา
ในรายที่มีมดลูกคว่ำหลัง หรือคว่ำหน้ามากจนทำให้น้ำคาวปลาไหลไม่สะดวก
ในรายที่มีเนื้องอกของมดลูก ทำให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดี เช่น Fibroids
การวินิจฉัย
ยอดมดลูกยังสูงกว่าระดับกระดูกหัวหน่าวสัมผัสนุ่ม
น้ำคาวปลา สีไม่จางลงภายใน 2 สัปดาห์หลังคลอด
ประวัติถึงอาการผิดปกติในระยะคลอดหรือมีภาวะเลือดออกมาก
อาจมีตกขาว และปวดหลังร่วมด้วยถ้ามีการติดเชื้อในโพรงมดลูก
มักวินิจฉัยได้เมื่อมาตรวจหลังคลอด 4 - 6 สัปดาห์
ความหมาย
เป็นภาวะที่มดลูกหยุดการยุบตัวลง (arrest) หรือมีความผิดปกติของระดับยอดมดลูก ขนาดและลักษณะโดยไม่สามารถกลับสู่สภาพปกติเหมือนก่อนคลอดได้ตามระยะเวลา
การรักษา
ให้ยาปฏิชีวนะถ้ามีการอักเสบของเยื่อบุโพรงมดลูก
ถ้าให้ยาบีบตัวของมดลูกไม่ได้ผล หรือแน่ใจว่าสาเหตุเกิดจากมีรกและเศษเยื่อหุ้มรกค้างในโพรงมดลูกให้ขูดมดลูก
ให้ยาช่วยการบีบตัวของมดลูก นิยมให้ methergin 0.2 มิลลิกรัม รับประทาน วันละ 3 เวลาหลังอาหาร และก่อนนอนนาน 1 - 2 วัน
ภาวะแปรปรวนทางจิตหลังคลอด (Postpartal psychiatric disorder)
โรคประสาทหลังคลอด(postpartum depression)
อาการและอาการแสดง
แสดงออกทางด้านจิตใจ ได้แก่ มีอารมณ์และความรู้สึก ท้อแท้ สิ้นหวัง มองโลก ในแง่ร้าย หดหู่หม่นหมอง วิตกกังวล รู้สึกไร้ค่าไม่มีความหมาย ไม่มีคนต้องการ
สาเหตุ
มารดาหลังคลอดครรภ์แรก เนื่องจากขาดประสบการณ์การเลี้ยงดูบุตร
มารดาที่มีประวัติซึมเศร้าหลังคลอด หรือมีภาวะเจ็บป่วยหลังคลอด
มีความรู้สึกสองฝักสองฝ่ายในการตั้งครรภ์
ขาดการประคับประคองจากญาติ คู่สมรส หรือสังคม
ขาดสัมพันธภาพกับบิดา มารดา หรือ คู่สมรส
มีความรู้สึกขาดความพึงพอใจในตนเอง
มีความเครียดทางจิตใจ เช่น ปัญหาชีวิตสมรส การตั้งครรภ์ไม่พึงปรารถนา
ประสบการณ์การคลอดล าบาก การบาดเจ็บจากการคลอด หรือมีปัญหาในระยะหลังคลอด
มีความเครียดทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ความกังวลในการเลี้ยงดูบุตร ปัญหาเศรษฐกิจ
มีประสบการณ์จากการคลอดในครรภ์ก่อน ๆ ไม่ดี
การรักษา
โดยการให้ยา เช่น Isocarboxazind , Phenelzine , Amitriptyline
การรักษาทางจิต แบบรายบุคคล หรือรายกลุ่ม
การใช้กลุ่มช่วยในการรักษา หรือให้คู่สมรสบุคคลในครอบครัวมีส่วนร่วม
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เพื่อให้หญิงหลังคลอดได้เรียนรู้เกี่ยวกับการลดภาวะเครียด
สนับสนุนและสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองให้แก่หญิงหลังคลอด
โรคจิตหลังคลอด (postpartum psychosis)
สาเหตุ
มารดาที่มีประวัติเป็นโรคจิตหลังคลอด
มีประวัติเป็น manic-depressive ( อาการวิกลจริตสลับกับอาการเศร้าซึม )
มารดาที่มีภาวะเครียดจากการตั้งครรภ์ เช่น ขาดการสนับสนุนทางสังคม ขาดคู่ชีวิต คนสนิท
มารดาที่มีบุคลิกภาพแปรปรวนอยู่ก่อนการตั้งครรภ์
มีประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัวด้วยโรคทางจิตเวช
มีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย
อาการและอาการแสดง
อาการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มีอาการรุนแรงทันที ได้แก่ รู้สึกยุ่งยากใจ กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ
อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย สับสน ไม่มีเหตุผล สมาธิสั้น ตัดสินใจไม่ได้
หวาดระแวง ประสาทหลอน
ความหมาย
เป็นปัญหาทางจิตที่เกิดขึ้นในระยะหลังคลอด ส่วนใหญ่เป็นอาการรุนแรงต่อเนื่อง มาจากภาวะอารมณ์เศร้า และภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ที่ให้การดูแลรักษาล่าช้าเกินไป
การรักษา
การรักษาทางกาย ได้แก่ การให้ยา antipsychotics และยา sedative , การช็อคไฟฟ้า
การรักษาทางจิต ได้แก่ การทำจิตบำบัด
การรักษาโดยการแก้ไขสิ่งแวดล้อม
อารมณ์เศร้าหลังคลอด (postpartum blues)
อาการและอาการแสดง
ร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ มีความรู้สึกวิตกกังวลท้อแท้ ตื่นเต้น
สีหน้าไม่สุขสบาย อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร
อาการจะเป็นอยู่ในช่วงเวลาสั้นๆ หลังคลอดและจะหายเอง
การพยาบาล
ส่งเสริมให้บุคคลในครอบครัวโดยเฉพาะคู่สมรสช่วยให้กำลังใจ
คอยสังเกตและบันทึกอาการด้านอารมณ์ของมารดาหลังคลอด
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลบุตร และตนเองในระยะหลังคลอด
สาเหตุ
ความเครียดทางจิตใจในระยะหลังคลอด
ความเครียดจากสังคมและสิ่งแวดล้อม
การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อ
หญิงหลังคลอดที่มีแนวโน้มในการเกิดภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด
5.1 หญิงที่มีวุฒิภาวะไม่สมบูรณ์ (Immaturity)
5.2 หญิงที่มีความวิตกกังวลสูง (The anxious)
5.3 หญิงที่มีความเป็นคนเจ้าระเบียบ (Perfectionist)
การตั้งครรภ์และการคลอด สรีรวิทยาของร่างกายจากการคลอด การเสียเลือด ความเจ็บปวด ทำให้เกิดภาวะร่างกายอ่อนเพลีย
ปัญหาหัวนมและเต้านม
การติดเชื้อของเต้านม (Mastitis)
การวินิจฉัย
บริเวณเต้านมแดง ร้อน แข็งตึงใหญ่ ปวดเต้านมมาก กดเจ็บ
มีการคั่งของน้ำนม น้ำนมออกน้อยลง มีไข้สูง 38.3 - 40 องศาเซลเซียส
ในกรณีที่หัวนมแตกอาจเกิดการติดเชื้อที่รุนแรงทำให้เป็นฝีที่เต้านมได้
การรักษา
ให้ยาแก้ปวด
ถ้ามีหนองเกิดขึ้นให้ทำ incision and drainage
ตรวจดูอาการและอาการแสดง ส่งเพาะเชื้อจากน้ านมและหัวนม บางครั้ง อาจต้องเพาะเชื้อจากในปากทารกด้วย เพื่อให้ยาปฏิชีวินะตรงตามชนิดของเชื้อ
เมื่อแผลที่หัวนมหายเป็นปกติ ก็เริ่มให้บุตรดูดนม หรือปั๊มน้ำนมได้ และพยายามหลีกเลี่ยงมิให้เกิดอาการบวม
สาเหตุ
การติดเชื้อของเต้านมส่วนมาก ที่พบบ่อยที่สุดเกิดจากเชื้อ staphylococcus aureus เชื้อเข้าทางบาดแผลหรือหัวนมที่แตกโดยมิได้ระมัดระวังเกี่ยวกับเทคนิคปราศจากเชื้อ
หัวนมแตกหรือเป็นแผล
การรักษา
ทายาเพื่อช่วยให้แผลหายดีขึ้น เช่น kamillosan cream , unquentum boric acid , lanolin เป็นต้น
สาเหตุ
การให้บุตรดูดเฉพาะหัวนมโดยไม่ได้ให้เหงือกของทารกกดลงบนลานนม
การให้บุตรดูดนมแต่ละครั้ง เริ่มให้ข้างเดียวกันตลอด จึงทำให้ดูดเป็นเวลานาน
ทารกดูดนมแรงและนานเกินไป ในระยะแรกเริ่มก่อนน้ำนมมา
การดึงหัวนมออกจากปากบุตรไม่ถูกวิธี
Colostrum ที่ถูกบีบออกมา หรือซึมผ่านหัวนมจะแข็งจับปลายหัวนมจนเป็นสะเก็ด การแกะจะทำให้เกิดแผลถลอกขึ้นได้
ปล่อยให้หัวนมเปียกชื้นอยู่ตลอด