Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะขาดออกซิเจน (Birth asphyxia) - Coggle Diagram
ภาวะขาดออกซิเจน (Birth asphyxia)
กลไกการเกิด
การไหลเวียนเลือดทางสายสะดือขัดข้อง มีการหยุดไหลเวียนหรือไหลเวียนลดลง เช่น สายสะดือถูกกดทับขณะเจ็บครรภ์หรือขณะคลอด
ไม่มีการแลกเปลี่ยนออกซิเจนที่รก ซึ่งเกิดจากรกมีการแยกตัวออกจากมดลูก เช่น รกลอกตัวก่อนกาหนด ( abruptio placenta) รกมีเนื้อตาย (placenta infarction)
มีการนำออกซิเจนหรือสารอาหารจากมารดาไปยังทารกโดยผ่านทางรกไม่เพียงพอ
เช่น มารดาที่มีภาวะความดันโลหิตสูง มารดามีอาการช็อค สูญเสียเลือด ซีด การบีบตัวของมดลูกนานเกินไปหรือถี่มากไป
ปอดทารกขยายไม่เต็มที่และการไหลเวียนเลือดยังคงเป็นแบบทารกในครรภ์ไม่สามารถปรับเป็นแบบทารกหลังคลอดได้และไม่พัฒนาเป็นแบบผู้ใหญ่ เช่น มีทางเดินหายใจอุดตัน มีน้ำคั่งในปอด มีความสามารถในการหายใจไม่สมบูรณ์ มีการหายใจล้มเหลวเนื่องจากสมองถูกกด
พยาธิสรีรภาพ
เมื่อทารกขาดออกซิเจน
แรงดันออกซิเจนในหลอดเลือดแดง เท่ากับหรือน้อยกว่า 40 mmHg.
ออกซิเจนในเลือดต่ำ
คาร์บอนไดออกไซด์คั่ง แรงดันคาร์บอนไดออกไซด์ในหลอดเลือดแดงมากกว่า 80 mmHg.
การไหลเวียนเลือดในร่างกายเปลี่ยนแปลง
เลือดไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญก่อน คือ สมอง หัวใจ ต่อมหมวกไต อวัยวะอื่นๆเลือดไปเลี้ยงน้อยลง
มีการเต้นของหัวใจและการหายใจเปลี่ยนแปลง
เริ่มมีการหายใจแบบขาดออกซิเจน Gasping ประมาณ 1 นาที
การหายใจไม่สม่ำเสมอและหัวใจเต้นช้าลง
ถ้าไม่ได้แก้ไขทารกจะหยุดหายใจ ซึ่งเป็น primary apnea
1 more item...
ถ้าไม่กู้ชีพทารกจะพยายามหายใจอีกครั้ง แต่หายใจไม่สม่ำเสมอ 4-5 นาที
1 more item...
การวินิจฉัย
ประวัติการคลอด :check:
การตรวจร่างกาย การประเมินคะแนน APGAR :check:
อาการและอาการแสดง :check:
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ :check:
อาการและอาการแสดง
ระยะตั้งครรภ์หรือก่อนคลอด :
ทารกมีการเคลื่อนไหวมากกว่าปกติและต่อมาจะมีการเคลื่อนไหวน้อยลงกว่าปกติ
อัตราการเต้นของหัวใจทารกในระยะแรกจะเร็วมากกว่า 160 ครั้ง/นาที ต่อมาจึงช้าลง
ระยะคลอด
พบขี้เทาปนในน้ำคร่่ำ
ระยะหลังคลอด
แรกคลอดทันทีมีคะแนน APGAR ต่ากว่า 7 ตัวเขียว ไม่หายใจเอง ตัวนิ่ม อ่อนปวกเปียก ปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นลดลง หัวใจเต้นช้า
การเปลี่ยนแปลงในปอด
หลอดเลือดในปอดหดตัวความดันเลือดในปอดสูงขึ้น เลือดไปเลี้ยงปอดได้น้อยลง การทำงานของเซลล์ปอดเสียไป ทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนดเกิดภาวะ RDS ส่วนทารกที่คลอดครบกำหนดจะเกิดภาวะ PPHN ทำให้ทารกมีอาการหายใจหอบ ตัวเขียว
การเปลี่ยนแปลงในระบบหัวใจและการไหลเวียนเลือด
