Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปความรู้เรื่องการลำเลียงสารเข้า - ออกเซลล์ Cell Biology, ชื่อ…
สรุปความรู้เรื่องการลำเลียงสารเข้า - ออกเซลล์
Cell Biology
Cell transport
การลำเลียงสารแบบผ่านเยื่อหุ้มเซลล์
(Transport across membrane)
แบบไม่ใช้พลังงาน (Passive transport)
• เป็นการลำเลียงสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์แบบไม่ใช้พลังงาน
• ทิศทางการเคลื่อนที่ของสาร จากบริเวณท่ีมีความเข้มข้นของสารละลายมาก → น้อย (ตาม concentration gradient)
Simple diffusion
• การแพร่แบบธรรมดา
เเพร่จากบริเวณที่มีความเข้มข้นมากไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นน้อย จนกว่าจะถึงสมดุลของการแพร่
Facilitated Diffusion
• การแพร่แบบฟาซิลิเทต
เเพร่จากบริเวณที่มีความเข้มข้นสูงไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารต่ำ โดยต้องอาศัย "ตัวพา (Carrier)"
Osmosis
• ออสโมซิส
เป็นการเคลื่อนที่ของน้ำ จากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารละลายต่ำไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารละลายสูง จนกระทั่งถึงจุดสมดุล
• Hypotonic solution เป็นสารละลายที่มีความเข้มข้นน้อยเมื่อเทียบกับความเข้มข้นของสารละลายภายในเซลล์ เซลล์ที่อยู่ในสารละลายนี้ทิศทางการออสโมซิสของน้ำ
จะเคลื่อนที่เข้าสู่เซลล์ ทำให้เกิดปรากฏการณ์เซลล์เต่ง (Plasmoptysis)
• Isotonic solution เป็นสารละลายที่มีความเข้มข้นเท่ากับกับความเข้มข้นของสารละลายภายในเซลล์ เซลล์ที่อยู่ในสารละลายนี้ทิศทางการ
ออสโมซิสของน้ำจะเคลื่อนที่เข้าและออกเซลล์ในอัตราที่เท่ากัน
• Hypertonic solution เป็นสารละลายที่มีความเข้มข้นสูงเมื่อเทียบกับความเข้มข้นของสารละลายภายในเซลล์ เซลล์ที่อยู่ในสารละลายนี้ทิศทางการออสโมซิสของน้ำจะเคลื่อนที่ออกจากเซลล์ ทำให้เกิดปรากฏการณ์เซลล์เหี่ยว (Plasmolysis)
Dialysis
• ไดอะไลซิส
เป็นกระบวนการที่เกิดตรงข้ามกับออสโมซิส กล่าวคือ เป็นการเคลื่อนที่ของสารที่เป็นตัวถูกละลาย ผ่านเยื่อเลือกผ่าน (Semipermeable Membrane) จากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารละลายสูงไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารละลายต่ำ จนกระทั่งถึงจุดสมดุล
Ion exchange
• การแลกเปลี่ยนไอออน
เป็นกระบวนการแลกเปลี่ยน ion ระหว่างภายในเซลล์กับภายนอกเซลล์ โดยต้องเป็น ion ที่มีขั้วเดียวกัน
Imbibition
• การดูดซับน้ำ
• เป็นการดูดน้ำในลักษณะการซับน้ำ พบในพืช
• อาศัยสารสำคัญใน Cell wall ของพืช คือ Cellulose และ Pectin
• มีประโยชน์ในการงอกของเมล็ด และการลำเลียงน้ำในพืช
แบบใช้พลังงาน (Active transport)
• เป็นการลำเลียงสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์แบบใช้พลังงาน
• ทิศทางการเคลื่อนที่ของสาร จากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารละลายน้อย → มาก (ย้อน concentration gradient)
• Primary active transport เป็นการลำเลียงสารในทิศทางเดียวต่อการลำเลียง 1 ครั้ง
• Secondary active transport เป็นการลำเลียงสาร 2 ทิศทางต่อการลำเลียง 1 ครั้ง
• เป็นการลำเลียงสารผ่านส่วนใดส่วนหนึ่งของเยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane)
• อาศัยพลังงานจลน์ของสาร ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของตัวสารได้เอง
การลำเลียงสารแบบไม่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์
( Vesicle - mediated transport / Bulk transport)
แบบนำสารออกจากเซลล์ (Exocytosis)
• การนำสารออกจากเซลล์
• เป็นการลำเลียงสารที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่จากภายในเซลล์ออกไปสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก
เป็นการลำเลียงสารที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ออกจากเซลล์ โดยบรรจุอยู่ในถุง (vesicle) แล้วถุงจะค่อยๆ เคลื่อนเข้ามาเชื่อมรวมกับเยื่อหุ้มเซลล์ จากนั้นสารที่บรรจุอยู่ในถุงจะถูกปล่อยออกสู่นอกเซลล์
แบบนำสารเข้าสู่เซลล์ (Endocytosis)
• การนำสารเข้าสู่เซลล์
• เป็นการลำเลียงสารที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ จากสิ่งแวดล้อมภายนอกเข้าสู่ภายในเซลล์
Phagocytosis
• Cell eating
เป็นการลำเลียงที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่และมีสถานะเป็น
ของแข็งหรือวัตถุขนาดใหญ่เช่นเซลล์ นำเข้าสู่เซลล์
Pinocytosis
• Cell drinking
เป็นการลำเลียงสารที่มีสถานะของเหลวหรือสารละลาย นำเข้าสู่เซลล์
Receptor –mediated endocytosis
• การนำสารเข้าสู่เซลล์โดยอาศัยตัวรับ
เป็นการลำเลียงสารเข้าสู่เซลล์ที่เกิดขึ้นโดยมีโปรตีนที่
อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ทำหน้าที่เป็นตัวรับ (Protein receptor)
• เป็นการลำเลียงสารที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่มาก โดยเยื่อหุ้มเซลล์จะทำการห่อหุ้มหรือโอบล้อมสารนั้นๆ จนกลายเป็นถุง (Vescicle) และนำเข้าหรือออกเซลล์
ชื่อ นางสาวเขมิกา ชัย ชั้น ม. 4/7 เลขที่ 4