Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินและการดูแลภาวะสุขภาพของมารดาหลังคลอดปกติ - Coggle Diagram
การประเมินและการดูแลภาวะสุขภาพของมารดาหลังคลอดปกติ
การเปลี่ยนแปลงด้านสรีรวิทยาของมารดาในระยะหลังคลอด
ผิวหนัง
Case: ผิวหน้ามีฝ้ากระจายทั่วใบหน้า บริเวณหน้าท้องมีลายแตก มีเส้นดำกลางหน้าท้องมีสีจางลงจากเดิม ลานนมมีสีเข้มขึ้น บริเวณคอสีเข้มลดลง
หลังคลอดสีของลานนมเข้มขึ้น เส้นกลางหน้าท้องและรอยแตกบริเวณหน้าท้องจะไม่หาย แต่สีจะจางลง ฝ้าบริเวณใบหน้าจะค่อย ๆ จางไป
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
หลังคลอดปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจจะเพิ่มสูงขึ้น ชีพจรหลังคลอดจะต่ำลง เหลือ 60-70 ครั้ง/นาทีจะมี Stroke volume เพิ่มขึ้น การที่มีcardiac output และจะเข้าสู่ภาวะปกติความดันโลหิตไม่มีการเปลี่ยนแปลง
Case: ชีพจร 72 ครั้ง/นาที เต้นแรงดี ไม่มีอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ
ระบบทางเดินปัสสาวะ
หลังคลอดใหม่รอบ ๆ รูเปิดของท่อปัสสาวะมักมีอาการบวมช้ำ กระเพาะปัสสาวะมีความตึงตัวลดลงด้วยเหตุนี้มารดาหลังคลอดจึงมักถ่ายปัสสาวะลำบาก
Case: สามารถถ่ายปัสสาวะได้เองหลังคลอด ลุกเดินเข้าห้องน้ำได้เอง ถ่ายปัสสาวะวันละ 4-5 ครั้ง ลักษณะสีเหลืองใส
ระบบทางเดินหายใจ
ปอดขยายได้ดีขึ้น อาการหายใจเหนื่อยในระยะหลังคลอดลดลง อัตราการหายใจ 16-24 ครั้ง/นาที
Case: อัตราการหายใจ เท่ากับ 18 ครั้ง/นาที สม่ำเสมอ ไม่มีภาวะหายใจลำบากหรือแน่นหน้าอก
เต้านม
มีอาการเต้านมคัดตึง รู้สึกปวดเต้านม หากลองบีบที่หัวนมจะพบน้ำเหลือง ๆ ที่เรียกว่า นมน้ำเหลือง เรียกว่า Colostum และจะหลั่งน้ำนมแท้วันที่ 2-3 ภายหลังตั้งครรภ์
Case: มารดาให้บุตรดื่มนมด้วยตนเอง มารดาบอกว่าเต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้น และรู้สึกคัดตึงเต้านม ปวดเต้านม มีน้ำนมไหลดี บุตรสามารถดูดนมได้
น้ำหนักตัว
หลังคลอดทันทีน้ำหนักจะลดลง 4-8 kg ในระยะ 3-5 วัน ภายหลังคลอดจะลดลงอีก 2-3 kg หลังจากนั้น ขึ้นอยู่กับการดูแลตนเอง
Case: หลังคลอดน้ำหนักตัวลดลง 3 kg จากเดิม 63 kg ลดลงเหลือ 60 kg แต่ก็ยังมากกว่าก่อนตั้งครรภ์
ระบบสืบพันธุ์
มดลูกบริเวณยอดมดลูกจะหดรัดตัวทำให้มดลูกลดต่ำลงมาอยู่ระดับสะดือหรือต่ำกว่า จากนั้นลดลงวันละ 1 ซม. 1-2 สัปดาห์ก็จะคลำไม่เจอ
ภายใน 2-3 วันหลังคลอด Decidua แบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นผิวบนจะหลุดสลายไปและลอกตัวเป็นส่วนของน้ำคาวปลา (Lochia) ชั้นล่าง ประกอบด้วยเยื่อบุโพรงมดลูกซึ่งมี Endometrial gland อยู่จะเป็นตัวสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกใหม่มาปกคลุมบริเวณที่ไม่มีเยื่อบุโพรงมดลูกภายใน 10 วันหลังคลอด
Case: มารดาบอกว่ามดลูกมีการหดตัวลงแต่ไม่เหมือนก่อนตั้งครรภ์ เมื่อกลับคืนสู่สภาพเดิมส่วน
การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตสังคมของมารดาหลังคลอด
การปรับตัวของมารดา Reva Rubin แบ่งเป็น 3 ระยะ
