Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวินิจฉัยแยกโรคระบบทางเดินหายใจ :<3: - Coggle Diagram
การวินิจฉัยแยกโรคระบบทางเดินหายใจ
:<3:
ข้อมูลกรณีศึกษา
:check:
ผู้ป่วยชายไทย อายุ 19 ปี มาถึงER เวลา 20.00น. แรกรับผู้ป่วยรู้สึกตัวดี นั่งรถเข็นมาเนื่องจากเดินไม่ไหว มาด้วยอาการหายใจไม่ออก แน่นหน้าอก 2 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล
สัญญาณชีพแรกรับ T = 37.7 องศาเซลเซียส P = 110-120 / min R = 28-30 / min BP = 112/116 mmHg O2sat = 95%
ตรวจร่างกายพบ คอแดงเล็กน้อย หายใจมี suprasternal retraction ลักษณะการหายใจมีปีกจมูกบาน conjunctiva ซีดเล็กน้อย ปลายนิ้วเริ่มเขียว capillary refill 4 sec ฟังปอดได้ยินเสียง Crepitation both lung ผล Chest x - ray พบ infiltration เล็กน้อย EKG ผล normal ต่อมน้ำเหลืองไม่โต มีบวมที่ปลายเท้าเล็กน้อย มีน้ำหนักลด 2 kgใน 1 สัปดาห์
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน
2 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล รู้สึกหายใจไม่ออกแน่นหน้าอก เหงื่อออก
2-3 วันก่อนมาโรงพยาบาลมีไขต่ำๆ ไอแห้งๆ ไอมากเวลากลางคืน รู้สึกแน่นหน้าอกเวลาไอ
2 เดือนที่แล้วมีอาการไอกลางคืน แต่ไม่เหนื่อยหอบ
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
7 ปีที่แล้วแล้วมีหายใจเหนื่อยบ่อยๆต้องพ่นยาเป็นระยะๆจะพ่นยาเวลาที่ทำกิจกรรมจะทำให้หายเหนื่อย มีอาการเจ็บหน้าอกร่วมด้วยเป็นช่วงไอเยอะๆนอนหายใจแน่น
ประวัติเจ็บป่วยในครอบครัว
คุณตาคุณยายมีโรคประจำตัว โรคหัวใจ หอบ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
รายการปัญหา(Problem list)
:check:
แน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ
ไข้ ไอ เหนื่อย
Differential Diagnosis
:check:
Bronchitis
สาเหตุ
ติดเชื้อ แบคทีเรียและไวรัส การสูบบุหรี่ มลภาวะทางอากาศ ฝุ่น ก๊าซพิษ ในสิ่งแวดล้อมที่ต้องพบในชีวิตประจำวัน
อาการ
อาจมีไข้หรือไม่มีก็ได้ แต่จะมีอาการไอ ระยะแรกจะไอแห้งๆ เสียงก้อง ต่อมาจะมีเสมหะขาวข้น เปลี่ยนเป็นสีเหลืองขุ่นหายใจลำบาก หอบเหนื่อย
ตรวจร่างกาย
ฟังปอดได้ยินเสียง (rhonchi) (wheezing)
การตรวจพิเศษ
chest X-ray, Spirometry, เพาะเชื้อจากเสมหะ
Dengue fever/ Dengue hemorrhagic fever
สาเหตุ
ยุงลายเป็นตัวพาหะ โดยยุงตัวเมียจะกัดและดูดเลือดของผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสเดงกี แล้วถ่ายทอดเชื้อไปสู่คนที่ถูกกัดได้
อาการ
