Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด, นางสาวปทุมมาศ บุญใบ 61122230107 เลขที่…
การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
ความสําคัญของสัมพันธภาพเพื่อการบําบัด
สัมพันธภาพใกล้ชิด (Intimate relationship)
ครอบครัว
พี่น้อง สามี ภรรยา
สัมพันธภาพเพื่อการบําบัด(Therapeutic relationship)
สัมพันธภาพเพื่อการบําบัดเป็นสัมพันธภาพทางวิชาชีพ ที่มีกระบวนการิดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลโดยพยาบาลใช้ตนเองเป็นสื่อในการบําบัด การติดต่อสื่อสารเพื่อบําบัดทุกข์ทางใจให้ผู้ป่วยเกิดการเรียนรู้และติดต่อกับบุคคลอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและพัฒนาตนเองต่อไปในการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้ดีพยาบาลเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลที่เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือโดยอาศัยความรู้ความสามารถและทักษะที่ได้รับจากการฝึกจากสถาบันการศึกษาด้านวิชาชีพ
สัมพันธภาพทางสังคม(Social relationship)
เพื่อความเป็นเพื่อน
เพื่อมุ่งความสำเร็จของงาน
สัมพันธภาพเพื่อการประกอบวิชาชีพ
(Professional Relationship)
สัมพันธภาพเพื่อการบําบัดระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วย ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สําคัญในการปฏิบัติการพยาบาล
ความหมาย
กระบวนการที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ทำความรู้จักกัน ติดต่อสัมพันธ สร้างความคุ้นเคยสนิทสนมกัน บุคคลที่สันพันธ์กัน จะได้รับผลกระทบจากกันและกัน
เป้าหมายในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบําบัด
การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบําบัดระหว่างพยาบาลและผู้ป่วย เพื่อ ให้ผู้ป่วยเกิดการเรียนรู้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และให้ผู้ป่วยยอมรับว่าเขามีส่วนที่จะต้องแก้ไขปัญหาของเขาเองได้นั้น พยาบาลควรระบุเป้าหมายในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบําบัด
ความชัดเจนในเอกลักษณ์แห่งตน (Sense of personal identity) และสามารถปรับปรุงการบูรณาการแห่งตน (personal integration)
ความสามารถที่จะสร้างความใกล้ชิดสนิทสนม ความเป็นอิสระ สัมพันธภาพระหว่างบุคคล รวมทั้งสามารถที่จะรักและรับความรัก
การพิจารณาตนเองตามความเป็นจริง (Self-realization) การยอมรับตนเอง (Self-acceptance) การเคารพตนเอง (Self-respect)
การปรับปรุงการทําหน้าที่ เพิ่มความสามารถที่จะตอบสนองความพึงพอใจของตนเองและสามารถบรรลุถึงเป้าหมายส่วนบุคคลที่สามารถปฏิบัติให้เป็นจริงได้
ปัจจัยส่งเสริมการสนทนาเพื่อการบําบัด
สิ่งแวดล้อมในการสนทนา
สิ่งแวดล้อมในการสนทนามีความสําคัญมากที่สุดที่จะส่งเสริมให้การสนทนาระหว่างพยาบาลและผู้ป่วย บรรลุเป้าหมาย เพื่อบําบัดทุกข์ทางใจให้ผู้ป่ วยเกิดการเรียนรู้ได้หรือไม่ อย่างไร ขึ้นอยู่กับการจัดสถานที่สนทนา การจัดท่านั่งสนทนา และกําหนดระยะเวลาการสนทนา
การจัดท่านั่ง(Seating Arrangement)
ระยะเวลาในการสนทนา
การสร้างสายสัมพันธ์(rapport)
การสร้างความไว้วางใจ (trust)
การให้ความเคารพนับถือ (respect)
ความจริงใจ (genuineness)
ความเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น (empathy)
สถานที่สนทนากับผู้ป่วย(Setting)
1.ผู้ให้การบําบัด
พยาบาลเป็นบุคคลที่สําคัญในการช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปัญหาทางจิตเวช ให้ได้รับการพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ มีการดูแลตนเอง การเปลี่ยนแปลงทางความคิด ความรู้สึกให้กลับมาสู่โลกแห่งความเป็นจริง และพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพ เข้าใจตนเอง ยอมรับนับถือตนเอง และการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
ความแตกต่างระหว่างสัมพันธภาพเพื่อการบําบัดกับสัมพันธภาพทางสังคม
สัมพันธภาพทางสังคม
การดําเนินสัมพันธภาพเป็นไปตามความต้องการหรือความพึงพอใจร่วมกัน อาจมีวัตถุประสงค์หรือไม่ก็ได้
มีการเริ่มต้นสัมพันธภาพจะมีการสิ้นสุดหรือไม่ก็ได้ แล้วแต่ความความพึงพอใจ
การพบกันแล้วแต่โอกาส ระยะเวลาในการพบกันสมํ่าเสมอหรือไม่ก็ได้ไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน
เนื้อหาการสนทนาเป็นไปตามความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย
สัมพันธภาพเพื่อการบําบัด
มีกระบวนการ ขั้นตอน การเริ่มต้นและสิ้นสุดสัมพันธภาพ
พยาบาลเป็นผู้รับผิดชอบในการวางแผนการดําเนินสัมพันธภาพ กำหนด วัน เวลา และสถานที่ร่วมกับผู้ป่ วยอย่างชัดเจน
การดําเนินสัมพันธภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อการบําบัดรักษาและช่วยเหลือผู้ป่วยเกี่ยวกับสุขภาพจิตและจิตเวชเป็นสําคัญ
เนื้อ หาการสนทนาเน้นเรื่องการปรับความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมของผู้ป่วย
แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับสัมพันธภาพเพื่อการบําบัดมีลักษณะที่แตกต่างจากสัมพันธภาพทางสังคมโดยทั่วไป
Process dynamic เป็นกระบวนการที่มีขั้นตอน มีการประเมินผลเป็นระยะ หากสัมพันธภาพดําเนินไปไม่ดี หรือไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ พยาบาลต้องปรับปรุงรูปแบบของสัมพันธภาพใหม่
Action-oriented การสร้างสัมพันธภาพจะนําปฏิกิริยาของผู้ป่ วยมาเป็นแนววิเคราะห์เพื่อช่วยเสริมสร้างและพัฒนาความสามารถในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
Helping เป็นสัมพันธภาพที่พยาบาลมุ่งให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยเป็นสําคัญ คือจะเป็นเพียงผู้ให้แต่ไม่เป็นผู้รับ และไม่หวังผลตอบแทน
Satisfaction gain ความพอใจของพยาบาลอยู่ที่ว่าผู้ป่วยได้รับการเรียนรู้และพัฒนาบุคลิกภาพ และพัฒนาความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นและกลับเข้าสู่สังคมได้
Goal directed เป็นการสร้างสัมพันธภาพที่มีจุดประสงค์เฉพาะเพื่อการช่วยเหลือผู้ป่วยให้พัฒนาความสามารถในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้
Terminated-relationship เป็นการสร้างสัมพันธภาพที่มีการเริ่มต้นและการสิ้นสุด ภายหลังจากบรรลุวัตถุประสงค์ หรือสิ้นสุดระยะเวลาในการสร้างสัมพันธภาพแล้ว ทั้งนี้เพื่อใหผู้ป่วยได้เป็นตัวของตัวเอง ช่วยเหลือตนเอง โดยมีพยาบาลเป็นที่ผู้ให้แนวทางหรือเป็นที่ปรึกษาเมื่อจําเป็น
นางสาวปทุมมาศ บุญใบ 61122230107 เลขที่ 98