Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอดถ, 978F3CE2…
การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอดถ
การติดเชื้อของมารดาหลังคลอด
การติดเชื้อที่แผลฝีเย็บและหน้าท้องในระยะหลังคลอด
อาการและอาการแสดง
มีอาการบวมแดง ร้อน กดเจ็บ เจ็บปวดบริเวณที่มีการติดเชื้อ มีการแยกของแผลฝีเย็บหรือแผลหน้าท้อง มีซีรั่มปนหนองออกมา จากรอยแยกของผิวหนังบริเวณ มีไข้ มีถ่ายปัสสาวะแสบร่วมด้วย
การรักษา
ให้ยาปฎิชีวนะในรายที่แผลมีหนอง แพทย์อาจเปิดแผลที่มีการติดเชื้อเพื่อระบายหนองหรือของเหลวจากแผลหรือเลือดออกมาและอาจอัดแผลด้วยก๊อซชุบน้ำยาฆ่าเชื้อ ประเมินบักษณะน้ำคาวปลา สัญญาณชีพ การหดตัวของมดลูก อาการปวดมดลูก ให้การพยาบาลโดยใช้หลักปราศจากเชื้อ
สาเหตุ
เป็นการติดเชื้อเฉพาะที่ ส่วนการติดเชื้อที่หน้าท้องเป็นการติดเชื้อที่เกิดจากการผ่าตัดทำคลอดทางหน้าท้อง ส่วนใหญ่เกิดจากการเย็บแผลหรือแผลหน้าท้องที่ไม่ระมัดระวังความสะอาดปราศจากเชื้อ และการดูแลแผลฝีเย็บหรือแผลหน้าท้องภายหลังคลอดไม่ถูกวิธี
การติดเชื้อที่มดลูดในระยะหลังคลอด
(Postpartal uterine infection)
อาการและอาการแสดง
2.Late endometritis เกิดภายใน 2-7 วัน คือน้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น มีไข้สูง ชีพจรเร็ว หัวใจเต้นเร็ว ปวดศรีษะและหลัง มดลูกใหญ่ขึ้น ขนาดของมดลูกไม่ลดลงต่ำกว่าระดับสะดือ เบื่ออาหาร รู้สึกไม่สบาย ซึม อ่อนเพลีย
1.Early endometritis เกิดขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง แรกหลังคลอด คือ มีไข้ต่ำๆ
การรักษา
ให้ยาปฎิชีวนะ ประเมินลักษณะน้ำคาวปลา สัญญาณชีพ การหดรัดตัวของมดลูก อาการปวดมดลูก ระมัดระวังในการให้การพยาบาลโดยใช้หลักปราศจากเชื้อ ( Aseptic Technique)
สาเหตุ
โรคทางอายุรกรรม
โรคโลหิตจาง
โรคขาดสารอาหารน
ระยะคลอดยาวนาน ได้รับการตรวจทางช่องคลอดบ่อย
ถุงน้ำแตกก่อนกำหนด
ได้รับการล้วงรกจากการมีรกตกค้าง
มักเกิดในระยะ 6 เดือนแรกของการคลอดจากเชื้อแบคทีเรียที่เข้าสู่โพรงมเลูกผ่านทางช่องคลอดเข้าไปสู่บริเวณแผลที่รกเคยเกาะอยู่
สาเหตุ
2.ถุงน้ำคร่ำแตกเกิน 24 ชั่วโมงก่อนคลอด
3.มีภาวะเลือดจาง
5.การบวมเลือด
4.การตรวจทางช่องคลอดบ่อยๆ
1.ภาวะพร่องโภชนาการ
6.เศษรกค้างในโพรงมดลูก มีการล้วงรก
7.มีการตกเลือด ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง
ชนิดของการติดเชื้อหลังคลอด
1.การติดเชื้อเฉพาะที่ เมื่อมีแผลที่อวัยวะสืบพันธ์ุภายนอก ฝีเย็บ ช่องคลอด ปากมดลูกหรือเยื่อบุมดลูก การติดเชื้อนั้นจำกัดอยู่เฉพาะแผลที่เป็นเท่านั้น
2.การติดเชื้อที่ลุกลามออกไปนอกมดลูก เมื่อมีการติดเชื้อที่อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก ฝีเย็บ ปากมดลูกหรือเยี่อบุมดลูก เชื้อจะแพร่กระจายไปยังบริเวณใกล้เคียง
การอักเสบที่หลอดเลือดดำ
(Thrombophlebitis)
อาการและอาการแสดง
บริเวณที่เป็นมีอาการปวด บวม แดง ร้อน มีไข้ ผิวหนังบริเวณที่เป็นเห็นเป็นมันสีขาว หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว คลื่นไส้อาเจียน
สาเหตุ
การคั่งของเลือด ,การแข็งตัวของเลือดง่ายกว่าปกติ , การบาดเจ็บของหลอดเลือด ทำให้มีการอักเสบของเยื่อบุหลอดเลือดพร้อมกับการสร้างลิ่มเลือด
มีการอุดตันของหลอดเลือดบางส่วน มักเกิดขึ้นที่หลอดเลือดบริเวณขา และอุ้งเชิงกราน
การรักษา
ให้ยาต้านการจับตัวเป็นลิ่มเลือด ยาปฎิชีวนะ ผ่าตัดในรายที่มีอาการรุนแรง ให้ยาระงับปวด ในรายที่มีอาการปวดมาก
มดลูกไม่เข้าอู่
(Subinvolution of uterue )
อาการและอาการแสดง
