Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การปฐมพยาบาลทางจิตใจ (Psychological first Aid: PFA) ด้วยหลักการ EASE -…
การปฐมพยาบาลทางจิตใจ (Psychological first Aid: PFA) ด้วยหลักการ EASE
วิธีการสร้างสัมพันธภาพและการเข้าถึงจิตใจของผู้ได้รับผลกระทบ (Engagement: E)
การสังเกตภาษาท่าทางและพฤติกรรม
Nonverbal
สีหน้า แววตา ท่าทาง การเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น กำมือ ผุดลุกผุดนั่ง น้ำเสียงกรีดร้องหรือแผ่วเบา
Verbal
พูดสับสน ฟังไม่รู้เรื่อง ด่าทอ ร้องขอความช่วยเหลือ พูดซ้ำไปซ้ำมา พูดวกวน
การสร้างสัมพันธภาพ
ผู้ให้การช่วยเหลือควรมีท่าทีสงบนิ่ง มีการแนะนำ มีการมองหน้าสบตา รับฟังด้วยท่าทีที่สงบให้กำลังใจ ด้วยการพยักหน้า การสัมผัส ซึ่งการแสดงออกของควรเหมาะสมกับเหตุการณ์อารมณ์ความรู้สึกและสภาพสังคม
. การสื่อสาร
เริ่มพูดคุยเบื้องต้นเมื่อผู้ประสบเหตุการณ์วิกฤตมีความพร้อม เช่น เริ่มสบตามีท่าทีที่ผ่อนคลาย มีสติรู้ตัว รับรูสิ่งแวดลอมรอบตัวชัดเจนขึ้น โดยเน้นถึงความรู้สึกขณะนั้น เช่น ถามว่า “ตอนนี้รู้สึกเป็นอย่างไรบ้าง”
วิธีการประเมินผู้ได้รับผลกระทบ (Assessment: A)
ประเมินและตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกาย
ได้รับบาดเจ็บทางด้านร่างกายก็ต้องบรรเทาความเจ็บปวดด้วยการให้ยา
มีอาการอ่อนเพลีย ควรจัดหานํ้าให้ดื่ม หาอาหารให้รับประทาน
เป็นลม ควรจัดหายาดมแอมโมเนีย ผ้าเย็นเช็ดหน้าและแขน
อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย เช่น มีเศษแก้วตกอยู่ ให้เคลื่อนย้ายผู้ประสบภาวะวิกฤตไปอยู่ในที่ปลอดภัย
การประเมินสภาพจิตใจ
ผู้ประสบภาวะวิกฤตอยู่ในภาวะช็อกและปฏิเสธ
มึนงง สับสน หลงลืม จำอะไรไม่ได้ ไม่สามารถเชื่อมโยงความคิด การรับรู้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป ไม่ยอมรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
การดูแลทางกาย โดยให้อยู่ในสถานที่ที่สงบ รู้สึกปลอดภัย เตรียมนํ้า ยาดม
การดูแลทางจิตใจ ให้ผู้ประสบภาวะวิกฤตได้ระบายความรู้สึก และใช้เทคนิคการสัมผัสตามความเหมาะสม
การชวยเหลือทางสังคม สอบถามความต้องการเร่งด่วนของผู้ประสบภาวะวิกฤต ให้ความช่วยเหลือ
ผู้ประสบภาวะวิกฤตอยู่ในภาวะโกรธ
การดูแลทางกาย โดยให้อยู่ในสถานที่ปลอดภัย ให้มีการดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่รุกเข้าไป ผู้ให้การช่วยเหลือต้องมีท่าทีสงบนิ่ง ยอมรับพฤติกรรมที่แสดงออกมาของผู้ประสบภาวะวิกฤต
การดูแลทางใจ โดยให้ระบายความรู้สึกโดยใช้ทักษะการฟังอย่างตั้งใจ (Active Listening Skill) และพูดสะท้อนอารมณ์
ผู้ประสบภาวะวิกฤตอยู่ในภาวะต่อรอง
พูดซํ้าๆ หรือพูดคาดคั้น พูดรุกเร้าขอให้ช่วย ขอเข้าไปดู/เยี่ยมญาติ
ทักษะการช่วยเหลือ
อดทน รับฟัง ไม่แสดงอาการท่าทางเบื่อหน่าย
