Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ประเด็นคำถามที่ต้องการคำตอบ, นางสาวรติมา มณีคำ เลขที่ 17 รุ่น 36/2…
ประเด็นคำถามที่ต้องการคำตอบ
Cleft-lip , Cleft-palate
หลังผ่าตัด การดูแลเพื่อป้องกันแผลแยกทำอย่างไร
จัดท่านอนหงายหรือตะแคงไปด้านใดด้านหนึ่ง ห้ามนอนคว่ำเพื่อป้องกันการเสียดสี กับที่นอน ห้ามอ้าปากกว้างๆ และงด ดูด เป่า ประมาณ 3 – 4 สัปดาห์
หลังผ่าตัดทารกควรนอนท่าใด
จัดท่านอนหงายหรือตะแคงไปด้านใดด้านหนึ่ง ห้ามนอนคว่ำเพื่อป้องกันการเสียดสีกับที่นอน แผลอาจแยกได้
การผ่าตัดปากเหว่ง ควรทำเมื่อใด/การผ่าตัดเพดานโหว่ควรทำเมื่อใด
เด็กอายุ10สัปดาห์ขึ้นไป น้ำหนักตัว10ปอนด์ ฮีโมโกลบิน 10 กรัมเปอร์เซ็นต์ขึ้นไป
หลังผ่าตัด ทารกจะดูดขวดนมได้เมื่อใด
3 – 4 สัปดาห์หลังผ่าตัด
ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ในระยะก่อนผ่าตัดคือเรื่องใด มีวิธีป้องกันอย่างไร
เสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินหายใจ หูชั้นกลาง และการอุดกั้นทางเดินหายใจจากการสำลัก
วิธีป้องกัน
ดูแลให้นมอย่างถูกวิธี
รักษาความสะอาดช่องปากเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
สังเกตอาการ หายใจผิดปกติ ไอ ไข้
เตรียมลูกยางแดงสำหรับดูดเสมหะ
Esophageal stenosis/fistula/atresia
อาการอาการแสดงที่บ่งชี้ว่าหลอดอาหารมีรูรั่วคืออะไร
พบอากาศในกระเพาะอาหาร
การให้นม TE fistula ทำอย่างไร
ให้นมทาง Gastrostomy tube
อาการอาการแสดงที่บ่งชี้ว่าหลอดอาหารตีบคืออะไร
น้ำลายไหลมาก อาเจียน ไอ สำลัก
การดูแล Gastrostomy ทำอย่างไร
เมื่อแผลแห้งดีแล้ว ให้ใช้น้ำเกลือล้างแผล หรือ น้ำต้มสุก ทำความสะอาดแผลและใต้แป้นสายสวนให้สะอาด เช็ดให้แห้ง และปิดผ้าก๊อซไว้
ในระยะ 1 - 2 สัปดาห์แรกหลังใส่สายให้อาหารทางหน้าท้อง ควรทำความสะอาดแผลรูเปิดและใต้แป้นสายสวน โดยวิธีปราศจากเชื้อ
Anorectal malformation
อายุที่เหมาะสมในการฝึกการขับถ่าย
ฝึกขับถ่ายอุจจาระเมื่ออายุ 18-24 เดือน โดยนั่งกระโถนเช้า-เย็น
หลังผ่าตัดทำรูทวารหนัก ป้องกันการตีบแคบได้อย่างไร
ถ่างขยายรูทวารหนักด้วย hegar เริ่มจากเบอร์ขนาดเล็กประมาณ 7-10มิลลิเมตร ขึ้นอยู่กับอายุของเด็ก วันละ 2 ครั้ง จนการขยายทวารหนักทำได้ง่าย จะเพิ่มขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของ hegar สัปดาห์ละ 1 มิลลิเมตรจนกระทั่งเบอร์เหมาะสมกับอายุเด็ก และเมื่อกลับไปอยู่บ้านให้ใช้เทียนไขเหลาเท่าขนาด hegar ถ่างขยายทวารหนักทำอย่างสม่ำเสมอ
การดูแล colostomy ทำอย่างไร
เลือกขนาดของปากถุงรองรับอุจจาระให้ครอบปิดกระชับพอดีกับขนาดทวารเทียม ไม่แน่นเกินไปถ้ามีการรั่วซึมต้องเปลี่ยนถุงใหม่ และสังเกตการรั่วซึมของอุจจาระทุก 2 ชั่วโมง
ทิ้งอุจจาระเมื่ออุจจาระในถุง 1⁄4-1⁄3 ของถุง
ทำความสะอาดด้วยน้ำเกลือล้างแผล เมื่อแผลหายดีแล้วทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาด ซับผิวหนังรอบรูเปิดด้วยสำลีหรือผ้าสะอาดที่อ่อนนิ่ม
สังเกตการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังรอบๆทวารเทียม ถ้ามีการอักเสบ รอยถลอกรายงานแพทย์
วิธีการฝึกการควบคุมกล้ามเนื้อช่วยในการขับถ่ายทำอย่างไร
ฝึกฝนการกลั้นอุจจาระเพื่อให้เด็กใช้กล้ามเนื้อที่มีอยู่อย่างเต็มที่ เช่น ฝึกหนีบลูกบอล ออกกำลังกายโดยการวิ่ง หรือว่ายน้ า เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อข้างเคียง
สังเกตการไม่มีรูทวารหนักทารกหลังคลอดอย่างไร
ไม่พบรูเปิดทางทวารหนักหรือพบเพียงรอยช่องเปิดของทวารหนักเท่านั้น
Omphalocele/ Gastroschisis
เด็กดูแลในระยะดันลำไส้กลับในช่องท้องเด็กต้องจัดท่านอนอย่างไร เพราะเหตุใด
นอนตะแคงข้างเพื่อลดโอกาสที่เลือดจะมาเลี้ยงลำไส้ไม่สะดวก
การฟัง bowl sound หลังผ่าตัดปิดผนังหน้าท้องเด็ก มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร
เพื่อดูว่าbowel function กลับมาทำงานปกติหรือยัง ถ้ายังก็หาสาเหตุว่าเป็นเพราะbowel obstruction จาก adhesion, missed atresia or stenosis หรือไม่
Gastroschisis กับ Omphalocele แตกต่างกันอย่างไร
Omphalocele ผนังหน้าท้องพัฒนาไม่สมบูรณ์ ทำให้ช่องท้องไม่ปิดมีเยื่อบางๆของ peritoneum, Wharton's jelly, amnion หุ้มอวัยวะที่ออกนอกช่องท้อง
gastroschisis ผนังช่องท้องพัฒนาสมบูรณ์ ไส้เลื่อนสะดือแตกตอนทารกอยู่ในครรภ์ลำไส้, กระเพาะทะลักออกนอกช่องท้องทางรูด้านข้างสายสะดือไม่มีสิ่งห่อหุ้ม
ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดปิดผนังหน้าท้องเด็ก
ต้องระวังภาวะใด มีอาการและอาการแสดงอย่างไร
ระวังภาวะ Abdominal compartment syndrome อาการและอาการแสดงคือ ท้องอืดอย่างรุนแรง ปัสสาวะออกน้อยลง central venous pressure สูงขึ้น ความดันในช่องอกสูงขึ้น
hypospadias/epispadias
ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดมีอะไรบ้าง
มีรูตรงบริเวณรอยต่อระหว่างรูเปิดท่อปัสสาวะ เก่ากับท่อปัสสาวะที่สร้างใหม่
องคชาตยังโค้งงอ
เกิดการตีบตันของรูเปิดท่อปัสสาวะ/ท่อปัสสาวะบริเวณแผลเย็บที่สร้างท่อปัสสาวะใหม่
เกิดการติดเชื้อ
เลือดออก
คำแนะนำในการดูแลหลังผ่าตัดเมื่อกลับไปอยู่บ้านทำอย่างไร
ห้ามให้เด็กเล่นกิจกรรมที่รุนแรง
ดูแลแผลผ่าตัดไม่ให้เปียก ทำความสะอาดร่างกายเด็กด้วยการเช็ดตัว สวมเสื้อผ้าหลวมๆ
ให้กระตุ้นให้เด็กดื่มน้ำมากๆ
การรักษา hypospadia โดยการผ่าตัดควรทำเมื่อใดเพราะเหตุใด
เด็กมีรูเปิดของท่อปัสสาวะต่ำกว่าปกติเล็กน้อยแต่เวลาถ่ายปัสสาวะไม่พุ่งเป็นลำตรง
นางสาวรติมา มณีคำ เลขที่ 17 รุ่น 36/2 รหัสนักศึกษา 612001097