Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาทารก - Coggle Diagram
การส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาทารก
การส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาทารก
พยาบาลประเมินพฤติกรรมสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารกอย่างต่อเนื่องทันทีตั้งแต่หลังคลอดจนกระทั่งออกจากโรงพยาบาล
พยาบาลควรเป็นแบบแผนในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารก เช่น การพูดคุยการเรียกชื่อทารก การยิ้ม
ส่งเสริมให้มารดามีโอกาสสัมผัสทารกใน ระยะ Sensitive period คือ ในระยะ 30-45 นาทีหลังคลอด
ตอบสนองความต้องการของมารดาทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
กระตุ้นให้มารดาเกิดความรู้สึกที่ดีกับทารก
ให้เวลาแก่มารดาในการสร้างความคุ้นเคยกับทารก มารดาส่วนใหญ่จะพัฒนาสัมพันธภาพได้สมบูรณ์ทุกขั้นตอนภายใน 24-36 ชั่วโมง
จัดให้บิดา มารดา ทารกได้มีโอกาสอยู่ด้วยกันตามลำพังโดยเร็ว
Case : มารดามักจะชักชวนบุตรพูดคุยอยู่เสมอขณะให้นมก็จะมองทารกอย่างมีความสุข อุ้มด้วยท่าทีที่อ่อนโยน พยายามทำทุกอย่างให้บุตรด้วยตนเอง เช่น อาบน้ำ แต่งตัว เป็นต้น
การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาผสมผสานในการดูแลสุขภาพมารดาทารก
ด้านมารดา
การนวด ในช่วง 8-9 เดือน นิยมนวดท้องจะต้องนวดเบาๆ สามารถนวดได้ทุกวัน วันละครั้ง หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ในช่วง 1-3 เดือนแรก นวดด้วยความระมัดระวัง
ประโยชน์ : ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด
ข้อห้าม : รับประทานอาหารเสร็จใหม่ ๆ
การเข้ากระโจม เป็นการนำสมุนไพรสดหรือแห้งหลาย ๆ ชนิดมาต้มให้เกิดไอน้ำภายในกระโจมใช้อบตัว
ประโยชน์ : กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ช่วยขับน้ำคาวปลา บรรเทาอาการปวดเมื่อย
ข้อห้าม: หญิงหลังคลอดทีมีไข้หรือหญิงที่มีโรคประจำตัว
การอยู่ไฟ เชื่อว่าการอยู่ไฟจะทำให้การไหลเวียนโลหิตดี มดลูกเข้าอู่เร็วร่างกายมีการฟื้นตัวได้รวดเร็ว มีสุขภาพแข็งแรง
การประคบสมุนไพร ใช้กับหญิงตั้งคลอดทั้งก่อนและหลังคลอด ประโยชน์: กระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด ช่วยลดอาการบวม อาการปวดเมื่อย ลดอาการคัดตึงของเต้านม
การทับหม้อเกลือ จะนำเกลือสมุทรมาใส่หม้อทะนนตั้งไฟแล้วห่อผ้า นำไปประคบทำได้หลังคลอด 7 วัน ผ่าคลอดรอ1เดือน ประโยชน์ : จะทำให้มดลูกเข้าอู่เร็ว กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ข้อห้าม : มีไข้ 37องศาเซลเซียส รับประทานอาหารมาใหม่ ๆ
ด้านทารก
คนโบราณมีความเชื่อว่าควรตั้งชื่อบุตรให้มีความหมายดี ๆ ไม่นำชื่อไม่ดีมาเป็นชื่อบุตรการตั้งชื่อบุตรไม่ควรนำชื่อสัตว์มาตั้งชื่อ
การโกนผมไฟ เชื่อว่าเป็นเส้นผมของทารก เส้นขน และเล็บมือเล็บเท้า ที่ติดมาจากครรภ์มารดานั้น
เป็นสิ่งที่ไม่สะอาด โดยมีความเชื่อว่าหากทารกได้รับการโกนผมไฟจะเป็นเด็กที่เลี้ยงง่าย ไม่ดื้อ ไม่ซน แข็งแรง และฉลาด
Case : มารดาหลังคลอดเชื่อการการรับประทานของเผ็ดร้อน เช่น ขิง พริกไทยดำ ยำตะไคร้ จะทำให้มดลูกเข้าอู่เร็ว การทานแกงเลียงหัวปลี ยำหัวปลี จะทำให้น้ำนมไหลดี ร่างกายมีการฟื้นตัวได้รวดเร็ว และการตั้งชื่อบุตรนั้นมีความสำคัญ ถ้าตั้งชื่อบุตรดีเป็นสิริมงคล บุตรก็จะเจอแต่สิ่งดี ๆ
บทบาทมารดา บิดา บุตรคนก่อนและบุคคลในครอบครัว
บทบาทมารดา-บิดา
ให้บิดามีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูบุตร ได้สัมผัสทารกในระยะแรกคลอด ช่วยอาบน้ำให้ลุก ช่วยเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูก ช่วยอุ้มลูกในท่าต่าง ๆ
