Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลด้านจิตสังคมสําหรับผู้ประสบสาธารณภัย, นาย พิชยุตม์ อยู่ประเสริฐ…
การพยาบาลด้านจิตสังคมสําหรับผู้ประสบสาธารณภัย
การเตรียมตัวเพื่อรับสถานการณ์ฉุกเฉินในทีม MCATT
ระยะวิกฤตและฉุกเฉิน
ระยะวิกฤต (ภายใน 72 ชั่วโมงแรกหลังเกิดเหตุ)
ช่วยเหลือให้ตรงกับความต้องการทั้งด้านร่างกายและจิตใจแต่เน้นการปฐมพยาบาลด้านจิตใจแก่ผู้ประสบภาวะวิกฤต (PFA)
ระยะฉุกเฉิน (72 ชั่วโมง - 2 สัปดาห์)
สํารวจความต้องการช่วยเหลือทั้งด้านร่างกายและจิตใจ และการให้การช่วยเหลือเยียวยาจิตใจ โดยใช้วิธีให้การปฐมพยาบาลด้านจิตใจ (PFA) เน้นให้ผู้ประสบภาวะวิกฤตระบายความรู้สึกให้มากที่สุด
กรณีพบความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิต ให้จัดทําทะเบียนกลุ่มเสี่ยงและวางแผนการติดตามต่อเนื่อง
คัดกรองและค้นหากลุ่มเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตโดยใช้เวชระเบียน
สําหรับผู้ประสบภาวะวิกฤต (ผู้ใหญ่และเด็ก) และให้การปฐมพยาบาลด้านจิตใจ
สรุปรายงานสถานการณ์เบื้องต้นพร้อมทะเบียนกลุ่มเสี่ยง
เตรียมพร้อมในการรับมือสถานการณ์ตลอดเวลา เมื่อเกิดสถานการณ์วิกฤต ให้เข้าพื้นที่ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภาวะวิกฤตแล้วประเมินสถานการณ์ด้านสุขภาพจิต
ระยะเตรียมการ
2.จัดเตรียมทีม MCATT ให้พร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉิน
3.เข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบ
ภาวะวิกฤต
1.รับนโยบายจากผู้ว่าราชการจังหวัด/นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดในการจัดเตรียมโครงสร้างในการช่วยเหลือ
4.เตรียมความพร้อมให้กับชุมชน เช่นการให้ความรู้การปฎิบัติตัวเมื่อเกิดภัยพิบัติ
การปฐมพยาบาลทางจิตใจ
ปฏิกิริยาของผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์รุนแรง
ด้านปฏิกิริยา/การแสดงออก
นอนไม่หลับ
ตกใจง่าย หวาดระแวง
ร้องไห้ไม่มีสาเหตุ
แยกตัวออกจากสังคม
ด้านอารมณ์
ช็อค
ไม่ยอมรับในสิ่งที่เห็น
วิตกกังวล กลัว เศร้า โกรธ
อารมณ์แกว่งไปแกว่งมา
ด้านร่างกาย
รู้สึกตีบแน่นในลําคอ
รู้สึกร้อนหรือหนาว
ปวดท้องและคลื่นไส้อาเจียน
อาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ
ด้านการรับรู้
สับสน มึนงง
มีปัญหาด้านความจํา
มีปัญหาในการตัดสินใจ
อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นและลดลงจนหายไปภายใน 1 เดือน
ปฏิกิริยาทางจิตใจที่เกิดขึ้นหลังเกิดเหตุการณ์วิกฤต
ปฏิกิริยาทางจิตใจแบบโกรธ (Anger)
ลักษณะอาการ ตะโกนด่า กระวนกระวายเดินไปมา ทําร้าย
ตนเองหรือขว้างของรอบตัว กล่าวโทษแก่บุคคลอื่น พูดขู่อาฆาต
ปฏิกิริยาทางจิตใจแบบต่อรอง (Bargaining)
ลักษณะอาการ พูดซ้ำๆ หรือพูดคาดคั้นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น พูดรุกเร้าขอให้ช่วย ขอเข้าไปดู/เยี่ยมญาติเรียกร้องหรือต่อรอง เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ
ปฏิกิริยาทางจิตใจแบบช็อคและปฏิเสธ (Shock & Denial)
ลักษณะอาการ มึนงง สับสน หลงลืม จําอะไรไม่ได้ปฏิเสธ ไม่ยอมรับ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง มีอารมณ์เศร้า โกรธรุนแรง
ปฏิกิริยาทางจิตใจแสดงอารมณ์เศร้า (Depression)