ไข้สูง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ/ปวดกระดูก มีผื่น เลือดออกที่ผิวหนัง
ตรวจร่างกาย
จุดเลือดออกที่ผิวหนัง เลือดกำเดา tourniquet test ให้ผลบวก
การตรวจพิเศษ
CBC, (IgM), NS1 Ag
COPD
อาการ
ไอเรื้อรัง มีเสมหะมากโดยเฉพาะในช่วงเช้าหลังตื่นนอน รู้สึกเหนื่อยหอบ หมดเรี่ยวแรง หายใจลำบาก แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด
ตรวจร่างกาย
ผิวกายเขียวคล้ำ การหายใจเกิน การขยายของทรวงอกขณะหายใจเข้าออกลดลงกระบังลมแบนต่ำ
การตรวจพิเศษ
Spirometry, FVC
สาเหตุ
การสูดดมควัน ฝุ่น หรือสารเคมี การทำงานในสภาพแวดล้อมที่ต้องหายใจเอาฝุ่นผง ละอองสารเคมี ในปริมาณมากและติดต่อกันเป็นเวลานาน
Influenza
อาการ
มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดกระบอกตา ตาแดง คัดจมูก น้ำมูกไหล
ตรวจร่างกาย
ปวดตามแขนขา ปวดข้อ ปวดรอบตา ไข้สูง 39-40 ํ c เจ็บคอและคอแดงมีน้ำมูกใสไหล ตามตัวจะร้อน แดง ตาแดง
สาเหตุ
ได้รับเชื้อไวรัสกลุ่ม Influenza Virus ผ่านทางประสาทสัมผัสต่าง ๆ
การตรวจพิเศษ
throat swab, nasopharyngeal aspirate
Congestive heart failure
สาเหตุ
ภาวะแทรกซ้อนของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เกิดจากไข้หวัดหรือเชื้อไวรัสบางชนิด พันธุกรรม
อาการ
เหนื่อย เหนื่อยขณะที่ออกแรง หายใจไม่สะดวกขณะนอนราบ
ตรวจร่างกาย
ฟังปอดได้ยินเสียงกรอบแกรบ มีภาวะบวม
การตรวจพิเศษ
CBC, BUN, Cr, LFT, X-ray, EKG
Thyroid
สาเหตุ
ต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ
อาการ
ไข้ ต่อมไทรอยด์โต คลำที่ต่อมไทรอยด์จะรู้สึกเจ็บ น้ำหนักลด
ตรวจร่างกาย
Warm and moist skin, anycholysis
การตรวจพิเศษ
TSH, free T4, free T3, total T3
Pneumonia
อาการ
น้ำมูกไหล จาม คัดจมูกนำมาก่อน ไข้สูง หนาวสั่น หายใจหอบเหนื่อย อาจจะมีอาการเจ็บหน้าอกตำแหน่งที่เจ็บมักตรงกับบริเวณที่อักเสบ อาการไอ
ตรวจร่างกาย
ฟังเสียงปอดพบ crepitations อาจได้ยินเสียง rhonchi ร่วมด้วย
สาเหตุ
ติดเชื้อจากแบคทีเรีย, เชื้อรา, ไวรัส
การตรวจพิเศษ
WBC, การตรวจเสมหะเพาะเชื้อ, hemoculture
Myocardial infarction
สาเหตุ
เลือดที่จะไหลเวียนไปยังหัวใจถูกขัดขวาง หัวใจไม่ได้รับเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยง กล้ามเนื้อหัวใจก็จะเสื่อมสภาพและเริ่มตาย
อาการ
รู้สึกบีบรัดและแน่นอึดอัด เหมือนมีอะไรมาทับที่บริเวณกลางหน้าอก หรือส่วนบนของร่างกาย อาจมีอาการปวดร้าวไปตามแขน คอ กราม
ตรวจร่างกาย
ชีพจรเบาเร็ว หายใจได้ยินเสียงMurmur ฟังปอดได้ยินเสียงCrepitation
