Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่6 การพยาบาลแบบองค์รวมในการแก้ไขปัญหาทางจิตสังคมแก่วัยเด็ก วัยรุ่น…
บทที่6 การพยาบาลแบบองค์รวมในการแก้ไขปัญหาทางจิตสังคมแก่วัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยผู้สูงอายุ
การขาดที่พึ่ง (Homeless)
คนไร้ที่พึ่ง
หมายถึง บุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพบุคคลที่มีฐานะยากจน บุคคลที่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ และให้รวมถึงบุคคล ที่อยู่ในสภาวะยากลำบาก และไม่อาจพึ่งพาบุคคลอื่นได้
พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ.2557
1) บุคคลที่ประสบความเดือดร้อนอยู่ในภาวะยากลำบาก
2) คนเร่ร่อน
3) บุคคลซึ่งอาศัยที่สาธารณะเป็นที่พักนอนชั่วคราว
4) บุคคลที่มีสถานะทางทะเบียนราษฎรแต่ไร้สัญชาติ
5) บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร
ปัญหาสุขภาพของคนไร้ที่พึง
ปัญหาปัจจัย4
ปัญหาสุขภาพ
มีปัญหาสุขภาพจิต
การเข้าถึงระบบสุขภาพ
การดูแลบุคคลไร้ที่พึ่ง พบเห็นทั่วไป
ให้ข้อมูลที่จำเป็น
แจ้ง 1300 สายด่วนศูนย์ช่วยเหลือสังคม
ให้ความช่วยเหลือตามที่ช่วยได้
การดูแลผู้ป่วยจิตเวชไร้ที่พึ่ง พบเห็น
แจ้งหน่วยงานปกครอง
แจ้งตำรวจ
แจ้ง 1667 สายด่วนสุขภาพจิต
แจ้ง 1300 สายด่วนศูนย์ช่วยเหลือสังคม
การดูแลด้านร่างกายผู้ป่วยจิตเวชไร้ที่พึ่ง
การสร้างสัมพันธภาพ
การตรวจสภาพจิตและคัดกรองทางจิต
การดูแลบำบัดรักษาในรายที่มีความเจ็บป่วยทางจิต
การผ่อนคลายความเครียด
การส่งเสริมความมีคุณค่าในตนเอง
การฝึกการเข้าสังคม
ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อทุเลาอาการการดูแลผู้ป่วยจิตเวชไร้ที่พึ่ง
คนไร้บ้าน
คนไร้บ้านไม่ได้ขี้เกียจ หาเลี้ยงตนเองคือ
ขายพวงมาลัย
ขายของมือสอง
รับจ้างเข็นรถเข็นของในตลาด
รับจ้างแจกใบปลิว
รับจ้างทำความสะอาด
รับจ้างรักษาความปลอดภัย
ตัวประกอบละคร
สาเหตุการไร้บ้าน
ปัญหาสังคม
-การออกจากบ้าน -ติดหนี้เพราะค้ำประกัน -ไม่ได้รับโอกาส
ปัญหาเศรษฐกิจ
-การปิดตัวของกิจการ -การถูกยึดที่ทำกิน
คนเร่ร่อน
ความโกรธ (Anger)
ความโกรธ
เป็นอารมณ์ธรรมชาติของมนุษย์ที่เกิดจากความหงุดหงิดง่าย
นำไปสู่ความรู้สึกที่ไม่พอใจหรืออารมณ์รุนแรง
ความโกรธเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นที่ไม่พอใจและคุกคาม
สามารถเป็นแรงผลักดันด้านบวกให้บุคคลตัดสินใจและเป็นการเตรียมความพร้อมในการป้องกันตนเอง และมีอาการทางกายร่วมด้วย
สาเหตุของความโกรธ
ปัจจัยทางด้านชีวภาพ (Biological factor)
สารสื่อประสาท(HT5, DA, NE)
บาดเจ็บที่สมอง
เนื้องอกที่สมอง
น้ำตาลในเลือดต่ำ
สมองเสื่อม
ปัจจัยทางด้านจิตสังคม (Psychosocial)
