Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลเด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล, อ้างอิง, image, image, image,…
การดูแลเด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
Family Centered Care
1) ส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยในการดูแล
2) ให้ความมั่นใจว่าผู้ป่วยและครอบครัวเป็นส่วนหนึ่งของทีมสุขภาพ
3) ให้การดูแลอย่างต่อเนื่องเป็นองค์รวม
4) ให้อิสระแก่ผู้ดูแลและครอบครัวในการเลือก วิธีการรักษาพยาบาลตามความต้องการ
5) ตระหนักว่าผู้ดูแลที่ให้การดูแลผู้ป่วย
เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว
8) ไม่แยกผู้ป่วยออกจากครอบครัวหรือญาติ
7)ให้การยอมรับต่อความเชื่อค่านิยมและศักยภาพ
เกี่ยวกับการดูแลของผู้ป่วยและครอบครัว
ุ6) ให้กำลังใจ และเตรียมครอบครัวในการดูแลผู้ป่วย
9) ให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการวางแผน
และประเมินผลการดูแล
10) ส่งเสริมให้สมาชิกครอบครัวหรือญาติมี
ส่วนร่วมในการช่วยเหลือตามความต้องการของผู้ป่วย
การพยาบาลเด็กในระยะเฉียบพลันและวิกฤต
วิตกกังวลจากการแยกจาก (Separation anxiety )
ประท้วง (protest)
ร้องไห้ ไม่ดื่มนมหรือรับประทานอาหาร
ไม่ร่วมมือในการรักษาพยาบาล
สิ้นหวัง (Despair)
ซึม เศร้า เงียบ ไม่ร้องไห้ ดื่มนมหรือรับประทานอาหารได้บ้าง
ในระยะนี้เด็กบางคนจะแสดงพฤติกรรมถดถอย (Regression)
ปฏิเสธ (Denial)
ปฏิเสธไม่สนใจพ่อแม่ ดื่มนมหรือรับประทานอาหาร ทำกิจวัตรต่างที่เคยทำได้ร่วมมือในการรักษาพยาบาลดี
กรณีศึกษา
เด็กชาย อายุ 2 ขวบ 3 เดือน มารับบริการที่ศูนย์พัฒนาเด็กเป็นครั้งแรก เป็นบุตรคนแรกของครอบครัว มารดาให้ประวัติว่าหลังจากคลอดบุตร มารดาลาออกจากงานเพื่อมาเลี้ยงดูบุตรอย่างใกล้ชิด มารดาอยู่ใกล้ชิดกับเด็กตลอด และเป็นคนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้เด็กเองจากการศึกษาข้อมูลที่สามารถหาได้ เมื่อเด็กต้องเข้ารับบริการที่ศูนย์พัฒนาเด็กมารดามีความวิตกกังวลมากว่าเด็กจะได้รับการดูแลไม่ดี ถูกเพื่อนแกล้ง และกลัวเด็กรู้สึกว่ามารดาทอดทิ้งเด็กเมื่อถูกส่งมาศูนย์พัฒนาเด็ก
เตรียมความพร้อมของมารดาและเด็กก่อนเข้ารับบริการ
ที่ศูนย์พัฒนาเด็ก
สร้างความเชื่อมั่นและให้ความรู้มารดา
ปรับทัศนคติมารดา โดยถามถึงเหตุผลของการนำเด็กเข้าศูนย์พัฒนาเด็ก
บอกเด็กล่วงหน้าให้รับรู้ว่าจะนำเด็กเข้ารับบริการที่ศูนย์พัฒนาเด็กเมื่อใด
จัดให้มารดาพาเด็กเยี่ยมชมศูนย์พัฒนาเด็กบ่อย ๆ โดยทำบรรยากาศเหมือนการมาเที่ยวชม เล่น สนุกสนาน และทำความรู้จักครูพี่เลี้ยง
