Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย - Coggle Diagram
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
ความหมาย
ระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ ที่รัฐกำหนด เพื่อควบคุมความประพฤติมนุษย์ ถ้าฝ่าฝืนรับโทษ
พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542
กฎที่สถาบันตราขึ้นจากจารีตประเพณี เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ บังคับบุคคล กำหนดระเบียบ
ลักษณะของกฎหมาย
1.กฎหมายมีลักษณะเป็นกฎหมาย
กฎหมายต้องเป็นข้อบังคับเป็นมาตรฐานใช้วัดความประพฤติคนในสังคม
เช่น ประมาณกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา๑๕๖๓ "บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา"
2.กฎหมายต้องกำหนดโดยรัฐหรือผู้มีอำนาจ
เป็นคำสั่งผู้มีอำนาจในรัฐ เช่น รัฐสภา รัฐบาล
3.กฎหมายบังคับใช้ทั่วไป
ประกาศใช้ ทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายโดยเสมอภาค
ยกเว้นบางกรณี เช่น ฑูตต่างประเทศเข้ามาประจำในไทยยกเว้นไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายภาษีอากร
4.กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ
ต้องมีสภาพบังคับกรณีผ่าฝืนกฎหมาย
สภาพบังคับมีผลดีและร้าย
ผลร้าย เช่น โทษทางอาญา ได้แก่ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์ ซึ่งจะพิจารณาตามความเหมาะสมของการกระทำผิด
ผลดี เช่น จดทะเบียนสมรส ทำให้บุตรเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย สามารถใช้สิทธิคู่สมรสลดหย่อนภาษี
ระบบของกฎหมาย
2 ระบบ
1.ระบบกฎหมายจารีตประเพณี /ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Common law system) เป็นระบบพิจารณาพิพากษาคดีอาศัยบรรทัดฐานจากคดีที่คล้ายคลึงกัน และผู้พิพากษาคนก่อนๆตัดสินคดีเดิมๆไว้ ต่อมาพระมหากษัตริย์สร้างหลักเกณฑ์การพิจารณาคดี เพื่อเป็นธรรม โดยจัดตั้งศาล
เป็นการพิจารณาคดีเฉพาะเรื่องไปสู่เรื่องทั่วไป
2.ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร(Civil law system) รัฐสภาเป็นผู้ออกกฎหมาย ศาลต้องพิพากษาตามตัวบทกฎหมาย
เป็นการพิจารณาคดีจากหลักทั่วไปสู่เฉพาะเรื่อง
ประเภทของกฎหมาย
กฎหมายแบ่งตามสิทธิประโยชน์ และความสัมพันธ์ของบุคคล รัฐเป็นศูนย์กลาง
1.กฎหมายมหาชน(Pubic Law) รัฐกับประชาชน โดยรัฐเป็นฝ่ายปกครอง
เช่น
กฎหมายรัฐธรรมนูญ:เป็นแม่บทและกฎหมายสูงสุดในการปกครอง
กฎหมายปกครอง:กำหนดการปกครอง
กฎหมายอาญา:กระทำผิดและบทลงโทษ
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา:กระบวนการดำเนินคดีทางอาญา
ศาลยุติธรรม:การจัดตั้งศาล อำนาจศาลและผู้พิพากษาคดี
2.กฎหมายมหาชน(Private Law) เอกชนกับเอกชน
เช่น
กฎหมายแพ่ง : วิถีชีวิตประจำวันประชาชน ถึงฐานะของบุคคล ครอบครัว
กฎหมายพาณิชย์ : การค้าขาย หุ้นส่วน
