Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เครื่องมือและการใช้เครื่องมือคัดกรองและประเมินปัญหาทางสุขภาพจิต,…
เครื่องมือและการใช้เครื่องมือคัดกรองและประเมินปัญหาทางสุขภาพจิต
ความหมาย
ความหมายการคัดกรอง (Screening) หมายถึง การทดสอบสมาชิกของกลุ่มประชากรเพื่อประมาณโอกาสที่ประชากรเหล่านี้จะมีโรคใดโรคหนึ่งที่ต้องการค้นหาการคัดกรอง มี 2 ประเภทคือ
การคัดกรองโรค (Disease screening) คือ คัดกรองว่าบุคคลใดป่วยบ้าง และการคัดกรองสุขภาพ
การคัดกรองความเสี่ยง (Health or risk screening) คือ คัดกรองว่าใครมีโอกาสเกิดปัญหาสุขภาพบ้างขณะที่ยังไม่ได้เป็นโรค ซึ่งการคัดกรองความเสี่ยงเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความตระหนัก (Awareness) และนําไปสู่แรงจูงใจในการปรับพฤติกรรมสุขภาพ โดยหากต้องการใช้การคัดกรองความเสี่ยงเพื่อกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เครื่องมือในการคัดกรองนั้นควรเป็นเครื่องมือที่ประชาชนสามารถใช้ในการประเมินตนเอง (Self assessment) ได้
การคัดกรองทางสุขภาพจิต
เป็นการทดสอบเพื่อประมาณโอกาสที่ประชากรจะเกิดปัญหาสุขภาพจิต เป็นการประเมินความผิดปกติด้านจิตใจและระดับความรุนแรงเพื่อการส่งต่อ และวางแผนให้ความช่วยเหลือ
ความสำคัญในการใช้เครื่องมือคัดกรอง
การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทางสุขภาพจิตการพัฒนาระบบบริการสุขภาพสู่ทิศทางที่จะบรรลุเป้าหมายที่พึงประสงค์ สามารถทำให้เกิดผลลัพธ์ต่อคุณภาพชีวิตที่ดี และตอบสนองความพึงพอใจของผู้ใช้บริการได้อย่างแท้จริงนั้น จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์มาสนับสนุนการประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์ก่อนตัดสินใจซึ่งข้อมูลเชิงประจักษ์ที่น่าเชื่อถือมากที่สุดก็คือข้อมูลที่ได้มาจากการใช้เครื่องมือในการวัดและประเมินที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับสามารถนําไปใช้ ในการวัดและประเมินในระบบบริการสุขภาพได้อย่างแม่นตรงเป็นที่น่าเชื่อถือได้
แนวทางและวิธีการประเมินปัญหาทางสุขภาพจิตของบุคคล
กําหนดมาตรฐานเป็นเกณฑ์ (The Descriptive Model) เป็นวิธีการตัดสินพฤติกรรมของคน
ว่าปกติหรือผิดปกติซึ่งการกำหนดมาตรฐานเป็นเกณฑ์ อาจใช้ตนเองเป็นมาตรฐาน (Subject Model)ใช้กลุ่มเป็นมาตรฐาน (Normative Model) ใช้สถิติเป็นมาตรฐาน (Statistical Model) หรือใช้ขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นมาตรฐาน (Culture Model)
การใช้ทฤษฎีเพื่ออธิบายพฤติกรรมที่ผิดปกติ (Explanatory Model) ในการที่จะบอกว่าพฤติกรรมของคนใดคนหนึ่งปกติหรือผิดปกตินั้น จะต้องบอกถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกตินั้นๆได้ด้วยอย่างไรก็ตาม ในการพิจารณาตัดสินพฤติกรรมอาจใช้หลักเกณฑ์หลายๆอย่างมาเป็นเกณฑ์พิจารณาร่วมกันตามเหมาะสมในแต่ละสภาพการณ์ ซึ่งการมีเกณฑ์พิจารณาก็จะช่วยให้สามารถพิจารณาได้เหมาะสม ถูกต้อง และมีความแม่นยํายิ่งขึ้น
เกณฑ์การแบ่งประเภทของแบบทดสอบ
แบ่งตามเกณฑ์การแปลความหมายคะแนน
1.1 แบบทดสอบประเภทปรนัย (Objective Tests)
1.2 แบบทดสอบประเภทอัตนัย (Subjective Tests)
แบ่งตามประเภทของการวัด
2.1 แบบสอบวัดความสามารถ (Ability Tests)
2.2 แบบสอบวัดบุคลิกภาพ (Personality Tests)
แบ่งโดยพิจารณาจากมิติ
3.1 มิติทางด้านร่างกาย (Physical dimension)
3.2 มิติทางด้านจิตใจ (Mental dimension)
3.3 มิติทางด้านสังคม (Social dimension)
การพิจารณาใช้เครื่องมือคัดกรองและประเมินปัญหาทางสุขภาพจิต
เครื่องมือคัดกรองและประเมินภาวะทางจิต
เครื่องมือเพื่อวัดระดับของสภาวะทางจิต (Scale)