ระยะพึ่งพา (Dependent phase หรือ Taking phase) 1-2 วันแรกหลังคลอดมารดาจะพูดแต่เรื่องของตน ประสบการณ์การคลอด อาการอ่อนเพลียของตนเองมากกว่าที่จะนึกถึงทารก พฤติกรรมของมารดาอาจเฉื่อยชา ไม่ค่อยเคลื่อนไหว ยอมรับความช่วยเหลือ ต้องการอาหารและการพักผ่อน
ระยะกึ่งพึ่งพา (Independent phase หรือ Taking hold phase) เกิดขึ้นระหว่าง 3-10 วัน ระยะนี้มารดาสามารถดูแลตนเองได้บ้าง ค่อย ๆ แข็งแรงขึ้น สนใจตัวเองน้อยลง สนใจทารกมากขึ้น
ระยะอิสระ (Interdependent phase หรือ Letting go phase) เกิดหลังวันที่ 10 ของการคลอด มารดาจะเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมโดยยังคงห่วงใยบุตร มารดาต้องปรับตัวอยู่ 2 ประการ คือ ยอมรับความจริงว่าทารกไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายตนเองแต่แยกไปเป็นอีกบุคคลหนึ่ง และมารดาต้องปรับตัวในบทบาทของการเป็นภรรยา เป็นแม่บ้าน ทิ้งบทบาทเดิมที่เป็นอิสระ
การสร้างความสัมพันธภาพ
ระหว่างมารดาและทารก
มารดามีการสัมผัสทางร่างกายของทารก กอดทารกไว้ในอ้อมแขนแนบชิดร่างกาย พูดคุยหยอกล้อกับทารก มีการสร้างสัมพันธภาพให้ความใกล้ชิดซึ่งกันและกันมากขึ้น
การสร้างสัมพันธภาพระหว่างสมาชิกในครอบครัว
มารดาต้องปรับตัวเป็นภรรยา เป็นแม่บ้านการมีสัมพันธภาพระหว่างสมาชิกในครอบครัว การสร้างสัมพันธภาพระหว่างบิดา มารดาและทารกให้มีความใกล้ชิดซึ่งกันและกัน
Case: การปรับเปลี่ยนตัวของมารดาอยู่ในระยะที่ 3 ระยะอิสระ ซึ่งได้ทำงานปกติตามหน้าที่ของตน ส่วนบุตรนั้นในช่วงเวลาทำงานบ้านจะฝากไว้กับบิดา มารดา ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบบุตร สามีและบิดา มารดา ในส่วนของงานบ้านต่างๆ มารดาและครอบครัวยินดีมากเพราะเป็นบุตรสาว และหลานสาวคนที่สองของบ้าน ซึ่งมารดาและครอบครัวต้องปรับตัวในการเลี้ยงดูบุตร โดยมีมารดาและญาติ ๆ คอยให้คำแนะนำในการปรับตัว การดูแลในเรื่องต่างๆ
การประเมินภาวะสุขภาพของมารดาหลังคลอด
Breast and lactation พยาบาลต้องประเมินเกี่ยวกับลักษณะหัวนมเต้านม มีปริมาณลักษณะน้ำนม
Case: ลักษณะหัวนมยาวประมาณ 1 ซม. มีลักษณะนุ่ม ลานนมมีลักษณะผิวหนังสี
คล้ำเป็นวงกลมล้อมรอบหัวนม หลังคลอกแรกๆน้ำนมออกน้อย ออกเยอะในวันที่ 4 เป็นต้นไป
. Bladder มารดาหลังคลอดต้องปัสสาวะภายใน 6-8 ชั่วโมง
Case: มารดาสามารถถ่ายปัสสาวะเองได้ ภายใน 6-8 ชั่วโมงหลังคลอด ไม่มีการคั่งค้างของน้ำปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ
Body temperature
Case: หลังคลอด 24 ชั่วโมง มีไข้ต่ำ 37.6 – 37.8 °C ไข้ลดลงเมื่อพ้น 24 ชั่วโมง
Background ประเมิน ภูมิหลังคลอดของมารดาเกี่ยวกับเศรษฐกิจ การตั้งครรภ์ การคลอด
Case: มารดาเป็นครู สามีกรีดยาง รายได้หลักมาจากการทำงานของสามี ไม่มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย การคลอดในครั้งนี้สามารถปรับตัวได้ เนื่องจากมีประสบการณ์จากครรภ์แรก
Bottom ประเมินฝีเย็บและทวารหนัก เพื่อดูว่ามีการแยกของแผลฝีเย็บหรือไม่
Case: แผลฝีเย็บแห้งติดดี ไม่มีรอยแยก ไม่บวมแดง ที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อของฝีเย็บ
Body Condition ประเมินสภาพทั่วไปของมารดา เกี่ยวกับภาวะซีด ความอ่อนเพลีย การลุกจากเตียง