มดลูกใหญ่กว่าปกติ ระดับของยอดมดลูกไม่ลดลง น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น และสีน้ำคาวปลาที่จางลงเปลี่ยนเป็นสีแดง ปวดท้องร่วมกับมีไข้
การรักษา
ให้ลูกดูดนมจากเต้า ดื่มหรือจิบน้ำอุ่นบ่อยๆ อยู่ไฟ เข้ากระโจม นวดประคบสมุนไพร ประคบด้วยอิฐเผาไฟ นวดบริเวณหน้าท้อง ทับหม้อเกลือ
สาเหตุ
มีเศษรกค้าง ตั้งครรภ์มากกว่า 6 ครั้ง ผ่าคลอด มดลูกมีการติดเชื้อ ตั้งครรภ์แฝดหรือแฝดน้ำ คลอดยากหรือคลอดยาวนาน มีปัสสาวะเต็มกระเพาะปัสสาวะ มดลูกคว่ำหน้ามากหรือคว่ำหลังมากทารกไม่ได้ดูดนมแม่ มีEarly ambulation ช้า
เต้านมอักเสบ
(Mastitis)
สาเหตุ
เต้านมคัด
มีความผิดปกติของเต้านมหรือได้รับการผ่าตัดเต้านม
ท่อน้ำนมอุดตัน
ให้ทารกดูดนมไม่ถูกวิธี ทำให้เกิดการติดเชื้อเฉียบพลันของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันรอบๆเนื้อเยื่อต่อมน้ำนม
หัวนมแตกหรือมีแผลมี่หัวนมหรือท่อน้ำนม
มีการติดเชื้อของผิวหนัง
อาการและอาการแสดง
ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ , เต้านมบวมอาจมีหนองไหลออกมา
มีไข้สูง , หัวใจเต้นเร็ว
ปวดเมื่อยเนื้อตัว,ปวดศรีษะ
เต้านมแดงร้อน , เก็บเจ็บที่เต้านม อาจมีอาการปวดอย่างฉับพลัน
คลื่นไส้ , อาเจียน
การรักษา
ในรายที่มีการอักเสบ แพทย์อาจผ่าเพื่อระบายหนองออกแบะอาจอัดแผลด้วยผ้าก๊อซเมื่อครบ 24 ชั่วโมง จะเปลี่ยนผ้าก๊อซใหม่ที่มีขนาดเล็กลง
ให้ยาปฎิชีวนะ
มารดาที่มีปัญหาทางจิตสังคมหลังคลอด
มารดาที่มีอารมณ์เศร้าหลังคลอด (Postpartum blues)
มักเกิดขึ้นในวันที่3หรือ4ภายหลังสาเหตุอาจมีความเกี่ยวข้องกับความไม่สุขสบายของร่างกายภายหลังคลอดความอ่อนเพลียนอนหลับไม่เพียงพอเนื่องจากเวลาใน การนอนหลับถูกรบกวน หรือมีความตึงเครียดทางจิตสังคมการร้องไห้เป็นลักษณะอาการที่พบได้มากท่ีสุด มักเป็นการร้องไห้อย่างไร้เหตุผล มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ว จากหัวเราะกลายเป็นร้องไห้ มีความรู้สึกเศร้าสร้อยเหนื่อยง่าย ขาดสมาธิ กระวนกระวาย นอนไม่หลับ การรักษาพยาบาลควรให้การช่วยเหลือ ประคับประคองทางจิตใจ แก่มารดา รวมทั้งอธิบายถึงสภาพอารมณ์ท่ีเปลี่ยนแปลงของมารดาให้สามีและญาติเข้าใจและให้การประคับประคองทางจิตใจแก่มารดา
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression)
ขึ้นอยู่ในช่วงประมาณ 2-6 สัปดาห์หลังคลอด อาจเกิดจากการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของระดับฮอร์โมนภายหลังคลอด ภาวะแทรกซ้อนทางอายุรกรรมระหว่างตั้งครรภ์ ภาวะแทรกซ้อนระหว่างคลอด มีประวัติภาวะซึมเศร้ามา สัมพันธภาพกับคู่สมรสไม่ดี ไม่พึงพอใจการตั้งครรภ์มารดาจะมีความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมมีน้อย ไม่มีสมาธิ ไม่สนใจผู้อื่นไม่มีการตอบสนองทางด้านอารมณ์มีความรู้สึกอย่างรุนแรงว่าตนเองไร้ค่าไม่มีความสุขในชีวติ รู้สึกผิดและอายที่มีบุตรซึมเศร้าอ่อนเพลียร้องไห้ง่าย แนวทางการรักษามารดาหลังคลอดท่ีมีภาวะซึมเศร้า คือให้ยาที่ออกฤทธิ์ต้านทานภาวะซึมเศร้า ทําจิตบําบัดเพิ่มการช่วยเหลือสนับสนุนทางด้านสังคมหรือให้คําปรึกษา
ภาวะจิตผิดปกติหลังคลอด
(Postpartum psychosis)
พบในระยะ 6 สัปดาห์แรกหลังคลอด โดยทั่วไปภาวะจิตผิดปกติมี 2 ลักษณะ คอื ภาวะจิตผิดปกติท่ีแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว (bipolar disorder) คือมีภาวะวิกลจริตสลับ กับภาวะซึมเศร้าและภาวะจิตซึมเศร้าอย่างรุนแรง (major depression) คือมีภาวะซึมเศร้าอย่างเดียวไม่มีภาวะวิกลจริต บทบาทสําคัญของการพยาบาลคือต้อง ประเมินภาวะเสี่ยงของมารดาที่จะเกิดอาการจิตผิดปกติหลังคลอดหากพบอาการต้องเฝ้าดูแลใกล้ชิดอาจให้การรักษาด้วยยาหรือให้คําปรึกษาทางจิตเวช