จัดเตรียมโปรแกรมการเพิ่มระยะเวลาของการพรากจากอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยจัดตารางเวลาในการรับ-ส่งเด็ก โดยค่อย ๆ ยืดระยะเวลาในการอยู่ที่ศูนย์ฯ ในวันแรก ๆ ให้มารดาอยู่เป็นเพื่อนเด็ก โดยให้มารดาช่วยกระตุ้นความสนใจของเด็กต่อกิจกรรม เพื่อน ๆ และครู
ไม่โกหกเมื่อต้องปล่อยเด็ก เป็นช่วงเวลาที่ยากที่สุด มารดาควรบอกเด็กตามความเป็นจริงว่าตนจะไปที่ใดจะกลับมารับเมื่อใด เช่น “แม่จะกลับมารับหลังจากหนูทานอาหารกลางวันนะคะ” เมื่อบอกเด็กว่าจะกลับมารับในช่วงใดขอให้รักษาสัญญาที่ได้ให้ไว้กับเด็ก เพื่อสร้างความไว้วางใจในตัวมารดา
ทำให้การพรากจากสั้นและกระชับ เป็นต้นว่ากอดและหอมเด็กจากนั้นออกมาจากเด็กอย่างรวดเร็ว ไม่ควรแสดงให้เด็กเห็นว่ามารดาลังเล และเมื่อออกมาแล้วไม่ควรกลับไปให้เด็กเห็นอีกเพราะเด็กจะเข้าใจว่าสถานที่นี้ไม่ปลอดภัย มารดาจึงต้องมาเฝ้ามองเด็ก
การจัดสิ่งแวดล้อมให้มีสิ่งที่เด็กรู้สึกคุ้นเคยอยู่ด้วย จะช่วยลดปฏิกิริยาของการพรากจากได้ เช่น ผ้าห่มผืนประจำ ของเล่น ขวดนม หรือชุดนอนตัวโปรดเด็กจะรู้สึกว่าบิดามารดาหรือผู้ดูแลจะกลับมาหาและนำของเหล่านี้กลับบ้านด้วย
Critical Care Nursing
ดูแลผู้ป่วยเด็กวิกฤติอย่างใกล้ชิดเป็นองค์รวม
ไม่แยกครอบครัว บุคลากรมีความรู้มีคุณภาพ
มีอุปกรณ์พร้อมใช้
Stress & coping
อธิบายให้ครอบครัวเข้าใจถึงภาวะสุขภาพของเด็ก
ให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กป่วย
ประเมินปัญหาและบันทึกรายงานข้อมูลอย่างต่อเนื่อง
จัดกิจกรรมให้เด็กเล่นให้เหมาะสมตามวัยและโรคที่เป็น
จัดกิจกรรมให้เด็กเล่นให้เหมาะสมตามวัยและโรคที่เป็น
ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากเด็กเจ็บปวด
สนับสนุนสมาชิกของครอบครัวให้ความช่วยเหลือ
ในการดูแลผู้ป่วยและครอบครัว
การพยาบาลเด็กในระยะเรื้อรังและสุดท้าย
Death & Dying / การดูแลแบบประคับประคอง
ด้านร่างกาย
บรรเทาความทุกข์ทรมาน จากอาการปวด หายใจลำบากคลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย
การดูแลความสะอาดของร่างกาย ให้ได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอกับความต้องการ ได้รับออกซิเจน ดูแลผิวหนัง เปลี่ยนท่าให้ผู้ป่วยบ่อยๆ การขับถ่าย
การพักผ่อน ควรจัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด
ด้านจิตใจ
ลดความเครียด ความวิตกกังวลทั้งของเด็กและครอบครัว โดยตอบสนองความต้องการของเด็กตามวัยอย่างเหมาะสม
ให้ผู้ปกครองเฝ้าอย่างใกล้ชิด
ด้านสังคม
ให้เด็กได้อยู่ในบรรยากาศที่อบอุ่นแวดล้อมด้วยคนใกล้ชิด
ด้านจิตวิญญาณ