สนองความต้องการในสิ่งที่สามารถให้ได้
การให้ขอมูลที่ถูกต้อง ที่เป็นจริงตามความเหมาะสม
ทักษะการประเมินอารมณ์
ความรู้สึกผู้ประสบภาวะวิกฤตและทักษะการบอกข่าวร้าย
ผู้ประสบภาวะวิกฤตอยู่ในภาวะเสียใจ
การช่วยเหลือทางกายทำได้โดยหาผ้าเช็ดหน้า นํ้าเย็น ผ้าเย็น ในรายที่มีอาการหายใจไม่ออก อาจใช้การฝึกหายใจแบบ Breathing Exercise หรือใช้การสัมผัส (Touching)
การประเมินภาวะฆ่าตัวตาย
ตัวชี้วัด
ผู้ประสบภาวะวิกฤตรับฟังมากขึ้น ยอมรับข้อมูล
อารมณ์สงบ
ลดเงื่อนไขในการต่อรองลง อาจต่อรองในสิ่งที่มีความเป็นไปได้มากขึ้น ยอมรับความจริงมากขึ้น
หลังจากผู้ประสบภาวะวิกฤตยอมรับความจริงมีอารมณ์สงบลง อาจมีการหดหู่ ท้อแท้ ไม่มีกำลังใจ อาจเข้าสู่อาการภาวะซึมเศร้าได้
ประเมินความต้องการทางสังคม
ผู้ประสบภาวะวิกฤตต้องการพบญาติ หรือครอบครัวให้ติดต่ิอประสานโดยการโทรศัพท์
ผู้ประสบภาวะวิกฤตไร้ญาติขาดมิตร ประสานกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ ด้านที่พักอาศัย
ผุ้ประสบภาวะวิกฤตต้องการความช่วยเหลือด้านการเงิน ทุนการศึกษา ให้ติดต่อหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง
วิธีการเรียกขวัญคืนสติลดความเจ็บปวดทางใจเสริมสร้างทักษะ (Skills: S)
การฝึกกำหนดลมหายใจ (Breathing exercise) เพื่อให้เกิดความผ่อนคลายทางอารมณ์
Touching skill (การสัมผัส) ทำให้รู้สึกอบอุ่นใจ รู้สึกปลอดภัยมีที่พึ่งพา
ทักษะการ Grounding การใช้การ Grounding คือ การช่วยให้ผู้ประสบเหตุการณ์วิกฤตที่มี
อารมณ์ท่วมทัน (overwhelmed feeling) กลับมาอยู่กับความเป็นจริง
การนวดสัมผัส และ การนวดกดจุดคลายเครียด นอกจากจะเป็นการลดความเครียด ผ่อนคลายกล้ามเนื้อแล้ว การสัมผัสยังเสริมสร้างความรู้สึกอบอุ่นใจ มั่นคงปลอดภัย
การลดความเจ็บปวดทางใจ
การฟังอย่างใส่ใจ (Active Listening)
การสะท้อนความรู้สึก
การเงียบ
การทวนซ้ำ
การเสริมสร้างทักษะ การเรียนรู้ การเสริมสร้าง Coping skills สามารถช่วยลดความกังวล เช่น การคุยและใช้เวลาคุยกับคนอื่น พักผ่อนเพียงพอ ทํากิจกรรมที่มีความสุข
หลีกเลี่ยงกิจกรรมทางลบ เช่น การดื่มสุรา
วิธีการให้สุขภาพจิตศึกษาและข้อมูลที่จำเป็น (Education)
ต.1 ตรวจสอบความต้องการ
ถามถึงข้อมูลและตรวจสอบความต้องการช่วยเหลือที่จำเป็นและเร่งด่วน เพื่อวางแผนสนับสนุนแหล่งข้อมูลการช่วยเหลือด้านสังคม ด้านจิตใจ หรือด้านการแพทย์ต่อไป
ต.2 เติมเต็มความรู้
ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้นจากความเครียด และผลกระทบทางจิตใจ พร้อมทั้งบอกวิธีการปฏิบัติตัวเพื่อลดความเครียด แหล่งช่วยเหลือต่างๆ
ต.3 ติดตามต่อเนื่อง
ร่วมกันวางแผนและหาแนวทางในการรับการช่วยเหลือต่างๆ เพิ่มเติม วางแผนร่วมกันระหว่างผู้ให้การช่วยเหลือกับผู้ประสบภาวะวิกฤต ในด้านการดูแลติดตามอย่างต่อเนื่อง