Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินภาวะสุขภาพชุมชน - Coggle Diagram
การประเมินภาวะสุขภาพชุมชน
ขั้นการประเมินภาวะสุขภาพชุมชน
การเก็บรวบรวมข้อมูล(Data Collection)
ข้อมูลปฐมภูมิ(Primary Data)
ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต ประสบการณ์
ข้อดี : ได้ข้อมูลครบตามวัตถุประสงค์
ข้อเสีย : เสียเวลา งบประมาณ
ข้อมูลทุติยภูมิ(Secondary Data)
ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก Family Folder , Database
ข้อดี : ไม่สิ้นเปลืองกำลังคน หรือค่าใช้จ่าย
ข้อเสีย : อาจไม่ได้ข้อมูลครบถ้วนตามที่ต้องการ
ข้อมูลที่นำมาใช้
3.ข้อมูลด้านสุขภาพ เช่น อัตราเกิด อัตราตาย อัตราอุบัติการณ์ อัตราป่วยของโรคต่างๆ
4.ข้อมูลด้านพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ การตรวจคัดกรองโรค
2.ข้อมูลประชากร เช่น อายุ เพศ สถานะภาพสมรส การศึกษา อาชีพ รายได้
5.ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม : ขยะ น้ำ ส้วม พาหะนำโรค เช่น ยุงลาย
1.ข้อมูลทั่วไปของชุมชน เช่น ประวัติชุมชน ที่ตั้งอาณาเขต สภาพภูมิประเทศ วิถีชุมชน ข้อมูลทางเศรษฐกิจ สังคม ผู้นำชุมชน
6.ข้อมูลด้านการบริการสุขภาพ เช่น ระบบบริการสุขภาพ คุณภาพ คลินิก ร้านขายยา หมอพื้นบ้าน การใช้สมุนไพร
เครื่องมือ/วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
การใช้แบบสอบถาม : การรับประทานอาหาร การป้องกันตัวไม่ให้ติด COVID-19
การวัดและประเมิน : BP , blood sugar , waist circumference , BMI , ADL
การสำรวจ : สำมะโนประชากร
การทดสอบ : Time up and go test , Child development
การสังเกต : พฤติกรรมสุขภาพ สิ่งแวดล้อม
การสัมภาษณ์
การสนทนากลุ่ม
การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย
ประชากรทั้งหมด
การสุ่มตัวอย่าง เช่น การใช้สุ่มแบบง่าย หรือการสุ่มเป็นระบบ
การวิเคราะห์ข้อมูล
1.ข้อมูลเชิงปริมาณ
1.1สถิติเชิงบรรยาย
ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น อายุ เพศ การศึกษา อาชีพ รายได้
ข้อมูลด้านสุขภาพ : อัตราเกิด อัตราตาย อัตราความชุก อัตราอุบัติการณ์
1.2สถิติเชิงอ้างหรือสถิติเชิงอนุมาน
2.ข้อมูลเชิงคุณภาพ
การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
การนำเสนอข้อมูล(Data Presentation)
กราฟเส้น
ใช้นำเสนอข้อมูลที่ต้องการให้เห็นแนวโน้มของการเปลียนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งๆ
แผนภูมิวงกลม
แสดงสัดส่วนของข้อมูลต่อข้อมูลทั้งหมดที่คิดเป้น 100% ข้อมูลไม่ควรมีมากเกินไป
แผนภูมิแท่ง
ใช้เมื่อต้องการเปรียบเทียบระหว่าง categories นำเสนอได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน แนวตั้งนิยมใช้เปรียบเทียบข้อมุลชนิดเดียวกันที่เวลาแตกต่างกัน ส่วนแนวนอนใช้เปรียบเทียบข้อมูลต่างชนิดกันที่เวลาเดียวกัน
แบบตาราง
ใช้เปรียบเทียบรายละเอียดเห้นได้ง่ายและเป้นข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง
ขั้นการวินิจฉัยชุมชน
การระบุปัญหา(Problem Identification)
2.5D : Dead , Disability , Disease , Discomfort , Dissatisfaction เช่น ประชาชนป่วยโรคพยาธิใบไม้ในตับ 27/1,000 ประชากร
3.กระบวนการกลุ่ม เช่น ประชาชนในชุมชนมีปัญหาเรื่องการไม่ปฏิบัติตัวเพื่อป้องกัน COVID19 อย่างเคร่งครัด เช่น การใส่หน้ากาอนามัย การเว้นระยะห่างทางสังคม
