Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยโรคจิตเภท (Nursing Care for Person with Schizophrenia) -…
การพยาบาลผู้ป่วยโรคจิตเภท (Nursing Care for Person with Schizophrenia)
1. อาการหลงผิด (Delusion)
หมายถึง ความเชื่อใด ๆ ที่ไม่สามารถสั่นคลอนได้ แม้ว่าจะมีหลักฐาน
อย่างชัดเจนที่คัดค้าน ความเชื่อนั้น ๆ
1.1 Persecutory delusions
ที่เชื่อว่าตนเองนั้นจะโดนปองร้าย ทำให้อับอาย หรือกลั่นแกล้งจากบุคคลอื่น ๆ
1.2 Referential delusions
หมายถึง อาการหลงผิดที่เชื่อว่า ท่าทาง คำพูดของบุคคลอื่น หรือ สภาพแวดล้อมต่าง ๆ นั้นมีความหมายสื่อถึงตนเอง
1.3 Grandiose delusions
หมายถึง อาการหลงผิดที่เชื่อว่าตนเองมีความสามารถเหนือกว่าผู้อื่น หรือเป็นคนสำคัญและมีชื่อเสียงอย่างมาก
1.4 Erotomanic delusions
หมายถึง อาการหลงผิดที่เชื่อว่ามีผู้อื่นมาหลงรักตนเอง
1.5 Nihilistic delusions
หมายถึง อาการหลงผิดที่เชื่อว่ามีสิ่งเลวร้ายหรือหายนะนั้นได้เกิดขึ้น
1.6 Jealousy delusions
หมายถึง อาการหลงผิดที่เชื่อว่าคู่ครองนอกใจ
1.7 Somatic delusions
หมายถึง อาการหลงผิดที่มีเนื้อหาเจาะจงกับอาการทางร่างกาย
1.8 Thought withdrawal
หมายถึง อาการหลงผิดที่เชื่อว่าความคิดของตนเองนั้นถูกทำให้หายไป
1.9 Thought insertion
หมายถึง อาการหลงผิดที่เชื่อว่ามีพลังอำนาจบางอย่างใส่ความคิดที่ไม่ใช่ของตนเองเข้ามา
1.10 Thought Controlled
หมายถึง อาการหลงผิดที่เชื่อว่าพลังอ านาจบางอย่างควบคุ มความคิด และบงการให้ตนเคลื่อนไหวหรือคิดตามนั้น
2. อาการประสาทหลอน (Hallucination)
หมายถึง มีการรับรู้ทางระบบประสาทใด ๆ ซึ่งเกิดขึ้น โดยไม่มีสิ่งเร้า (external Stimuli)
3**
.
กระบวนความคิดและภาษาที่ยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ (Disorganized thinking/speech)**
ผู้ป่วยตอบไม่ตรงคำถาม (irrelevant) หรือมีการพูดเปลี่ยนเรื่องไปเรื่อย (loose association) ตลอดการสัมภาษณ์เป็นต้น
4. พฤติกรรมการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติหรือยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ (Grossly disorganized or abnormal motor behavior)
อาจจะเป็นพฤติกรรมที่เอาแต่ใจเหมือนเด็กซึ่งไม่เหมาะสมกับอายุอย่างมาก หรืออาจแสดงออกเป็นพฤติกรรมกระวนกระวาย หรือบางครั้งอาจแสดงออกเป็นพฤติกรรม catatonia
5. อาการด้านลบ (Negative symptoms)
5.1 การแสดงอารมณ์ที่ลดลง (Decreased emotional expression) ซึ่งสังเกตจากการแสดงออกทางสีหน้า สำเนียงขึ้นลงของเสียง การใช้ภาษากายในการสื่อสาร
5.2 แรงกระตุ้นภายในที่ลดลง (Avolition/Amotivation) ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยอาจนั่งเฉย ๆ อยู่เป็น
ระยะเวลานาน ไม่แสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมใด ๆ
5.3 ปริมาณการพูดที่ลดลง (Alogia)
5.4 การมีความสุขจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่เคยชอบหรือสนใจลดลง (Anhedonia)
5.5 การเข้าสังคมที่ลดลง (Asociality)
สาเหตุ
ความผิดปกติระดับโครงสร้าง
เนื้อสมองบางส่วนมีขนาดเล็กกว่าประชากรทั่วไป
ปริมาณใยสมองและความสมบูรณ์ของใยสมอง (White matter volume and white integrity) ที่เชื่อมโยงระหว่างสมองส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะระหว่างสมองส่วน insular cortex กับ anterior cingulate cortex และ cerebellar นั้นลดลงเมื่อเทียบกับประชากรทั่วไปและผู้ป่วยโรค
ความผิดปกติระดับจุลภาคและระดับการทำงาน
ร ะดับก า รท ำง า น ของส า ร สื่อป ร ะส า ท dopamine (dopaminergic activity) เพิ่มขึ้นใน
mesolimbic tract ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับอาการด้านบวก (positive symptoms)
ระดับ dopaminergic activity ลดลงใน mesocortical tract ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับอาการ ด้าน
ลบ
สมองส่วน primary auditory cortex มีการกระตุ้นที่ผิดปกติ
ปริมาณ Synapse ลดลงมาก (synapse pruning) และปริมาณแขนงของ dendrites น้อยลงใน
สมองส่วน prefrontal cortex และ hippocampus
ปัจจัยกระตุ้น
ปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะมองว่าความสัมพันธ์ในครอบครัวนั้นน่าจะเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดความเครียดและส่งผล
ทำให้อาการโรคจิตเป็นมากขึ้นและส่งผลให้โรคก าเริบ (relapse) บ่อยขึ้น
อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยโรค brief psychotic disorder
มีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายและดูสับสนหรือมึนงงได้บ่อย บกพร่องของประสาทพุทธิปัญญา (neurocognitive impairment)
ผู้ป่วยโรค schizophreniform disorder
นั้นอาจมีอาการโรคจิตที่รุนแรง เป็นอยู่เพียงช่วงระยะเวลา
หนึ่ง จากนั้นอาการอาจอยู่ในระยะสงบได้เป็นเวลานาน
ในผู้ป่วย
delusional disorder
ลักษณะเนื้อหา หลักของอาการหลงผิดที่พบได้บ่อยที่สุด คือ
persecutory type ซึ่งจะมีเนื้อหาหลักของอาการหลงผิดเกี่ยวกับเพื่อนร่วมงานที่คอยมุ่งร้าย
เกณฑ์การวินิจฉัย
Brief psychotic disorder
เกณฑ์การวินิจฉัยตาม DSM-5 มีดังต่อไปนี้
A. ต้องมีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 1 ข้อ (อย่างน้อยต้องมีอาการในข้อ A1, A2 หรือ A3)
A1. อาการหลงผิด
A2. อาการหลอน
A3. กระบวนความคิดและภาษาที่ยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ
A4. พฤติกรรมการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติหรือยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ
B. อาการเป็นต่อเนื่องอย่างน้อย 1 วัน แต่ไม่เกิน 1 เดือนและผู้ป่วยสามารถกลับไปทำหน้าที่ด้านต่าง
ๆ ได้เหมือนก่อน
C. อาการข้างต้นต้องไม่สามารถอธิบายได้ด้วยโรคทางจิตเวชอื่น
Schizophreniform disorder
เกณฑ์การวินิจฉัยตาม DSM-5 มีดังต่อไปนี้
A. มีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 2 ข้อ (ต้องมีอาการข้อ A1, A2 หรือ A3) โดยอาการนั้นจะต้องเป็นอย่าง
ต่อเนื่องพอควรในช่วงระยะเวลา 1 เดือน (หากได้รับการรักษา อาการอาจเป็นต่อเนื่องสั้นกว่า 1 เดือนได้)
A1. อาการหลงผิด
A2. อาการหลอน
A3. กระบวนความคิดและภาษาที่ยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ
A4. พฤติกรรมการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติหรือยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ
A5. อาการด้านลบ
B. อาการเป็นต่อเนื่องอย่างน้อย 1 เดือน แต่น้อยกว่า 6 เดือน หากจะต้องวินิจฉัยโดยไม่รอการฟื้น
ของตัวโรค ควรระบุว่าเป็น “การวินิจฉัยชั่วคราว”
C. หาก schizophreniform disorder นั้นมีอาการทางอารมณ์ (mood symptoms) ร่วมด้วยอาการ
ทางอารมณ์นั้นต้องเกิดขึ้นเป็นเพียงส่วนน้อยเมื่อเทียบกับระยะเวลาของอาการทั้งหมด
D. อาการข้างต้นต้องไม่เกิดขึ้นจากการใช้สาร หรือ โรคภาวะทางกาย
หลักการและแนวทางการบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคจิตเภท
การให้ความช่วยเหลือและรีบรักษาในระยะแรกเริ่ม เน้นการสืบค้นการเจ็บป่วยในระยะแร กเริ่ม
และส่งต่อผู้ป่วยไปยังผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตในเขตพื้นที่ใกล้บ้านเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างครอบคลุม
การรักษาในระยะเฉียบพลัน เน้นการอยู่ในโรงพยาบาลระยะสั้น สนับสนุนดูแลและแก้ปัญหาให้
ผู้ป่วยเมื่อมีอาการวิกฤตทางจิตเวชรวมทั้งการดูแลช่วยเหลือเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้านและในชุมชน
การส่งเสริมการฟื้นฟูสภาพ
การพัฒนาระบบคุณภาพการดูแลผู้ป่วยจิตเภททุกระยะ
การรักษา
การรักษาทางชีวภาพ (biological treatments)
1.1 การรักษาด้วยยา (pharmacological interventions) นอกจากจะต้องดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษาแล้วต้องมี การติดตามประเมินภาวะสุขภาพและอาการข้างเคียงจากการใช้ยาอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 12 เดือนหรือ จนกว่าจะส่งต่อการดูแลให้กับทีมสุขภาพในชุมชน ต่อไป
การรักษาด้านจิตสังคม (psychosocial treatments)
2.1 การจัดการรายกรณี (case management)
2.2 การบ าบัดโดยการให้ความรู้ในการจัดการตนเอง (self-management education)
2.3 การบ าบัดโดยใช้ทักษะการแก้ปัญหา (problem solving therapy)
2.4 การบ าบัดการรู้คิด-ปรับพฤติกรรม (cognitive behavior therapy)
2.5 การให้การบ าบัดกับครอบครัว (family interventions)
2.6 การฝึกทักษะทางสังคม (Social skills training)
2.7 ศิลปะบ าบัด (arts therapies)
2.8 การบ าบัดรูปแบบอื่นๆ
การบำบัดทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคจิตเภท
ขั้นตอนที่ 1 การประเมินสภาพปัญหา
ขั้นตอนที่ 2 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนการพยาบาล
ขั้นตอนที่ 4 การปฏิบัติการพยาบาล
ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลการพยาบาล