Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคผิวหนังที่พบบ่อย และกลุ่มอาการไข้ มีผื่น(ต่อ), ไข้สุกใส1, dengue-fever,…
โรคผิวหนังที่พบบ่อย และกลุ่มอาการไข้ มีผื่น(ต่อ)
Roseolar Infantum(หัดดอกกุหลาบ)
เกิดจากเชื้อHuman Herpesvirus 6
• พบได้ตลอดปี
• เป็นโรคไข้ออกผื่นที่พบบ่อยที่สุดในเด็กอายุตํ่ากว่า 2ปี
• หลังจากเป็นโรคนี้แล้วจะมีภูมิคุ้มกันตลอดไป
อาการและอาการแสดง
ไข้
• ไข้สูงลอย 3-5วัน
• ไข้มักจะลดลงในวันที่ 3-4มักไม่เกิน 5วัน
ระยะออกผื่น
• มักขึ้นในวันที่ 3-4
• ขึ้น 12-24ชั่วโมงหลังไข้ลด
• ผื่น maculopapular rash ขนาด 2-3 mm กดจาง ขึ้นกระจัดกระจายและไม่รวมกันเป็นปื้น
• ขึ้นบริเวณลำตัวก่อนแล้วกระจายไป ลำคอ แขน ใบหน้า และขา
การวินิจฉัย
• อาการและอาการแสดง
• การตรวจทาง serology serology serology ยังไม่ได้นำมาใช้ทั่วไป
การรักษา
รักษาตามอาการ
รักษาประคับประคอง
ไม่มีการรักษาจำเพาะ
Chickenpox (โรคสุกใส)
เกิดจาก Varicella-Zoster Virus (VZV)
• พบได้ตลอดปี
• การติดต่อ : 24-48ชั่วโมงก่อนตุ่มขึ้น จนถึง 3-7วัน
• เมื่อเป็นแล้วจะมีภูมิคุ้มกันตลอดชีวิต
• ถ้ามีการติดเชื้อสุกใสในหญิงตั้งครรภ์ระยะสามเดือนแรก อาจทำให้ทารกในครรภ์พิการได้
อาการและอาการแสดง
ไข้
• มักจะเป็นพร้อมผื่น
• อาจมีไข้สูงช่วงผื่นขึ้นมาก
• เป็นอยู่ประมาณ 2-4วัน
• ไข้จะลดลงเมื่อตุ่มเริ่มตกสะเก็ด
• ในเด็กเล็กอาจไม่มีไข้หรือมีไข้ตํ่าๆ
การวินิจฉัย
• ประวัติสัมผัสผู้ป่วยโรคสุกใสหรือโรคงูสวัด
• อาการและอาการแสดง
• การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (ทำบางราย)
การรักษา
• การรักษาตามอาการ
• การรักษาประคับประคอง
• การรักษาจำเพาะ
• Acyclovir ใช้เฉพาะรายที่มีอาการรุนแรง
การป้องกัน
การให้วัคซีน
Varicella vaccine 0.5 ml ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
Varcella-zoster immunoglobulin (VZIG)
Herpes Zoster, Shingles(โรคงูสวัด )
• เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชี่อว่า ไวรัสวาริเซลลา (varicella virus)
• เข้าสู่ร่างกายทั้งจากการหายใจ หรือการสัมผัสตุ่มนํ้าใสโดยตรง
• เชื้อจะไปหลบซ่อนอยู่ในปมประสาทของร่างกาย
อาการและอาการแสดง
มีอาการปวดแสบร้อนบริเวณผิวหนัง หลังจากนั้น 2-3วันมีผื่นแดงขึ้นตรงบริเวณที่ปวด
ต่อมาจะกลายเป็นตุ่มนํ้าใส ผู้ป่วยบางรายอาจมีไข้ร่วมด้วย
ผื่นมักเรียงกันเป็นกลุ่ม หรือเป็นแถวยาวตามแนวเส้นประสาท และจะแตกออกเป็นแผล
ต่อมาจะตกสะเก็ด และหายได้เองใน 2สัปดาห์และเมื่อแผลหายแล้ว อาจยังมีอาการปวดตามแนวเส้นประสาทได้
ถ้ามีการติดเชื้องูสวัดในหญิงตั้งครรภ์ระยะสามเดือนแรก อาจทำให้ทารกในครรภ์พิการได้
ภาวะแทรกซ้อน
• ปวดตามแนวเส้น ประสาทหลังการติดเชื้อ (Post Herpectic Neuralgia: PNH)
• การติดเชื้อ แบคทีเรียซํ้าเติม ตาอักเสบ แผลที่กระจกตา และภาวะแทรกซ้อนทางหู
• ผู้ที่มีภูมิต้านทานตํ่า โรคงูสวัดอาจเป็นรุนแรงและแพร่กระจายได้
• ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงแต่พบน้อย เช่น สมองและปอดอักเสบ
การวินิจฉัย
ตรวจ Varicella-Zoster
Tzanck smear
Direct immunofluorescent
Enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA)
การรักษา
รักษาตามอาการคือ กินยาระงับอาการปวด อาการคัน
ยาต้านไวรัสช่วยระงับอาการได้และทำให้ระยะเวลาของโรคสั้นลงและลดการเกิด post herpetic neuralgia
ยาทากลุ่มฆ่าเชื้อไวรัสเป็นกลุ่มยาacyclovir
ยาทาพวกเสลดพังพอน ใช้ทาระงับอาการได้ดีพอสมควร ราคาไม่แพง
การป้องกัน
ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด
Hand foot mouth disease(โรคมือ เท้า ปาก)
เกิดจากCoxsackie A-16 virus, Enterovirus 71
• พบในเด็ก 1-5ปี
• พบมากในฤดูร้อน
• ติดต่อทางการสัมผัส อาหาร และนํ้าดื่ม
อาการและอาการแสดง
• ระยะฟักตัว 4-6วัน
• ไข้ตํ่าๆ
• เจ็บคอ
• ตุ่มนํ้าที่บริเวณช่องปาก มือ และเท้า และแห้งไปใน 1สัปดาห์
ภาวะแทรกซ้อน
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ อัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ไปจนถึงเสียชีวิตได้
สัญญาณเตือนของภาวะแทรกซ้อนรุนแรง
• เด็กมีอาการซึมลง ไม่เล่น ไม่อยากรับประทานอาหารหรือนม
• บ่นปวดศีรษะมาก ปวดทนไม่ไหว
• มีอาการพูดเพ้อไม่รู้เรื่อง สลับกับการซึมลง หรือเห็นภาพแปลกๆ
• ปวดต้นคอ คอแข็ง มีการรับรู้สับสน ซึมลง และอาเจียน
• มีอาการสะดุ้งผวา ตัวสั่นๆ แขนหรือมือสั่นบ้าง
• มีอาการไอ หายใจเร็ว ดูเหนื่อยๆ หน้าซีด มีเสมหะมาก โดยอาจมีหรือไม่มีไข้ร่วมด้วยก็ได้
การวินิจฉัย
• อาการและอาการแสดง
• การส่งตรวจตัวอย่างสิ่งคัดหลั่งและ/หรืออุจจาระเพื่อหาเชื้อไวรัส(ใช้เวลาประมาณ 1-7วัน ขึ้นกับวิธีการตรวจ)
การรักษา
• รักษาตามอาการ
• รักษาแบบประคับประคอง
• ไม่มีการรักษาจำเพาะ
การป้องกันโรคมือเท้าปาก
• หลีกเลี่ยงการให้เด็กคลุกคลีหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วย
• รักษาอนามัยส่วนบุคคล โดยเฉพาะผู้เลี้ยงดูเด็กเล็กควรล้างทำความสะอาดมือก่อนหยิบจับอาหารให้เด็กรับประทาน และรับประทานอาหารที่สุก สะอาด ปรุงใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอม ดื่มนํ้าสะอาด
• ไม่ใช้ภาชนะในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะช้อน จาน ชาม แก้วนํ้าขวดนม
• เมื่อเช็ดนํ้ามูกหรือนํ้าลายให้เด็กแล้วต้องล้างมือให้สะอาดโดยเร็ว
• รีบซักผ้าอ้อมหรือเสื้อผ้าที่เปื้อนอุจจาระให้สะอาดโดยเร็ว และทิ้งนํ้าลงในโถส้วม ห้ามทิ้งลงท่อระบายนํ้า
• หากเด็กมีอาการของโรคมือเท้าปากให้รีบพาเด็กไปพบแพทย์ และเมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคมือเท้าปาก ต้องให้เด็กหยุดเรียนอย่างน้อย 1สัปดาห์ หรือจนกว่าแผลจะหาย
• ในกรณีที่มีการติดเชื้อโรคมือเท้าปากชนิดที่มีอาการรุนแรงโดยเฉพาะมีการเสียชีวิต เช่น เชื้อเอนเทอโรไวรัส 71สถานรับเลี้ยงเด็กหรือโรงเรียนอนุบาลอาจจำเป็นต้องใช้มาตรการการป้องกันที่เข้มข้นขึ้น
Dengue Hemorrhagic Fever
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกเดงกี (dengue virus)
• ซึ่งมีอยู่ 4 สายพันธุ์ จัดอยู่ในกลุ่ม flavivirus
• สามารถแพร่ได้โดยมียุงลายเป็นพาหะ
ไข้เดงกี (dengue fever : DF)
• ไข้เลือดออกเดงกี (dengue hemorrhagic fever: DHF)
อาการทางคลินิก
ไข้เฉียบพลันและสูงลอย 2-7วัน
ภาวะเลือดออก โดยตรวจพบ tourniquet test ให้ผลบวกร่วมกับอาการเลือดออกอื่นๆ
ตับโต มักกดเจ็บ
มีการเปลี่ยนแปลงในระบบไหลเวียนโลหิต หรือมีภาวะช็อก
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
จำนวนเกล็ดเลือดน้อยกว่า/เท่ากับ 100,000ตัว/ลบ.มม.
เลือดข้นขึ้น ดูจากมีการเพิ่มขึ้นของ Hct มากกว่า/เท่ากับร้อยละ 20
ตรวจ CBC พบมีเม็ดเลือดขาวตํ่า จำนวนนิวโตรฟิลตํ่าและตรวจพบatypical lymphocyte
ระยะที่ 1 ระยะไข้(acute febrile stage)
ไข้สูงลอย 2-7วัน
อาการปวดกล้ามเนื้อ บางรายมีหน้าแดง (flushed face) อาจมีจุดเลือดออก (petechiae) หรือมีผื่นแบบ erythema หรือ maculopapular
คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
อาจมีอาการปวดท้องหรือมีตับโตโดยเฉพาะในช่วงท้ายของระยะไข้
ระยะที่ 2 ระยะวิกฤติ(critical stage)
เป็นระยะที่มีการรั่วของพลาสมา ประมาณ 24-48ชั่วโมง
ผู้ป่วยบางรายจะมีระบบการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว/ภาวะช็อก
ส่วนใหญ่เกิดขึ้นพร้อมๆกับการมีไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว
อาจมีอาการปวดท้องด้านขวา ตรวจพบตับโต กดเจ็บ มีอาการเลือดออกผิดปกติ
ระยะที่ 3 ระยะฟื้นตัว (convalescent stage)
มีอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาประมาณ 2 –3วัน
ผู้ป่วยมีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น ตรวจพบความดันโลหิตปกติ ชีพจรเต้นช้าลงและแรงขึ้น
ค่า Hct ลดลงมาคงที่ อาจตรวจพบผื่น (convalescent rash)
มีความรุนแรงของโรคแบ่งเป็น 4 ระดับ
Grade I ไม่มีภาวะช็อก มีแต่การตรวจพบ tourniquet test ให้ผลบวก และ/หรือ easy bruising
• Grade II ไม่มีภาวะช็อก แต่มีภาวะเลือดออก
• Grade III มีภาวะช็อก โดยมีชีพจรเบาเร็ว pulse pressure แคบ หรือ ความดันโลหิตตํ่า หรือ มีตัวเย็น เหงื่อออก กระสับกระส่าย
• Grade IV มีภาวะช็อกรุนแรง วัดความดันโลหิต และ/หรือ จับชีพจรไม่ได้
การรักษา
การดูแลรักษาเบื้องต้น
ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรงและสามารถให้การดูแลรักษาที่บ้านได้
นัดผู้ป่วยมาพบแพทย์ทุก 1-2วันเพื่อติดตามอาการ
การลดไข้ด้วยการเช็ดตัวและกินยาลดไข้ รับประทานอาหารอ่อน และดื่มนํ้าให้เพียงพอ
โดยทั่วไปแย่ลงโดยเฉพาะเมื่อไข้ลดลง เช่น ซึม มือเท้าเย็นชีพจรเต้นเบาเร็ว กระสับกระส่าย ปวดท้องรุนแรง อาเจียนเป็นเลือด ควรได้รับการรักษาในโรงพยาบาล
การรักษาในโรงพยาบาล
ผู้ป่วยที่ดื่มนํ้าได้ไม่เพียงพอ
ปวดท้องหรืออาเจียนมาก
มีภาวะเลือดข้น
มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร
มีภาวะช็อก
นางสาวทิพย์สุดา สนิทพจน์ รหัสนักศึกษา 601410067-1