3.กฎหมายระหว่างประเทศ(International Law) กำหนดความสัมพันธ์ประเทศต่อประเทศ รัฐต่อรัฐ แหล่งกำเนิดประเพณี ข้อตกลง สนธิสัญญา
แบ่ง 3 สาขา
1.แผนกคดีเมือง : ของรัฐเป็นสิทธิและหน้าที่มหาชน ในเรื่องเขตแดน การฑูต ทำสนธิสัญญา
2.แผนกคดีบุคคล:ความสัมพันธ์บุคคลต่างรัฐทางแพ่งเกี่ยวกับความประพฤติ สิทธิและหน้าที่ เช่น สัญชาติ ภูมิลำเนา การสมรส ทำนิติกรรม
3.แผนกคดีอาญา:ความสัมพันธ์ของบุคคลโดยประชาชนประเทศหนึ่งหรือทำผิดต่อเนื่องหลายประเทศ ต้องพิจารณาว่าประเทศใดมีอำนาจจับกุมและพิพากษาคดีเพื่อลงโทษบุคคลนั้น เช่น การส่งผู้ร้ายข้ามแดน
กฎหมายแบ่งโดยแหล่งกำเนิดกฎหมาย
2 ประเภท
1.กฎหมายภายใน: รัฐมีอำนาจบัญญัติกฎหมายขึ้นภายในประเทศ
2.กฎหมายภายนอก: บังคับขึ้นโดยองค์การระหว่างประเทศ หรือตกลงระหว่างประเทศ เช่น สนธิสัญญา
กฎหมายแบ่งโดยเจตนารมณ์และเนื้อหาของกฎหมาย เช่น กฎหมายระเบียบราขการ กฎหมายการเงินการคลัง กฎหมายธุรกิจ
กฎหมายแบ่งโดยลักณะการใช้
1.กฎหมายสารบัญญัติ: กำหนดสิทธิ หน้าที่ที่ให้บุคคลปฏิบัติ เช่น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา
2.กฎหมายวิธีสารบัญญัติ: เกี่ยวกับวิธีพิจารณาคดีของศาล เช่น วิธีพิจารณาความแพ่ง ทางอาญา
ลำดับชั้นหรือศักดิ์ของกฎหมาย ตั้งแต่สูงสุดถึงต่ำสุด
1.รัฐธรรมนูญ(Constitutional Law) : กฎหมายสูงสุด กำหนดรูปแบบการปกครอง และวางระเบียบอำนาจสูงสุดของรัฐ
เช่น อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ
2.พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด และประมวลกฎหมาย
2.1พระราชบัญญัติ(พรบ.) : กฎหมายออกโดยนิติบัญญัติหรือรัฐสภา โดยผู้เสนอร่าง คือ คณะรัฐมนตรีและสภาผู้แทนราษฎร จากนั้นนายกนำทูลเกล้าให้กษัตริย์ และประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา
2.2ประมวลกฎหมาย(Code of Law): การรวบรวมบทบัญญัติกฎหมายลายลักษณือักษรเรื่องเดียวกัน มาอยู่หมวดเดียวกันเป็นระบบ เพื่อง่ายต่อการศึกษา เช่นประมวลกฎหมายอาญา
2.3พระราชกำหนด(Royal Enactment): รัฐธรรมนูญมอบอำนาจแก่ฝ่ายบริหาร เพื่อออกข้อบังคับกรณีฉุกเฉินรีบด่วน เช่น พระราชกำหนดอัตราราคาน้ำมัน อัตราถาษีอากร
3.พระราชกฤษฎีกา(Royal Decree)
กำหนดรายละเอียดย่อยของพระราชบัญญัติ กษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี ออกโดยฝ่ายบริหาร ไม่ต้องผ่านความเห็นชอบฝ่ายบิติบัญญัติ มีอำนาจบังคับใช้บังคับประชาชน แต่ไม่มีบทกำหนดโทษ เช่น พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
4.กฎกระทราง(Ministerial Regulation)
ออกโดยฝ่ายบริหาร เป็นการออกกฎหมายรายละเอียดในการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติ โดยไม่ต้องผ่านรัฐสภา แต่ต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษา จึงบังคับใช้กับประชาชน เช่น กำหนดลักษณะของสถานพยาบาลและลักษณะการให้บริการของสถานพยาบาลพ.ศ.2558
5.ระเบียบ และข้อบังคับ(Rule)