การตรวจพิเศษ
ECG, Biochemical markers, Careliac biomarkers, Troponin, CK, CBC
Asthma
อาการ
ไอเรื้อรังนาน 2 สัปดาห์ขึ้นไป น้ำหนักลด เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีไข้
ตรวจร่างกาย
ฟังปอดได้ยินเสียงหวีด (wheeze) เขียว หัวใจเต้นเร็วหน้าอกโป่งหายใจหน้าอกปุ่ม
สาเหตุ
หลอดลมมีภาวะไวต่อการกระตุ้นจากสารก่อภูมิแพ้ พันธุกรรม
การตรวจพิเศษ
CBC, การวัด FVE1, วัด PEF, Spirometry
Cardiomegaly
สาเหตุ
การเจ็บป่วยที่ส่งผลให้หัวใจทำงานหนัก หรือส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจเสียหายเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจโตตามมา
อาการ
หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย รู้สึกอ่อนเพลียเฉพาะเวลานอน บวมตาม เท้า
ตรวจร่างกาย
ดูรูปร่างของทรวงอก ผิวหนังอาจมีอาการบวมกดปุ่ม
การตรวจพิเศษ
chest X-ray, EKG
Tuberculosis
อาการ
ไอแน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีดหรือหอบเหนื่อยเกิดขึ้น เมื่อได้รับสารก่อโรค
ตรวจร่างกาย
ฟังปอดได้ยินเสียง crepitation
สาเหตุ
ติดเชื้อ Mycobacterium Tuberculosis ที่สามารถแพร่กระจายได้ทางอากาศโดยผ่านทางการไอ จาม การพูด และการหายใจ
การตรวจพิเศษ
การถ่ายภาพรังสีทรวงอก ต้องทำร่วมกับการตรวจเสมหะหาเชื้อวัณโรค
หลอดเลือดหัวใจตีบตัน
สาเหตุ
การรวมตัวกันของไขมันที่ผนังภายในหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัวรวมถึงการขัดขวางทางเดินของเลือด ร่างกายจึงไม่สามารถส่งเลือดไปยังกล้ามเนื้อหัวใจได้
อาการ
เจ็บเค้นอก เจ็บหนักๆ เหมือนมีอะไรมาทับ อาจมีร้าวไปบริเวณคอ กราม
ตรวจร่างกาย
ฟังหัวใจได้ยินเสียงMurmur
การตรวจพิเศษ
chest X-ray, EKG, cardiac enzyme test, echocardiogram
Common cold
สาเหตุ
ติดเชื้อไวรัส
ตรวจร่างกาย
เยื่อจมูกบวมและแดง คอแดงเล็กน้อย ทอนซิลบวมแดง
อาการ
ไข้ต่ำ ๆ คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม เจ็บคอ
Plan for diagnosis
:check:
Arterial blood gas
Sputum gram stain
Hemoculture
Tuberculin skin test
AFB stain
Spirometry
pulmonary function test
Chest x- ray
peak flow meter
Complete Blood Count (CBC)
CT scan
Eletrocardiogram
Cadiac markers
Plan for Treatment
:check:
At Ward
Salbutamol 1puff NB prn
Bromhexine 8 mg. 1 tab oral tid pc
Oxygen cannula 3 LPM
Paracetamol 500 mg. 1tab oral q 4-6 hr. prn
Ventolin 0.05 ml/kg/dose + NSS up to 3 ml NB q 4-6 hr.
