Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย - Coggle Diagram
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
ความหมาย
ระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ ที่รัฐหรือผู้มีอำนาจกำหนดขึ้น เพื่อควบคุมความประพฤติ ที่อาจก่อให้เกิดความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย หากผู้ใดฝ่าฝืนย่อมต้องได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด
ลักษณะของกฎหมาย
กฎหมายต้องมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์
เป็นข้อบังคับที่เป็นมาตรฐานที่ใช้วัดหรือกำหนดความประพฤติของคนในสังคมว่าถูกหรือผิด ทำได้หรือไม่ได้
กฎหมายต้องกำหนดขึ้นโดยรัฐหรือผู้มีอำนาจ
เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับของผู้มีอำนาจในรัฐ สำหรับประเทศไทยองค์กรที่ทำหน้าที่ออกกฎหมาย เช่น รัฐสภา รัฐบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
กฎหมายต้องบังคับใช้โดยทั่วไป
บุคคลทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายโดยเสมอภาค จะมีใครอยู่เหนือกฎหมายไม่ได้ หรือทำให้เสียประโยชน์หรือเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคลใดโดยเฉพาะเจาะจงไม่ได้ แต่อาจมีข้อยกเว้นในบางกรณี
กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ
บุคคลนั้นปฏิบัติตามจึงจำต้องมีสภาพบังคับในกรณีที่มีการผ่าฝืนกฎหมาย หากเกณฑ์ใดไม่มี สภาพบังคับก็ไม่ถือว่าเป็นกฎหมาย
ระบบของกฎหมาย
ระบบกฎหมายจารีตประเพณี หรือระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Common law system)
โดยมีระบบการพิจารณาพิพากษาคดีที่อาศัย บรรทัดฐานจากคดีที่คล้ายคลึงกัน ต่อมาพระมหากษัตริย์ได้พยายาม สร้างหลักเกณฑ์การพิจารณาคดี เพื่อความเป็นธรรมในกรอบเดียวกัน โดยจัดตั้งศาลและส่งผู้พิพากษาไปตัดสิน คดีทั่วประเทศ จนเกิดเป็นกฎเกณฑ์ทั่วไป
ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร หรือระบบประมวลกฎหมาย (Civil law system)
รับการจัดระบบอย่างดีในสมัยพระเจ้าจัสติเนียน (Justinian) โดยนำคำพิพากษาของศาล และการตีความของนักปราชญ์ทางกฎหมาย จนได้กฎหมายที่ได้รับการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร
ประเภทของกฎหมาย
กฎหมายที่แบ่งตามสิทธิประโยชน์ และความสัมพันธ์ของบุคคล
กฎหมายมหาชน (Public Law)
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
กฎหมายปกครอง
กฎหมายอาญา
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ธรรมนูญศาลยุติธรรม
กฎหมายเอกชน (Private Law)
กฎหมายแพ่ง
กฎหมายพาณิชย์
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
อื่นๆ เช่น พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ กฎหมายแรงงาน กฎหมายประกันสังคม
กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law)
แผนกคดีเมือง
แผนกคดีบุคคล
แผนกคดีอาญา
กฎหมายที่แบ่งโดยแหล่งกำเนิดของกฎหมาย
กฎหมายภายใน
กฎหมายภายนอก
กฎหมายที่แบ่งโดยเจตนารมณ์และเนื้อหาของกฎหมาย
กฎหมายระเบียบราชการ กฎหมาย การเงินการคลัง กฎหมายธุรกิจ กฎหมายสาธารณะสุข กฎหมายอุตสาหกรรม
กฎหมายที่แบ่งโดยลักษณะการใช้กฎหมาย
กฎหมายวิธีสบัญญัติ
กฎหมายสารบัญญัติ
ลำดับชั้นหรือศักดิ์ของกฎหมาย
รัฐธรรมนูญ (Constitutional Law)
เป็นกฎหมายที่มีศักดิ์สูงสุด กำหนดรูปแบบการปกครองประเทศและวางระเบียบอำนาจสูงสุดของรัฐหรืออำนาจอธิปไตย
พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด และประมวลกฎหมาย
พระราชบัญญัติ กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภา โดยผู้ที่สามารถเสนอร่างกฎหมายนี้ คือ คณะรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่เสนอผ่านพรรคการเมืองที่ตนสังกัด
ประมวลกฎหมาย (Code of Law) เป็นการรวบรวมบทบัญญัติของกฎหมายลายลักษณ์อักษรในเรื่องเดียวกันให้มาอยู่ในหมวดเดียวกันอย่างเป็นระบบเพื่อง่ายต่อการศึกษา ค้นคว้า
พระราชกำหนด (Royal Enactment) เป็นกฎหมายที่รัฐธรรมนูญมอบอำนาจให้แก่ ฝ่ายบริหาร เพื่อออกข้อบังคับในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วน อันจะเป็นประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ
พระราชกฤษฎีกา (Royal Decree)
กำหนดรายละเอียดที่เป็นหลักย่อยของพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี
กฎกระทรวง (Ministerial Regulation)
ออกโดยฝ่ายบริหาร คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ ซึ่่งออกตามความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ เพื่อออกกฎหมายเกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆ ในการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัตินั้นๆ
ระเบียบ และข้อบังคับ (Rule/Regulation/Discipline)
เป็นกฎหมายที่ออกโดยหัวหน้าหน่วยงานองค์กร ผ่านความเห็นชอบจากผู้บริหารหน่วยงานหรือคณะกรรมการ เพื่อกำหนดรายละเอียดวิธีปฏิบัติงาน โดยอาศัยตามพระราชบัญญัติ
ประกาศและคำสั่ง (Announcement/Command)
เป็นกฎหมายที่ออกโดยหัวหน้าหน่วยงาน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในหน่วยงาน โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ หรือเพื่อปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติ
ลักษณะของระบบศาลไทย
ระบบศาลเดี่ยว
ระบบศาลคู่
ระบบศาลของประเทศไทยเป็นระบบศาลคู่ แยกเป็นอิสระจากกันมีผู้พิพากษาหรือตุลาการของแต่ละศาลโดยเฉพาะจะย้ายจากศาลหนึ่งไปดำรงตำแหน่งในอีกศาลหนึ่งไม่ได้
ศาลของประเทศไทย
ศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลยุติธรรม
ศาลชั้นต้น เป็นศาลยุติธรรมที่พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นแรก เมื่อมีการฟ้องร้องและนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลอาญา
ศาลอุทธรณ์ เป็นศาลลำดับที่สูงกว่าศาลชั้นต้น มีองค์คณะผู้พิพากษาอย่างน้อย 3 คน เพื่อพิจารณาตัดสินคดีที่ศาลชั้นต้นได้ตัดสินแล้ว แต่คู่ความยังต้องการความเป็นธรรม
ศาลฎีกาเป็นศาลยุติธรรมสูงสุด มีประธานศาลฎีกาซึ่งเป็นประมุขของตุลาการ ศาลยุติธรรม เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด มีเพียงศาลเดียวตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
ศาลปกครอง (Administrative Court)
ศาลทหาร