Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
MCATT - Coggle Diagram
MCATT
การปฐมพยาบาลทางจิตใจ (Psychological first Aid: PFA) ด้วยหลักการ EASE
วิธีการประเมินผู้ได้รับผลกระทบ (Assessment: A)
ประเมินและตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกาย
บรรเทาความเจ็บปวดด้วยการให้ยา
จัดหานํ้าให้ดื่ม หาอาหารให้รับประทาน
เคลื่อนย้ายผู้ประสบภาวะวิกฤตไปอยู่ในที่ปลอดภัย
การประเมินสภาพจิตใจ
ผู้ประสบภาวะวิกฤตอยู่ในภาวะช็อกและปฏิเสธ
ให้อยู่ในสถานที่ที่สงบ รู้สึกปลอดภัย
ให้ผู้ประสบภาวะวิกฤตได้ระบายความรู้สึก
สอบถามความต้องการเร่งด่วนของผู้ประสบภาวะวิกฤต
ผู้ประสบภาวะวิกฤตอยู่ในภาวะโกรธ
ให้อยู่ในสถานที่ปลอดภัย ให้มีการดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่รุกเข้าไป จัดระยะห่างที่เหมาะสม ให้ระบายความรู้สึกโดยใช้ทักษะการฟังอย่างตั้งใจ (Active Listening Skill) และพูดสะท้อนอารมณ์
ผู้ประสบภาวะวิกฤตอยู่ในภาวะต่อรอง
อดทน รับฟัง ไม่แสดงอาการท่าทางเบื่อหน่าย
สนองความต้องการในสิ่งที่สามารถให้ได้
การให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ที่เป็นจริงตามความเหมาะสม
ผู้ประสบภาวะวิกฤตอยู่ในภาวะเสียใจ
การประเมินภาวะฆ่าตัวตาย
ประเมินความต้องการทางสังคม
ช่วยให้ผู้ประสบภาวะวิกฤตหาสิ่งยึดเหนี่ยวในชีวิต เช่น ญาติ ลูก พระเจ้า ศาสนา
วิธีการเรียกขวัญคืนสติลดความเจ็บปวดทางใจเสริมสร้างทักษะ (Skills: S)
การลดความเจ็บปวดทางใจ
การสะท้อนความรู้สึก
การเงียบ
การทวนซ้ำ
การฟังอย่างใส่ใจ (Active Listening)
การนวดสัมผัส และ การนวดกดจุดคลายเครียด
ทักษะการ Grounding
การสัมผัส (Touching skill)
การฝึกกำหนดลมหายใจ (Breathing exercise)
การเสริมสร้างทักษะ
การเรียนรู้ การเสริมสร้าง Coping skills สามารถช่วยลดความกังวล ปฏิกิริยาที่เป็นทุกข์อื่นๆ ช่วยแก้ไขสถานการณ์ และช่วยผู้ประสบเหตุการณ์วิกฤตให้ผ่านพ้นช่วงเวลาอันเลวร้าย
วิธีการสร้างสัมพันธภาพและการเข้าถึงจิตใจของผู้ได้รับผลกระทบ
(Engagement: E)
การสังเกตภาษาท่าทางและพฤติกรรม
สีหน้า แววตา ท่าทาง การเคลื่อนไหวของร่างกาย พูดสับสนฟังไม่รู้เรื่อง ด่าทอ ร้องขอความช่วยเหลือ พูดซ้ำไปซ้ำมา พูดวกวน
การสร้างสัมพันธภาพ
มีท่าทีสงบนิ่ง มีการแนะนำตัวเอง มีการมองหน้าสบตา รับฟังด้วยท่าทีที่สงบให้กำลังใจ ไม่ยิ้มในขณะที่อีกฝ่ายเศร้าแม้ว่าต้องการจะยิ้มเพื่อให้กำลังใจก็ตาม
การสื่อสาร
ควรเริ่มพูดคุยเบื้องต้นเมื่อผู้ประสบเหตุการณ้วิกฤตมีความพร้อม ให้พูดระบายความรู้สึก แต่ไม่ควรซักถามถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
วิธีการให้สุขภาพจิตศึกษาและข้อมูลที่จำเป็น (Education : E)
ต.1 ตรวจสอบความต้องการ
ไต่ถามถึงข้อมูลและตรวจสอบความต้องการช่วยเหลือที่จำเป็นและเร่งด่วน
ต.2 เติมเต็มความรู้
ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้นจากความเครียด และผลกระทบทางจิตใจ ที่อาจเกิดขึ้น แหล่งช่วยเหลือต่างๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชน
ต.3 ติดตามต่อเนื่อง
ควรมีการพูดคุยวางแผนร่วมกันระหว่างผู้ให้การช่วยเหลือกับผู้ประสบภาวะวิกฤตในด้านการดูแลติดตามอย่างต่อเนื่องโดยอาจใช้วิธีการติดตามโดยการนัดหมายมาพบที่สถานบริการสาธารณสุข การโทรศัพท์ติดตามผล และการเยี่ยมบ้าน
การช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤตของทีม MCATT
ระยะวิกฤต (ภายใน 72 ชั่วโมงแรกหลังเกิดเหตุ)
การช่วยเหลือจะมุ่งให้ความช่วยเหลือเฉพาะหน้า เน้นการช่วยเหลือตามสภาพความเป็นจริงทั้งด้านร่างกาย ความต้องการพื้นฐาน ส่วนด้านจิตใจนั้น ปฏิกิริยาที่แสดงออกถือว่าเป็นปฏิกิริยาปกติในสถานการณ์ไม่ปกติซึ่งระยะนี้เป็นระยะที่สำคัญต้องให้การปฐมพยาบาลด้านจิตใจแก่ผู้ประสบภาวะวิกฤต (PFA) และให้การช่วยเหลือที่ตรงตามความต้องการ
ระยะฉุกเฉิน (72 ชั่วโมง - 2 สัปดาห์)
ระยะนี้ผู้ประสบภาวะวิกฤต ทั้งผู้สูญเสียหรือผู้รอดชีวิตจะมองโลกในแง่ดี การช่วยเหลือหลั่งไหลเข้ามา ผู้ประสบภาวะวิกฤตเกิดกำลังใจ
ระยะนี้สามารถสำรวจหาข้อมูลของสถานการณ์ และความต้องการของผู้ประสบภาวะวิกฤตได้ชัดเจนมากขึ้น เพื่อวางแผนในการให้ความช่วยเหลือได้ตรงกับความต้องการของผู้ประสบภาวะวิกฤต ประเมินคัดกรองภาวะสุขภาพจิตเพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงในแต่ละวัย และนำมาวางแผนในการช่วยเหลือ ที่ถูกต้องเหมาะสม
จัดลำดับความต้องการของกลุ่มเสี่ยงที่ต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนและ ต่อเนื่อง
ระยะเตรียมการ
ระยะเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์วิกฤตต่างๆ อย่างทันท่วงที จำเป็นต้องเป็นเตรียมความพร้อมทั้งระดับบุคคล องค์กรและชุมชน เช่น การจัดตั้งศูนย์อำนวยการช่วยเหลือด้านสุขภาพจิต ระบบการเตือนภัย การซ้อมแผนการช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตผู้ประสบภาวะวิกฤต