Terbutaline 5 mg. oral tid pc
Brown mixture 5 ml. oral tid.ac
กลับบ้าน
ให้ผู้ป่วยได้รับยา
Bisolvon 1 tab O tid pc
Ventolin สูดพ่นทุกครั้งที่มีอาการ
Precinisolone 3 tab O tid pc
Paractarmal (500 mg) 1 tab O prn q4-6 hr
ให้มาพบแพทย์ตามนัดภายหลังออกจากโรงพยาบาล 2 สัปดาห์
ให้คำแนะนำ
จัดสภาพที่อยู่อาศัยห้องนอนมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
การออกกำลังกายควรทำสม่ำเสมอ
หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นส่งผลให้เกิดการระคายเคือง
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทุกประเภท รวมทั้งผักและผลไม้
At ER
Ventolin 1 NB stat
Beradual 2 ml + 0.9 % NSS up to 4 ml
On Oxygen mask with bag 8 LPM
dexamethazone 10 mg V stat
5%DN/2 V rate 80 cc/hr
หากอาการไม่ดีขึ้นให้ meptin 1 tab O stat
การพยาบาล
:check:
เกิดภาวะเนื้อเยื่อในร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เนื่องจากการหดเกร็งของหลอดลม
S: ผู้ป่วยบอกว่าหายใจเหนื่อยหอบ ไอแห้งๆไม่มีเสมหะ
O: ฟังเสียงปอดได้ยินเสียง Crepitation ทั้งสองข้างอัตราการหายใจ 28-30 ครั้งต่อนาที ผู้ป่วยหายใจปีกจมูกบาน O2 saturation 95%
วัตถุประสงค์ เพื่อให้เนื้อเยื่อในร่างกายได้รับออกซิเจนเพียงพอ
ประเมินภาวะพร่องออกซิเจน
2.จัดท่านอนศีรษะสูง
ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อนบนเตียง
Vital sign ทุก 4 ชม ประเมิน O2 saturation ทุก 4 ชม
ติดตามผล lab Hb, Hct และ Chest X-Ray
แนะนำและสาธิตให้ผู้ป่วยใช้ยาพ่นคอเมื่อมีอาการหอบเหนื่อย
แนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงสิ่งที่ระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ
แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่
แนะนำและสาธิตให้ผู้ป่วย ฝึกการหายใจที่ถูกต้อง เพื่อลดความรุนแรงขณะมีอาการหอบหืด
แนะนำให้ผู้ป่วยสังเกตอาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์
วิเคราะห์เคสกรณีศึกษา
:check:
อาการ
ผู้ป่วยรายนี้มีอาการไข้ต่ำๆ ไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ แน่นหน้าอก มีอาการหอบเหนื่อยเมื่อได้รับสิ่งกระตุ้น ซึ่งตรงกับโรค Asthma มากที่สุด และผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอกเวลาไอแต่ไม่เจ็บร้าวไปที่ส่วนต่างๆของร่างกายจึงตัดโรคหัวใจออก
ตรวจร่างกาย
ตรวจร่างกายพบ คอแดงเล็กน้อย หายใจมี suprasternal retraction ลักษณะการหายใจมีปีกจมูกบาน conjunctiva ซีดเล็กน้อย ปลายนิ้วเริ่มเขียว capillary refill 4 sec ฟังปอดได้ยินเสียง Crepitation both lung ต่อมน้ำเหลืองไม่โต มีบวมที่ปลายเท้าเล็กน้อย มีน้ำหนักลด 2 kgใน 1 สัปดาห์ จึงทำให้คิดว่าเป็นได้หลายโรค จึงต้องส่งตรวจพิเศษเพื่อหาโรคที่แท้จริงของผู้ป่วย
สาเหตุ
จากข้อมูลของผู้ป่วยพบว่าผู้ป่วยมีอาการหายใจเหนื่อย บ่อยเวลาได้รับสิ่งกระตุ้น เช่น ควันไฟ เหนื่อยเวลาที่ทำกิจกรรม เช่น เล่นบาสเก็ตบอล และต้องพ่นยาเป็นระยะๆ และพัธุกรรมมีโรคประจำตัวเป็นหอบหืด จึงคิดว่าผู้ป่วยรายนี้เป็น Asthma
ตรวจพิเศษ
ผล CBC normal, ผล Chest x - ray พบ infiltration เล็กน้อย ไม่พบ cardiomegaly, EKG ผล normal, AFB ผล negative จากผลตรวจพิเศษที่ผู้ป่วยรายนี้ได้รบจึงทำให้ยิ่งแน่ใจว่าผู้ป่วยรายนี้ไม่ได้เป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ และจากการ X-ray ก็จะทำให้เห็นว่าไม่พบพยาธิสภาพที่ปอด ผล CBC ก็ทำให้เห็นว่าผู้ป่วยรายนี้ไม่มีการติดเชื้อ จึงทำให้คิดว่าผู้ป่วยรายนี้เป็น Asthma