ประเมินและบันทึกสภาพจิตใจของเด็กเกี่ยวกับความตาย และควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ซักถามเกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่ ให้การดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เด็กมั่นใจว่าจะไม่ถูกทอดทิ้ง
ภาพลักษณ์ (Body image)
ปัญหาของการเจ็บป่วยมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของภาพลักษณ์
ปฎิกิริยาต่อการเปลี่ยนแปลง
มีท่าทีต่อการเปลี่ยนแปลงของภาพลักษณ์ของตนเอง
มีความกลัวต่อการเปลี่ยนแปลง เช่น กลัวตาย
ทำให้ทุพลภาพของร่างกายทำให้เสียโฉม
เศร้าโศกเสียใจ สูญเสียภาพลักษณ์
ถามซ้ำๆ เช่น “ทำไมฉันจึงถูกทำโทษ” “ทำไมจึงเกิดกับฉัน”
การพยาบาลเด็กที่มีความปวด
เครื่องมือประเมินความปวดในเด็ก
การวัดระดับความรุนแรงของความปวดแบบมิติเดียว
facial scales
การใช้รูปภาพแสดงสีหน้าบอกความรู้สึกปวด นิยมใช้ในผู้ป่วยเด็กเล็ก คนชราหรือคนที่ไม่สามารถสื่อสารได้ด้วยคําพูด
visual analogue scales : VAS
การวัดโดยใช้เส้นตรงยาว 10 เซนติเมตร ให้ปลายข้างหนึ่งแทนค่าด้วยเลข 0 หมายถึง ไม่ปวด ปลายอีกข้างหนึ่งแทนค่าด้วยเลข 10 หมายถึง ปวดรุนแรงมากที่สุด
visual rating scales: VRS
การวัดโดยใช้เส้นตรงยาว 10 เซนติเมตรแบ่งเป็น 10
ช่องๆละ 1 เซนติเมตร ปลายข้างหนึ่งแทนค่าด้วย
0 หมายถึง ไม่ปวดปลาย
อีกข้างแทนค่าด้วย 10 หมายถึง ปวดรุนแรงมากที่สุด
body diagrams
คือการวัดโดยใช้ภาพวาดให้ผู้ป่วยชี้
หรือเขียนลงในภาพวาดรูปคน
แสดงตําแหน่งที่มีความปวด
การวัดระดับความรุนแรงของความปวดแบบหลายมิติ
NIPS (Neonatal Infant Pain Scale)
สำหรับอายุแรกเกิด - 1 เดือน มีคะแนนระหว่าง 0-7 คะแนน
คะแนนตั้งแต่ 4 ควรเริ่มให้ยาแก้ปวด
การแปลผล
0 = ไม่ปวด
1-3 = ปวดเล็กน้อย
4-5 = ปวดปานกลาง
6-7 = ปวดมาก
FLACC scale
ใช้กับเด็กอายุ 1 เดือน - 6 ปีหรือ ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว
คะแนนอยู่ระหว่าง 0 – 10
การแปลผล
0 = ไม่ปวด
1-3 = ปวดน้อย
4-6 = ปวดปานกลาง
7-10 ปวดมาก
CHEOPS
สำหรับเด็กอายุ 1-6 ปี หรือไม่รู้สึกตัว ส่วนมากใช้หลังผ่าตัด
คะแนนอยู่ระหว่าง 4 – 13
การแปลผล
4 = ไม่ปวด
5-7 = ปวดน้อย
8-10 = ปวดปานกลาง
11-13 = ปวดมาก
คะแนนตั้งแต่ 6 ต้องได้รับยาแก้ปวด
แนวคิดการจัดการความปวดตามกรอบ RAT Model
ตระหนัก(Recognize)
การตระหนักถึงการรับรู้ความปวดของผู้ป่วยว่า
ผู้ป่วยทราบว่าตนเองมีความปวดไหม
ประเมิน (Assess)
การประเมินความปวดในลักษณะดังนี้ วัดความรุนแรง มีระดับคะแนนความปวดเท่าไร ตำแหน่งที่ปวดมีกี่ตำแหน่ง ปวดตรงตำแหน่งไหนมากที่สุด
รักษา(Treat)
ใช้ยา
เล็กน้อย Paracetamol(+NSAID)
ปานกลาง Paracetamol(+NSAID)+Codeine
