Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะขาดออกซิเจน Birth asphyxia หรือ Perinatal asphyxia - Coggle Diagram
ภาวะขาดออกซิเจน
Birth asphyxia หรือ Perinatal asphyxia
ความหมาย
ภาวะที่ทารกแรกเกิดไม่สามารถหายใจได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นผลให้ขาดสมดุลของการแลกเปลี่ยนก๊าซ ทำให้ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ hypoxia มีการคั่งของคาร์บอนไดออกไซต์ hypercapnia และมีสภาพเป็นกรดในกระแสเลือด
กลไกการเกิด
การไหลเวียนเลือดทางสายสะดือขัดข้อง มีการหลุดไหลเวียนหรือไหลเวียนลดลง เช่น สายสะดือถูกกดทับขณะเจ็บครรภ์หรือขณะคลอด
ไม่มีการแลกเปลี่ยน Oxygen ที่รก ซึ่งเกิดจากการแยกตัวออกจากมดลูก เช่น รกลอกตัวก่อนกำหนด abruptio placenta รกมีเนื้อตาย placenta infarction
การนำOxygenหรือสารอาหารจากมารดาไปยังทารกโดยผ่านทางรกไม่เพียงพอ เช่น มารดาที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ช็อก สูญเสียเลือด ซีด การบีบตัวของมดลูกนานเกินไปหรือถี่มากไป
ปอดทารกขยายไม่เต็มที่และการไหลเวียนเลือดยังคงเป็นแบบทารกในครรภ์ไม่สามารถปรับเป็นแบบทารกหลังคลอดได้และไม่พัฒนาเป็นแบบผู้ใหญ่ เช่น มีทางเดินหายใจอุดตัน มีน้ำคั่งในปอด มีความสามารถในการหายใจไม่สมบูรณ์ มีการหายใจล้มเหลวเนื่องจากสมองถูกกด
พยาธิสภาพ
ภาวะขาดOxygen ทำให้มีปริมาณออกซิเจนในกระแสเลือดต่ำระดับแรงดันOxygenในหลอดเลือดแดงเท่ากับหรือน้อยกว่า 40 mmHg และมีการคั่งของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีระดับแรงดันคาร์บอนไดออกไซด์ในหลอดเลือดแดงมากกว่า 80 mmHg ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนเลือดในร่างกายโดยมีเลือดไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญที่สุดในร่างกายก่อน คือ สมอง หัวใจ และต่อมหมวกไต ส่วนอวัยวะอื่นๆ จะมีเลือดไปเลี้ยงน้อยลง การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด คือ อัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจ เริ่มด้วยมีการหายใจแบบ gasping ตามมาด้วยการหายใจไม่สม่ำเสมอและหัวใจเต้นช้าลงถ้าไม่ได้รับการแก้ไขทารกจะหยุดหายใจ
อาการและอาการแสดง
ระยะตั้งครรภ์หรือก่อนคลอด
ทารกมีการเคลื่อนไหวมากกว่าปกติและต่อมาจะมีการเคลื่อนไหวน้อยลงกว่าปกติอัตราการเต้นของหัวใจทารกในระยะแรกจะเร็วมากกว่า 160 ครั้ง/นาที ต่อมาจะช้าลง
ระยะคลอด
พบขี้เทา
ระยะหลังคลอด
แรกคคลอดทันทีมีคะแนน APGAR ต่ำกว่า 7 ตัวเขียว ไม่หายใจเองตัวนิ่ม อ่อนปวกเปียก ปฎิกิริยาตอบสอนงต่อสิ่งกระตุ้นลดลง หัวใจเต้นช้า
การวินิจฉัย
ประวัติการคลอด
ตรวจร่างกาย APGAR
อาการและอาการแสดง
การตรวจทางห้องปฎิบัติการ
ความรุนแรงของการขาดออกซิเจน
mild asphyxia
ให้ความอบอุ่น ทำทางเดินหายใจให้โล่ง กระตุ้นการหายใจ ให้Oxygenผ่านสายหรือ mask ถ้าอาการดีขึ้น APGAR ที่ 5 นาที > 8 คะแนน ให้ดูแลต่อเหมือนทารกทั่วไป ถ้าคะแนน APGAR ที่ 5 นาที < 4 คะแนนดูแลเหมือนทารกที่มีภาวะ moderate asphyxia
moderate asphyxia
ให้Oxygen 100% และช่วยหายใจด้วย mask และ bag เมื่อดีขึ้นจึงใจ feeding tube เพื่อดูดลมออก ถ้าไม่ดีขึ้นหลังช่วยหายใจนาน 30 วินาที ให้ใส่ ET tube และนวดหัวใจ
severe asphyxia
ให้การช่วยเหลือโดยช่วยหายใจทันทีที่คลอดเสร็จ โดยใส่ ET tube และช่วยหายใจด้วยออกซิเจน 100% ผ่าน bag ร่วมกับการนวดหัวใจ ถ้าไม่ดีขึ้นรักษาต่อด้วยยา
การพยาบาล
เตรียมทีมบุคลากร เครื่องมือให้พร้อมก่อนคลอดในรายที่มารดามีภาวะเสี่ยงหรือมีอาการแสดงที่น่าสงสัยว่าจะเกิด asphyxia
ดูดสิ่งคัดหลั่งออกให้มากที่สุดก่อนทำคลอดลำตัว
เช็ดตัวทารกให้แห้งทันทีหลังคลอดและห่อตัวเพื่อรักษาอุณหภูมิร่างกาย ลดการใช้Oxygen
บันทึกอัตราการหายใจ การเต้นของหัวใจทารกภายหลังคลอด
สังเกตอาการ เช่น ริมฝีปากและปลายมือปลายเท้าซีดเขียว หายใจปีกจมูกบาน หายใจมีเสียงคราง หน้าอกบุ๋ม
ดูแลให้ได้รับการตรวจทางห้องปฎิบัติการและการได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์
ดูแลให้ได้รับอาหารและสารน้ำ ตามแผนการรักษาของแพทย์
ดูแลความสะอาดของร่างกาย
ดูและให้ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ
ส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก