Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย, นางสาวสุทธิตา ติ๊บปะละวงศ์ 6001210996 SEC…
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
ลักษณะของกฎหมายและประเภทของกฎหมาย
ลักษณะของกฎหมาย
1.กฎหมายต้องมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์
กฎหมายต้องเป็นข้อบังคับที่เป็น มาตรฐานที่ใช้วัดหรือกำหนดความประพฤติของคนในสังคมว่าถูกหรือผิดทำได้หรือไม่ได้
อาญา มาตรา ๓๓๔ บัญญัติว่า“ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอย โดยทุจริตไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์” หรือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา๑๕๖๓ บัญญัติว่า“บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา”
มาตรา ๑๕๖๔ บัญญัติว่า“บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์”
2.กฎหมายต้องกำหนดขึ้นโดยรัฐหรือผู้มีอำนาจ
3.กฎหมายต้องบังคับใช้โดยทั่วไป บุคคลทุกคนต้องอยู่ภายใต้ กฎหมายโดยเสมอภาค จะมีใครอยู่เหนือกฎหมายไม่ได้
4.กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ
สภาพบังคับที่มีผลร้าย
1)ประหารชีวิตคือการนำตัวผู้กระทำ ความผิดไปฉีดยาพิษให้ตาย
2)จำคุก คือ การเอาตัวไปคุมขังไว้ในเรือนจำตามกำหนดเวลาที่ศาลพิพากษา
3)กักขัง คือ โทษที่ให้กักตัวผู้กระทำความผิดไว้ในสถานที่กักขังช้เรือนจซึ่งกำทางปฏิบัติให้เอาาหนดไว้อันมิให้ ตัวไปกักขังไว้ที่สถานีต่างๆ
4)โทษที่ผู้กระทำความผิดต้องชำระเงินตามจำนวนที่กำหนดไว้
5)ริบทรัพย์สิน1ปีคือจะริบทรัพย์ที่ใช้ในการ กระทำผิดหรือได้มาจากการกระทำความผิด
สภาพบังคับที่มีผลดี
กรณีจดทะเบียนสมรส ทำให้บุตรเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎ สามารถใช้สิทธิของคู่สมรสไปลดหย่อนภาษีได้ เป็นต้น
ระบบของกฎหมาย
1.ระบบกฎหมายจารีตประเพณี หรือระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษรCommon(law system) เช่น ประเทศอังกฤษประเทศที่มีชาวและ อังกฤษอพยพไปตั้งถิ่นฐานในดินแดนใหม่
2.ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร หรือระบบประมวลกฎหมายCivil( law system) เช่น ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม อิตาลี เยอรมัน เดนมาร์ก ออสเตรีย สเปน สวิสเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น เป็นต้น
ประเภทของกฎหมาย
กฎหมายที่แบ่งตามสิทธิประโยชน์ และความสัมพันธ์ของบุคคล
1.กฎหมายมหาชน (Public Law)
เป็นกฎหมายที่บัญญัติความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ ประชาชน โดยรัฐเป็นฝ่ายปกครองที่มีอำนาจเหนือกว่าประชาชน
กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นแม่บทและเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ
กฎหมายปกครอง เป็นกฎหมายที่กeหนดการปกครองประเทศ รองจากรัฐธรรมนูญ
กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับการกระทำผิดและบทลงโทษ
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยกระบวนการดำเนินคดี การ พิจารณาความทางอาญา ตั้งแต่การจับกุม การรวบรวมพิจารณาและการพิจารณาคดี
ธรรมนูญศาลยุติธรรมเป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงการจัดตั้งศาล อำนาจของศาลและผู้พิพากษาคดี
2.กฎหมายเอกชน (Private Law)
เป็นกฎหมายที่บญัติความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับญ
เอกชน รวมทั้งหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจที่ด าเนินธุรกิจแบบเอกชน
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณา ความ การดำเนินคดี ในการพิจารณาข้อพิพาททางแพ่ง ตลอดจนการกฝ่ายผิดปฏิบัติตามคหนดให้
กฎหมายพาณิชย์เป็นกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับการค้าขาย หุ้นส่วน บริษัท ประกันภัยและตั๋วเงิน
กฎหมายแพ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับวิถีชีวิตประจำวันของประชาชน บัญญัติถึงฐานะของบุคคล ครอบครัว มรดกและกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต่างๆหนี้สิน
3.กฎหมายระหว่างประเทศ International( Law)
เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศต่อประเทศ
3.1 แผนกคดีเมือง เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ของรัฐเกี่ยวกับสิทธิและมหาชน (Public rights and duties)
3.2 แผนกคดีบุคคล เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ของบุคคลต่างรัฐในทางแพ่งเกี่ยวกับความประพฤติ สิทธิและหน้าที่
3.3แผนกคดีอาญาเป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ในคดีอาญาของบุคคลที่เกิดขึ้นโดยประชาชนของประเทศหนึ่ง
