Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่10การพยาบาลมารดาหลังคลอดโดยเน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง - Coggle Diagram
บทที่10การพยาบาลมารดาหลังคลอดโดยเน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
ความหมายของระยะหลังคลอด
ระยะเวลาตั้งแต่หลังคลอดรกจนถึง6สัปดาห์หลังคลอด
การแบ่งระยะคลอด
ระยะหลัง (Late puerperium) คือ ระยะหลังจากระยะแรกจนถึง6สัปดาห์
ระยะแรก (Immediate puerperium) คือระยะหลังคลอด 24 ชม.เเรก
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายของมารดาหลังคลอด
การเปลี่ยนแปลงของระบบอวัยวะสืบพันธุ์
มดลูก จะมีการเข้าอู่ (Involution of uterus) อาศัย 2กระบวนการ
มดลูกขาดเลือดไปเลี้ยง (Ischemia)
การย่อยตัวเอง (Autolysis or digestion)
น้ำคาวปลา แบ่งตัวออกเป็น 2 ชั้น
Decidua basalis ชั้นที่อยู่ติดกับกล้ามเนื้อมดลูก
Decidua spongiosa เป็นชั้นที่ติดกับโพรงมดลูก ลอกออกเป็นน้ำคาวปลา มี3ชนิด
ในช่วง 3 วันแรกหลังคลอด น้ำคาวปลามีสีแดงเข้ม เรียกว่า โลเคีย รูบรา
ในวันที่ 4-9 หลังคลอด น้ำคาวปลาเปลี่ยนจากสีแดงเข้มเป็นแดงจางๆ เรียกว่า โลเคีย ซีโรซา
ในวันที่ 10-14 หลังคลอด น้ำคาวปลาจะเริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีขาว เรียกว่า โลเคีย แอลบา
ปากมดลูก จะนุ่มมากไม่เป็นรูปร่าง ปากมดลูกด้านนอกและด้านในจะค่อยๆปิดแคบลงใน 1สัปดาห์หลังคลอด
ช่องคลอด จะนุ่มมาก รอยย่นจะลดลง การแก้ไข้ช่องคลอดให้กระชับให้ทำการขมิบช่องคลอด
ฝีเย็บ ในมารดาคลอดบุตรตัวใหญ่จะทำการตัดฝีเย็บ และซ่อมแซมฝีเย็บ มารดาหลังคลอดจะปวดบริเวณฝีเย็บและจะหายเป็นปกติใน 5-7วัน
การเปลี่ยนเเปลงระบบต่างๆของร่างกาย
ระบบฮอร์โมน
ฮอร์โมนจากรก ภายใน 24 ชม.หลังคลอดจะไม่ตรวจพบฮอร์โมน HPL ฮอร์โมน HCG ลดลงอย่างรวดเร็วและมีระดับต่ำจนมีการตกไข่
ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง ญพนสฟแะรื จะสูงขึ้นในขณะตั้งครรภ์ ในมารดาที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมระดับฮอร์โมนจะค่อยๆลดลง และในมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยยมแม่จะทำให้ระดับฮอร์โมนสูงขึ้น
ระบบทางเดินปัสสาวะ ขณะบุตรผ่านช่องคลอดออกมาจะทำให้เกิดการบาดเจ็บของท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ และไตยังทำหน้าที่กำจัดน้ำออกทางปัสสาวะในปริมาณมาก
ระบบไหลเวียนโลหิต การขับเหงื่อและปัสสาวะจำนวนมากประกอบกับการสูญเสียเลือดในระหว่างคลอด มีผลทำให้เลือดในร่างกายลดลงรวดเร็ว ภายใน 1-2สัปดาห์แรกหลังคลอดปริมาณเลือดจะกลับเข้าสู่ภาวะใกล้เคียงกับก่อนคลอด
ระบบทางเดินอาหาร มารดาเจ็บแผลฝีเย็บ ไม่กล้าอุจจาระ ทำให้ท้องผูกได้ง่าย เป็นริดสีดวง
