Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย - Coggle Diagram
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
กฎหมาย
ระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ ที่รัฐกำหนดขึ้น เพื่อควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ ที่เกิดความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย หากผู้ใดฝ่าฝืนย่อมต้องได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด
แบ่งโดยแหล่งกำเนิดของกฎหมาย
กฎหมายภายใน
รัฐที่มีอำนาจในการบัญญัติกฎหมาย
กฎหมายภายนอก
บัญญัติขึ้นโดยองค์การระหว่างประเทศ แบบข้อตกลงระหว่างต่างประเทศ
ลำดับชั้นของกฎหมาย
รัฐธรรมนูญ (Constitutional Law)
เป็นกฎหมายแม่บทที่มีอำนาจสูงสุด ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ หากจะมีการยกเลิกจะต้องทำตามในรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้
พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด และประมวลกฎหมาย
เป็นกฎหมายรองจากรัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติ (พรบ.) (Act)
เป็นการร่างกฎหมาย เพื่อนำไปทูลเกล้าฯโดยนายก เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ซึ่งกฎหมายจะมีผลบังคับใช้
และวุฒิสภามีสิทธิ์ไม่เห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ สภาผู้แทนราษฎรจะนำกลับไปร่างใหม่เมื่อพ้น180วัน
ประมวลกฎหมาย (Code of Law)
เป็นการรวมกฎหมายที่เหมือนกันมาเก็บไว้เป็นระบบเพื่อง่ายต่อการนำไปใช้
พระราชกำหนด (Royal Enactment)
รัฐธรรมนูญมอบอำนาจให้ฝ่ายบริหาร
เพื่อออกข้อบังคับในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วน
พระราชกฤษฎีกา (Royal Decree)
เป็นหลักย่อยของพระราชบัญญัติ ที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี ออกโดยฝ่ายบริหารที่อาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูโดยไม่ต้องผ่านเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติ
ซึ่งมีอำนาจใช้บังคับประชาชนทั่วไปแต่ไม่สามารถมีบทกำหนดโทษ
กฎกระทรวง (Ministerial Regulation)
กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร โดยไม่ต้องผ่นเห็นชอบจากรัฐสภา แต่ผ่านคณะรัฐมนตรี บังคับใช้ประชาชนทั่วไป
ระเบียบ และข้อบังคับ (Rule)
เป็นกฎหมายที่ออกโดยหัวหน้าหน่วยงานองค์กร
ผ่านความเห็นชอบจากผู้บริหารหน่วยงาน โดยอาศัยตามพระราชบัญญัติ
ประกาศและคำสั่ง (Announcement)
เป็นกฎหมายที่ออกโดยหัวหน้าหน่วยงาน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในหน่วยงาน โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ
หรือเพื่อปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัต
ลักษณะของกฎหมาย
กฎหมายต้องมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์
เป็นข้อบังคับควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคม ทำถูกหรือทำผิด
กฎหมายต้องกำหนดขึ้นโดยรัฐหรือผู้มีอำนาจ
เป็นข้อบังคับของผู้มีอำานาจในรัฐ
กฎหมายต้องบังคับใช้โดยทั่วไป
ทุกคนในสังคมต้องปฏบัติภายใต้กฎหมาย ไม่มีใครสามารถอยู่เหนือกฎหมายได้
กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ
เป็นการบังคับให้ปฏิบัติตามกฎหมายในรายที่ฝ่าฝืน
ผลร้าย เป็นโทษทางอาญา
ประหารชีวิต คือ การฉีดยาพิษให้ตาย
จำคุก คือ การเอาตัวไปคุมขังไว้ในเรือน
กักขัง คือ กักตัวผู้กระทำความผิดไว้ในสถานที่กักขัง
ปรับ คือ ต้องชำระเงินตามจำนวนที่กำหนดไว้ เด็กผู้เยาว์ไม่โดนปรับ แต่จะโดนไปสถาพินิจ
ผลดี เช่น การทำให้บุตรเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ใช้สิทธิ์คู่สมรสไปหย่อนภาษี
