Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดจากฝุ่น PM 2.5, นางสาวสุนิษา ใจโล้ง 612901085 -…
ผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดจากฝุ่น PM 2.5
อันตรายและผลกระทบ
ต่อสุขภาพจาก PM2.5
ผลกระทบทางสุขภาพ
เกิดอาการไอ จาม หรือภูมิแพ้
ผู้ที่เป็นภูมิแพ้ฝุ่นอยู่แล้ว จะยิ่งถูกกระตุ้นให้เกิดอาการมากขึ้น
เกิดโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง
เกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจเรื้อรัง
เกิดโรคปอดเรื้อรัง หรือมะเร็งปอด
ผลกระทบทางผิวหนัง
มีผื่นคันตามตัว
ปวดแสบปวดร้อน มีอาการระคายเคือง
เป็นลมพิษ ถ้าเป็นหนักมากอาจเกิดลมพิษบริเวณใบหน้า ข้อพับ ขาหนีบ
ทำร้ายเซลล์ผิวหนัง ทำให้ผิวอ่อนแอ เหี่ยวย่นง่าย
สาเหตุที่ทำให้เกิดฝุ่น PM2.5
แหล่งกำเนิดโดยตรง ได้แก่ การเผาในที่โล่ง การคมนาคมขนส่ง การผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรมการผลิต
การรวมตัวของก๊าซอื่นๆ ในบรรยากาศ โดยเฉพาะซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) รวมทั้งสารพิษอื่นๆ ที่ล้วนเป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ เช่น สารปรอท (Hg), แคดเมียม (Cd), อาร์เซนิก (As) หรือโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs)
PM2.5 คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน เทียบได้ว่ามีขนาดประมาณ 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นผมมนุษย์ เล็กจนขนจมูกของมนุษย์ที่ทำหน้าที่กรองฝุ่นนั้นไม่สามารถกรองได้ จึงแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และเข้าสู่อวัยอื่นๆ ในร่างกายได้ ตัวฝุ่นเป็นพาหะนำสารอื่นเข้ามาด้วย เช่น แคดเมียม ปรอท โลหะหนัก และสารก่อมะเร็งอื่นๆ
คำแนะนำเมื่อต้องใช้ชีวิตในพื้นที่
ที่มีฝุ่น PM 2.5
สวมหน้ากากป้องกันฝุ่น โดยหน้ากากที่สามารถป้องกันฝุ่น PM2.5 ได้ดีและมีประสิทธิภาพคือ หน้ากาก N95
ซึ่งมีราคาสูงกว่าหน้ากากอนามัย และบางคนอาจสวมแล้วอาจให้ความรู้สึกอึดอัด เพราะหายใจได้ลำบากกว่าปกติ
หากไม่ใช้หน้ากาก N95 อาจใช้หน้ากากอนามัยที่มีฟิลเตอร์ 3 ชั้น
ซึ่งมักมีเขียนระบุบนผลิตภัณฑ์ว่าสามารถป้องกัน PM2.5 ได้
หรือถ้าหากหาไม่ได้จริงๆ อาจใช้หน้ากากอนามัยธรรมดาแต่สวมทับ 2 ชั้น
หรือซ้อนผ้าเช็ดหน้าหรือทิชชูไว้ด้านในก็ได้
พยายามหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งทุกชนิดเมื่อคุณภาพอากาศอยู่ในระดับ
ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ หากจำเป็นต้องใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นละอองเมื่ออยู่ข้างนอกอาคาร
ใช้เครื่องฟอกอากาศ เนื่องจากภายในอาคารอาจไม่ปลอดภัยจาก PM2.5 เสมอไป
โดยเฉพาะอาคารที่มีการเปิดปิดประตูบ่อยครั้งจากการที่มีผู้คนเข้าออกจำนวนมาก
ดังนั้นเครื่องฟอกอากาศจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้หายใจในอาคารอย่างสบายใจ
ระดับความรุนแรงของ PM2.5
องค์การอนามัยโลก หรือ World Health Organization (WHO) กำหนดให้ฝุ่น PM2.5 จัดอยู่ในกลุ่มที่ 1 ของสารก่อมะเร็ง ประกอบกับรายงานของธนาคารโลก (World Bank) ที่ระบุว่า ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศมากถึง 50,000 ราย ส่งผลไปถึงระบบเศรษฐกิจ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่รัฐต้องสูญเสียเกี่ยวเนื่องกับค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยจากมลพิษทางอากาศนี้
กลไกการเกิดโรคจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)
โดยหากสูดPM2.5เข้าสู่ร่างกายจะเกิดผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจตั้งแต่อาการระคายของผิวหนังและเยื่อบุต่างๆเช่นเยื่อบุตาและก่อให้เกิดอาการไอ จาม มีน้ํามูก จนถึงการอักเสบของไซนัส เจ็บคอ หายใจลําบาก ทําให้เกิดโรคของระบบต่าง ๆ เช่นระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาทและสมอง
นางสาวสุนิษา ใจโล้ง 612901085