ทฤษฏีพฤติกรรมศาสตร์ (Skinner)
ทฤษฏีการเรียนรู้ของสังคม (Bandura)
ทฤษฏีทางปัญญา (Beck)
ทฤษฏีจิตวิเคราะห์ (Freud)
กลไกทางจิตที่พบบ่อย
Projection
Displacement
Introjection
Suppression
Sublimation
พฤติกรรมตอบโต้ต่อภาวะโกรธ
Passive behavior เมื่อมีความโกรธจะพยายามเก็บกดหรือ ปฏิเสธหรือซ่อนความโกรธของเขาเอาไว้
Aggressive behavior จะแสดงความโกรธออกมาอย่างไม่ เหมาะสม เป็นพฤติกรรมเชิงทำลาย
Assertive behavior จะแสดงความโกรธออกมาเป็น พฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ (Constructive behavior) โดยจะยอมรับว่าอารมณ์หรือความรู้สึกโกรธ เป็นเรื่องปกติ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความรู้สึกโกรธ
การรู้ตัวของพยาบาล (Self awareness)
สร้างสัมพันธภาพด้วยท่าทีที่เป็นมิตร สงบ มั่นคง ใช้คำพูดที่ชัดเจน กระชับ ตรงไปตรงมา
จัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการบำบัด
เปิดโอกาสให้ระบายความความรู้สึก
ให้การยอมรับและให้ข้อมูลว่าอารมณ์โกรธเป็นเรื่องปกติ
เมื่อความโกรธลดลงให้สำรวจถึงสาเหตุ
ชี้แนะและให้ข้อมูลให้ผู้รับบริการเข้าใจถึงผลเสียของการแสดงความโกรธออกมาอย่างไม่เหมาะสม
ส่งเสริมให้ผู้รับบริการวางแผนหาวิธีระบายความโกรธของตนออกมาอย่างเหมาะสม
ภาวะวิกฤตทางอารมณ์ (Emotion crisis)
ความหมาย
ภาวะวิกฤตทางอารมณ์ (Emotion crisis) หมายถึง ภาวการณ์รับรู้ของบุคคลแต่ละบุคคลหรือปฏิกิริยาที่มีต่อเหตุการณ์ที่เป็นภยันตราย
ประเภทของภาวะวิกฤต
วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในกระบวนการพัฒนาการ (Developmental or Maturational Crisis) เป็นภาวะวิกฤติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในช่วงวัยต่างๆ ของกระบวนการเจริญเติบโต เช่น การไปโรงเรียนครั้งแรกเริ่มงานใหม่ แต่งงาน มีบุตรคนแรก การเกษียน
วิกฤตการณ์ที่เกิดอย่างไม่คาดฝัน (Situational Crisis) เช่น ความเจ็บป่วย การเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล การตั้งครรภ์ที่ไม่ต้องการ การคลอดก่อนกำหนดหรือบุตรพิการ การเจ็บป่วยการว่างงาน การตกงาน การหย่าร้าง ความตาย อุบัติเหตุ
วิกฤตการณ์ที่เกิดจากภัยพิบัติ (Disaster Crisis)
3.1 ภัยพิบัติจากธรรมชาติ (Natural Disaster) เช่น ซึนามิ น้ำท่วม โคลนถล่ม พายุ แผ่นดินไหว
3.2 ภัยพิบัติจากมนุษย์ (Man made Disaster) เช่น สงคราม การก่อเหตุร้ายแรง
ขั้นตอนการเกิดภาวะวิกฤต
Initial Impact รู้สึกตึงเครียดเมื่อรับรู้ว่ามีปัญหาเกิดขึ้น
Defensive Retreat พยายามขจัดปัญหาโดยใช้ DM
Acknowledgement เผชิญกับความเป็นจริงอย่างรอบคอบ
Resolution or disintegration ปัญหาคลี่คลายหรือยุ่งยากขึ้น