ระบบของกฎหมาย
ระบบกฎหมายจารีตประเพณี (ไม่เป็นอักษร)
ระบบประมวลกฎหมาย (เป็นอักษร) เช่น คำพิพากษาของศาล
ประเภทของกฎหมาย
กฎหมายที่แบ่งตามสิทธิประโยชน์ และความสัมพันธ์ของบุคคล
กฎหมายมหาชน (Public Law) ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน รัฐเหนือกว่าประชาชน เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ, ปกครอง, อาญา, ธรรมนูญศาลยุติธรรม เป็นต้น
กฎหมายเอกชน (Private Law) ความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน รวมทั้งรัฐที่ทำธุรกิจแบบเอกชน เช่น กฎหมายแพ่ง, พาณิชย์, วิธีพิจารณาความแพ่ง เป็นต้น
กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law) ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่อประเทศ มีการำสนธิสัญญากัน มี 3 สาขา
แผนกคดีเมือง
เป็นการทำสนธิสัญญากัน เช่น มีการฑูต
แผนกคดีบุคคล
ความสัมพันธ์ต่างรัฐในทางแพ่ง เช่น สัญชาติ ภูมิลำเนา เพราะในแต่ประเทศไม่เหมือนกันดังนั้นต้องมีกฎหมายตัวนี้เพื่อลดความขัดแย้งกัน
แผนกคดีอาญา
เกี่ยวข้องกับอาญาที่เกิดขึ้นในอีกประเทศหนึ่ง เช่น การส่งผู้ร้ายข้ามแดน
แบ่งโดยเจตนารมณ์และเนื้อหาของกฎหมาย
เช่น กฎหมายระเบียบราชการ กฎหมาย การเงินการคลัง กฎหมายธุรกิจ กฎหมายสาธารณะสุข กฎหมายอุตสาหกรรม เป็นต้น
แบ่งโดยลักษณะการใช้กฎหมาย
กฎหมายสารบัญญัติ
เป็นการกำหนดให้คนทำตาม เช่น กฎหมายอาญา กฎหมายคุ้มครองแรงงาน
กฎหมายวิธีสบัญญัติ
เป็นวิธีการพิจารณาคดีของศาล เช่น วิธีพิจารณา ความแพ่ง วิธีพิจารณาความอาญา เป็นต้น
แบ่งโดยสภาพบังคับทางกฎหมาย
เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา กฎหมายปกครอง เป็นต้น
ลักษณะของระบบศาลไทย
ระบบศาลเดี่ยว
ชี้ขาดข้อพิพาททุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง
ระบบศาลคู่
ชี้ขาดข้อพิพาทเฉพาะคดีแพ่งและคดีอาญาเท่านั้น
ส่วนคดีปกครองแยกให้ศาลปกครอง
ระบบศาลของประเทศไทย
เป็นระบบศาลคู่ แยกเป็นอิสระจากกันมีผู้พิพากษาหรือตุลาการของแต่ละศาลโดยเฉพาะ
ปัญหาเกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญจะไม่สามารถวินิจฉัยได้โดยศาลธรรมดา จะต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้วินิจฉัยเอง
ศาลของประเทศไทย
ศาลยุติธรรม
สามารถพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง
เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น
ศาลอุทธรณ์ (Appeal Court)
ลำดับที่สูงกว่าศาลชั้นต้น มีผู้พิพากษาอย่างน้อย 3 คน ์ศาลนี้จะเป็นไปในลักษณะยืนตาม แก้ไข กลับหรือยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้น อีกทั้งสามารถชี้ขาดของคู่กรณีได้
ศาลชั้นต้น
ศาลแพ่ง เป็นศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งทั้งปวง
ศาลอาญา เป็นศาลชั้นต้นซึ่งมีอ านาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวง
ศาลฎีกา (Supreme Court)
เป็นศาลยุติธรรมสูงสุด มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษา
เมื่อชี้ขาดแล้วคู่กรณีไม่สามารถนำกลับมาฟ้องร้องได้
ศาลปกครอง (Administrative Court)
มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีในทางปกครอง
ซึ่งเป็นศาลที่ใช้ระบบไต่สวน โดยในแต่ละคดีจะมีการพิจารณาโดยองค์คณะของตุลาการ
ศาลรัฐธรรมนูญ
เป็นองค์กรตุลาการจัดขึ้นตามรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวิได้แต่ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับรัฐธรรมนูญ ไม่สามารถพิจารณาอรรถคดีทั่วไปได้
ศาลทหาร
มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีที่ทหารกองประจำการกระทำผิดตามกฎหมายพระธรรมนูญศาลทหาร