ออกโดยหัวหน้าหน่วยงาน ผ่านการเห็นชอบผู้บริหาร เพื่อกำหนดรายละเอียดวิธีการปฏิบัติงาน โดยอาศัยตามพระราชบัญญัติ
6.ประกาศและคำสั่ง(Announcement)
ออกโดยหัวหน้าหน่วยงาน เพื่อเป็นแนวปฏิบัติงานในหน่วยงาน อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ เช่น ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องยาสามัญประจำบ้าน
7.อื่นๆ
ข้อบังคับท้องถิ่น ออกโดยองค์กรปกครองตนนเอง เช่น ข้อบัญญัติเมืองพัทยา
ลักษณะของระบบศาล
2 ระบบ
ระบบศาลเดี่ยว: ให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจวินิจฉัยชีขาดข้อพิพาททุกประเภท
ระบบศาลคู่: ให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจชี้ขาดข้อพิพาทเฉพาะคดีแพ่งและอาญา ส่วนคดีปกครองแยกให้ศาลปกครองมีอำนาจวินิจฉัย
ระบบศาลของประเทศไทย: เป็นระบบศาลคู่ แยกเป็นอิสระจากกัน มีผู้พิพากษาของแต่ละศาลโดยเฉพาะ
ศาลของประเทศไทย
มี 4 ประเภท
1.ศาลรัฐธรรมนูญ: เป็นองค์กรตุลาการ มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ
2.ศาลยุติธรรม: มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นคดีรัฐธรรมนูญให้อยู่อำนาจศาลอื่น รูปแบบพิจารณาคดีเป็น ระบบกล่าวหา มีผู้พิพากษาเป็นคนกลางตัดสิน ซึ่งมี 3 ชั้น
2.1ศาลชั้นต้น: พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีชั้นแรก เมื่อมีการฟ้องร้องและนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา ศาลจังหวัด ศาลแขวง
ศาลแพ่ง: มีอำนาจพิจารณาคดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรมอื่น
ศาลอาญา: พิจารณาคดีทั้งปวงในเขตท้องที่กรุงเทพ/กรุงเทพใต้/ธนบุรี/มีนบุรี นอกเขตจะยื่นฟ้องต่อศาลอาญาได้
2.2ศาลอุทธรณ์(Appeal court): ศาลลำดับสูงกว่าชั้นต้น มีคณะผู้พิพากษา 3 คนขึ้นไป พิจารณาตัดสินคดีที่ศาลชั้นต้นตัดสินแล้ว แต่คู่ความยังต้องการความเป็นธรรม ซึ่งการตัดสินจะเป็นตามลักษณะยืนตาม แก้ไขยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้น และมีอำนาจวินิจฉัยชี้คำขาดคำร้องขออุทธรณ์ของคู่กรณี หากคู่กรณีไม่พอใจคำตัดสิน สามารถฎีกาได้
2.3ศาลฎีกา(Supreme court): ศาลยุติธรรมสูงสุด มีประธานศาลฎีกาเป็นประมุขตุลาการศาลยุติธรรม เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด องค์คณะผู้พิพากษา 3 คนขึ้นไป ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุธรณ์คำพิพากษา
3.ศาลปกครอง(Administrative court): ศาลตั้งใหม่ตามรัฐธรรมนูญ ฐานะเท่ากับศาลยุติธรรม มีอำนาจในการพิจารณาคดีในทางปกครอง ระหว่างหน่วยงานราชการ รัฐ รัฐวิสาหกิจ ส่วนท้องถิ่น เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และสร้างบรรทัดฐานที่ถูกต้องในการปฏิบัติราชการ ในรูปแบบ ระบบไต่สวน
ระบบไต่สวน
ศาลปกครองชั้นต้น
ศาลปกครองสูงสุด
4.ศาลทหาร: มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีที่ทหารกองประจำการกระทำผิดตามกฎหมายพระธรรมนูญศาลทหาร