เครื่องมือคัดกรองความผิดปกติทางจิต (Screening Tests)
เครื่องมือวินิจฉัยความผิดปกติทางจิต (Schedule)
คุณสมบัติของเครื่องมือประเมินทางสุขภาพจิต
ความเที่ยง (Reliability) ความสามารถของเครื่องมือในการให้ผลลัพธ์เหมือนเดิม
ความตรง (Validity) ความสามารถของเครื่องมือในการแสดงผลสอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการวัด
ความไว (Sensitivity) ความสามารถของเครื่องมือหรือแบบประเมินในการวินิจฉัยผู้ที่ป่วยหรือมีความผิดปกติได้ถูกต้อง
ความจําเพาะ (Specificity) ความสามารถของเครื่องมือหรือแบบประเมินในการวินิจฉัยผู้ที่ไม่ป่วยหรือไม่มีความผิดปกติได้ถูกต้อง
ลักษณะคําถามที่พบได้ในแบบคัดกรองสุขภาพจิต
คําถามด้านบวกเป็นข้อคําถามที่เกี่ยวข้องกับแบบสอบถาม
คําถามด้านลบเป็นข้อคําถามที่เกี่ยวข้องกับแบบสอบถาม
รูปแบบของแบบประเมิน
4.1 รูปแบบข้อคําถามที่มีคําตอบเป็นปรนัยให้เลือกตอบ เช่น แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในเด็ก (Children’s Depression Inventory : CDI)
เครื่องมือคัดกรองและแบบประเมินปัญหาทางสุขภาพจิต
แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง (Stress Inventory)
แบบวัดสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียด (Life Distress Inventory)
แบบสอบถาม General Health Questionnaire ฉบับภาษาไทย (Thai GHQ)
แบบวัดสุขภาพจิตในคนไทย (Thai Mental Health Questionnaire : TMHQ)
ดัชนีฃี้วัดสุขภาพจิตในคนไทย (Thai Mental Health Indicator : TMHI)
เครื่องชี้วัดคุณภาพฃีวิตขององค์การอนามัยโลกฃุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL-
BREF-THAI)
แบบประเมินพฤติกรรมและอาการ ฉบับภาษาไทย (Behavior and Symptom
Identification Scale :BASIS-32)
แบบทดสอบสภาพสมองของไทย (Thai Mental State Exam : TMAE)
แบบวัด Hamilton Rating Scale for Depression ฉบับภาษาไทย
แบบสอบถามเพื่อประเมินความรุนแรงของภาวะซึมเศร้า (Thai Depression Inventory)
แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในเด็ก (Children , s Depression Inventory : CDI)
แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น (Center for Epidemiologic Studies Depression
Scale : CES-S)
แบบวัดความซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย (Thai Geriatric Depression Scale : TDGS)
แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ (กรมสุขภาพจิต)
แบบคัดกรองพัฒนาการเด็ก
บทบาทของพยาบาลในการใช้เครื่องมือคัดกรองและประเมินปัญหาทางสุขภาพจิต
พัฒนาการของผู้รับบริการและครอบครัวตั้งแต่แรกเกิดถึงปัจจุบันรวมทั้งแบบแผนพฤติกรรม
ความสามารถในการปรับตัวของผู้รับบริการและครอบครัวต่อ
การดําเนินชีวิตประจําวันในครอบครัวและชุมชน
ข้อมูลทางกายภาพ ได้แก่ ความสามารถด้านต่างๆของผู้รับบริการ พฤติกรรมต่างๆเป็นสัญญาณนําไปสู่พฤติกรรมที่ผิดปกติ
ข้อมูลสิ่งแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาต่อพฤติกรรมของผู้รับบริการ สิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นมากเกินไปหรือน้อยเกินไป มีผลทำให้ผู้รับบริการเกิดความผิดปกติความไม่สุขสบาย เครียด และวิตกกังวล
ข้อมูลที่เป็นอาการแสดงของการเจ็บป่วย ความกลัวการบาดเจ็บต่อร่างกาย และอาจมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงหรือถดถอยได้
ข้อมูลของครอบครัวที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้รับบริการ
นางสาวธนพร ว่องวรพงศ์ 61122230022 เลขที่19
นางสาวสุปรียา บุญเพ็ง 61122230023 เลขที่20