การขาดออกซิเจน ในระยะแรกร่างกายจะส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง หัวใจและต่อมหมวกไต แต่ลดปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงผิวหนัง ลำไส้ กล้ามเนื้อและไต ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็ว ผิวซีด หายใจแบบ gasping มี metabolic acidosis อุณหภูมิร่างกายต่ำลง ความดันโลหิตต่ำ
การเปลี่ยนแปลงในระบบประสาท
ถ้าขาดออกซิเจนนานทารกจะซึม หยุดหายใจบ่อย หัวใจเต้นช้าลง ม่านตาขยายกว้างไม่ตอบสนองต่อแสง ไม่มี Doll’s eye movement และมักเสียชีวิต ถ้าขาดออกซิเจนในระยะเวลาสั้นๆ หรือสามารถกู้ชีพได้สำเร็จอย่างรวดเร็วอาจมีเพียงอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงและดูดนมได้ไม่ดี การเปลี่ยนแปลงในสมองเรียกว่า hypoxic ischemic encephalopathy (HIE)
การเปลี่ยนแปลงในระบบทางเดินอาหาร
ลำไส้จะบีบตัวแรงชั่วคราว ทำให้ทารกถ่ายขี้เทาขณะอยู่ในครรภ์มารดา จึงเสี่ยงก่อการสำลักขี้เทาเข้าปอด สำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์ลำไส้จะตอบสนองต่อภาวะขาดออกซิเจนโดยการหยุดทางาน ทำให้ท้องอืดมาก เยื่อบุลาไส้ถูกทำลาย ถ้าขาดออกซิเจนนานและรุนแรงจะเสี่ยงต่อการเกิดลำไส้อักเสบเน่าตาย (NEC)
การเปลี่ยนแปลงทางเมตาบอลิซึม
หลังจากขาดออกซิเจน ทารกมักจะเกิดภาวะน้าตาลในเลือดต่ำ แคลเซียมต่ำและโปแตสเซียมสูง มีผลทำให้ทารกชักและเสียชีวิต
การเปลี่ยนแปลงในระบบทางเดินปัสสาวะ
ทารกจะมีปัสสาวะน้อยลงหรือไม่ถ่ายปัสสาวะหรือถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด (hematuria)
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
4 more items...
ภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด
หมายถึง ภาวะที่ทารกแรกเกิดไม่สามารถหายใจได้
อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นผลให้ขาดสมดุลของการแลกเปลี่ยนก๊าซ ทำให้มีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ(hypoxia) มีการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ (hypercapnia) และมีสภาพเป็นกรดในกระแสเลือด (metabolic acidosis)
การรักษา
การให้ความอบอุ่น
ภาวะตัวเย็นของทารก จะทำให้ความเป็นกรดในเลือดหายช้ากว่าที่ควร จึงต้องป้องกันไม่ให้ร่างกายสูญเสียความร้อนโดยดูแลทารกภายใต้แหล่งให้ความร้อน (radiant warmer) หรือหลอดไฟที่เปิดอุ่นไว้ แล้วเช็ดผิวหนังทารกให้แห้งอย่างรวดเร็วด้วยผ้าแห้งและอุ่น แล้วเอาผ้าปียกออก ห่อตัวทารกด้วยผ้าอุ่นผืนใหม่หรือวางทารกบนหน้าอกหรือหน้าท้องของมารดาโดยให้ผิวหนังทารกสัมผัสกับผิวหนังมารดาโดยตรง (skin to skin contact)
ทำทางเดินหายใจให้โล่ง (clearing the airway)
กรณีไม่มีขี้เทาปนในน้าคร่า หลังจากศีรษะทารกคลอด ใช้ลูกสูบยางแดงดูดสิ่งคัด
หลั่งในปากก่อนแล้วจึงดูดในจมูก
กรณีมีขี้เทาปน ไม่ว่าจะมีขี้เทาใสหรือขุ่น ข้นปนในน้าคร่า ต้องรีบดูดขี้เทาออก
ทันทีที่ศีรษะทารกคลอด
การกระตุ้นทารก (tactile stimulation)
การเช็ดตัวและดูดเมือกจากปากและจมูกสามารถกระตุ้นทารกให้หายใจได้อย่างดีถ้าทารกยังไม่ร้องหรือหายใจไม่เพียงพอให้ลูบบริเวณหลัง หน้าอก ดีดส้นเท้าทารก ซึ่งจะได้ผลดีในกรณีที่มี primary apnea
การให้ออกซิเจน
ในทารกที่มีตัวเขียว อัตราการเต้นของหัวใจช้า หรือมีอาการหายใจลาบากให้ออกซิเจน 100% ที่ผ่านความชื้นและอุ่น ผ่านทาง mask หรือท่อให้ออกซิเจนโดยใช้มือผู้ให้ทาเป็นกระเปาะ เปิดออกซิเจน 5 ลิตร/นาที โดยให้ใกล้จมูกทารกประมาณ 1 นิ้ว เพื่อให้ได้ความเข้มข้นของออกซิเจนสูงสุด การให้ออกซิเจนมากเกินไปหรือให้ออกซิเจนที่เย็นและแห้ง จะทาให้อัตราการเต้นของหัวใจลดลง เกิดการกลั้นหายใจชั่วคราวหรือหยุดหายใจได้
การช่วยหายใจ (ventilation)
ข้อบ่งชี้
1) หยุดหายใจหรือหายใจแบบ gasping
2) อัตราการเต้นของหัวใจน้อยกว่า 100 ครั้ง/นาที
3) เขียวขณะได้ออกซิเจน 100%
การใส่ท่อหลอดลมคอ
ข้อบ่งชี้
1) เมื่อต้องช่วยหายใจด้วยแรงดันบวกเป็นเวลานาน
2) เมื่อช่วยหายใจด้วย mask และ bag แล้วไม่ได้ผล
3) เมื่อต้องการดูดสิ่งคัดหลั่งในหลอดลมคอ กรณีที่มีขี้เทาปนเปื้อนน้ำคร่ำ
5) ทารกมีไส้เลื่อนกระบังลม หรือน้าหนักตัวน้อยกว่า 1,000 กรัม
4) เมื่อต้องการนวดหัวใจ
การนวดหัวใจ (Chest compression)
ข้อบ่งชี้ในการทำ คือ อัตราการเต้นของหัวใจทารกยังคงน้อยกว่า 60 ครั้ง/นาที ขณะที่ได้ช่วยหายใจด้วยออกซิเจน 100% นาน 30 วินาที นวดบริเวณกระดูกสันอกตรงตาแหน่งหนึ่งส่วนสามล่างของกระดูกสันอก ความลึกประมาณ 1/3 ของความหนาของทรวงอกและอัตราส่วนระหว่างการนวดและช่วยหายใจ เป็น 3 : 1
การนวดหัวใจ
การใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้าง
โดยใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างกดบนกระดูกสันอก ใช้อุ้งมือโอบรอบหน้าอกและนิ้วที่เหลือเป็นตัวรองรับแผ่นหลังทารก
การใช้นิ้วมือ 2 นิ้ว
โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมือข้างหนึ่งกดบนกระดูกสันอก
มืออีกข้างหนึ่งจะรองรับแผ่นหลังทารก
การให้ยา (medication)
Epineprine ใช้เมื่อช่วยหายใจด้วยออกซิเจน 100% และนวดหัวใจนานเกิน 30วินาทีแล้วอัตราการเต้นของหัวใจยังคงน้อยกว่า 60 ครั้ง/นาที ใช้ยาเข้มข้น 1 : 10,000 ปริมาณ 0.01-0.03 มล./ ก.ก. ให้ผ่านทางหลอดเลือดจะได้ผลเร็วกว่าให้ทางท่อหลอดลมคอ จะทาให้เลือดไปยังหัวใจและสมองดีขึ้น หัวใจเต้นแรงและเร็วขึ้น
สารเพิ่มปริมาตร (volume expanders) ใช้เมื่อทารกมีภาวะ hypovolemic โดยให้
น้ำเกลือนอร์มอล (NSS) หรือ Ringer’s lactate หรือ packed red cell ขนาด 10 มล./ก.ก. ในเวลา 5-10 นาที ให้ซ้ำได้เมื่อทารกมีการตอบสนองที่ดีขึ้นและต้องการเพิ่ม ควรระวังการให้สารน้าในทารกคลอดก่อนกาหนดถ้าได้มากเกินไปอาจทำให้เลือดออกในสมองได้
Naloxone hydrochroride (Narcan) เป็นยาต้านฤทธิ์ยาเสพติดที่ไม่กดการหายใจ
ใช้กับทารกที่มารดาได้รับยากลุ่มยาเสพติดที่กดการหายใจภายใน 4 ชั่วโมงก่อนคลอดภายหลังช่วยหายใจแล้ว ห้ามให้ในทารกที่เพิ่งเกิดจากมารดาที่สงสัยติดยาเสพติดเพราะว่าจะเป็นการถอนยาอย่างกะทันหันทาให้ทารกชักได้ ให้ขนาด 0.1 มก./ก.ก. หรือ 0.25 มล./ ก.ก. ของยาที่มีความเข้มข้น 0.4 มก./ มล.
ความรุนแรงของการขาดออกซิเจน
Mild asphyxia
:no_entry:
ให้ความอบอุ่น ทำทางเดินหายใจให้โล่ง กระตุ้นการหายใจ ให้ออกซิเจนผ่านสายออกซิเจนหรือ mask ถ้าอาการดีขึ้น มีคะแนน APGAR ที่ 5 นาที > 8 คะแนน ให้ดูแลต่อเหมือนทารกทั่วไป ถ้าคะแนน APGAR ที่ 5 นาที < 4 คะแนน ดูแลเหมือนทารกที่มีภาวะ moderate asphyxia
Moderate asphyxia
:no_entry:
ให้ออกซิเจน 100% และช่วยหายใจด้วย mask และ bag เมื่อดีขึ้นจึงใส่ feeding tube เข้ากระเพาะอาหารเพื่อดูดลมออก ถ้าไม่ดีขึ้นหลังช่วยหายใจนาน 30 วินาที ใส่ ET tube และนวดหัวใจ
Severe asphyxia
:no_entry:
ให้การช่วยเหลือโดยช่วยหายใจทันทีที่คลอดเสร็จ โดยใส่ ET tube และช่วยหายใจด้วยออกซิเจน 100% ผ่าน bag ร่วมกับการนวดหัวใจ ถ้าไม่ดีขึ้นจึงรักษาด้วยยา
การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นของลักษณะทารกตามลำดับ
1) อัตราการเต้นของหัวใจทารก
2) การตอบสนองเมื่อถูกกระตุ้น
3) ลักษณะสีผิว
4) อัตราการหายใจ
5) การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ
การพยาบาล
สังเกตอาการขาดออกซิเจน เช่น ริมฝีปากและปลายมือปลายเท้าซีด เขียว หายใจปีกจมูกบาน หายใจออกมีเสียงคราง หน้าอกบุ๋ม หรืออาการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ เพื่อให้การช่วยเหลือและปรึกษาแพทย์ต่อไป
ดูแลให้ได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการและได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์
ดูแลให้ได้รับอาหารและสารน้ำตามแผนการรักษาของแพทย์
ดูแลความสะอาดของร่างกาย
ดูแลให้พักผ่อน
10.ส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก
บันทึกอัตราการหายใจ การเต้นของหัวใจทารกภายหลังคลอด
เช็ดตัวทารกให้แห้งทันทีหลังคลอดและห่อตัวรักษาความอบอุ่นของร่างกาย เพื่อลดการใช้ออกซิเจน
ดูดสิ่งคัดหลั่งให้มากที่สุดก่อนคลอดลำตัว
เตรียมทีมบุคลากร เครื่องมือให้พร้อมก่อนคลอด ในรายที่มารดามีภาวะเสี่ยงหรือมีอาการแสดงที่น่าสงสัยว่าจะเกิด asphyxia