1.ใช้เกณฑ์ ตัวชี้วัดด้านสุขภาพ เช่น ตัวชี้วัดการดำเนินงานด้านสุขภาพของกระทรวง/จังหวัด , เกณฑ์จปฐ ตัวอย่าง ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรค DM HT ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
(Priority setting)
2.2ความรุนแรง : ไม่มีเลย=0 , มากกว่า0-25=1 , มากกว่า25-50=2 , มากกว่า50-75=3 , มากกว่า75-100=4
2.3ความยากง่าย : ทำไม่ได้เลย=0 , ยากมาก=1 , ยาก=2 , ง่าย=3 , ง่ายมาก=4
2.1ขนาดของปัญหา : ไม่มีเลย=0 , มากกว่า0-25=1 , มากกว่า25-50=2 , มากกว่า50-75=3 , มากกว่า75-100=4
2.4ความวิตกกังวล/ความสนใจของชุมชน
ไม่มีเลย=0
มากกว่า0-25/สนใจน้อย=1
มากกว่า25-50/สนใจปานกลาง=2
มากกว่า50-75/สนใจมาก=3
มากกว่า75-100/สนใจมากที่สุด=4
การระบุปัญหาและทำโยงใยสาเหตุของปัญหา(Identify Cause of Problem and Web of Causation)
ชนิดของสาเหตุ
สาเหตุทางตรง
สาเหตุทางอ้อม
ชนิดของโยงใยสาเหตุของปัญหา
โยงใยสาเหตุทางทฤษฏี
โยงใยสาเหตุที่เกิดขึ้นจริง
แผนงานและโครงการ
การวางแผน
การตัดสินใจล่วงหน้าว่าจะทำอะไร อย่างไร ทำเมื่อใด และใครเป็นผู้ทำ
การใช้ความรู้ทางวิชาการและวิจารณญาณวินิจฉัยเหตุการณ์ในอนาคต และกำหนดวิธีการโดยถูกต้องและมีเหตุผล
ประเภทของแผนงาน
แผนระดับสูง : เป็นแผนที่องค์การระดับสูงกำหนดขึ้น โดยกำหนดเป็นข้อความที่ระบุไว้กว้างๆ ครอบคลุมวัตถุประสงค์เชิงนโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์การเพื่อเป็นแนวคิดในการดำเนินงานขององค์กรระดับล่างหรือระดับปฏิบัตการ
แผนระดับปฏิบัติการหรือแผนปฏิบัติการ : เป็นแผนชั้นรองลงมา จำแนกเป็น 3 อย่าง
แผน(Plan) : ข้อกำหนดหรือรายละเอียดต่างๆของการดำเนินงานในอนาคต เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพมีทิศทางหรือสิ่งที่คาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้น มีแนวดำเนินการเพื่อให้เกิดผลที่คาดหวัง มีการใช้ทรัพยากรและเงื่อนไขเวลา
แผนงาน หรือชุดโครงการ(Program) : กลุ่มกิจกรรมตั้งแต่ 2 โครงการขึ้นไปที่มุ่งบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายอย่างเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน เอื้ออำนวยซึ่งกันและกัน
โครงการ(Project) : กลุ่มของกิจกรรมที่มีความสัมพันธุ์เกี่ยวข้องกัน มุ่งตอบสนองเป้าหมายในแผนงานเดียวกัน โดยมีเวลาเรื่มต้นและสิ้นสุดที่ชัดเจน และต้องเป็นงานพิเศษ หรือต่างไปจากงานประจำ
โครงการ(Project)
แบบประเพณีนิยม(Convention method) : เป็นวิธีการเขียนแรกสุด โดยเขียนบรรยายตามหัวข้อที่กำหนดในลักษณะต่อเนื่อง เพื่อตอบคำถามของผู้บริหารในการตัดสินใจอนุมัติการจัดทำโครงการหรือสนับสนุนงบประมาณ
หลักการและเหตุผล : เป็นส่วนที่บอกว่าทำไมต้องทำโครงการนั้น ทำแล้วได้อะไร ถ้าไม่ทำจะเกิดผลเสียอย่างไร ให้สะท้อนความจำเป็นของการจัดทำโครงการ แสดงสถิติข้อมูลและเหตุผลรองรับที่มีน้ำหนักสมเหตุสมผล
วัตถุประสงค์ : การดำเนินงานตามโครงการนั้นมีความต้องการให้อะไรเกิดขึ้น วัตถุประสงค์ที่ควรจะระบุไว้ควรชัดเจน ปฏิบัติได้ วัดและประเมินผลได้ ในช่วงหลังการเขียนวัตถุประสงค์จะเป็นเชิงพฤติกรรม คือการเขียนให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยนิยมเขียนวัตถุประสงคืที่ปฏิบัติและวัดได้ 1-3 ข้อ
ชื่อโครงการ : ต้องมีความชัดเจน เหมาะสม และเฉพาะเจาะจง เป็นที่เช้าใจง่าย โดยชื่อโครงการจะต้องบ่งบอกว่า ทำสิ่งใดบ้าง โครงการจัดทำขึ้นเพื่ออะไร เช่น โครงการพัมนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน
เป้าหมาย : เป็นการกำหนดทิศทางและความต้องการที่คาดหวังจะให้เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน เพื่อนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ มีลักษณะเป็นวัตถุประสงค์เฉพาะ ขยายให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยระบุสิ่งต้องการให้เกิดขึ้นวัดได้ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ตัวอย่างเช่น :!: ประชาชนอายุ 40 ปีขึ้นไป ร้อยละ 60 มีความรู้ที่ถุกต้องเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงในระดับดีขึ้นไป
วิธีดำเนินการ หรือกิจกรรม หรือขึ้นตอนการดำเนินงาน : เป็นกระบวนการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ โดยกำหนดกิจกรรมอย่างชัดเจนตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ ระบุใคร ทำอะไร มีปฏิทินปฏิบัติงานควบคุมกำกับชัดเจน
ระยะเวลาการดำเนินงานโครงการ : การระบุเวลาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนเสร็จสิ้นโครงการระบุ วัน-เดือน-ปี การระบุความยาวของโครงการ เช่น 6 เดือน , 2 ปี โดยไม่ระบุเวลาเริ่มต้น - สิ้นสุด เป็นการกำหนดระยะเวลาไม่สมบูรณ์
งบประมาณ : ประมาณค่าใช้จ่ายทั้งสินของโครงการ ควรจำแนกรายการค่าใช้จ่ายได้อย่างการระบุ ยอดงบประมาณ ควรระบุแหล่งที่มาของงบประมาณด้วย จำแนกตามหมวดหมู่ เช่น ค่าจ้าง ค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ ครุภัณฑ์ ค่าเชื้อเพลิง นอกจากนี้สามารถระบุทรัพยากรอื่นที่ต้องการ เช่น คน
การประเมินผล : บอกแนวทางการติดตามประเมินผลควรทำอย่างไร ในระยะเวลาใด และใช้วิธีการอย่างไรจึงจะเหมาะสม โดยระบุวิธีการ และเกณฑ์ที่ใช้ในการวัด
ผลที่คาดว่าจะได้รับ หรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ : เป้นผลประโยชน์ และผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินงานโดยตรง และโดยอ้อมที่อยู่นอกความคาดหมายไปจากวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
ผู้รับผิดชอบโครงการ : เป็นการระบุตัวบุคคลหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบในการเสนอและดำเนินโครงการ เช่น ผู้เขียนโครงการ ผู้เสนอโครงการ ผู้เห็นชอบโครงการ ผู้อนุมัติโครงการ
แบบตารางเหตุสัมพันธ์
(Logical Framwork method)
การประเมินโครงการ
ประสิทธิผล :red_flag: : เป็นการประเมินผลลัพธ์หรือผลงานในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพได้ตรงตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายมากน้อยเพียงใด เช่น หญิงวัยเจริญพันธ์ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปร้อยละ 50 ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
ประสิทธิภาพ :red_flag: : เป็นการประเมินว่าผลงานที่ได้ออกมาสิ้นเปลืองงบประมาณหรือทรัพยากรเพียงใด ใช้การวิเคราะห์ต้นทุนและประโยชน์ หรือการวิเคราะห์ต้นทุนและประสิทธิผล ยิ่งผลลัพธ์มาก ต้นทุนต่ำ = ยิ่งมีประสิทธิภาพมาก
ความพอเพียง :red_flag: : ประเมินว่าโครงการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้ในระดับใด พอเพียงที่จะแก้ปัญหาที่มีอยู่หรือไม่
ความเหมาะสม :red_flag: : ประเมินเพื่อดูว่าการจัดบริการสอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการหรือไม่ เพียงใด เหมาะสมกับพื้นที่ และเหมาะสมกับเวลาหรือไม่
ความเสมอภาค :red_flag: : ประเมินเพื่อดูว่าใครมีโอกาสหรือไม่มีโอกาสได้ผลลัพธ์โครงการ ดูความเท่าเทียมที่ผู้รับพึงได้รับบริการสาธารณะ ตามสิทธิอันพึงมี