ลักษณะอาการ อารมณ์เศร้าเป็นอารมณ์ที่พบเห็นได้ง่าย และพบบ่อย อาการเช่น การร้องไห้ เสียใจ ปากสั่น ไม่พูดจา หมดเรี่ยวแรงอาจมีอาการเป็นลม
ปัญหาที่เกิดขึ้นในผู้ประสบภาวะวิกฤต
ด้านร่างกาย
ร่างกายอ่อนแอ การพักผ่อนไม่เพียงพอ เนื่องจากมีอาการนอนไม่หลับที่เกิดจากการฝันร้ายกลางดึกเกี่ยวกับเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นรวมทั้งภาพความสูญเสียของตนเอง
ด้านพฤติกรรม
ไม่สนใจดูแลตนเองและสิ่งแวดล้อม แยกตัวออกจากสังคม ปฏิเสธการรับรู้เรื่องราวต่างๆ ลักขโมยหรือก่ออาชญากรรมในผู้ที่รู้สึกว่าไม่ได้รับความยุติธรรมหรือผู้ที่ได้รับการดูแลไม่ทั่วถึง
ด้านจิตใจ
เกิดอาการหวาดกลัว/หวาดผวา สถานที่เกิดเหตุการณ์หรือสิ่งเร้าที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ส่งผลให้ไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตและทํางานเหมือนอย่างเดิมได้
ระดับทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต (MCATT)
2.ทีมระดับอําเภอ
ทีม MCATT ประจําพื้นที่ในระดับอําเภอ ประกอบด้วย จิตแพทย์/แพทย์
พยาบาลที่รับผิดชอบงานสุขภาพจิตและจิตเวช นักจิตวิทยาคลินิก/นักจิตวิทยา/นักสังคมสงเคราะห์เภสัชกรนักวิชาการสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
3.ทีมระดับจังหวัด
ทีม MCATT ประจําพื้นที่ระดับจังหวัด ประกอบด้วย จิตแพทย์พยาบาล
จิตเวช นักจิตวิทยาคลินิก/นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์นักวิชาการสาธารณสุข เภสัชกร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
1.ทีมระดับตําบล
ทีม MCATT ประจําพื้นที่ในระดับตําบล ประกอบด้วยผอ.รพ.สต.และ
ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิต รพ.สต.อสม. เจ้าหน้าที่มูลนิธิตัวแทนจากแกนนําชุมชน เช่น กํานัน/ผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
4.ทีมระดับกรมสุขภาพจิต
ทีม MCATT ประกอบด้วยจิตแพทย์พยาบาลจิตเวช นักจิตวิทยา
คลินิก/นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์นักวิชาการสาธารณสุขเภสัชกรและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
การปฐมพยาบาลทางจิตใจ (PFA) ด้วยหลักการ EASE
วิธีการประเมินผู้ได้รับผลกระทบ (Assessment: A)
การประเมินสภาพจิตใจ
ภาวะโกรธ
การดูแลทางกาย โดยให้อยู่ในสถานที่ปลอดภัย ให้มีการดูแลอย่างใกล้ชิด
การดูแลทางใจ โดยให้ระบายความรู้สึกโดยใช้ทักษะการฟังอย่างตั้งใจ
ภาวะต่อรอง
สนองความต้องการในสิ่งที่สามารถให้ได้
การให้ข้อมูลที่ถูกต้องที่เป็นจริงตามความเหมาะสม
อดทน รับฟัง ไม่แสดงอาการท่าทางเบื่อหน่าย
ทักษะการประเมินอารมณ์ความรู้สึกผู้ประสบภาวะวิกฤตและทักษะการบอกข่าวร้าย
ภาวะช็อกและปฏิเสธ
การดูแลทางกาย โดยให้อยู่ในสถานที่ที่สงบ รู้สึกปลอดภัย
การดูแลทางจิตใจ ให้ผู้ประสบภาวะวิกฤตได้ระบายความรู้สึก และใช้เทคนิคการสัมผัสตามความเหมาะสม
การช่วยเหลือทางสังคม สอบถามความต้องการเร่งด่วนของผู้ประสบภาวะวิกฤต
ภาวะเสียใจ
การช่วยเหลือทางกายทําได้โดยหาผ้าเช็ดหน้า นํ้าเย็น ผ้าเย็น ในรายที่มีอาการหายใจไม่ออกอาจใช้การฝึกหายใจแบบ Breathing Exercise หรือใช้การสัมผัส
การประเมินภาวะฆ่าตัวตาย
ลดเงื่อนไขในการต่อรองลง
ผู้ให้การช่วยเหลือต้องประเมินสภาพการณ์เฉพาะหน้า