รุนแรง Paracetamol(+NSAID)+Morphine
ไม่ใช้ยา
หลักRICE
การพัก(Rest:R) ความเย็น(Ice:I) การกด(Compression:C) การยกบริเวณที่บาดเจ็บให้สูง(Elevation of Injuries:E)
การเบี่ยงเบนความสนใจ
ทารกแรกเกิด
การดูดนมแม่หรือการให้นมแม่,การอุ้มและการสัมผัสร่างกาย,
การดูดจุกเปล่าเพียงอย่างเดียว,การห่อตัวทารกด้วยผ้า
วัยหัดเดิน
การโอบกอดเด็กขณะทำหัตถการต่างๆ,การเล่นของเล่น
วัยก่อนเรียน
การดูวีดีโอการ์ตูน,ฟังนิทาน, เล่นเกมมือถือ
วัยเรียน
ดูวีดีโอตลกหรือเรื่องขบขันต่างๆ,เล่นเกมที่เด็กชอบ
เกมที่มีความซับซ้อนมากกว่าเด็กวัยก่อนเรียน
วัยรุ่น
ฟังเพลงตามที่เด็กชอบ ,สวดมนต์ตามความเชื่อของศาสนา,
นั่งสมาธิ ,นวดส่วนต่างๆของร่างกาย
กรณีศึกษา
เด็กผู้หญิงอายุ 5 ปีเป็นมะเร็งกระดูกระยะสุดท้ายเธอ
นอนร้องให้เกือบตลอดเวลาและกลัวการฉีดยาท่านจะ
จัดการความปวดของเธอโดยใช้ RAT อย่างไร?
R : การตระหนักว่าผู้ป่วยมีความปวดหรือไม่
ถามผู้ดูแลเด็กและถามผู้ป่วยเด็กอายุ 5 ปี
สังเกตจากสีหน้าท่าทางอารมณ์ (ร้องให้ตลอดเวลา)
A : ประเมิน
การประเมินความปวด
Faces Pain Scale
FOLACC scale
CHEOPS
ระดับความรุนแรง
Severe
ประเภทความปวด
Chronic
mixed neuropathic and nociceptive
ปัจจัยอื่นด้านจิตใจ
ผู้ป่วยเด็กกลัวเข็มฉีดยา
T: การรักษา
รักษาแบบใช้ยา
แผ่นแปะ morphine เพื่อบรรเทา Nociceptive pain
Gabapentin เพื่อบรรเทา Neuropathic pain
Tramadol
การรักษาแบบไม่ใช้ยา
Rest
ปลอบประโลมพูดคุยสร้างความคุ้นเคย
เบี่ยงเบนความสนใจ: หากิจกรรม
จากการสอบถามในสิ่งที่เด็กอยากทำจากตัวเด็กและมารดา
การดูวีดีโอการ์ตูน,ฟังนิทาน, เล่นเกมมือถือ
อ้างอิง
ณัชนันท์ ชีวานนท. (2016).
บทบาทพยาบาลในการลดความวิตกกังวลจากการพรากจากของเด็กวัยก่อนเรียน.
สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2563, จาก
https://he01.tcithaijo.org/index.php/pnc/article/download/117589/90225/
นันท์นริน ทีฆวิวรรธน์. (2560).
ความวิตกกังวลจากการพรากจากในเด็ก.
สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2563, จาก
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nah/article/download/108112/85551
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์. การใช้ RAT Model สำหรับการจัดการความเจ็บปวด. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2563, จาก
http://www.ckphosp.go.th/diapo.1.0.4/diapo
ศรีสุดา เอกลัคนารัตน์.(2563).
บทที่ 5 การดูแลเด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
จัดทำโดย
นางสาวสุดารัตน์ วงษ์ธัญญะ เลขที่70 ห้อง3B
613701162