ระบบผิวหนัง มีการเปลี่ยนแปลง จากระดับProgesteroneและEstrogen ลดลงบริเวณลานนม หัวนม ต้นขา เส้นกลางหน้าท้อง ฝ้าที่หน้า จะจางลง
ผลของการเปลี่ยนแปลงในทางลดลง
ความอ่อนเพลีย สูญเสียพลังงานในระยะคลอด มักง่วงนอน
น้ำหนักลดลง
สัญญาณชีพ
ชีพจร จะลดลงกว่าเดิมเล็กน้อย ช่วง 60-70ครั้ง/นาที
ความดันโลหิต มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย
อุณหภูมิ ระยะ24 ชม.แรกหลังคลอด มารดาจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นได้แต่ต้องไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส
การเปลี่ยนแปลงในทางก้าวหน้า
การหลั่งน้ำนม
เต้านม ขณะตั้งครรภ์จะถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมนต่างๆ เพื่อกระตุ้นต่อมสร้างน้ำนมและหลั่งน้ำนม
การตกไข่และการมีประจำเดือน ส่วนใหญ่ประจำเดือนครั้งแรกจะไม่มีการตกไข่ ในมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยตนเองจะมีฮอร์โมนProlactinสูง ทำให้ร่างกายหลั่ง LH และ Estrogen ลดลง แต่กลับมี FSH สูงขึ้น เกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมนจึงไม่เกิดการตกไข่ออกมา
การปรับตัวด้านจิตสังคมและบทบาทการเป็นมารดาหลังคลอด แบ่งกระบวนการในการปรับตัวของมารดาหลังคลอดเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่มีพฤติกรรมพึ่งพา (Taking-in phase)
ระยะนี้อาจใช้เวลา 1-2วัน มารดาจะมุ่งสนใจตนเองและต้องการพึ่งพาผู้อื่น สนใจแต่ความต้องการและความสุขสบายของตนเองมากกว่าที่จะนึกถึงบุตร
พยาบาลต้องเข้าใจและพยายามตอบสนองความต้องการของมารดา เพื่อจะได้ปรับเข้าสู่พัฒนกิจของการเป็นมารดาที่ซับซ้อนได้อย่างเหมาะสม
การนอนหลับมีความสำคัญในระยะนี้ มารดาควรพักผ่อนเต็มที่ หากถูกรบกวนจะทำให้มารดาอ่อนเพลีย หงุดหงิด และรบกวนการกลับคืนสู่สภาพปกติ
ระยะพฤติกรรมระหว่างพึ่งพาและไม่พึ่งพา(Taking-hold phase)
ระยะนี้ใช้เวลา 10 วัน มารดามีประสบการณ์มากขึ้น ปรับตัวกับชีวิตใหม่ ได้พักผ่อนและฟื้นจากการสูญเสียพลังงานระยะคลอด สนใจบุตรมากขึ้น พึ่งพาตนเองมากขึ้น สนใจเกี่ยวกับการให้นมบุตร
พยาบาลควรช่วยเหลือให้มารดาทำได้ในขอบเขตที่เหมาะสม แนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองและบุตร
พยาบาลต้องระวังไม่นำตนเองเข้าไปแทรกระหว่างมารดา-บุตร เพราะมารดาอาจผิดหวังและกังวลได้ง่าย และกระตุ้นให้กำลังใจเมื่อทำถูกต้อง ทำให้มารดาเกิดความมั่นใจว่าทำได้ถูกต้อง
ระยะพฤติกรรมพึ่งพาตนเอง (Letting-go-phase)
ส่วนมากเป็นระยะที่มารดากลับบ้านแล้ว มารดาต้องปรับตัว 2ประการคือ ต้องตระหนักและยอมรับความจริงว่าแยกจากบุตรทางร่างกาย บุตรไ่ได้เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายอีกแล้วแต่แยกออกไปเป็นอีกคนหนึ่ง และต้องทิ้งบทบาทเดิมที่เป็นอิสระมารดาต้องปรับตัวต่อบุตรที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
