Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดของสตรีในระยะคลอด - Coggle Diagram
การดูแลเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดของสตรีในระยะคลอด
Oxytocin stimulation Theory
ฮอร์โมนออกซิโตซิน ( Oxytocin) จากต่อมใต้สมองส่วนหลัง (Posterior pituitary gland) ของผู้คลอดไปกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกและทำให้ เยื่อบุมดลูก (Decidual) หลั่งสารพรอสตาแกลนดินส์ (Prostaglandins) เพิ่มขึ้น
Progesterone withdrawal Theory
-ตลอดการตั้งครรภ์จะมีปริมาณฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนปริมาณมากในกระแสเลือด
-ฮอร์โมนนี้ส่วนใหญ่สร้างจาก รก
-ปฏิกิริยาของฮอร์โมนนี้คือ ช่วยทำให้กล้ามเนื้อมดลูกคลายตัว
-แต่เมื่อใกล้คลอด ฮอร์โมนนี้กลับลดปริมาณลงอย่างรวดเร็ว จนทำให้ขาดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน กล้ามเนื้อมดลูกจึงหดรัดตัว และเกิดอาการเจ็บครรภ์ขึ้น
Estrogen stimulation Theory
-ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นในระยะท้ายของการตั้งครรภ์ อายุครรภ์ประมาณ 34 – 35 สัปดาห์
-ไปกระตุ้นตัวรับ ได้แก่ ไมโอซิน (Myocin) ซึ่งเป็นโปรตีนในกล้ามเนื้อมดลูก และ อะดีโนซิน ไตรฟอสเฟส (Adenosine triphosphase) ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานในการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก
Prostaglandin Theory
ในระยะตั้งครรภ์จะมีการสะสมฟอสโฟไลปิด จำนวนมากที่ เยื่อหุ้มทารก และเยื่อบุมดลูก ในระยะใกล้คลอดจะเกิดการกระตุ้น เยื่อบุมดลูก ให้สร้างพรอสตาแกลนดินส์มากในน้ำคร่ำและเลือด ปฏิกิริยา คือ ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัว
ปัจจัยสำคัญ 4 ประการ
-เนื้อเยื่อขาดเลือด
-การเปิดขยายของปากมดลูก
-แรงกดดัน และดึงรั้งในอวัยวะในอุ้งเชิงกราน
-การยืดขยายของช่องคลอดและฝีเย็บ
ความเจ็บปวดในระยะที่ 1 ของการคลอด
-การพร่องออกซิเจนของกล้ามเนื้อมดลูกจากการหดรัดตัว
-การบางและเปิดขยายของปากมดลูก
-การยืดตัวของมดลูกส่วนล่าง และ Ligament
-การกดทับบริเวณระเพาะปัสสาวะ และลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย
ในระยะนี้ผู้คลอดจะมีความเจ็บปวดมากบริเวณท้องต่ำกว่าระดับสะดือ ด้านข้างของเชิงกราน และบริเวณส่วนล่างของหลัง เมื่อการคลอดก้าวหน้า ความปวดจะแผ่กระจายไปถึงบริเวณเชิงกรานและต้นขาทั้งสองข้าง
ความเจ็บปวดในระยะที่ 2 ของการคลอด
-การพร่องออกซิเจนของกล้ามเนื้อมดลูกจากการหดรัดตัวที่รุนแรงขึ้น
-การยืดขยายของหนทางคลอดส่วนล่าง ช่องคลอดและฝีเย็บ
-แรงกดบริเวณอวัยวะใกล้เคียง จากการเคลื่อนต่ำของส่วนนำ
ระยะนี้ตำแหน่งความเจ็บปวดจะอยู่ที่บริเวณปากช่องคลอด และฝีเย็บ เนื่องจากแรงกดของส่วนนำที่เคลื่อนต่ำลงมา
ความเจ็บปวดในระยะที่ 3 และ 4 ของการคลอด
-ระยะที่ 3 เกิดจากการยืดขยายของมดลูกส่วนล่าง เนื่องจากรกลอกตัวลงมาอยู่ที่ปากมดลูก มดลูกมีการหดรัดตัว เพื่อบีบไล่รก อาการปวดคล้ายระยะที่ 1 แต่รุนแรงน้อยกว่า
-ระยะที่ 4 เกิดจากการหดรัดตัวภายหลังรกคลอดแล้ว เพื่อพยายามหยุดเลือดจากแผลในโพรงมดลูกบริเวณที่รกเกาะ อาการปวดนี้เรียกว่า “ After pain ”
การกระตุ้นทางผิวหนัง
การลูบหน้าท้อง (Effleurage)วางมือข้างใดข้างหนึ่งเหนือหัวหน่าว ส่วนอีกข้างหนึ่งไว้วางไว้ข้างลำตัว ขณะหายใจเข้า ลูบมือผ่านขาหนีบ วนขึ้น ไปตามด้านข้างของหน้าท้องถึงยอดมดลูก และลูบวนไปอีกด้านหนึ่ง จนถึงหัวหน่าวขณะหายใจออก
การสัมผัสและการนวด (Massage)สามารถนวดเป็นเลข 8 โดยผู้นวดกำมือ หรือนวดลึกๆ เป็นวงกลม
การสัมผัสและการนวด (Massage)เริ่มนวดตั้งแต่ปากมดลูกเปิด 5 cm. จนปากมดลูกเปิดหมดนวดนาน 30 นาที
การบำบัดด้วยน้ำ การอาบน้ำด้วยฝักบัวหรือแช่ตัวในอ่างน้ำอุ่นจะทำให้ผู้คลอดรู้สึก สุขสบาย น้ำอุ่นจะกระตุ้นให้มีการหลั่ง Endorphin ทำให้ใยกล้ามเนื้อผ่อนคลาย ซึ่งจะปิดประตูความเจ็บปวด โลหิตไหลเวียนดี ฝีเย็บอ่อนนุ่ม
การกระตุ้นประสาทสัมผัส
Latent phaseหายใจเข้าลึกๆ ทางจมูกช้าๆ (พร้อมนับในใจ 1 ถึง 4) แล้วผ่อนลมหาย ใจทางปากช้าๆ (พร้อมนับ ในใจ 1 ถึง 5)
Active phaseหายใจเข้าและออกทางปากและจมูก ตื้นๆ เบาๆ และเร็วๆ
Transitional phaseหายใจเข้า-ออกทางปากตื้นๆ เบาๆ และเร็วๆ 4 ครั้งและ เป่าลมออกทางปาก 1 ครั้ง