Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
อิเหนา, ณิชารัศม์ พรธัญประสิทธิ์ ม.4/2 เลขที่ 15 - Coggle Diagram
อิเหนา
ตัวละครที่สำคัญ
อิเหนา
อิเหนาหรือระเด่นมนตรี เป็นโอรสของท้าวกุเรปันและประไหมสุหรีนิหลาอระตา แห่งกรุงกุเรปัน อิเหนาเป็นชายรูปงามมีเสน่ห์ เจรจาอ่อนหวาน นิสัยเจ้าชู้ มีความเชี่ยวชาญในการใช้กริชและกระบี่เป็นอาวุธ
-
บุษบา
เป็นธิดาของท้าวดาหาและประไหมสุหรีดาหราวาตี แห่งกรุงดาหา ท้าวกุเรปันก็ขอตุนาหงันให้กับอิเหนา บุษบาเป็นหญิงที่งามล้ำเลิศกว่านางใดในแผ่นดินชวากิริยามารยาทเรียบร้อย คารมคมคาย เฉลียวฉลาดทันคนใจกว้างและมีเหตุผล
-
องค์ปะตาระกาหลา
องค์ปะตาระกาหลา หรือบางทีเรียกว่า องค์อสัญแดหวา เป็นเทวดาบรรพบุรุษของ ราชวงศ์อสัญแดหวา ซึ่งมีอยุ่ด้วยกัน 4 เมือง คือ กรุงกุเรปัน กรุงดาหา กรุงกาหลังและกรุงสิงหัดส่าหรี องค์ปะตาระกาหลาจะคอยดูแลทุกข์สุขของบุคคลในราชวงศ์อสัญแดหวาอยู่เสมอ
-
ท้าวดาหา
ป็นกษัตริย์ผู้ครองกรุงดาหา ท้าวดาหามีโอรสและธิดากับประไหมสุหรี 2 องค์คือ บุษบาหนึ่งหรัดกับสียะตรา ท้าวดาหาเป็นผู้มีใจยุติธรรม
-
จรกา
ระตูจรกา เจ้าเมืองเล็ก ๆ เมืองหนึ่ง รูปชั่วตัวดำ แต่ต้องการมีมเหสีรูปงาม จึงให้ช่างไปวาดรูปหญิงงามตามเมืองต่าง ๆเมื่อระตูจรกาได้เห็นภาพนางบุษบาก็หลงใหลตนสลบลง เมื่อฟื้นขึ้นก็ขอให้พี่ชายคือระตูล่าสำไปสู่ขอนางบุษบา ท้าวดาหาก็ยกให้ ต่อมาเกิดศึกกะหมังกุหนิง
-
ท้าวกะหมังกุหนิง
เป็นกษัตริย์ที่มีความหยิ่ง ในเกียรติและศักดิ์ศรีของตน รักลูกมาก
ท้าวกะหมังกุหนิง ..ผู้หยิ่งอย่างทระนง
-
วิหยาสะกำ
เป็นลูกของท้าวกะหมังกุหนิง เป็นผู้มีความเอาแต่ใจตน และลุ่มหลงในรูปรสภายนอก ดูได้จาก การให้พ่อของตนไปสู่ขอนางบุษบามาแต่งงานกับตน ทั้งที่รู้ว่านางบุษบามีคู่หมั้นแล้ว
-
สังคามาระตา
สังคามาระตาเป็นหนุ่มรูปงาม มีความเฉลียวฉลาด รอบคอบ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ เก่ง และกล้าหาญ ทั้งยังมีความซื่อสัตย์ และชำนาญในการใช้ทวนเป็นอาวุธ เป็นคู่คิดคู่ปรึกษาและช่วยเตือนสติอิเหนาได้หลายครั้ง
-
-
ข้อมูลทั่วไป
-
จุดหมายความเป็นมา
เป็นวรรณคดีที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งชาวชวาได้แต่งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่พระมหากษัตริย์ สมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชก็ทรงพระราชนิพนธ์บทละคร อิเหนา ขึ้น โดยยังคงเค้าโครงเรื่องเดิม
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้พระราชนิพนธ์ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เนื่องจาก เนื้อความเข้ากันไม่สนิทกับบทเมื่อครั้งกรุงเก่าและนำมาเล่นละครได้ไม่เหมิจึงทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ให้สั้นและสอดคล้องกับท่ารำโดยรักษากระบวนการเดิม
จากนั้นพระราชทานให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิทักษ์มนตรีซึ่งเชี่ยวชาญในการละคร ได้นำไปประกอบท่ารำและฝึกซ้อมจนเห็นสมควรว่าดี แล้วจึงรำถวายให้ทอดพระเนตรเพื่อให้มีพระบรมราชวินิจฉัยอีครั้งเป็นอันเสร็จ
ลักษณะคำประพันธ์
บทละครรำ เรื่อง อิเหนา มีรูปแบบการแต่งกลอนบทละครซึ่งมีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสี่สุภาพ แต่ละวรรคมักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า “เมื่อนั้น” “บัดนั้น” และ “มาจะกล่าวบทไป” กลอนบทละคร บทหนึ่งมี ๔ วรรค วรรคละ ๖ คำ หนึ่งบทมี ๒ บาท เรียกว่าบาทเอก และบาทโท ๑ บาท เท่ากับ ๑ คำกลอน มีลักษณะการสัมผัสดังนี้
-
คุณค่าด้านต่างๆ
คุณค่าด้านเนื้อหา
โครงเรื่อง
แนวคิดของเรื่อง เรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิงเป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงความรักที่พ่อมีให้ต่อลูก รักและตามใจลูกทุกอย่าง แม้กระทั่งตัวตายก็ยอม
ฉาก เนื้อเรื่องเป็นเรื่องของชวา แต่การบรรยายฉากในเรื่องเป็นฉากของไทย บ้านเมืองที่กล่าวพรรณนาไว้คือกรุงรัตนโกสินทร์ วัฒนธรรมประเพณีที่ปรากฏในเรื่องคือเรื่องของไทยที่สอดแทรกไว้อย่างมีศิลปะ อาทิ พระราชพิธีสมโภชลูกหลวง(เมื่ออิเหนาประสูติ) พระราชพิธีการพระเมรุที่เมืองหมันหยา พระราชพิธีรับแขกเมือง (เมื่อเมืองดาหารับทูตจรกา) พระราชพิธีโสกันต์ (สียะตรา) ซึ่งล้วนแต่เป็นพรราชพิธีของไทยแต่โบราณ
ปมขัดแย้ง ตอนศึกกะหมังกุหนิงมีหลายข้อขัดแย้ง แต่ละปมปัญหาเป็นเรื่องที่อาจเกิดได้ในชีวิตจริงและสมเหตุสมผล
-
-
-
-