การปรับตัวต่อการเป็นมารดา
การรับรู้ถึงการมีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูบุตรของสามี โดยรับรู้ถึงความสนใจต่อบุตร ช่วยเหลือมารดาเลี้ยงดูบุตร
ความพึงพอใจของมารดาที่มีต่อประสบการณ์ในระยะเจ็บครรภ์และขณะคลอด มมารดาจะมีความคาดหวังเกี่ยวกับขุตรและกระบวนการคลอด เช่น หวังว่าเด็กจะสมบูรณ์
สัมพันธ์ระหว่างสามี พฤติกรรมให้ความรักและเอาใจใส่ การตอบสนองของอารมณ์ของกันและกัน
ความพึงพอใจของมารดาต่อสภาพชีวิต และฐานะทางครอบครัว การมีบุตรส่งผลต่อการทำงาน ทำให้มีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ
ความมั่นใจของมารดาใรการปฏิบัติพัฒนกิจตามบทบาทกรเป็นมารดา ต้องมีความรู้สึกเชื่อมั่นว่าตนมีความรู้หน้าที่ของการเลี้ยงดูบุตร
ความพึงพอใจในการเลี้ยงดูบุตร ต้องมีการปรับตัวต่อกิจกรรมต่างๆ เช่นการให้นม การดูแลเรื่องความสะอาดการตอบสนองความต้องการต่างๆของบุตรได้อย่างมีความสุข
บทบาทการเป็นมารดา
ปรับตัวเข้าสู่บทบาทใหม่
การสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่ามารดา-บิดาและบุตร
การจัดแบ่งหน้าที่การรับผิดชอบของสมาชิกในครอบครัวให้เหมาะสม
การวางแผนครอบครัว
ปัจจัยที่มีอิทธิพลของการปรับตัวสู่บทบาทเป็นมารดา
บุคคลิกภาพและการเลี้ยงดูที่ได้รับในวัยเด็ก
อายุ
ประสบการณ์ในการเลี้ยงดูเด็ก
การศึกษา
รายได้
สัมพันธภาพในชีวิตสมรส
แนวทางการพยาบาลส่งเสริมบทบาทการเป็นมารดา
ในระยะก่อนแต่งงาน พยาบาลควรให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็ก
ระยะตั้งครรภ์ ควรให้ความรู้เรื่องปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์
ระยะคลอด ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวหลังคลอด เปิดโอกาสให้มารดาอยู่ใกล้ชิดบุตร ให้กำลังใจ เปิดโอกาสให้มารดาได้พูดคุย สนทนา และปรึกษา จัดเวลาและสถานที่ให้เหมาะสม
พฤติกรรมของผู้เป็นบิดา
บทบาทการเป็นบิดา
การปกป้องคุ้มครองภรรยาหลังคลอด
การเลี้ยงดูบุตร
การจัดหาเลี้ยงครอบครัว
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวสู่บทบาทการเป็นบิดา
วุฒิภาวะ
รายได้
ประสบการณ์เดิมที่ได้รับในวัยเด็ก
ลักษณะของสังคมและวัฒนธรรม
สัมพันธภาพของสามี
แนวทางการส่งเสริมบทบาทการเป็นบิดา
ให้บิดาได้มีส่วนร่วมในการฟังการให้คำแนะนำ
เปิดโอกาสให้บิดา มารดา และบุตรได้อยู่ด้วยกันโดยเร็วระยะหลังคลอด
ให้ความรู้เกี่ยวกับพัฒนกิจและบทบาทการเป็นบิดา
เสริมสร้างกำลังใจแก่บิดา
พยาบาลในชุมชนหรือสถานบริการพยาบาลต่างๆควรมีการจัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับบทบาทจองการเป็นบิดาในโอกาสที่เหมาะสม