ลำดับเหตุการณ์ภาวะวิกฤติทางอารมณ์
ระยะก่อนเกิดภาวะวิกฤตทางอารมณ์ (precrisis period)
ระยะวิกฤตทางอารมณ์ (crisis period)
ระยะหลังวิกฤตทางอารมณ์ (postcrisis period) ความเข้มแข็งดีกว่าเดิม ความเข้มแข็งเท่าเดิม ความเข้มแข็งน้อยกว่าเดิม
กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดเพื่อให้ผู้รับบริการรู้สึกไว้วางใจ
กระตุ้นให้ผู้รับบริการพูดถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
รับฟังด้วยความตั้งใจ
ส่งเสริมให้ผู้รับบริการรับรู้ตามความเป็นจริง
ดูแลทางด้านร่างกาย
ให้บุคคลใกล้ชิดคอยช่วยเหลือ ตลอดจนใช้ศาสนาเป็นที่พึงทางใจ
ช่วยค้นหา social support
การจัดการอารมณ์ที่ตึงเครียดอย่างเหมาะสม
จำกัดพฤติกรรมที่ก้าวร้าวและพฤติกรรมทำร้ายตนเองหรือทำร้ายผู้อื่น
ส่งเสริมการจัดการปัญหาอย่างเหมาะสม
ติดตามประเมินหลังแก้ไขภาวะวิกฤตทางอารมณ์
จิตเวชชุมชน
(Community Psychiatry)
หมายถึง การดูแลบุคคล ครอบครัวและชุมชนทางด้านสุขภาพจิตที่ครอบคลุมถึงการส่งเสริมสุขภาพจิตการป้องกันปัญหาทางจิต การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตของผู้ป่วยในชุมชน โดยสนับสนุนให้ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม
องค์ประกอบสำคัญ
ผู้ป่วย/ครอบครัว
ทีมสหวิชาชีพ
ชุมชน
หลักการจิตเวชชุมชน
เน้นการบำบัดในที่เกิดเหตุหรือที่บ้านมากที่สุด
ให้การบำบัดรักษาแบบทันทีทันใด
การส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันการเจ็บป่วยทางจิต
เป้าหมายของบริการสุขภาพจิตและจิตเวชในชุมชน
เพื่อป้องกันการกลับมารักษาซ้ำในผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบOPD
เพื่อค้นหาผู้ป่วยที่มีอาการระยะแรกให้ได้รับการรักษาตั้งแต่ต้น
เพื่อลดความแออัดของผู้ป่วยในโรงพยาบาลจิตเวช
เพื่อประหยัดงบประมาณของโรงพยาบาลด้านการจ้างบุคลากร
เพื่อให้ผู้ป่วยได้มีโอกาสใกล้ชิดกับครอบครัวและชุมชน
เพื่อให้การช่วยเหลือในเวลาที่วิกฤต
การพยาบาลจิตชุมชน
ทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตในชุมชนตามช่วงวัยที่อาจมีความเสี่ยง
การให้สุขภาพจิตศึกษาชุมชนตามความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพจิตที่พบและตามช่วงวัย
การคัดกรองปัญหาสุขภาพจิต
ประสานครอบครัวและชุมชนเพื่อเตรียมจำหน่ายผู้ป่วย
ญาติมีส่วนช่วย
ส่งเสริมความมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วย
ไม่ตรีตรา
ใส่ใจความเป็นอยู่
เมื่อเริ่มมีอาการผิดปกติให้พาผู้ป่วยมาพบแพทย์
หาสาเหตุกระตุ้นและหาทางแก้ไข
ดูแลให้รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
นางสาวจิตรลดา แปชน รหัสนักศึกษา612701015 เลขที่15