กฎหมายที่แบ่งโดยแหล่งกำเนิดของกฎหมาย
1.กฎหมายภายใน เป็นกฎหมายที่องค์กรของรัฐที่มีอำนาจในการบัญญัติกฎหมาย บัญญัติขึ้น ใช้ภายในประเทศ
2.กฎหมายภายนอก เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ หรือเกิดจากความตกลงระหว่างประเทศ เช่น สนธิสัญญาอนุสัญญา เป็นต้น
กฎหมายที่แบ่งโดยลักษณะการใช้กฎหมาย
1.กฎหมายสารบัญญัติเป็นกฎหมายที่กำหนดสิทธิหรือหน้าที่ที่ให้บุคคลปฏิบัติ เช่น แพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญากฎหมายคุ้มครองแรงงาน เป็นต้น
2.กฎหมายวิธีสบัญญัติเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับวิธีการพิจารณาคดีของศาล เช่น วิธีพิจาร ความแพ่ง วิธีพิจารณาความอาญาเป็นต้น
ลำดับชั้นหรือศักดิ์ของกฎหมาย
1.รัฐธรรมนูญConstitutional( Law) เป็นกฎหมายที่มีศักดิ์สูงสุด
2.พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด และประมวลกฎหมายเป็นกฎหมายที่อยู่ในลำดับชั้น เดียวกัน และรองจากรัฐธรรมนูญ
2.1 พระราชบัญญัติ(พรบ.) (Act) คือ กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภา ผู้ที่สามารถเสนอร่างกฎหมายนี้ คือ คณะรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
2.2 ประมวลกฎหมาย (Code of Law) เป็นการรวบรวมบทบัญญัติของกฎหมายลายลักษณ์ อักษรในเรื่องเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ให้มาอยู่ในหมวดเดียวกันอย่างเป็นระบบ
2.3 พระราชกำหนด(Royal Enactment) เป็นกฎหมายที่รัฐธรรมนูญมอบอำนาจให้แก่ ฝ่ายบริหารเพื่อออกข้อบังคับในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วน อันจะเป็นประโยชน์ในการรั ปลอดภัยของประเทศ
3.พระราชกฤษฎีกา(Royal Decree) เป็นกฎหมายที่กำหนดรายละเอียดที่เป็นหลักย่อยของ
พระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี
4.กฎกระทรวง (Ministerial Regulation) เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ ซึ่งออกตามความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
5.ระเบียบ และข้อบังคับ(Rule/Regulation/Discipline) เป็นกฎหมายที่ออกโดยหัวหน้า หน่วยงานองค์กร ผ่านความเห็นชอบจากผู้บริหารหน่วยงานหรือคณะกรรมการ
6.ประกาศและคำสั่ง(Announcement/Command) เป็นกฎหมายที่ออกโดยหัวหน้าหน่วยงาน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในหน่วยงาน โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ หรือปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติ
7.อื่นๆ:ข้อบังคับท้องถิ่นเป็นกฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองตนเองเช่น ข้อบัญญัติ กรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติเมืองพัทยา ข้อบัญญัติจังหวัดซึ่งมีผลบังคับใช้เฉพาะพื้นที่เท่านั้นและเทศบัญญัติ
ลักษณะของระบบศาลไทย
ระบบศาลเดี่ยว เป็นระบบที่ให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททุกประเภท ไม่ว่าจะแพ่งคดีอาญา คดีปกครอง หรือคดีประเภทอื่นๆระบบนี้เป็นระบบที่ใช้กันมากที่สุด
ระบบศาลคู่เป็นระบบที่ให้ศาลยุติธรรมมีอ านาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทเฉพาะคดีแพ่งเท่านั้น
ระบบศาลของประเทศไทย เป็นระบบศาลคู่แยกเป็นอิสระจากกัน มีผู้พิพากษาหรือตุลาการของแต่ละ
ศาลโดยเฉพาะ จะย้ายจากศาลหนึ่งไปดำรงตำแหน่งในอีกศาลหนึ่งไม่ได้
ศาลของประเทศไทย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2560ซึ่งใช้ในปัจจุบัน มาตรา 188 ถึงมาตรา214 ศาลไทยมี4 ประเภท
1.ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรตุลาการที่จัดตั้งขึ้นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พุทธศักราช2540
2.ศาลยุติธรรมเป็นศาลทมี่อำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือ กฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น
2.1 ศาลชั้นต้น(Civil court/Court in the First instance) เป็นศาลยุติธรรมที่พิจารณา และชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นแรก เมื่อมีการฟ้องร้อง
ศาลแพ่ง
ศาลอาญา
2.2 ศาลอุทธรณ์(Appeal Court) เป็นศาลลำดับที่สูงกว่าศาลชั้นต้น
2.3 ศาลฎีกา(Supreme Court) เป็นศาลยุติธรรมสูงสุดมีประธานศาลฎีกาซึ่งเป็นประมุข
3.ศาลปกครอง (Administrative Court) เป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2540
4.ศาลทหาร ได้มีขึ้นเป็นของคู่กันมาตั้งแต่มีการทหารไว้ป้องกันประเทศ จากหลักฐา ประวัติศาสตร์ระบบศาลทหารไทยปรากฏตามกฎหมายลักษณะขบฎศึก
นางสาวสุทธิตา ติ๊บปะละวงศ์ 6001210996 SEC.B เลขที่ 43