Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มงคล38 จัดทำโดย จิดาภา ตรุณรัตน์ ม .4/5 เลขที่ 2 - Coggle Diagram
มงคล38
จัดทำโดย
จิดาภา ตรุณรัตน์
ม .4/5 เลขที่ 2
๑ .ความเป็นมา
เมื่อ พ .ศ . ๒๔๖๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่๖ ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราช นิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเภทคำฉันท์ โดยใช้คำประพันธ์ ๒ ชนิด คือกาพย์ฉบัง ๑๖ และอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ ทรงนำคาถา ภาษาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้ง แล้วแปลถอดความเป็นร้อยกรองภาษาไทย ได้ถูกต้องตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์โดยไม่เสีย เนื้อความจากพระคาถาบาลี การจัดวางลำดับของมมงคลแต่ละข้อก็เป็นไปตามที่ปรากฏอยู่ในพระคาถาเดิม ซึ่งแสดงให้เห็นถึง พระอัจริยภาพทางด้านภาษาได้อย่างดียิ่ง
๒ .ผู้แต่งประวัติผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖ แห่งราชวงศ์จักรีตลอดระยะเวลา ๑๕ ปีที่ ทรงพระ ปรีชาสามารถทั้งด้านการทหาร การปกครอง การต่างประเทศ โดยเฉพาะด้านอักษรศาสตร์ บทพระราชนิพนธ์หลายเรื่องที่ยังได้รับการยก ย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดี อาทิหัวใจนักรบ เป็นยอดของบทละครพูดร้อยแก้ว มัทนะพาธา เป็นยอดของบทละคร ค าพูดฉันท์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้รับการถวายพระราชสมญานามว่า“สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า” ซึ่งมีความหมาย ว่า นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่และพระองค์ทรงยังได้รับการประกาศยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่ง สหประชาชาติหรือ ยูเนสโก (UNESCO) ให้ทรงเป็น ๑ ใน ๕ นักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ของไทย
๓ .ลักษณะคำประพันธ์
กาพย์ฉบัง ๑๖ และอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
*
กาพย์ฉบัง ๑๖ หนึ่งบทมี๑๖ คำ ๓ วรรค วรรคละ ๖ -๔ -๖ คำตามลำดับ บังคับสัมผัสท้ายวรรคแรกกับวรรคที่สองสัมผัสระหว่าง บทส่งจ ากท้ายวรรคแรก ไปยังท้ายวรรคแรกในบทต่อไป
*
อินทรวิเชียรฉันท์๑๑ หนึ่งบทมี๒ บาท บาทละ ๑๑ พยางค์แบ่งเป็น ๒ วรรค วรรคแรก ๕ พยางค์วรรคหลัง ๖ พยางค์ส่งสัมผัส แบบกาพย์ •ลักษณะครุ-ลหุ เหมือนกันทุกบาท คือ ครุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ครุลหุ-ลหุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ครุ
๔ .จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อให้ตระหนักว่าสิริมงคลจะเกิดแก่ผู้ใดก็เพียงผลมาจากการปฏิบัติของตนทั้งสิ้นไม่มีผู้ใดหรือสิ่งใดจะทำให้ เกิดสิริมงคลแก่เราได้นอกจากตัวเราเอง
๕ .เรื่องย่อ
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงมงคลสูงสุด ๓๘ ประการ ไว้ในมงคลสูตรซึ่งสำคัญบทหนึ่งใน พระพุทธศาสนา มงคลสูตรปรากฏในพระไตรปิฏก ขุททกนิกาย หมวดทขุททกปาฐะสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงมงคลอัน สูงสุด ๓๘ ประการ ไว้ในมงคลสูตร ซึ่งเป็นพระสุตรสำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนา มงคลสูตรปรากฏในพระสุตตันตปิฏก ขุททก นิกาย หมวดขุททกปาฐะ พระอานนทเถระได้กล่าวถึงที่มาของมงคลสูตรว่า ท่านได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ณ เชตะวันวิหาร กรุงสาวัตถีมงคลสูตรนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจคำถาม คือ พระพุทธเจ้าทรงเล่าให้พระอานนท์ฟังว่า มีเทวดาเข้ามาทูลถามพระองค์ เรื่องมงคล เพราะเกิดความโกลาหลวุ่นวายขึ้นทั้งในหมู่เทวดาและมนุษย์ ที่มีลัทธิเรื่องมงคลแตกต่างกันเป็นเวลานานถึง ๑๒ ปีท้าวสักก- เทวราชจึงทรงมอบหมายให้ตนมาทูลถาม พระพุทธองค์จึงตรัสตอบเรื่องมงคล ๓๘ ประการ ต่อจากราตรีนั้นพระพุทธองค์ได้ทรงแสดง เรื่องมงคลนี้แก่พระอานนท์อีกครั้งหนึ่ง
๖ . ใจความสำคัญของมงคลสูตรคำฉันท์
คาถาบทที่ ๑ ไม่ควรคบคนชั่วเพราะจะพาให้เราประพฤติชั่วไปด้วย ควรคบคนดีมีความรู้เพราะจะน าเราไปสู่ความสำเร็จและควรบูชาคนดี
คาถาบทที่ ๒ ควรปฏิบัติตนและอยู่ในที่ที่เหมาะที่ควรแห่งตน ท าบุญไว้แต่ปางก่อน คาถาบทที่ ๓ รู้จักฟัง รู้จักพูด มีวินัย ใฝ่ศึกษาหาความรู้
คาถาบทที่ ๔ ดูแลบิดามารดา บุตร ภรรยาเป็นอย่างดี ท างานด้วยความตั้งใจ
คาถาบทที่ ๕ รู้จักให้ทาน ช่วยเหลือญาติพี่น้อง ท าแต่ความดี มีสัมมาอาชีพ
คาถาบทที่ ๖ ไม่ประพฤติชั่ว ไม่ละเลยในการประพฤติ เว้นการดื่มน้ าเมา
คาถาบทที่ ๗ ให้ความเคารพผู้ควรเคารพ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีความพอใจในสิ่งที่ตนมี มีความกตัญญูรู้คุณ และรู้จัก ฟัง ธรรมในโอกาสอันควร
คาถาบทที่ ๘ มีความอดทน ว่านอนสอนง่าย หาโอกาสพบผู้ด ารงคุณธรรมเพื่อสนทนาธรรม
คาถาบทที่ ๙ พยายามก าจัดกิเลส ประพฤติพรหมจรรย์ เข้าใจในความเป็นจริงของชีวิตเพื่อจิตสงบถึงซึ่งนิพพาน
คาถาบทที่ ๑๐ มีจิตอันสงบ รู้จักปล่อยวางไม่หวั่นไหวกับสิ่งที่มากระทบ
คาถาบทที่ ๑๑ เทวดาและมนุษย์ปฏิบัติสิ่งที่เป็นมงคลเหล่านี้แล้วจะไม่พ่ายแพ้ให้แก่ข้าศึกทั้งปวงมีแต่ความสุขความเจริญทุกเมื่อ
๗ . คุณค่าที่ได้รับด้านสังคม และด้านวรรณศิลป์
คุณค่าด้านเนื้อหา มงคลสูตรค าฉันท์นอกจากจะมีการแปลถอดความมาจากพระคาถาแล้ว ยังมีการอธิบายขยายมงคลเพิ่มเติม คุณค่าด้านวรรณศิลป์ การสรรค า การเลือกสรรคำเป็นอย่างดี การเลือกใช้คำประพันธ์ การเลือกใช้กาพย์ฉบัง16 และ อินทรวิเชียรฉันท์ 11 สามารถประพันธุ์ได้ตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี การแปล ถอดความ การภาษาบาลีเป็นบทร้อยกรอง ประเภทคำฉันท์ ทรงแปลถอดความได้อย่างสละสลวย คุณค่าด้านสังคม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ าวันได้ ได้ประโยชน์ทั้งแก่ตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ จากคาถาทั้งหมด ๑๑ บทแสดงให้เห็นสิ่งที่เราควรปฏิบัติตน ไม่ประพฤติชั่ว ทำแต่ความดี เท่านั้น แต่ละข้อล้วนแล้วแต่สามารถน าไปใช้ใน ชีวิตประจำวันได้เพื่อความสุข ความเจริญของตนเองและครอบครัว
๙ .บทอาขยาน
พาหุสจฺจญฺจ สิปฺปัญฺจ ..... วินโย จฺ สุสิกฺขิโต
สุภาสิตา จ ยา วาจา .... เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
ความได้สดับมาก .... และกำหนดสุวาที
อีกศิลปะศาสตร์มี .... จะประกอบมนุญการ
อีกหนึ่งวินัยอัน .... นรเรียนและเชี่ยวชาญ
อีกคำเพราะบรรสาน .... ฤดิแห่งประชาชน
ทั้งสี่ประการล้วน .... จะประสิทธิ์มนุญผล
ข้อนี้แหละมงคล .... อดิเรกอุดมดี
๘ .แปลบทมงคลสูตร
มงคลที่9 มีวินัยที่ดี
อันวินัย นำระเบียบ สู่เรียบร้อย
คนใหญ่น้อย เปรมปรีดิ์ ดีนักหนา
วินัยสร้าง กระจ่างข้อ ก่อศรัทธา
เพราะรักษา กติกา พาร่วมมือ
ไม่พูดเท็จ พูดสอดเสียด และพูดมาก ละความยาก สร้างวิบาก ฝากยึดถือ คนหมู่มาก มักถางถาก ปากข่าวลือ ต้องสัตย์ซื่อ ถือวินัย ใช้ร่วมกัน