Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การปฐมพยาบาลด้านจิตใจ ด้วยหลักการ EASE :<3:, ดาวน์โหลด (1), ดาวน์โหลด,…
การปฐมพยาบาลด้านจิตใจ
ด้วยหลักการ EASE :<3:
วิธีการสร้างสัมพันธภาพและการเข้าถึงจิตใจของผู้ได้รับผลกระทบ (Engagement: E)
การสร้างสัมพันธภาพ
การแสดงออกของผู้ให้การช่วยเหลือควรเหมาะสมกับเหตุการณ์อารมณ์ความรู้สึกและสภาพสังคม วัฒนธรรม ศาสนาของผู้ประสบเหตุการณ์วิกฤต
ควรนั่งอยู่เป็นเพื่อนจนกว่าเขาจะรู้สึกผ่อนคลายลงจึงจะชวนเขาไปยังห้องพักที่เตรียมไว
มีการแนะนำตัวเอง มีการมองหน้าสบตา รับฟังด้วยท่าทีที่สงบ ให้กำลังใจ ด้วยการพยักหน้า การสัมผัส
เริ่มจากการที่ผู้ให้การช่วยเหลือควรมีท่าทีสงบนิ่ง
การสื่อสาร
โดยเน้นถึงความรู้สึกขณะนั้น เช่นถามว่า “ตอนนี้รู้สึกเป็นอย่างไรบ้าง”
เพื่อให้พูดระบายความรู้สึก แต่ไม่ควรซักถามถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นอกจากผู้ประสบเหตุการณ์วิกฤตอยากเล่า
เริ่มพูดคุยเบื้องต้นเมื่อผู้ประสบเหตุการณ์วิกฤตมีความพร้อม
การสังเกตภาษาท่าทางและพฤติกรรม
Nonverbal
ผุดลุกผุดนั่ง ลุกลี้ลุกลน
น้ำเสียงกรีดร้อง ตะโกน
การเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น กำมือ มือไขว่คว้า
ก้มหน้า เอามือกุมศีรษะหรือปิดหน้า
สีหน้า แววตา ท่าทาง
Verbal
ร้องขอความช่วยเหลือ
พูดซ้ำไปซ้ำมา พูดวกวน
พูดสับสน ฟังไม่รู้เรื่อง ด่าทอ
วิธีการประเมินผู้ได้รับผลกระทบ (Assessment: A)
การประเมินสภาพจิตใจ
สอบถามความต้องการเร่งด่วนของผู้ประสบภาวะวิกฤต ให้ความ ช่วยเหลือตามความต้องการอย่างรีบเร่ง
อดทน รับฟัง ไม่แสดงอาการท่าทางเบื่อหน่าย
ให้ผู้ประสบภาวะวิกฤตได้ระบายความรู้สึก และใช้เทคนิคการสัมผัสตาม ความเหมาะสม
ประเมินหาสัญญาณของภาวะ/ ความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
ให้อยู่ในสถานที่ที่สงบ รู้สึกปลอดภัย เตรียมนํ้า ยาดม ให้นั่งหรือนอนราบ และดูแลอย่างใกล้ชิด
พูดให้กำลังใจ ช่วยให้ผู้ประสบภาวะวิกฤตหาสิ่งยึดเหนี่ยวในชีวิต
ประเมินความต้องการทางสังคม
ผู้ประสบภาวะวิกฤตไร้ญาติ ประสานกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือด้านที่พักอาศัยหรือสถานสงเคราะห์
ผู้ประสบภาวะวิกฤตต้องการความช่วยเหลือด้านการเงิน ทุนการศึกษา ให้ติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ผู้ประสบภาวะวิกฤตต้องการพบญาติหรือครอบครัวให้ติดต่อประสานโดยการโทรศัพท์
ประเมินและตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกาย
ผู้ประสบภาวะวิกฤตมีอาการออ่นเพลีย ควรจัดหานํ้าให้ดื่ม หาอาหารใหรับประทาน
ผู้ประสบภาวะวิกฤตเป็นลม ควรจัดหายาดมแอมโมเนีย ผ้าเย็นเช็ดหน้าและแขน
ผู้ประสบภาวะวิกฤตได้รับบาดเจ็บทางด้านร่างกาย ต้องบรรเทาความเจ็บปวดด้วยการให้ยา
ผู้ประสบภาวะวิกฤตกำลังอยู่ในสิ่งแวดลอ้มที่ไม่ปลอดภัยให้เคลื่อนย้ายผู้ประสบภาวะวิกฤตไปอยู่ในที่ปลอดภัย
วิธีการเรียกขวัญคืนสติลดความเจ็บปวดทางใจ
เสริมสร้างทักษะ (Skills: S)
ทักษะการ Grounding
การนวดสัมผัส และ การนวดกดจุดคลายเครียด
Touching skill (การสัมผัส)
การฝึกกำหนดลมหายใจ (Breathing exercise)
การลดความเจ็บปวดทางใจ
การสะท้อนความรู้สึก
การเงียบ
การฟังอย่างใส่ใจ (Active Listening)
การทวนซ้ำ
การเสริมสร้างทักษะ
กิจกรรมทางลบที่ควรหลีกเลี่ยง :red_cross:
รับประทานอาหารมากหรือ น้อยเกินไป
สบูบุหรี่จัด ใช้สารเสพติด
ดื่มสุราเพื่อคลายทุกข์
ทํากิจกรรมที่เสี่ยง และใช้ความเร็ว
วิธีการให้สุขภาพจิตศึกษาและข้อมูลที่จำเป็น (Education)
ต2 เติมเต็มความรู้
บอกวิธีการปฏิบัติตัวเพื่อลดความเครียด แหล่งช่วยเหลือต่างๆ
ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้นจากความเครียด และผลกระทบทางจิตใจที่อาจเกิดขึ้น
ต3 ติดตามต่อเนื่อง
ติดตามโดยการนัดหมายมาพบที่สถานบริการสาธารณสุข การโทรศัพท์ติดตามผล และการเยี่ยมบ้าน
ร่วมกันวางแผนและหาแนวทางในการรับการช่วยเหลือต่างๆ เพิ่มเติม
ต1 ตรวจสอบความต้องการ
สอบถามเพื่อสำรวจในเรื่องความต้องการ การสนับสนุนในด้านเศรษฐกิจ การเงิน อาชีพ
ปัญหาภายในครอบครัวที่ต้องการการช่วยเหลือ เช่น สัมพันธภาพกับลูกวัยรุ่น
ถามถึงข้อมูลและตรวจสอบความต้องการช่วยเหลือที่จำเปน็และ เร่งด่วน
วางแผนสนับสนุนแหล่งข้อมูลการช่วยเหลือด้านสังคม ด้านจิตใจ หรือด้านการแพทย์