การเข้าฟังคำแนะนำ การเลี้ยงดูด้วยนมแม่
ให้กำลังใจคุณแม่ขณะให้นมลูก
ช่วยทำงานบ้าน จ่ายตลาด ช่วยเลี้ยงดูลูก
แสดงความรักที่มีต่อแม่อย่างต่อเนื่องที่เคยทำ
ตอบสนองความต้องการทางจิตใจของคุณแม่ตลอดระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ทำใจให้สงบ ถ้าคุณแม่ให้คุณพ่อช่วยปลอบโยนนอกจากแม่มีหน้าที่ในการดูแลเลี้ยงดูบุตร
Case : เนื่องจากเป็นบุตรคนที่สอง มีความชำนาญในการทำหน้าที่มากขึ้น รวมทั้งได้รับแนะนำการเลี้ยงดูบุตร เช่น สอนการอาบน้ำ การอุ้มบุตร และจากประสบการณ์ในการเลี้ยงดูบุตรจากบุตรคนแรก
บทบาทของบุคคลในครอบครัว
มีบทบาทด้านการเลี้ยงดูบุตรหลาน ให้ความรัก
ความอบอุ่น ในระหว่างเครือญาติอย่างเหนียวแน่น ปัจจุบันเอกลักษณ์นี่กำลังเลือนลาง ต่างคนต่างอยู่ ความอบอุ่นค่อย ๆ ลดลง ควรให้มีกิจกรรมร่วมกันของครอบครัวอีกหนึ่งชีวิตร่วมทั้งมีการแสดงความยินดี รู้สึกยินดีกับการมีสมาชิกของครอบครัวอีกหนึ่งชีวิต
Case : เนื่องจากมารดาอาศัยอยู่กับบ้านทางฝ่ายของตนเอง ทำให้คุณพ่อและคุณแม่ของเธอมีส่วนช่วยในการให้ความรู้ และมีส่วนร่วมและช่วยในการเลี้ยงดูบุตรหลาน
วิถีการดำเนินชีวิตของมารดา
หลังคลอดที่เปลี่ยนไป
การเลี้ยงดูบุตร
มารดาจะต้องคอยดูแลให้นมบุตร ซักผ้าของบุตร
ต้องดูแลเอาใจใส่บุตรเป็นอย่างดี
มารดาจะพูดคุยหยอกล้อกับทารกบ่อยครั้ง โดยจะหอมแก้ม อุ้ม กอด
มารดาเรียกชื่ออยู่เสมอ ระหว่างที่มารดาให้นมบุตรมารดาก็จะมองตากับบุตรประสานสายตากัน
ความรับผิดชอบ
มีการพูดคุยกันระหว่างสามีภรรยาในการร่วมมือกันเลี้ยงดูบุตร
ต้องหารายได้เพิ่มจากเดิมจะได้บริหารเงินให้เพียงพอกับสมาชิก
สามีภรรยามีเวลาในการดูแลบุตรและครอบครัว
ความเชื่อค่านิยม
หากลูกมีอาการสะอึก มารดาจะนำใยผ้าจุ่มน้ำ แล้วนำมาแปะไว้ที่หน้าผากจะทำให้หายสะอึกได้
มารดาจะนำกระเป๋าน้ำร้อนหรือก้อนหินที่ร้อน (วางบนเตาถ่าน) แล้วนำมาห่อผ้ามาวางที่หน้าท้องเพื่อให้หน้าท้องยุบ
การรับประทานหัวปลีจะทำให้น้ำนมไหลดีขึ้น
Case: มารดาบอกว่าหลังจากมีบุตรและคลอดบุตรหน้าที่ต่าง ๆ ก็จะเพิ่มมากขึ้น ต้องวางแผนการเงินให้ดี การแบ่งเวลาส่วนตัว เวลางาน เวลาเลี้ยงดูบุตร และเวลาพักผ่อน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพของมารดา
ทารกในระยะหลังคลอดปกติ
สิ่งแวดล้อม
Case: สภาพแวดล้อมบริเวณบ้านสะอาด ปลอดโปร่ง มีต้นไม้ร่มรื่น อยู่ห่างจากโรงงาน ไม่มีการเผาทำลายขยะ เนื่องจากมีรถเทศบาลมาเก็บขยะทุกตอนเช้า ในส่วนของเศรษฐกิจ พอมีเก็บในครอบครัว จึงไม่ค่อยเครียด ครอบครัวรักใคร่กันดี
ค่านิยม
Case: มารดามีความตื่นเต้นเล็กน้อย เนื่องจากเป็นบุตรคนที่สอง พยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พยายามหาข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวมาอ่าน
ความเชื่อและวัฒนธรรม
Case: มีความเชื่อเรื่องการประคบสมุนไพร และการนวดหลังคลอด แต่ไม่ได้ปฏิบัติ เนื่องจากเป็นช่วงการระบาดของ Covid-19 แพทย์แผนไทยของทางโรงพยาบาลปิด จะมีการปฏิบัติในส่วนของการรับประทานอาหาร ทานอาหารที่ให้พลังงานสูงและบำรุงน้ำนม เช่น แกงเลียงหัวปลี ยำตะไคร้ ไก่ผัดขิง อาหารที่ไม่ควรรับประทาน เช่น หน่อไม้ เห็ด อาหารหมักดองทุกชนิด เป็นต้น
ปัจจัยส่วนบุคคล ของมารดา
Case: มารดาจบการศึกษาระดับปริญญาตรี อายุ 37 ปี สุขภาพร่างกายแข็งแรงดี ไม่มีโรคประจำตัว ขณะตั้งครรภ์ได้รับความรัก ความเอาใจใส่จากสามีและครอบครัว