Case: หลังคลอดไม่มีอาการตกเลือด อ่อนเพลีย ตอนอยู่ที่โรงพยาบาลเมื่อลุกขึ้นจากเตียงจะเวียนศีรษะเล็กน้อย เมื่อกลับบ้านไม่มีอาการเวียนศีรษะ ลุกจากเตียงได้เอง
. Bowel movement ใน 2-3 วัน มารดาอาจมีอาการท้องอืด
Case: Bowel movement ปกติ 10 ครั้ง/นาที ไม่มีอาการท้องอืด หน้าท้องไม่โป่งตึง ผายลมได้ ขับถ่ายปกติ
Belief ความเชื่อมารดาหลังคลอดและครอบครัว
Case: มีความเชื่อเรื่องการประคบสมุนไพร อบสมุนไพร อาบน้ำอุ่น จะช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว
Blue ประเมินว่ามารดาสามารถปรับตัวต่อบทบาทมารดาได้หรือไม่
Case: มารดาสามารถปรับตัวต่อบทบาทของมารดาได้ ไม่มีภาวะเครียด มีการดูแลตนเองโดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารที่เพียงพอ
Belly and fundus มดลูกหลังคลอดต้องมีการหดรัดตัวอยู่เสมอ
Case: หลังคลอดมดลูกอยู่เหนือสะดือ และค่อย ๆ ลดต่ำลงเรื่อย ๆ วันละประมานครึ่งนิ้ว
Baby V / S ความผิดปกติของร่างกาย รีเฟล็กซ์ของทารก ประเมินการดูดนม
Case: ร่างกายของทารกมีปกติอวัยวะครบ V/S ปกติ PR = 130 /min เต้นแรงดีสม่ำเสมอ RR = 42 /min T 37.2 °C มีรีเฟล็กซ์ปกติ ดูดนมเองได้
Bleeding an Lochia 24 ชั่วโมงแรก สิ่งที่ถูกขับออกต้องเป็นสีแดงสดต่อมาจะสีจาง ๆ
Case: ในช่วงแรกจะมีน้ำคาวปลาเป็นสีแดงสดต่อมาจะเป็นสีจางๆ
Bonding and Attachment พัฒนาการความรักใคร่ผูกพันของมารดาและบุตร
Case: มารดาเลี้ยงดูบุตรเองและมีการให้นมบุตรเอง มีการกอด เพื่อสร้างความรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดาและบุตร
การพยาบาลมารดาและทารกในระยะหลัง
การให้นมบุตร
Case : มารดาหลังคลอดเลี้ยงดูบุตรด้วยน้ำนมตนเอง น้ำนมไหลดี ซึ่งมารดาจะให้บุตรดูดนม 2 ข้าง สลับกัน ข้าง จากนั้นมารดาจะอุ้มบุตรพาดบ่าแล้วลูบหลังเบาๆ เพื่อให้บุตรเรอ
การออกกำลังกาย
Case: มารดาสามารถช่วยเหลือตนเองได้ หลังคลอดวันที่ 2 การออกกำลังกายไม่ค่อยได้ทำอะไรมาก เนื่องจากรู้สึกปวดแผล พยายามช่วยเหลือตัวเองในการทำกิจวัตรประจำวัน ช่วยเหลือตัวเองลุกนั่งจากเตียง ทำตามคำแนะนำของพยาบาลโดยการไขว้มือทั้ง 2 ข้างเหนือหน้าท้อง ใช้มือประคองกล้ามเนื้อที่หัวและยกขึ้นมาในขณะที่หายใจออกช้า ๆ หายใจเข้าลึก ๆ ขณะลดศีรษะ 2-3 ครั้ง
การพักผ่อน
Case: ช่วงหลังคลอดใหม่ๆ มารดาจะรู้สึกง่วง เนื่องจากปวดแผลและต้องตื่นมาให้นมบุตรเป็นระยะๆ เมื่อได้รับคำแนะนำจากพยาบาลก็ปรับตัวได้ พักผ่อนได้มากขึ้น
การรับประทานอาหาร
Case : ในช่วงหลังคลอดมารดาจะรับประทานครบ 5 หมู่ เลือกทานอาหารที่บำรุงน้ำนม เช่น แกงเลียงหัวปลี ยำหัวปลี ยำตะไคร้ ไก่ผัดขิง
การทำความสะอาดร่างกาย
หลังคลอด 2 วัน มารดาสามารถเข้าห้องน้ำ ทำความสะอาดร่างกาย และอวัยวะสืบพันธุ์ได้
การคุมกำเนิด
Case : มารดาคุมกำเนิด โดยมารดาเลือกคุมกำเนิดโดยใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม
การมีเพศสัมพันธุ์
Case : ได้รับการแนะนำเกี่ยวกับการงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 4 - 6 สัปดาห์หลังคลอด เพราะแผลที่ฉีกขาดที่อวัยวะสืบพันธุ์ยังไม่ติดหรือหายสนิท ถ้ามีเพศสัมพันธ์จะทำให้ฉีกขาดและปวดแผลมากขึ้น ผู้ป่วยเข้าใจและนำไปปฏิบัติตาม