อารมณ์สงบ
ผู้ประสบภาวะวิกฤตรับฟังมากขึ้น ยอมรับข้อมูล
ประเมินความต้องการทางสังคม
ผู้ประสบภาวะวิกฤตต้องการพบญาติ หรือครอบครัวให้ติดต่อประสานโดยการโทรศัพท์
ผู้ประสบภาวะวิกฤตต้องการความช่วยเหลือด้านการเงิน ทุนการศึกษา
ให้ติดต่อหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง
ผู้ประสบภาวะวิกฤตไร้ญาติขาดมิตร ประสานกํานัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือด้านที่พักอาศัย หรือสถานสงเคราะห์ มูลนิธิ หรือวัดเพื่อหาที่พักพิงชั่วคราวให้
ประเมินและตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกาย
มีอาการอ่อนเพลีย ควรจัดหานํ้าให้ดื่ม หาอาหารให้รับประทาน
เป็นลม ควรจัดหายาดมแอมโมเนีย ผ้าเย็นเช็ดหน้าและแขน
ได้รับบาดเจ็บทางด้านร่างกายก็ต้องบรรเทาความเจ็บปวดด้วยการให้ยา
ตกอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย เช่น มีเศษแก้วตกอยู่ ให้เคลื่อนย้าย
ผู้ประสบภาวะวิกฤตไปอยู่ในที่ปลอดภัย
วิธีการเรียกขวัญคืนสติลดความเจ็บปวดทางใจเสริมสร้างทักษะ (Skills: S)
Touching skill (การสัมผัส) การสัมผัสทางกายจะทําให้ผู้ประสบเหตุการณ์รุนแรง รู้สึกอบอุ่นใจ รู้สึกปลอดภัยมีที่พึ่งพา
ทักษะการ Grounding การใช้การ Grounding คือ การช่วยให้ผู้ประสบเหตุการณ์วิกฤตที่มีอารมณ์ท่วมท้น (overwhelmed feeling) กลับมาอยู่กับความเป็นจริงโดยเพิ่มปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
การฝึกกําหนดลมหายใจ (Breathing exercise) เพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย
การนวดสัมผัส และ การนวดกดจุดคลายเครียด การนวดสัมผัสจะเป็นการลดความเครียด ผ่อนคลายกล้ามเนื้และยังเสริมสร้างความรู้สึกอบอุ่นใจ
การลดความเจ็บปวดทางใจ
การสะท้อนความรู้สึก
การเงียบ
การทวนซ้ำ
การฟังอย่างใส่ใจ (Active Listening)
การเสริมสร้างทักษะ การเรียนรู้ การเสริมสร้าง Coping skills สามารถช่วยลดความกังวลปฏิกิริยาที่เป็นทุกข์อืนๆ
วิธีการสร้างสัมพันธภาพและการเข้าถึงจิตใจของผู้ได้รับผลกระทบ (Engagement: E)
การสร้างสัมพันธภาพ
ซึ่งการแสดงออกของผู้ให้การช่วยเหลือควรเหมาะสมกับเหตุการณ์อารมณ์ความรู้สึกและสภาพสังคม วัฒนธรรม ศาสนาของผู้ประสบเหตุการณ์วิกฤต
การสื่อสาร
ควรเริ่มพูดคุยเบื้องต้นเมื่อผู้ประสบเหตุการณ์วิกฤตมีความพร้อมให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกแต่ไม่ควรซักถามถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
การสังเกตภาษาท่าทางและพฤติกรรม
Nonverbal ได้แก่ สีหน้า แววตา ท่าทาง การเคลื่อนไหวของร่างกาย
Verbal ได้แก่ พูดสับสนฟังไม่รู้เรื่อง ด่าทอ ร้องขอความช่วยเหลือ พูดซ้้ำไปซ้ำมา พูดวกวน
วิธีการให้สุขภาพจิตศึกษาและข้อมูลที่จําเป็น (Education : E)
ต.2 เติมเต็มความรู้ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้นจากความเครียด และผลกระทบทางจิตใจ ที่อาจเกิดขึ้น พร้อมทั้งบอกวิธีการปฏิบัติตัวเพื่อลดความเครียด
ต.3 ติดตามต่อเนื่อง ร่วมกันวางแผนและหาแนวทางในการรับการช่วยเหลือต่างๆ เพิ่มเติม
ต.1 ตรวจสอบความต้องการ โดยไต่ถามถึงข้อมูลและตรวจสอบความต้องการช่วยเหลือที่จําเป็นและเร่งด่วน
นาย พิชยุตม์ อยู่ประเสริฐ 6001210637 sec B เลขที่ 29